สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
อะไรที่อ่านแล้วเข้าใจคนเดียว ไม่เข้าใจทั้งองค์กร ใช้ไม่ได้หรอกครับ
คุณฝืนส่งไปทั้งแบบนี้ได้ แต่ซักพักเดียว คุณจะโดนเพื่อนร่วมงาน+หัวหน้า+ลูกค้า ด่า
หรือไม่ก็ขอให้ตั้งชื่อให้มนุษย์ธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจ
ส่วนเรื่องที่กลัวว่า Hacker จะเข้ามาทำลายไฟล์เพราะเจอชื่อไฟล์
ผมบอกเลยครับ Hacker เค้าไม่สนใจชื่อไฟล์หรอกครับ
ไม่งั้น hacker ต่างชาติ มันจะมา hack ข้อมูลคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาเดียวกันได้ยังไง
เค้าสนใจ file extension, file/folder location ครับ
อีกอย่าง ระบบ indexing ตั้งแต่ Windows 7 เป็นต้นมา ฉลาดขึ้นมาก
ถ้าไฟล์อยู่ใน location ที่ทำ index ไว้ ไม่ต้องจำชื่อไฟล์เลย แค่จำได้ว่าในไฟล์นั้นมี keyword อะไรก็ค้นได้เลย
ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยนะครับ แต่ถ้าเก็บไฟล์ไว้ใช้เองคนเดียวไม่แบ่งใคร วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกทางนึง
คุณฝืนส่งไปทั้งแบบนี้ได้ แต่ซักพักเดียว คุณจะโดนเพื่อนร่วมงาน+หัวหน้า+ลูกค้า ด่า
หรือไม่ก็ขอให้ตั้งชื่อให้มนุษย์ธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจ
ส่วนเรื่องที่กลัวว่า Hacker จะเข้ามาทำลายไฟล์เพราะเจอชื่อไฟล์
ผมบอกเลยครับ Hacker เค้าไม่สนใจชื่อไฟล์หรอกครับ
ไม่งั้น hacker ต่างชาติ มันจะมา hack ข้อมูลคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาเดียวกันได้ยังไง
เค้าสนใจ file extension, file/folder location ครับ
อีกอย่าง ระบบ indexing ตั้งแต่ Windows 7 เป็นต้นมา ฉลาดขึ้นมาก
ถ้าไฟล์อยู่ใน location ที่ทำ index ไว้ ไม่ต้องจำชื่อไฟล์เลย แค่จำได้ว่าในไฟล์นั้นมี keyword อะไรก็ค้นได้เลย
ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยนะครับ แต่ถ้าเก็บไฟล์ไว้ใช้เองคนเดียวไม่แบ่งใคร วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกทางนึง
ความคิดเห็นที่ 23
เราไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมแฮ็คเกอร์ ต้องมาอยากได้งานเราและเราควรกลัวน่ะค่ะ
คือ ถ้ามีแฮ็คเข้าได้จริง ก็แปลว่าเอาไปได้หมด ให้ตั้งชื่อไฟล์เข้ารหัสไว้ก็เปล่าประโยชน์
ของเรา เราใช้วิธีแบ่งฮาร์ดดิสต์ในไดรฟ์อื่น ที่ไม่ใช่ c
จัดโฟลเดอร์เป็น สองส่วน งานและส่วนตัว
จากนั้นในโฟลเดอร์งาน จะแบ่งเป็นปีเลย เราทำหน่วยราชการก็เป็นปีงบประมาณค่ะ
ในหนึ่งปีจะประกอบไปด้วยงานที่ทำในปีนั้น
พอหมดปีก็จะขึ้นโฟลเดอร์ใหม่ แล้วแบ่งหมวดงานเหมือนเดิม
ดังนั้นเวลาหาของก็เข้าไปในแต่ละปี ดูว่าในงานย่อย มีไฟล์ที่ต้องการไหม
เช่น
โฟลเดอร์ใหญ่ ปีงบ 2012
- โฟลเดอร์ย่อย - งานบริหาร
- โฟลเดอร์ย่อย - งานวิจัย
- ย่อย โครงการวิจัย xxxx
- ย่อย โครงการวจัย zzzz
- โฟลเดอร์ย่อย - งานวัฒนธรรม
ของส่วนตัวเราก็แบ่งปีแบบนี้เหมือนกัน
งานเราไม่ทำบนไดรฟ์ c ถ้ามีทำก็จะลากไปเก็บที่ไดรฟ์งาน
โดย เวลาทำงาน เราทำลิงค์ไปที่โฟลเดอร์ไว้ที่ตรงสตาร์ทบาร์เลย
เมื่อขึ้นปีงบใหม่ เราก็ทำลิงค์ปีใหม่เพิ่ม
ถ้าปีเก่ายังต้องเข้าบ่อยก็ทำลิงค์ไว้สองปี
จะเป็นหลักเป็นฐานกว่าทำเป็น shortcut บนเดสค์ท็อป
คือ ถ้ามีแฮ็คเข้าได้จริง ก็แปลว่าเอาไปได้หมด ให้ตั้งชื่อไฟล์เข้ารหัสไว้ก็เปล่าประโยชน์
ของเรา เราใช้วิธีแบ่งฮาร์ดดิสต์ในไดรฟ์อื่น ที่ไม่ใช่ c
จัดโฟลเดอร์เป็น สองส่วน งานและส่วนตัว
จากนั้นในโฟลเดอร์งาน จะแบ่งเป็นปีเลย เราทำหน่วยราชการก็เป็นปีงบประมาณค่ะ
ในหนึ่งปีจะประกอบไปด้วยงานที่ทำในปีนั้น
พอหมดปีก็จะขึ้นโฟลเดอร์ใหม่ แล้วแบ่งหมวดงานเหมือนเดิม
ดังนั้นเวลาหาของก็เข้าไปในแต่ละปี ดูว่าในงานย่อย มีไฟล์ที่ต้องการไหม
เช่น
โฟลเดอร์ใหญ่ ปีงบ 2012
- โฟลเดอร์ย่อย - งานบริหาร
- โฟลเดอร์ย่อย - งานวิจัย
- ย่อย โครงการวิจัย xxxx
- ย่อย โครงการวจัย zzzz
- โฟลเดอร์ย่อย - งานวัฒนธรรม
ของส่วนตัวเราก็แบ่งปีแบบนี้เหมือนกัน
งานเราไม่ทำบนไดรฟ์ c ถ้ามีทำก็จะลากไปเก็บที่ไดรฟ์งาน
โดย เวลาทำงาน เราทำลิงค์ไปที่โฟลเดอร์ไว้ที่ตรงสตาร์ทบาร์เลย
เมื่อขึ้นปีงบใหม่ เราก็ทำลิงค์ปีใหม่เพิ่ม
ถ้าปีเก่ายังต้องเข้าบ่อยก็ทำลิงค์ไว้สองปี
จะเป็นหลักเป็นฐานกว่าทำเป็น shortcut บนเดสค์ท็อป
แสดงความคิดเห็น
ผมมีหลักการดีๆในการตั้งชื่อไฟล์งาน ในคอมฯมาแบ่งปัน ล้านๆไฟล์ก็ไม่มีซ้ำ จัดเรียงมีระบบมากๆ เอาไปปรับใช้สำหรับคนวัยทำงาน
เก็บไว้ลึกมากจนลืม หาไม่เจอ Search D: ก็ไม่เจอ เพราะว่าการตั้งชื่อไฟล์ที่ไม่เป็นระเบียบ
ผมเลยใช้เวลานั่งคิดถึง3วัน 3คืน ว่าจะทำอย่างไรดีให้เราสืบค้นข้อมูลในคอมได้ทุกไฟล์ โดยที่ไม่ลืม
ผมจึงคิดออก และเป็นวิธีง่ายๆที่ใช้ได้จริงครับ ชื่อสั้นมากๆแต่ไม่ซ้ำ สืบค้นง่ายด้วย เลยเอามาเสนอครับ
วิธีคือ...ให้ตั้งชื่อไฟล์เป็นโค้ดครับ 0ACZ3-AA เสร็จแล้วครับง่ายไหมครับ เอาไปตั้งชื่อไฟล์รูป ไฟล์คลิป ได้เลยครับ
ทุกอักษร มีโค้ดที่เราตั้งไว้อย่างเป็นระบบมากๆ และนี่คือ คำอธิบายโค้ดตัวอักษรที่ใช้
0ACZ3-AA
0 ศูนย์ตัวแรกหมายถึง หากไฟล์งานเราไปรวมกับงานคนอื่น งานเราจะอยู่บนสุดเหนือใครเสมอ เพราะขึ้นต้นด้วยศูนย์ (หาง่ายไหม)
A เอตัวที่สองหมายถึง ปี2015 ปี2016ก็ใช้B ปี2017ก็ใช้C รันแบบนี้ไปเรื่อยๆ
C ซีตัวที่สามหมายถึงเดือน3 คือเดือนมีนาคม A=มกรา B=กุมภา C=มีนา D=เมษา รันแบบนี้ไปเรื่อยๆ
Z แซดตัวที่สี่หมายถึงวันที่ A=วันที่1 B=วันที่2 C=วันที่3 D=วันที่4 .....Z=วันที่26
3 เลข3หมายถึง พอวันที่27ให้เป็นZ1 28ให้เป็นZ2 รันแบบนี้ไปเรื่อยๆจนถึงวันที่31
- เครื่องหมายคั่นกลางระหว่างวันที่กับ ลำดับของไฟล์
A เอ2ตัวนี้หมายถึงลำดับภาพ ในแต่ละวันที่เราตั้งชื่อไฟล์ AA ไปถึงAZ แล้วก็ขึ้นลำดับใหม่เป็น BA
A เอ2ตัวนี้หมายถึงลำดับภาพ ในแต่ละวันที่เราตั้งชื่อไฟล์ จะมีจำนวนไฟล์ 26x26= 676 ไฟล์ ของในแต่ละวัน ซึ่งไม่ถึงแน่นอน
ง่ายไหมครับ ให้เอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับการตั้งชื่อไฟล์ที่เครื่องคอมฯคุณนะครับ สามารถเรียบเรียงไฟล์
ได้อย่างละเอียด และสืบค้นข้อมูลได้ง่ายมากๆ ของแบบนี้ไม่รักกันจริงเขาไม่เอามาบอกกันครับ
จริงใจครับ