การวางตัวของมดลูกแบบไหน ที่ทำให้คลอดยาก/เป็นหมัน/มีบุตรยาก?

พอดีไปอ่านหนังสือกายวิภาคมาคะ(เตรียมตัวสอบ) แล้วเผอิญมันเป็นหนังสือภาษาอังกฤษที่ไม่มีคำอธิบาย
อ่านที่นี้คะ http://web.uni-plovdiv.bg/stu1104541018/docs/res/anatomy_atlas_-_Patrick_W._Tank.html แล้วไปเจอภาพนี้เข้า



อยากทราบว่าการวางตัวของมดลูกแบบไหนที่ทำให้มีโอกาสคลอดยาก/เป็นหมัน/มีบุตรยาก สามอย่างนี้ การวางตัวของมดลูกมีผลกับเหตุการณ์ใดมากกว่ากันคะ?

ตามแนวคิดของตัวเองเลยนะคะ
A - ปกติ
B - นี่มีบุตรยาก กว่าเสปิร์มจะได้เข้าไปถึงท่อนำไข่
C - เด็กหลุดง่าย หรือมีปัญหากับลำไส้มากกว่า เพราะจากภาพมดลูกไปดันลำไส้
D - เป็นหมันเลยมั๊ยคะ? 555
คิดว่าแนวคิดนี้ถูกผิดยังไงแก้ไข้ให้ด้วยค่ะ อมยิ้ม07
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
รูป A เป็น normal anatomical position ( มดลูกคว่ำหน้า) ในผู้ที่ไม่เคยคลอดบุตรทางช่องคลอด

รูป B เป็น position ผิดปกติ (มดลูกคว่ำหลัง) ไม่เกิดขึ้นเอง เกิดเพราะมีพังผืดดึงให้มดลูกคว่ำแบบนั้น มดลูกคว่ำหลังไม่ได้ทำให้มีลูกยาก เพราะคว่ำอย่างไร เอียงอย่างไร
อสุจิก็เข้าไปจนได้ โรคที่ทำให้เกิดพังผืดดึงให้มดลูกคว่ำหลังนั่นต่างหาก ทำให้มีลูกยาก โรคที่ทำให้มดลูกคว่ำหลัง และมีลูกยากคือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) หรือที่รู้จักกันว่า chocolate cyst รองลงมาก็ปีกมดลูกอักเสบ ( pelvic inflammatory disease , PID)

รูป C  มดลูกคว่ำหลังอีกแบบหนึ่ง ความจริงน่าจะเรียกว่าหงายหลังมากกว่า พบในผู้เคยคลอดบุตรทางช่องคลอดมาแล้ว ที่หงายไปข้างหลัง เพราะเส้นเอ็นยึดมดลูกจะยืดออก กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อนลงนิดหน่อย

รูป D มดลูกอยู่ในแกนเดียวกับแกนช่องคลอด พร้อมจะเลื่อนต่ำลงมา เลื่อนออกมาพ้นปากช่องคลอดยังได้ พบในผู้ที่คลอดลูกทางช่องคลอดมาหลายครั้ง  ไม่มีการเย็บซ่อมแซมแผล กล้ามเนื้อกระบังลมฉีกขาด ไม่สามารถพยุงมดลูกให้อยู่ที่เดิมได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่