ยูเอ็นเผยรายงานดัชนีความสุขพลเมืองโลกประจำปีนี้ สวิตเซอร์แลนด์ครองอันดับ 1 สุขสุดขีด ตามติดด้วยอีกหลายประเทศในยุโรป ขณะที่ไทยสุขพอใช้อยู่ในลำดับที่ 34
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ว่า สหประชาชาติ (ยูเอ็น) และเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Solutions Network) เผยรายงานความสุขของประชากรโลกประจำปีนี้ "เวิลด์ แฮปปี้เนส รีพอร์ต 2015" จากการประเมินผลใน 158 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่า 10 อันดับแรกตกเป็นของสวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ แคนาดา ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย โดยดินแดนแถบสแกนดิเนเวียในอนุภูมิภาคยุโรปเหนือทั้ง 5 ประเทศรวมอยู่ในนี้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก
ส่วนมหาอำนาจอย่างสหรัฐตามมาในลำดับที่ 15 และอังกฤษในลำดับที่ 21 ทั้งคู่ล้วนเป็นรองอิสราเอลและเม็กซิโก สูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของเราคือสิงคโปร์ ลำดับที่ 24 ขณะที่ไทยเองก็ไม่น้อยหน้าตามมาในลำดับที่ 34 รัสเซียอยู่อันดับที่ 64 พี่ใหญ่เอเชียอย่างจีนได้ที่ 84 อิรักที่ 112 ส่วน 10 ลำดับท้ายสุดได้แก่ ชาด กินี ไอวอรีโคสต์ บูร์กินาฟาโซ อัฟกานิสถาน รวันดา เบนิน ซีเรีย บุรุนดี และโตโก โดยส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ ประเทศเพื่อนบ้านเราในอาเซียนมีลำดับดังนี้ มาเลเซีย (61) อินโดนีเซีย (74) เวียดนาม (75) ฟิลิปปินส์ (90) ลาว (99) เมียนมาร์ (129) กัมพูชา (145) ส่วนบรูไนไม่ปรากฏข้อมูลในรายงานดังกล่าว
รายงานนี้จัดทำเป็นครั้งที่ 3 ถัดจากปี 2555 และปี 2556 โดยประเมินจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (จีดีพี เพอร์ แคปิตา) การมีอายุยืนอย่างมีสุขภาพดี การเกื้อกูลหรือแรงสนับสนุนทางสังคม เสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิต การปลอดจากภัยคุกคามของการคอร์รัปชัน และการได้ประสบพบเจอกับน้ำใจในสังคม โดยนายเจฟฟรีย์ แซ็ค ประธานเครือข่ายฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐ กล่าวว่า รายงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ความสุขของประชาชนประกอบขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช้เพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงความเป็นธรรม ความซื่อตรง ความไว้วางใจ และการมีสุขภาพที่ดี
สังคมที่แข็งแรงและต้นทุนทางสถาบันมีผลอย่างยิ่ง ทัศนคติที่ดีที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่วัยเด็ก เป็นรากฐานที่นำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข ดังนั้นการลงทุนแต่แรกเริ่ม โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพลเมืองตัวน้อย จะทำให้พวกเขาเติบโตไปเป็นบุคคลที่มีเสรีทางความคิด มีคุณภาพ และมีความสุข ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาชาติ โดยหนึ่งในจุดมุ่งหมายของการจัดทำรายงานนี้ คือการกระตุ้นในภาครัฐในทุกระดับใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสุขของประชากรของตน.
http://www.dailynews.co.th/foreign/316583
จัดดัชนีความสุขคนทั่วโลก ไทยอันดับ34-สวิสอันดับ1
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ว่า สหประชาชาติ (ยูเอ็น) และเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Solutions Network) เผยรายงานความสุขของประชากรโลกประจำปีนี้ "เวิลด์ แฮปปี้เนส รีพอร์ต 2015" จากการประเมินผลใน 158 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่า 10 อันดับแรกตกเป็นของสวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ แคนาดา ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย โดยดินแดนแถบสแกนดิเนเวียในอนุภูมิภาคยุโรปเหนือทั้ง 5 ประเทศรวมอยู่ในนี้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก
ส่วนมหาอำนาจอย่างสหรัฐตามมาในลำดับที่ 15 และอังกฤษในลำดับที่ 21 ทั้งคู่ล้วนเป็นรองอิสราเอลและเม็กซิโก สูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของเราคือสิงคโปร์ ลำดับที่ 24 ขณะที่ไทยเองก็ไม่น้อยหน้าตามมาในลำดับที่ 34 รัสเซียอยู่อันดับที่ 64 พี่ใหญ่เอเชียอย่างจีนได้ที่ 84 อิรักที่ 112 ส่วน 10 ลำดับท้ายสุดได้แก่ ชาด กินี ไอวอรีโคสต์ บูร์กินาฟาโซ อัฟกานิสถาน รวันดา เบนิน ซีเรีย บุรุนดี และโตโก โดยส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ ประเทศเพื่อนบ้านเราในอาเซียนมีลำดับดังนี้ มาเลเซีย (61) อินโดนีเซีย (74) เวียดนาม (75) ฟิลิปปินส์ (90) ลาว (99) เมียนมาร์ (129) กัมพูชา (145) ส่วนบรูไนไม่ปรากฏข้อมูลในรายงานดังกล่าว
รายงานนี้จัดทำเป็นครั้งที่ 3 ถัดจากปี 2555 และปี 2556 โดยประเมินจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (จีดีพี เพอร์ แคปิตา) การมีอายุยืนอย่างมีสุขภาพดี การเกื้อกูลหรือแรงสนับสนุนทางสังคม เสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิต การปลอดจากภัยคุกคามของการคอร์รัปชัน และการได้ประสบพบเจอกับน้ำใจในสังคม โดยนายเจฟฟรีย์ แซ็ค ประธานเครือข่ายฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐ กล่าวว่า รายงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ความสุขของประชาชนประกอบขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช้เพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงความเป็นธรรม ความซื่อตรง ความไว้วางใจ และการมีสุขภาพที่ดี
สังคมที่แข็งแรงและต้นทุนทางสถาบันมีผลอย่างยิ่ง ทัศนคติที่ดีที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่วัยเด็ก เป็นรากฐานที่นำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข ดังนั้นการลงทุนแต่แรกเริ่ม โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพลเมืองตัวน้อย จะทำให้พวกเขาเติบโตไปเป็นบุคคลที่มีเสรีทางความคิด มีคุณภาพ และมีความสุข ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาชาติ โดยหนึ่งในจุดมุ่งหมายของการจัดทำรายงานนี้ คือการกระตุ้นในภาครัฐในทุกระดับใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสุขของประชากรของตน.
http://www.dailynews.co.th/foreign/316583