ชวนศึกษา "ธรรมบรรยายและความรู้ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา" โดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ




* อภิธรรมปิฎกเป็นพุทธพจน์หรือ ?

หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ฉบับเต็ม)
- ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบท
- มูลเหตุแห่งทุติยสังคายนา
- ปัญหาเรื่องอภิธรรมปิฎก
- ปฐมสังคายนา
- ความขัดแย้งระหว่างสาวก
- บทนำ มูลเหตุแห่งนิกาย

- แนวพระพุทธศาสนา
- พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย
- พุทธธรรมกับปรัชญา

- สวรรค์อยู่ที่ไหน
- เรื่อง ทัศนะของจิต

- ปรัชญามหายาน
- บ่อเกิดลัทธิมหายาน
- หลักสูญญตา
- ปาฐกถาเรื่อง สุญญตา

- ปาฐกถาเรื่อง ปรปัจจัย

- พลเมืองทิเบต
- กระแสมนตรยานในนิกายเถรวาท

- ประวัติพระไตรปิฏกฉบับจีนพากย์
- คัมภีร์บาลีในพระไตรปิฎกจีน


อมยิ้ม33
สามารถดาวน์โหลดหนังสือและธรรมบรรยายไฟล์ pdf ได้จาก


อมยิ้ม31

อ่านและ ดาวน์โหลดหนังสือเล่มอื่น ๆ ของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ  ได้จาก

(Free Download , ใช้ login ของ Facebook/ Gmail)



อมยิ้ม33ข้อมูลจากกระทู้เก่า pantip



อมยิ้ม33ชีวประวัติอันน่าอัศจรรย์ของ อ.เสถียร โพธินันทะ



อมยิ้ม33อ่าน ธรรมบรรยายของอาจารย์ได้จากเวป



ฟังธรรมบรรยายบนเวป



รายชื่อธรรมบรรยาย



ฟังจาก youtube



ดาวน์โหลดไฟล์ mp3 ธรรมบรรยาย




๑.  เป็นคนใฝ่ใจในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ตั้งแต่วัยเยาว์ท่านเป็นคนรักการอ่าน สนใจสิ่งที่เป็นความรู้
ได้ศึกษาจนมีความแตกฉานหลายภาษา รู้จักคิดและเขียน โดยมีบทความตีพิมพ์ลงนิตยสารธรรมจักษุในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
ซึ่งในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๑๗ ปี  ด้วยความที่เป็นคนรักการอ่าน และชอบซักถามในเรื่องราวที่เป็นสาระความรู้ ทำให้ท่าน
มีความรู้กว้างขวางและลุ่มลึก จนมีผู้ยกย่องให้เป็นปราชญ์ตั้งแต่อายุยังน้อย


๒. เป็นคนมีความกตัญญู แม้ว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ จะมิได้ช่วยมารดาในกิจการร้านค้าเลย คงสนใจแต่เรื่องของศาสนา
แต่เมื่อมีรายได้พอสมควรแก่อัตภาพ ก็ได้นำไปมอบให้มารดาเป็นประจำ มารดาของท่านเล่าว่า เมื่อมารดาไม่พอใจหรือว่ากล่าว
ก็จะไม่โต้เถียงเลย และจะถือโอกาสขอโทษมารดาที่ทำให้ไม่พอใจ ทั้งนี้เป็นผลจากการปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา
ซึ่งทำให้มารดามีความอาลัยรักมากเมื่อถึงแก่กรรม


๓. มีจิตใจเมตตากรุณา โดยปกติแล้ว อาจารย์เสถียร จะบริจาคทรัพย์ปล่อยปลาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่เล็กมา
ก็เป็นคนไม่ชอบทำร้ายหรือทารุณสัตว์ ถ้ามีโอกาสก็จะถือศีลกินมังสวิรัตสม่ำเสมอ ในคำสั่งเสียเรื่องงานศพของท่าน
ยังได้สั่งให้ปล่อยนกปล่อยปลาทุกวันจนกว่าจะถึงวันเผา และภัตตาหารที่จะถวายพระให้เป็นภัตตาหารเจ อย่าให้มีของสดคาว
ทั้งนี้ก็ด้วยประสงค์จะไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น ให้ตกล่วงไปเพราะมรณะกรรมของตน


๔. อารมณ์แจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ พระนิสิตที่ได้เรียนกับท่านกล่าวว่า “ใบหน้าของท่านผู้นี้อิ่มเอิบผ่องใส
เราไม่เคยเห็นรอยบึ้งสักครั้งเดียว คราวใดที่ถูกต้อนด้วยคำถามหนัก ๆ ท่านกลับหัวเราะและตอบออกมาได้อย่างสบายใจ
แสดงออกถึงการปล่อยวาง ไม่แปรปรวนไปตามกระแสโลก อันวนเวียนอยู่กับความสุขและความทุกข์
ใครเห็นก็อยากจะมาผูกมิตรด้วยเพราะทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้รู้สึกสบายใจ


๕. มีปัญญาอันยอดเยี่ยม สามารถอ่านหนังสือเพียงครั้งเดียวแล้วจดจำสาระสำคัญไว้ได้ทั้งหมด
จนเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่คนทั่วไป มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งคุณบุญยง ว่องวานิชได้รับการร้องขอจากหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง
ให้เขียนบทความเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย คุณบุญยงเขียนไปได้ไม่เท่าไรก็ติดขัด เนื่องจากไม่ทราบประวัติดีนัก
ครั้นไปค้นตามห้องสมุดก็ไม่พบ เมื่อจนปัญญาจึงได้โทรศัพท์ไปหาอาจารย์เสถียร ท่านก็บอกว่าให้รีบหากระดาษมาจด
แล้วก็เล่าประวัติทั้งปี พ.ศ. ตลอดจนชื่อกษัตริย์ผู้สร้างได้ถูกต้องทั้งหมด เหตุการณ์เช่นนี้คนใกล้ชิดท่านมักจะได้ประสบอยู่เสมอ ๆ
ซึ่งคุณบุญยงกล่าวว่า “ความสามารถอันยอดเยี่ยมเช่นนี้ ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบที่ไหนอีกเลย”

ในข้อนี้ ท่านศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ได้กล่าวรับรองไว้เช่นเดียวกันว่า “คุณเสถียร โพธินันทะ
เป็นบุคคลผู้มีคุณลักษณะพิเศษอย่างยิ่งคนหนึ่งที่ผมได้พบเห็นและรู้จัก คำบรรยายเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
ที่ท่านได้กล่าวออกมาแก่เรา มีลักษณะเหมือนภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ที่ท่านได้อ่านทราบมา ความรู้ที่ท่านได้รับจาก
พระธรรมคัมภีร์เหล่านั้น ดูเหมือนท่านจะได้ถ่ายภาพประกับเข้ากับจิตใจของท่าน แล้วท่านก็ส่องภาพนั้น ๆ ออกมา
ให้เราเห็นชัดเจนแจ่มใส ลักษณะอย่างนี้ฝรั่งเขาเรียกว่า PHOTOGRAPHIC MIND อันเป็นคุณลักษณะที่หาได้ยากมาก”


๖. ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ท่านดำรงตนดังเช่น “ฆราวาสมุนี” คือเป็นฆราวาสผู้บำเพ็ญธรรม มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
ไม่หรูหราฟุ้งเฟ้อ ไม่เคยเห็นผูกนาฬิกาข้อมือ แต่งกายเรียบ ๆ ปอน ๆ แต่สะอาดสะอ้าน

เคยมีผู้ถามท่านว่าทำไมไม่แต่งกายให้หรูหราหรือภูมิฐานกว่านี้ ท่านก็ยิ้มน้อย ๆ  และตอบว่า
“ไม่ไหวละครับ ผมไม่ต้องการประชันสังคม เขามีอะไรก็มีไปเถอะ สิ่งใดไม่จำเป็นจริง ๆ ผมจะสลัดออกให้หมด
แม้ว่าผมจะไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ผมก็ไปชุดนี้…ผมเป็นคนประพฤติธรรม
เป็นฆราวาสมุนี ขอใช้ชีวิตโดดเดี่ยว และให้วิทยาเป็นทานเรื่อยไป”


๗. เป็นคนเห็นความสำคัญของเวลา ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการปาฐกถาหรือบรรยายในมหาวิทยาลัยสงฆ์
ท่านจะเป็นคนรักษาเวลาดีมาก จะเข้าบรรยายตรงเวลา และออกเมื่อหมดเวลา ไม่เคยมาสายให้ใคร ๆ ต้องรอ
ถ้ามีเวลาว่างก็ไม่ปล่อยให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่จะใช้ศึกษาหาความรู้ หรือไม่ก็เรียบเรียงตำรับตำราที่มีคุณค่าได้เป็นจำนวนมาก
เวลาแต่ละวันของท่านอุทิศเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมและพระศาสนา จะหาเวลาเพื่อความสุขสำราญส่วนตนนั้นน้อยนัก
ท่านไม่มีครอบครัว ไม่เที่ยวเตร่ดื่มกินดังเช่นที่คนวัยหนุ่มนิยมกัน จึงมีเวลาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มาก
ที่มา http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-07.htm


จาก wiki
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่