สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ตั้งสำนักรับรองมาตรฐาน และคุณภาพการศึกษา (สมศ.)ขึ้น เพื่อให้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษา แก่โรงเรียน และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ผลที่ปรากฏคือ คุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะวัดผลโดยการสอบมาตรฐานในประเทศเองอย่าง O-NET หรือการทดสอบที่จัดโดยองค์กรต่างประเทศ เช่น PISA
ทั้งนี้เพราะการวัดผลของ สมศ. ส่วนใหญ่ไม่ได้วัดตัวชี้วัดที่เป็นคุณภาพจริง แต่เน้นการสร้างเอกสาร และหลักฐานเพื่อการตรวจนับเป็นหลัก จึงทำให้ครู/อาจารย์แต่ละคนต้องเสียเวลาร้อยละ 10 ถึง 50 ของเวลางานไปในการเตรียมเอกสารดังกล่าว งานหลักซึ่งได้แก่งานสอนจึงลดความสำคัญลง โดยครูสอนไม่ครบ แต่จะให้นักเรียนไปเรียนรู้เอาเองจากการทำรายงาน โครงงาน หรือ แม้แต่เรียนพิเศษเอาเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจึงตกต่ำลง
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการวิจัย และเผยแพร่บทความเรื่อง “ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย : สาเหตุและข้อเสนอแนะ” ลิงค์
http://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/ ยืนยันว่าวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ผิดพลาด โดยผลการประเมินไม่มีความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และแนะนำให้ยกเลิกวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเสีย
ล่าสุด งบประมาณประจำปี (พ.ศ. 2556) ของกระทรวงศึกษาธิการพุ่งขึ้นไปถึง 4.6 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาต่องบประมาณรวมที่สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน แต่ผลการจัดอันดับด้านคุณภาพการศึกษาโดย World Economic Forum ปี พ.ศ. 2556 ให้ไทยอยู่อันดับที่ 8 ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มรั้งท้ายในตาราง
หากประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น เราสูญเสียงบประมาณด้านการศึกษาไปกับการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเพราะระบบประกันคุณภาพชนิดนี้ผ่านกระทรวงศึกษาไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนความสูญเสียที่เยาวชนไทยรุ่นนี้ไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ประเทศไทยอ่อนแอและไม่สามารถแข่งขันกับนาๆประเทศได้ในอนาคต นับเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่อาจประเมินค่าได้
ผมจึงขอเชิญชวนเพื่อน ครู/อาจารย์ นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน ร่วมกันลงชื่อแสดงประชามติว่าพวกเราต้องการให้ ยกเลิกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ดำเนินการโดย สมศ. และกระทรวงศึกษาธิการ และให้เปลี่ยนวิธีการประเมิน และวัดผลกลับมาเน้นวัดผลสัมฤทธิ์เป็นหลักแทน
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99?recruiter=106544645&utm_source=share_petition&utm_medium=facebook&utm_campaign=share_facebook_responsive&utm_term=des-lg-share_petition-no_msg&fb_ref=Default
เราควรยกเลิก สมศ.? อ่านข้อความด้านในลิงค์และขอความร่วมมือผู้ที่สนับสนุนครับ
ทั้งนี้เพราะการวัดผลของ สมศ. ส่วนใหญ่ไม่ได้วัดตัวชี้วัดที่เป็นคุณภาพจริง แต่เน้นการสร้างเอกสาร และหลักฐานเพื่อการตรวจนับเป็นหลัก จึงทำให้ครู/อาจารย์แต่ละคนต้องเสียเวลาร้อยละ 10 ถึง 50 ของเวลางานไปในการเตรียมเอกสารดังกล่าว งานหลักซึ่งได้แก่งานสอนจึงลดความสำคัญลง โดยครูสอนไม่ครบ แต่จะให้นักเรียนไปเรียนรู้เอาเองจากการทำรายงาน โครงงาน หรือ แม้แต่เรียนพิเศษเอาเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจึงตกต่ำลง
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการวิจัย และเผยแพร่บทความเรื่อง “ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย : สาเหตุและข้อเสนอแนะ” ลิงค์ http://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/ ยืนยันว่าวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ผิดพลาด โดยผลการประเมินไม่มีความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และแนะนำให้ยกเลิกวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเสีย
ล่าสุด งบประมาณประจำปี (พ.ศ. 2556) ของกระทรวงศึกษาธิการพุ่งขึ้นไปถึง 4.6 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาต่องบประมาณรวมที่สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน แต่ผลการจัดอันดับด้านคุณภาพการศึกษาโดย World Economic Forum ปี พ.ศ. 2556 ให้ไทยอยู่อันดับที่ 8 ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มรั้งท้ายในตาราง
หากประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น เราสูญเสียงบประมาณด้านการศึกษาไปกับการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเพราะระบบประกันคุณภาพชนิดนี้ผ่านกระทรวงศึกษาไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนความสูญเสียที่เยาวชนไทยรุ่นนี้ไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ประเทศไทยอ่อนแอและไม่สามารถแข่งขันกับนาๆประเทศได้ในอนาคต นับเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่อาจประเมินค่าได้
ผมจึงขอเชิญชวนเพื่อน ครู/อาจารย์ นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน ร่วมกันลงชื่อแสดงประชามติว่าพวกเราต้องการให้ ยกเลิกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ดำเนินการโดย สมศ. และกระทรวงศึกษาธิการ และให้เปลี่ยนวิธีการประเมิน และวัดผลกลับมาเน้นวัดผลสัมฤทธิ์เป็นหลักแทน
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99?recruiter=106544645&utm_source=share_petition&utm_medium=facebook&utm_campaign=share_facebook_responsive&utm_term=des-lg-share_petition-no_msg&fb_ref=Default