ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสกลับบ้าน และได้ตามไปดูวิธีการทำลูกตาลโตนด หรือ “ลูกโหนด” ในภาษาใต้ แบบสดๆ แบบฉบับคนอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ว่าทำกันอย่างไร ตามไปดูกันเลย
ที่นี่ใครถนัดแบบปีนก็ใช้วิธีการปีน ซึ่งอาจใช้ “โอง” หรือ เชือกช่วยในการปีน (โอง เรียกตามภาษาใต้คือการตัดเอาไม้ไผ่มาผูกติดกับต้นตาล เพื่อช่วยในการปีน) ดังภาพ ภาพนี้ยืมมาจาก Link:
http://kondt1.exteen.com/20120313/entry
แต่ที่ผมตามไปด้วยครั้งนี้เป็นการใช้ไม้สอยเอาครับ อาจดูลำบากหน่อย แต่ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ
ซึ่งก็สามารถปรับขนาดไม้สอยได้ตามความต้องการ โดยขยับขึ้นลงระหว่างไม้สอยใหญ่และไม้สอยเล็กที่ผูกติดกับเคียวสำหรับเกี่ยว
เมื่อได้ลูกโหนดมาแล้วก็จะมาถึงวิธีการเฉาะเอาเม็ดอ่อนด้านในซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มอีกชั้น หรือที่คนกินแบบเราเรียกลูกตาล แต่คนใต้เรียก “ยุมโหนด” ดูปากนัชชาแล้วออกเสียงตามนะคะ “ยุมโหนด” ซึ่งต้องใช้ความสามารถกันพอสมควร หากจะให้ได้ยุมที่สวยงามไม่แตกเละ
บางคนอาจสับเอาเนื้อด้านท้ายของลูกโหนดออกก่อน หรือแบบที่นี่ใช้วิธีการสับเอาตรงๆ เลย ตามคลิป ซึ่งขอบอกว่าเทพมาก พร้าจะต้องคม และมีความแม่นยำสูง
พร้าที่ใช้จะต้องคมกริบ ผมลองเอาปลายนิ้วสัมผัสนิดเดียวหนังถลอกเลย อย่างเว่ออ 555+
บางคนอาจสงสัยว่าไม่สับเนื้อตรงท้ายแล้วจะรู้ได้ไงว่าเม็ดมันอยู่ตรงไหน เม็ดมันจะอยู่ระหว่างลายตามรูปเลย อย่างลูกนี้มีสามยุม
จะได้ยุมประมาณนี้ สดๆ อ่อนๆ ดูน่ากินมากกกก
จากนั้นหากจะนำไปขายก็ต้องใส่ถุงจัดเรียงให้สวยงามประมาณนี้ครับ
หากมันแตกหรือเละ แบบนี้ก็เสร็จผม จะทานสดเลยหรือรวมๆ มาให้เยอะ แล้วเอาทำน้ำกะทิทานก็อร่อยล้ำ
นำช้อนมาปอกเปลือกออก ล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ดังภาพ
นำน้ำกะทิปรุงรสเกลือ น้ำตาลพอหวาน มาใส่ลงไป ตักน้ำแข็งเย็นๆ ใส่ แล้วตักใส่ปากทันที สัมผัสได้ถึงท้องทุ่งเลยครับ
ไว้มีอะไรเกี่ยวกับวิถีท้องทุ่งอีก จะนำมาให้ชมอีกครับ บ้าย บายยย
[SR] พาชมวิถีชีวิตพื้นบ้าน “ลูกตาลโตนด”
ที่นี่ใครถนัดแบบปีนก็ใช้วิธีการปีน ซึ่งอาจใช้ “โอง” หรือ เชือกช่วยในการปีน (โอง เรียกตามภาษาใต้คือการตัดเอาไม้ไผ่มาผูกติดกับต้นตาล เพื่อช่วยในการปีน) ดังภาพ ภาพนี้ยืมมาจาก Link: http://kondt1.exteen.com/20120313/entry
แต่ที่ผมตามไปด้วยครั้งนี้เป็นการใช้ไม้สอยเอาครับ อาจดูลำบากหน่อย แต่ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ
ซึ่งก็สามารถปรับขนาดไม้สอยได้ตามความต้องการ โดยขยับขึ้นลงระหว่างไม้สอยใหญ่และไม้สอยเล็กที่ผูกติดกับเคียวสำหรับเกี่ยว
เมื่อได้ลูกโหนดมาแล้วก็จะมาถึงวิธีการเฉาะเอาเม็ดอ่อนด้านในซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มอีกชั้น หรือที่คนกินแบบเราเรียกลูกตาล แต่คนใต้เรียก “ยุมโหนด” ดูปากนัชชาแล้วออกเสียงตามนะคะ “ยุมโหนด” ซึ่งต้องใช้ความสามารถกันพอสมควร หากจะให้ได้ยุมที่สวยงามไม่แตกเละ
บางคนอาจสับเอาเนื้อด้านท้ายของลูกโหนดออกก่อน หรือแบบที่นี่ใช้วิธีการสับเอาตรงๆ เลย ตามคลิป ซึ่งขอบอกว่าเทพมาก พร้าจะต้องคม และมีความแม่นยำสูง
พร้าที่ใช้จะต้องคมกริบ ผมลองเอาปลายนิ้วสัมผัสนิดเดียวหนังถลอกเลย อย่างเว่ออ 555+
บางคนอาจสงสัยว่าไม่สับเนื้อตรงท้ายแล้วจะรู้ได้ไงว่าเม็ดมันอยู่ตรงไหน เม็ดมันจะอยู่ระหว่างลายตามรูปเลย อย่างลูกนี้มีสามยุม
จะได้ยุมประมาณนี้ สดๆ อ่อนๆ ดูน่ากินมากกกก
จากนั้นหากจะนำไปขายก็ต้องใส่ถุงจัดเรียงให้สวยงามประมาณนี้ครับ
หากมันแตกหรือเละ แบบนี้ก็เสร็จผม จะทานสดเลยหรือรวมๆ มาให้เยอะ แล้วเอาทำน้ำกะทิทานก็อร่อยล้ำ
นำช้อนมาปอกเปลือกออก ล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ดังภาพ
นำน้ำกะทิปรุงรสเกลือ น้ำตาลพอหวาน มาใส่ลงไป ตักน้ำแข็งเย็นๆ ใส่ แล้วตักใส่ปากทันที สัมผัสได้ถึงท้องทุ่งเลยครับ
ไว้มีอะไรเกี่ยวกับวิถีท้องทุ่งอีก จะนำมาให้ชมอีกครับ บ้าย บายยย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น