เรื่องจริง! ที่เกิดขึ้น...ปีพุทธศักราช 2501
ธงชาติไทย..กับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร..
หลักฐานที่ชาติไทย..คนไทยสามารถแสดงให้ปรากฏต่อชาวโลกได้เช่นกัน
ณ ช่วงเวลานั้น มีคนไทยกลุ่มหนึ่งหาญกล้ามุ่งหน้าสู่....
ผืนแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ
ช่วงชายแดนรอยต่อของไทยกับเขมร
พื้นที่เสี่ยงภัยจากการปะทะสู้รบกัน
ทั้งอาจเกิดการยิงต่อสู้ที่แนวชายแดน
การต้องการช่วงชิงดินแดน
และภัยจากธรรมชาติ แดนดินล้อมรอบด้วยป่าเขา
เส้นทางทุรกันดาร เต็มไปด้วยสัตว์ป่า และไข้ป่า ต่าง ๆ นานา
เมื่อปีพุทธศักราช 2501
แม้มีเหตุการณ์พิพาทเกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา (เขมร)
กรณีเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
ดังนั้น ต้องใช้คำว่า..หาญกล้า กับพวกเขา..ที่กล้าเผชิญ
กล้าเสี่ยงภัย โดยไม่หวั่นกลัว อะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า
เมื่อต้องอยู่ในดินแดนที่กำลังเกิดเรื่องพิพาทกัน
พวกเขากลับมุ่งมั่น ต่อความคิด ความต้องการ
เข้าไปดินแดน ปราสาทพระวิหาร เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ด้วยจิตสำนึกรักชาติ เพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์
ณ ปราสาทเขาพระวิหาร ที่ยังคงเป็นของชาติไทย ในเวลานั้น
เหตุการณ์..ที่เกิดขึ้นเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร ณ ช่วงเวลานั้น
พวกเขาบุกบั่นฟันฝ่า เดินทางไปที่นั่น...ดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แผ่นดินของใคร"
(เดิมใช้ชื่อเรื่องว่า “แผ่นดินฉกรรจ์”)
ทั้ง ๆ ที่ ณ ช่วงเวลานั้น.....
พุทธศักราช 2501 ไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาท
กรณีการถือครองกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
วันที่ 4 สิงหาคม 2501 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทางชายแดนไทยด้านกัมพูชา รวม 5 จังหวัด
คือ จันทบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
วันที่ 1 ธันวาคม 2501 รัฐบาลกัมพูชาตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
หลังจากที่การเจรจาไม่บรรลุผล
ต่อมาเมื่อ วันที่6 ตุลาคม 2502
กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
ขอศาลวินิจฉัยให้ไทยถอนกำลังออกจากปราสาทเขาพระวิหาร
และชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร
....15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้มีคำตัดสินพิพากษา
ให้ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา......
ประเด็นทางกฎหมาย ตามที่มาจาก มติชนออนไลน์ มีดังนี้
“ ตามคําร้องของกัมพูชาที่สำคัญ ที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า
กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
โดยสรุป ไทยแพ้ในประเด็นเรื่องของแผนที่ที่ไทยได้
ร้องขอให้ทางฝรั่งเศสจัดทำขึ้น เพราะไทยขาดผู้เชี่ยวชาญ
แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่
แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้าน
หรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่
ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้ง
ที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาดเคลื่อน
หรือความผิดพลาดของแผนที่
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานาน
เท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธใน
ภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า
ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
เหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น
กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่
และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับ
อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร
ว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) "
จริงหรือ..ที่คนไทย...ประเทศไทย ยอมรับตามที่
ศาลโลกวินิจฉัยถึงการที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เยือนปราสาทเขาพระวิหาร...และธงชาติฝรั่งเศส
เชิญอ่านได้ ณ บัดนี้...
ย้อนรอยอดีตกลับไปเมือปีพุทธศักราช 2501
ณ เวลานั้น ปีพุทธศักราช 2501 ได้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างไทยกับเขมร
ในการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
กลุ่มชาวไทยจำนวนหนึ่ง เป็นทีมงานสร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง “แผ่นดินของใคร”
กลับฮึกเหิม กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ หวั่นเกรงภยันตรายใด ๆ พวกเขาร่วมใจเดียวกัน
รักหวงแหนผืนแผ่นดินไทย พากันเดินทางบุกบั่นฝ่าดินแดนปราสาทพระวิหาร
เพื่อเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ โดยใช้เวลาเป็นแรมเดือน ถ่ายทำในสถานที่จริง
...ณ ดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
(หลักฐานอ้างจากวันที่ระบุไว้หลังรูปภาพถ่าย..ธันวาคม 2501)
เป็นหลักฐานที่บ่งชี้เจตนารมณ์ และสำนึกรักแผ่นดิน
หนึ่งในหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย
ขอเอ่ยนาม "ฉลอง กลิ่นพิกุล" เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์
ได้ลำดับภาพฟิล์มหนัง และเก็บภาพนิ่งเบื้องหลังการถ่ายทำไว้
ด้านหลังภาพถ่ายระบุวันเดือนปี คือ ธันวาคม 2501
ข้ามปีมาจนถึงปี พ.ศ. 2502 การถ่ายทำภาพยนตร์จึงเสร็จสมบูรณ์
ใช้เวลาการถ่ายทำ เหนือผืนแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร
จังหวัดศรีสะเกษ (ณ เวลานั้น) ต่อเนื่องกันหลายเดือน
ภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม.
นำออกฉายเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
เปิดฉายถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร
นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล แมน ธีระพล วิชิต ไวงาน
เชาว์ แคล่วคล่อง สมพงษ์ กงสุวรรณ สุทิน บัณฑิตกุล
สมชาย ปัญทรางกูร แสดงประกอบโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช
ปรียา รุ่งเรือง (ซึ่งต่อมาปรียา รุ่งเรือง ได้รับฉายาอันโด่งดังว่า
นางเอกหนังอกเขาพระวิหาร และแสดงนำในตำนานภาพยนตร์ไทย
เรื่องแม่นาคพระโขนง)
หนังพากย์โดย สมพงษ์ พิมพ์พร - สายพิณ และสีเทา
คณะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” ได้บันทึกภาพเบื้องหลังการถ่ายทำ
เป็นภาพถ่ายขาวดำ โดยช่างถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้คือ "ฉลอง กลิ่นพิกุล"
"ฉลอง" เป็นนักถ่ายหนังที่มีแนวคิดเป็นอัตลักษณ์ โดดเด่น
ด้วยการนำเสนอภาพอย่างอาจหาญ มีหัวคิดก้าวล้ำนำยุค
กล้าบ้าบิ่นในการถ่ายทำ เพื่อให้มุมกล้องออกมาสวยงาม
ลักษณะภาพที่ถ่ายทำเป็นมุมกล้องมุมสูง
ลักษณะ bird eyes view (การถ่ายภาพจากมุมสูง)
ช่างถ่ายภาพยนตร์คงจินตนาการให้ภาพแสดงออกมา
ให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม
รอบ ๆ บริเวณดินแดนปราสาทพระวิหาร
ทั้งที่ยุคนั้นไม่มีอุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีจักรกล
เข้าช่วยดังโลกยุคปัจจุบัน ยุคไฮเทค
ภาพประวัติศาสตร์ไทย ณ ดินแดนปราสาทพระวิหาร
ถูกจารึกไว้ และเป็นภาพที่หาชมได้ยากยิ่ง
ภาพแสดงถึงฝีมือการถ่ายทำด้วยมันสมอง
ไอเดียความคิดที่ก้าวหน้า ท้าทาย
เป็นความฉลาดของคนไทยยุคก่อน
ที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน
การถ่ายภาพมุมสูง โดยการสร้างนั่งร้านไม้ไผ่
สูงเท่ากับตึก 4 ชั้นทีเดียว มีลักษณะลาดเทลงมา
รถล้อเลื่อน สามารถชักลากขึ้นลง
ระหว่างพื้นดินด้านล่าง สู่ยอดบนสุด
รถลากบรรทุกช่างถ่ายภาพยนตร์ และผู้ช่วยช่างภาพ
กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพยนตร์
ช่างภาพต้องใจถึงทีเดียว ไม่กลัวความสูง
จึงกล้าบ้าบิ่น ท้าทายความสูงได้ขนาดนั้น
จากในภาพ ยอดบนสุดของนั่งร้าน
ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทยชื่อ "ฉลอง กลิ่นพิกุล"
คนสวมหมวกปีกกลมใบเล็ก เป็นคาเรคเตอร์ประจำตัว
บอกถึงความเป็นตัวเขาได้อย่างชัดเจน กล้า ท้าทาย
โลดโผนไม่หยุดนิ่ง พร้อมก้าวไปข้างหน้า
เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะของเขา.. “ฉลอง กลิ่นพิกุล”
“ฉลอง กลิ่นพิกุล” ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทย (คนสวมหมวกปีกกลม)
ยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 “ฉลอง” ถ่ายรูปกับดารานำชาย
ทักษิณ แจ่มผล (คนกลาง) แมน ธีระพล
ยังมีภาพเบื้องหลังอีกภาพหนึ่ง ที่บ่งบอกตัวตนของ “ฉลอง” ได้อย่างชัดเจน
ช่างถ่ายภาพยนตร์ผู้กล้า ท้าทายโลก เป็นภาพ “ฉลอง” กำลังนอนเหยียดยาว
ในมือถือกล้องถ่ายภาพยนตร์ เพื่อจับภาพขณะรถถังวิ่งผ่าน
“ฉลอง” กล้าให้รถถังวิ่งเฉียดผ่านตัว เพื่อการบันทึกภาพให้สมจริงสมจัง
สร้างความระทึกขวัญ ตื่นเต้นและท้าทาย
และที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะภาพถ่ายมุมสูงนี้ ยังเป็นภาพประวัติศาสตร์
เป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย เหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร
ได้ถูกบันทึกภาพเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2501
โดยทายาทของฉลอง เป็นผู้ค้นพบ ปี พ.ศ. 2548
และอนุญาตนำออกเผยแพร่ในคราวนี้เอง
ภาพสำคัญภาพนี้ แสดงให้เห็นถึงคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่กล้าหาญ
กล้าแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในอธิปไตยของไทย
เหนือดินแดน...ปราสาทพระวิหาร
(ณ เวลานั้น พ.ศ. 2501 เขมรยังไม่ยื่นฟ้องศาลโลก
ยังไม่มีคำตัดสินพิพากษา..15 มิ.ย. 2505 แต่ธงชาติไทย
หรือการเข้าใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ ได้มีเกิดขึ้นมานานแล้ว และอย่างต่อเนื่อง.....!!!!!!)
คนไทยกลุ่มนี้ ได้เชิญ ธงชาติไทย ขึ้นสู่ยอดเสาเหนือแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร
ด้วยความรัก..ผืนแผ่นดินของไทย และยึดถือในกรรมสิทธิ์ครอบครอง
ดังภาพที่เห็น จากกล้องถ่ายมุมสูง ภาพปรากฏให้เห็นว่าบนผืนดิน
มีดารานักแสดง หนึ่งในนั้น คือ ปรียา รุ่งเรือง
ที่เห็นฉากด้านหลังคือ ปราสาทเขาพระวิหาร
บทพิสูจน์
ภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” ยังมีประเด็นอีกประการที่สำคัญ
เรื่องจิตสำนึก เจตนารมณ์ที่ต้องการถ่ายทอดความรักชาติ
ความหวงแหนผืนแผ่นดินไทยของชนชาวไทย
คณะผู้สร้าง ผู้แสดงและผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงทุ่มเทแรงกาย แรงใจกันเต็มที่
ดารานำ ทักษิณ แจ่มผล ได้รับรางวัลแสดงนำชายยอดเยี่ยม
จากงานการประกวดตุ๊กตาทอง ปี 2502 และจากภาพยนตร์เรื่องนี้
เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังไทยเรื่องนี้
และนี่คือ...บทพิสูจน์ความรักชาติของคนไทย ที่มีตลอดมา
ทุกยุคทุกสมัย
โครงเรื่อง ภาพยนตร์ไทย “แผ่นดินของใคร” ถ่ายทำเมื่อ พ.ศ. 2501
แมนและวิไลวรรณ สองสายลับของทางการ ปลอมตัว
เพื่อสกัดกั้นการรุกรานอธิปไตยจากต่างชาติ
(ขุน สองฟ้า หนุ่มนักขายยาเร่ ) บริเวณชายแดน
แต่แท้จริงแล้วเป็นตำรวจที่มาร่วมขบวนการนี้
เพื่อผนึกกำลังแรงสามัคคีต่อต้านผู้ที่คิดร้ายทำลายชาติ
ให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
ชมหนัง"แผ่นดินของใคร"
บทส่งท้าย :
หลังจากคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505
ตัดสินให้ ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ตัดสินใจ
นำภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แผ่นดินของใคร” มาเปิดฉายซ้ำวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
ปัจจุบันฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ เก็บอยู่ที่หอภาพยนตร์ไทย ศาลายา นครปฐม
หนังเรื่องแรกเรื่องเดียว ถ่ายทำบนแผ่นดินไทย ณ ปราสาทพระวิหาร ปี พ.ศ. 2501
ธงชาติไทย..กับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร..
หลักฐานที่ชาติไทย..คนไทยสามารถแสดงให้ปรากฏต่อชาวโลกได้เช่นกัน
ณ ช่วงเวลานั้น มีคนไทยกลุ่มหนึ่งหาญกล้ามุ่งหน้าสู่....
ผืนแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ
ช่วงชายแดนรอยต่อของไทยกับเขมร
พื้นที่เสี่ยงภัยจากการปะทะสู้รบกัน
ทั้งอาจเกิดการยิงต่อสู้ที่แนวชายแดน
การต้องการช่วงชิงดินแดน
และภัยจากธรรมชาติ แดนดินล้อมรอบด้วยป่าเขา
เส้นทางทุรกันดาร เต็มไปด้วยสัตว์ป่า และไข้ป่า ต่าง ๆ นานา
เมื่อปีพุทธศักราช 2501
แม้มีเหตุการณ์พิพาทเกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา (เขมร)
กรณีเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
ดังนั้น ต้องใช้คำว่า..หาญกล้า กับพวกเขา..ที่กล้าเผชิญ
กล้าเสี่ยงภัย โดยไม่หวั่นกลัว อะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า
เมื่อต้องอยู่ในดินแดนที่กำลังเกิดเรื่องพิพาทกัน
พวกเขากลับมุ่งมั่น ต่อความคิด ความต้องการ
เข้าไปดินแดน ปราสาทพระวิหาร เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ด้วยจิตสำนึกรักชาติ เพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์
ณ ปราสาทเขาพระวิหาร ที่ยังคงเป็นของชาติไทย ในเวลานั้น
เหตุการณ์..ที่เกิดขึ้นเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร ณ ช่วงเวลานั้น
พวกเขาบุกบั่นฟันฝ่า เดินทางไปที่นั่น...ดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แผ่นดินของใคร"
(เดิมใช้ชื่อเรื่องว่า “แผ่นดินฉกรรจ์”)
ทั้ง ๆ ที่ ณ ช่วงเวลานั้น.....
พุทธศักราช 2501 ไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาท
กรณีการถือครองกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
วันที่ 4 สิงหาคม 2501 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทางชายแดนไทยด้านกัมพูชา รวม 5 จังหวัด
คือ จันทบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
วันที่ 1 ธันวาคม 2501 รัฐบาลกัมพูชาตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
หลังจากที่การเจรจาไม่บรรลุผล
ต่อมาเมื่อ วันที่6 ตุลาคม 2502
กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
ขอศาลวินิจฉัยให้ไทยถอนกำลังออกจากปราสาทเขาพระวิหาร
และชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร
....15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้มีคำตัดสินพิพากษา
ให้ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา......
ประเด็นทางกฎหมาย ตามที่มาจาก มติชนออนไลน์ มีดังนี้
“ ตามคําร้องของกัมพูชาที่สำคัญ ที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า
กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
โดยสรุป ไทยแพ้ในประเด็นเรื่องของแผนที่ที่ไทยได้
ร้องขอให้ทางฝรั่งเศสจัดทำขึ้น เพราะไทยขาดผู้เชี่ยวชาญ
แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่
แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้าน
หรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่
ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้ง
ที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาดเคลื่อน
หรือความผิดพลาดของแผนที่
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานาน
เท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธใน
ภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า
ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
เหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น
กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่
และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับ
อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร
ว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) "
จริงหรือ..ที่คนไทย...ประเทศไทย ยอมรับตามที่
ศาลโลกวินิจฉัยถึงการที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เยือนปราสาทเขาพระวิหาร...และธงชาติฝรั่งเศส
เชิญอ่านได้ ณ บัดนี้...
ย้อนรอยอดีตกลับไปเมือปีพุทธศักราช 2501
ณ เวลานั้น ปีพุทธศักราช 2501 ได้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างไทยกับเขมร
ในการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
กลุ่มชาวไทยจำนวนหนึ่ง เป็นทีมงานสร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง “แผ่นดินของใคร”
กลับฮึกเหิม กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ หวั่นเกรงภยันตรายใด ๆ พวกเขาร่วมใจเดียวกัน
รักหวงแหนผืนแผ่นดินไทย พากันเดินทางบุกบั่นฝ่าดินแดนปราสาทพระวิหาร
เพื่อเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ โดยใช้เวลาเป็นแรมเดือน ถ่ายทำในสถานที่จริง
...ณ ดินแดนปราสาทเขาพระวิหาร
(หลักฐานอ้างจากวันที่ระบุไว้หลังรูปภาพถ่าย..ธันวาคม 2501)
เป็นหลักฐานที่บ่งชี้เจตนารมณ์ และสำนึกรักแผ่นดิน
หนึ่งในหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย
ขอเอ่ยนาม "ฉลอง กลิ่นพิกุล" เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์
ได้ลำดับภาพฟิล์มหนัง และเก็บภาพนิ่งเบื้องหลังการถ่ายทำไว้
ด้านหลังภาพถ่ายระบุวันเดือนปี คือ ธันวาคม 2501
ข้ามปีมาจนถึงปี พ.ศ. 2502 การถ่ายทำภาพยนตร์จึงเสร็จสมบูรณ์
ใช้เวลาการถ่ายทำ เหนือผืนแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร
จังหวัดศรีสะเกษ (ณ เวลานั้น) ต่อเนื่องกันหลายเดือน
ภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม.
นำออกฉายเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
เปิดฉายถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร
นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล แมน ธีระพล วิชิต ไวงาน
เชาว์ แคล่วคล่อง สมพงษ์ กงสุวรรณ สุทิน บัณฑิตกุล
สมชาย ปัญทรางกูร แสดงประกอบโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช
ปรียา รุ่งเรือง (ซึ่งต่อมาปรียา รุ่งเรือง ได้รับฉายาอันโด่งดังว่า
นางเอกหนังอกเขาพระวิหาร และแสดงนำในตำนานภาพยนตร์ไทย
เรื่องแม่นาคพระโขนง)
หนังพากย์โดย สมพงษ์ พิมพ์พร - สายพิณ และสีเทา
คณะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” ได้บันทึกภาพเบื้องหลังการถ่ายทำ
เป็นภาพถ่ายขาวดำ โดยช่างถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้คือ "ฉลอง กลิ่นพิกุล"
"ฉลอง" เป็นนักถ่ายหนังที่มีแนวคิดเป็นอัตลักษณ์ โดดเด่น
ด้วยการนำเสนอภาพอย่างอาจหาญ มีหัวคิดก้าวล้ำนำยุค
กล้าบ้าบิ่นในการถ่ายทำ เพื่อให้มุมกล้องออกมาสวยงาม
ลักษณะภาพที่ถ่ายทำเป็นมุมกล้องมุมสูง
ลักษณะ bird eyes view (การถ่ายภาพจากมุมสูง)
ช่างถ่ายภาพยนตร์คงจินตนาการให้ภาพแสดงออกมา
ให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม
รอบ ๆ บริเวณดินแดนปราสาทพระวิหาร
ทั้งที่ยุคนั้นไม่มีอุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีจักรกล
เข้าช่วยดังโลกยุคปัจจุบัน ยุคไฮเทค
ภาพประวัติศาสตร์ไทย ณ ดินแดนปราสาทพระวิหาร
ถูกจารึกไว้ และเป็นภาพที่หาชมได้ยากยิ่ง
ภาพแสดงถึงฝีมือการถ่ายทำด้วยมันสมอง
ไอเดียความคิดที่ก้าวหน้า ท้าทาย
เป็นความฉลาดของคนไทยยุคก่อน
ที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน
การถ่ายภาพมุมสูง โดยการสร้างนั่งร้านไม้ไผ่
สูงเท่ากับตึก 4 ชั้นทีเดียว มีลักษณะลาดเทลงมา
รถล้อเลื่อน สามารถชักลากขึ้นลง
ระหว่างพื้นดินด้านล่าง สู่ยอดบนสุด
รถลากบรรทุกช่างถ่ายภาพยนตร์ และผู้ช่วยช่างภาพ
กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพยนตร์
ช่างภาพต้องใจถึงทีเดียว ไม่กลัวความสูง
จึงกล้าบ้าบิ่น ท้าทายความสูงได้ขนาดนั้น
จากในภาพ ยอดบนสุดของนั่งร้าน
ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทยชื่อ "ฉลอง กลิ่นพิกุล"
คนสวมหมวกปีกกลมใบเล็ก เป็นคาเรคเตอร์ประจำตัว
บอกถึงความเป็นตัวเขาได้อย่างชัดเจน กล้า ท้าทาย
โลดโผนไม่หยุดนิ่ง พร้อมก้าวไปข้างหน้า
เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะของเขา.. “ฉลอง กลิ่นพิกุล”
“ฉลอง กลิ่นพิกุล” ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทย (คนสวมหมวกปีกกลม)
ยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 “ฉลอง” ถ่ายรูปกับดารานำชาย
ทักษิณ แจ่มผล (คนกลาง) แมน ธีระพล
ยังมีภาพเบื้องหลังอีกภาพหนึ่ง ที่บ่งบอกตัวตนของ “ฉลอง” ได้อย่างชัดเจน
ช่างถ่ายภาพยนตร์ผู้กล้า ท้าทายโลก เป็นภาพ “ฉลอง” กำลังนอนเหยียดยาว
ในมือถือกล้องถ่ายภาพยนตร์ เพื่อจับภาพขณะรถถังวิ่งผ่าน
“ฉลอง” กล้าให้รถถังวิ่งเฉียดผ่านตัว เพื่อการบันทึกภาพให้สมจริงสมจัง
สร้างความระทึกขวัญ ตื่นเต้นและท้าทาย
และที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะภาพถ่ายมุมสูงนี้ ยังเป็นภาพประวัติศาสตร์
เป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย เหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร
ได้ถูกบันทึกภาพเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2501
โดยทายาทของฉลอง เป็นผู้ค้นพบ ปี พ.ศ. 2548
และอนุญาตนำออกเผยแพร่ในคราวนี้เอง
ภาพสำคัญภาพนี้ แสดงให้เห็นถึงคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่กล้าหาญ
กล้าแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในอธิปไตยของไทย
เหนือดินแดน...ปราสาทพระวิหาร
(ณ เวลานั้น พ.ศ. 2501 เขมรยังไม่ยื่นฟ้องศาลโลก
ยังไม่มีคำตัดสินพิพากษา..15 มิ.ย. 2505 แต่ธงชาติไทย
หรือการเข้าใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ ได้มีเกิดขึ้นมานานแล้ว และอย่างต่อเนื่อง.....!!!!!!)
คนไทยกลุ่มนี้ ได้เชิญ ธงชาติไทย ขึ้นสู่ยอดเสาเหนือแผ่นดินปราสาทเขาพระวิหาร
ด้วยความรัก..ผืนแผ่นดินของไทย และยึดถือในกรรมสิทธิ์ครอบครอง
ดังภาพที่เห็น จากกล้องถ่ายมุมสูง ภาพปรากฏให้เห็นว่าบนผืนดิน
มีดารานักแสดง หนึ่งในนั้น คือ ปรียา รุ่งเรือง
ที่เห็นฉากด้านหลังคือ ปราสาทเขาพระวิหาร
บทพิสูจน์
ภาพยนตร์เรื่อง “แผ่นดินของใคร” ยังมีประเด็นอีกประการที่สำคัญ
เรื่องจิตสำนึก เจตนารมณ์ที่ต้องการถ่ายทอดความรักชาติ
ความหวงแหนผืนแผ่นดินไทยของชนชาวไทย
คณะผู้สร้าง ผู้แสดงและผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงทุ่มเทแรงกาย แรงใจกันเต็มที่
ดารานำ ทักษิณ แจ่มผล ได้รับรางวัลแสดงนำชายยอดเยี่ยม
จากงานการประกวดตุ๊กตาทอง ปี 2502 และจากภาพยนตร์เรื่องนี้
เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังไทยเรื่องนี้
และนี่คือ...บทพิสูจน์ความรักชาติของคนไทย ที่มีตลอดมา
ทุกยุคทุกสมัย
โครงเรื่อง ภาพยนตร์ไทย “แผ่นดินของใคร” ถ่ายทำเมื่อ พ.ศ. 2501
แมนและวิไลวรรณ สองสายลับของทางการ ปลอมตัว
เพื่อสกัดกั้นการรุกรานอธิปไตยจากต่างชาติ
(ขุน สองฟ้า หนุ่มนักขายยาเร่ ) บริเวณชายแดน
แต่แท้จริงแล้วเป็นตำรวจที่มาร่วมขบวนการนี้
เพื่อผนึกกำลังแรงสามัคคีต่อต้านผู้ที่คิดร้ายทำลายชาติ
ให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
ชมหนัง"แผ่นดินของใคร"
บทส่งท้าย :
หลังจากคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505
ตัดสินให้ ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ตัดสินใจ
นำภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แผ่นดินของใคร” มาเปิดฉายซ้ำวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
ปัจจุบันฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ เก็บอยู่ที่หอภาพยนตร์ไทย ศาลายา นครปฐม