สวัสดีเพื่อนๆชาว pantip ทุกท่านครับ ต้องบอกก่อนว่านี่เป็นการเขียนบทความยาวครั้งแรกของผม
หากมีข้อผิดพลาด หรือคำติชมอย่างไร ทางผมยินดีรับฟังครับ
เรื่องที่จะเขียนในวันนี้ก็ตามหัวกระทู้เลยครับ เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์มานานหลายปีพอสมควร ประกอบกับช่วงหลังมานี้ได้ยินเสียงพร่ำบ่นจากคนรอบตัวค่อนข้างเยอะขึ้นเรื่องการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค บางคนไม่มีความรู้แล้วเดินดุ่มๆไปซื้อเองก็โดนร้านหลอกมาบ้าง หรือเลือกซื้อมาแล้วไม่ได้ดั่งใจบ้าง วันนี้ก็เลยขอมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้ได้ตรงใจนะครับ
CPU (Central Processing Unit หรือ หน่วยประมวลกลาง)
นับเป็นจุดที่คนซื้อคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกเนื่องจากชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่าเป็นหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งการที่เครื่องของเราจะเร็วจะแรงสมใจรึเปล่านั้นหลักๆเลยก็เริ่มที่ตัว CPU นี่แหละครับ โดยในวันนี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะของค่าย Intel ก่อนนะครับเนื่องจากเท่าที่กะประมานดูแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่มีวางจำหน่ายในตลาดตตอนนี้ก็จะใช้ CPU ของ Intel มากถึง 90-95% ทำให้จะไม่พูดถึงก่อนก็คงไม่ได้
ตัวโปรเซสเซอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของ Intel ในปัจจุบันนั้นจะมีการแบ่งซีรีย์ของผลิตภัณฑ์ออกเป็น 5 ซีรีย์หลักๆตามที่หลายๆท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วคือ Intel Atom (หลังๆมานี้จะเห็นในโทรศัพท์มือถือซะเป็นส่วนใหญ่), Intel Pentium, Core i3, Core i5, และ Core i7 ไล่เรียงความแรงตามลำดับกันเลย โดยการแบ่งซีรีย์ของโปรเซสเซอร์ (อ้างอิงจากเว็บไซท์ของ Intel) นั้นจะแยกตามลักษณะการใช้งานเป็นหลัก คือ
1. สำหรับใช้งานทั่วไป จะเป็น Intel Atom และ Intel Pentium
2. ใช้งานในชีวิตประจำวันจัดให้เป็นหน้าที่ของ Core i3 และ Core i5
สุดท้าย 3. หากเน้นประสิทธิภาพให้เลือกเป็น Core i7 หรือ Core M
ซึ่งถ้ามันมีให้เลือกแค่นี้แล้วจบมันก็ง่ายครับ แต่ประเด็นคือมันไม่จบแค่นั้น โดยถ้าเราดูลงไปในรายละเอียดก็จะเห็นได้ว่า หลังจากชื่อซีรีย์หลักแล้วก็ยังจะมีชุดตัวเลขตามมาอีกสี่ตัว แถมยังมีตัวหนังสือห้อยท้ายมาอีก เช่น Core i3 4030U, Core i5 4210M, หรือจะเป็น Core i7 4720HQ
ตัวเลขและตัวหนังสือพวกนี้บอกอะไรเราบ้าง???
จริงๆแล้วตัวที่สำคัญจริงๆที่เราต้องสังเกตุเพื่อให้รู้ถึงประสิทธิภาพและการจัดลำดับขั้นของโปรเซสเซอร์นั้นจะมีเพียงแค่ตัวเลขตัวแรกและตัวหนังสือที่ต่อท้ายเท่านั้นครับ
โดยเริ่มที่ตัวเลขตัวแรกก่อนเลย Intel Core i3 3XXX หรือ Intel Core i3 4XXX ตัวเลขตัวแรกนั้น (ในตัวอย่างคือ 3 และ 4) บอกถึงเจนเนอเรชั่นหรือความสดใหม่ของตัวโปรเซสเซอร์ครับ ซึ่งอายุการทำตลาดของโปรเซสเซอร์แต่ละเจนเนอเรชั่นนั้นจะอยู่ที่ประมาน 1-1.5 ปีครับ โดยในปัจจุบันนั้นอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายจากเจนเนอเรชั่นที่ 4 ไปยังเจนเนอเรชั่นที่ 5 พูดง่ายๆคือ จะดูว่าตกรุ่นหรือยังให้ดูที่ตัวเลขตัวแรกสุดครับ คำถามถัดมาคือ จำเป็นรึเปล่าที่จะต้องเลือกซื้อเฉพาะตัวที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น คำตอบคือไม่จำเป็นครับ เพราะอายุการใช้งานหรือประสิทธิภาพของตัวโปรเซสเซอร์ในแต่ละเจนเนอเรชั่นนั้นสามารถรองรับโปรแกรมและการใช้งานต่างๆได้เป็นอย่างดีไปอีกประมาน 3-4 ปีเลยล่ะครับ (หลังจากนั้นไป ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้งานของแต่ละคนว่าอยากได้ลื่นไหลแค่ไหน)
ส่วนที่สองก็คือตัวเลขอีกสามตัวที่ตามมา เช่น Core i3 X030, Core i5 X210 ในส่วนนี้จะสังเกตุได้ง่ายมากๆ เวลาที่จะเปรียบเทียบตัวเลือกว่าตัวไหนแรงกว่าตัวไหน ดูง่ายๆเลยคือ ยิ่งตัวเลขยิ่งมาก ก็ยิ่งเป็นรุ่นที่สูงขึ้นครับ เช่น Core i7-4720 เทียบกับ Core i7-4940 นั้นเป็นที่แน่นอนว่า Core i7-4940 นั้นเป็นรุ่นที่อยู่ในระดับสูงกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าตัวแรกอย่างแน่นอนครับ
ส่วนสุดท้ายคือตัวอักษรที่อยู่ด้านหลังชุดตัวเลข โดยในส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะตัวที่มีเห็นกันได้ทั่วไปในตลาดบ้านเรานะครับ หลักๆก็จะมี U, M, MQ, HQ ครับ
1. เริ่มที่ซีรีย์ U กันก่อนเลย (มีทั้ง i3 XXXXU, i5 XXXXU, และ i7 XXXXU) ซีรีย์นี้นั้นชื่อเต็มๆของมันก็คือ Ultra Low Voltage ซึ่งความหมายก็ตรงตามตัวเป๊ะๆ คือเป็นโปรเซสเซอร์ที่ถูกออกแบบมาให้มีการใช้พลังงานต่ำเป็นพิเศษ (ความแรงเลยหดไปด้วย) โดยโปรเซสเซอร์ในตระกูล U นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบรับกับกระแสความนิยมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ ultra book ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊คแบบที่มีตัวเครื่องบางเบาเป็นพิเศษนั่นเอง ซึ่งด้วยความบางเบาของตัวเครื่องนั้นนับเป็นข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ตัวแบตเตอรี่และระบบระบายความร้อนที่ติดตั้งไว้กับตัวเครื่องนั้นมีขนาดเล็กเป็นเงาตามตัวไปด้วย พอแบตเตอรี่ก้อนเล็ก เวลาที่สามารถใช้งานตัวเครื่องได้ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งก็จะสั้นลงไปด้วย เป็นเหตุผลให้ Intel มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโปรเซสเซอร์ตระกูลนี้ออกมาให้ตัวเครื่องสามารถทำงานบนแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆได้ยาวนานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าพอกินไฟน้อย ประสิทธิภาพความเร็วแรงในการประมวลผลก็ต้องลดลงด้วย จากข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผล ก็ได้ทำให้โปรเซสเซอร์ในตระกูลนี้ถูกจัดให้อยู่กลุ่มล่างสุด
เดี๋ยวมาต่อนะครับ....
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้ตรงใจ
หากมีข้อผิดพลาด หรือคำติชมอย่างไร ทางผมยินดีรับฟังครับ
เรื่องที่จะเขียนในวันนี้ก็ตามหัวกระทู้เลยครับ เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์มานานหลายปีพอสมควร ประกอบกับช่วงหลังมานี้ได้ยินเสียงพร่ำบ่นจากคนรอบตัวค่อนข้างเยอะขึ้นเรื่องการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค บางคนไม่มีความรู้แล้วเดินดุ่มๆไปซื้อเองก็โดนร้านหลอกมาบ้าง หรือเลือกซื้อมาแล้วไม่ได้ดั่งใจบ้าง วันนี้ก็เลยขอมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้ได้ตรงใจนะครับ
CPU (Central Processing Unit หรือ หน่วยประมวลกลาง)
นับเป็นจุดที่คนซื้อคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกเนื่องจากชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่าเป็นหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งการที่เครื่องของเราจะเร็วจะแรงสมใจรึเปล่านั้นหลักๆเลยก็เริ่มที่ตัว CPU นี่แหละครับ โดยในวันนี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะของค่าย Intel ก่อนนะครับเนื่องจากเท่าที่กะประมานดูแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่มีวางจำหน่ายในตลาดตตอนนี้ก็จะใช้ CPU ของ Intel มากถึง 90-95% ทำให้จะไม่พูดถึงก่อนก็คงไม่ได้
ตัวโปรเซสเซอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของ Intel ในปัจจุบันนั้นจะมีการแบ่งซีรีย์ของผลิตภัณฑ์ออกเป็น 5 ซีรีย์หลักๆตามที่หลายๆท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วคือ Intel Atom (หลังๆมานี้จะเห็นในโทรศัพท์มือถือซะเป็นส่วนใหญ่), Intel Pentium, Core i3, Core i5, และ Core i7 ไล่เรียงความแรงตามลำดับกันเลย โดยการแบ่งซีรีย์ของโปรเซสเซอร์ (อ้างอิงจากเว็บไซท์ของ Intel) นั้นจะแยกตามลักษณะการใช้งานเป็นหลัก คือ
1. สำหรับใช้งานทั่วไป จะเป็น Intel Atom และ Intel Pentium
2. ใช้งานในชีวิตประจำวันจัดให้เป็นหน้าที่ของ Core i3 และ Core i5
สุดท้าย 3. หากเน้นประสิทธิภาพให้เลือกเป็น Core i7 หรือ Core M
ซึ่งถ้ามันมีให้เลือกแค่นี้แล้วจบมันก็ง่ายครับ แต่ประเด็นคือมันไม่จบแค่นั้น โดยถ้าเราดูลงไปในรายละเอียดก็จะเห็นได้ว่า หลังจากชื่อซีรีย์หลักแล้วก็ยังจะมีชุดตัวเลขตามมาอีกสี่ตัว แถมยังมีตัวหนังสือห้อยท้ายมาอีก เช่น Core i3 4030U, Core i5 4210M, หรือจะเป็น Core i7 4720HQ
ตัวเลขและตัวหนังสือพวกนี้บอกอะไรเราบ้าง???
จริงๆแล้วตัวที่สำคัญจริงๆที่เราต้องสังเกตุเพื่อให้รู้ถึงประสิทธิภาพและการจัดลำดับขั้นของโปรเซสเซอร์นั้นจะมีเพียงแค่ตัวเลขตัวแรกและตัวหนังสือที่ต่อท้ายเท่านั้นครับ
โดยเริ่มที่ตัวเลขตัวแรกก่อนเลย Intel Core i3 3XXX หรือ Intel Core i3 4XXX ตัวเลขตัวแรกนั้น (ในตัวอย่างคือ 3 และ 4) บอกถึงเจนเนอเรชั่นหรือความสดใหม่ของตัวโปรเซสเซอร์ครับ ซึ่งอายุการทำตลาดของโปรเซสเซอร์แต่ละเจนเนอเรชั่นนั้นจะอยู่ที่ประมาน 1-1.5 ปีครับ โดยในปัจจุบันนั้นอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายจากเจนเนอเรชั่นที่ 4 ไปยังเจนเนอเรชั่นที่ 5 พูดง่ายๆคือ จะดูว่าตกรุ่นหรือยังให้ดูที่ตัวเลขตัวแรกสุดครับ คำถามถัดมาคือ จำเป็นรึเปล่าที่จะต้องเลือกซื้อเฉพาะตัวที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น คำตอบคือไม่จำเป็นครับ เพราะอายุการใช้งานหรือประสิทธิภาพของตัวโปรเซสเซอร์ในแต่ละเจนเนอเรชั่นนั้นสามารถรองรับโปรแกรมและการใช้งานต่างๆได้เป็นอย่างดีไปอีกประมาน 3-4 ปีเลยล่ะครับ (หลังจากนั้นไป ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้งานของแต่ละคนว่าอยากได้ลื่นไหลแค่ไหน)
ส่วนที่สองก็คือตัวเลขอีกสามตัวที่ตามมา เช่น Core i3 X030, Core i5 X210 ในส่วนนี้จะสังเกตุได้ง่ายมากๆ เวลาที่จะเปรียบเทียบตัวเลือกว่าตัวไหนแรงกว่าตัวไหน ดูง่ายๆเลยคือ ยิ่งตัวเลขยิ่งมาก ก็ยิ่งเป็นรุ่นที่สูงขึ้นครับ เช่น Core i7-4720 เทียบกับ Core i7-4940 นั้นเป็นที่แน่นอนว่า Core i7-4940 นั้นเป็นรุ่นที่อยู่ในระดับสูงกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าตัวแรกอย่างแน่นอนครับ
ส่วนสุดท้ายคือตัวอักษรที่อยู่ด้านหลังชุดตัวเลข โดยในส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะตัวที่มีเห็นกันได้ทั่วไปในตลาดบ้านเรานะครับ หลักๆก็จะมี U, M, MQ, HQ ครับ
1. เริ่มที่ซีรีย์ U กันก่อนเลย (มีทั้ง i3 XXXXU, i5 XXXXU, และ i7 XXXXU) ซีรีย์นี้นั้นชื่อเต็มๆของมันก็คือ Ultra Low Voltage ซึ่งความหมายก็ตรงตามตัวเป๊ะๆ คือเป็นโปรเซสเซอร์ที่ถูกออกแบบมาให้มีการใช้พลังงานต่ำเป็นพิเศษ (ความแรงเลยหดไปด้วย) โดยโปรเซสเซอร์ในตระกูล U นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบรับกับกระแสความนิยมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ ultra book ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊คแบบที่มีตัวเครื่องบางเบาเป็นพิเศษนั่นเอง ซึ่งด้วยความบางเบาของตัวเครื่องนั้นนับเป็นข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ตัวแบตเตอรี่และระบบระบายความร้อนที่ติดตั้งไว้กับตัวเครื่องนั้นมีขนาดเล็กเป็นเงาตามตัวไปด้วย พอแบตเตอรี่ก้อนเล็ก เวลาที่สามารถใช้งานตัวเครื่องได้ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งก็จะสั้นลงไปด้วย เป็นเหตุผลให้ Intel มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโปรเซสเซอร์ตระกูลนี้ออกมาให้ตัวเครื่องสามารถทำงานบนแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆได้ยาวนานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าพอกินไฟน้อย ประสิทธิภาพความเร็วแรงในการประมวลผลก็ต้องลดลงด้วย จากข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพในการประมวลผล ก็ได้ทำให้โปรเซสเซอร์ในตระกูลนี้ถูกจัดให้อยู่กลุ่มล่างสุด
เดี๋ยวมาต่อนะครับ....