สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ขั้นตอนบริจาค เตรียมความพร้อมเหมือนการจะไปบริจาคเลือด สองมื้อก่อนมาบริจาค ลดอาหารไขมันสูง
ถ้าที่กาชาด เดินเข้าไปที่ห้องบริจาคเกล็ดเลือดได้เลย อยู่ชั้น 1 ฝั่งขวามือ
1 ยื่นบัตรให้ จนท.
2 เจาะเลือด 1 หลอด ไปตรวจปริมาณ PLT (เกล็ดเลือด) และส่วนประกอบอื่นๆ ของเลือด (ถ้าเราจะบริจาคแขนซ้าย เจาะครั้งนี้จากแขนขวา หรือถ้าเราจะบริจาคเกล็ดเลือดแขนขวา ให้เจาะเอาเลือดที่จะไปตรวจจากแขนซ้าย) ใช้เวลารอผล ประมาณ 5 นาที
3 ระหว่างรอผลการปั่นเลือด ให้กรอกแบบฟอร์มการบริจาค แบบฟอร์มเดียวกับที่บริจาคโลหิตปกติ
4 เจ้าหน้าที่จะมาเรียกให้ไปขึ้นเตียงบริจาค ให้กิน เคลเซี่ยมก่อน 1 เม็ด และเข้าห้องน้ำก่อนเริ่มบริจาค
5 เครื่องรับบริจาคเกล็ดเลือด มีหลายชนิด เขาจะถามว่าเราเคยเข้าเครื่องไหนบ้าง
ุ6 บนเตียงบริจาค จนท. จะถามว่า เอายาชาไหม ถ้าไม่อยากทนปวด ก็บอกว่า... เอา... นะครับ
ึ7 จากนั้นเครื่องจะเริ่มดูดเลือดออกจากแขนเข้าไปปั่นในเครื่อง มันจะเริ่มนับ 0-100%
8 เครื่องจะเอาเลือดออกไปปั่น แล้วคืนเข้าสู่ร่างกาย หลายรอบ ตอนเอาออกไป ไม่รู้สึกอะไร แต่พอมันคืนกลับมา จะรู้สึกชา ๆ ที่ริมฝีปาก และใบหน้า ใจจะหวิว ๆ (จะเป็นครั้งแรกๆ เท่านั้น นานไปจะชิน ไม่ค่อยรู้สึกอะไร)
9 ต้องหมั่นบีบลูกยาง ถ้าเราไม่บีบเครื่องจะร้อง และเราต้องบีบ บีบ บีบ ต่อเนื่องเรื่อยๆ (แต่บีบเฉพาะตอนที่เครื่องวัดแรงดันแขนตึงเท่านั้น ถ้าเครื่องวัดแรงดันที่แขน คลาย เราไม่ต้องบีบ)
10 เมื่อครบ 100% เจ้าหน้าทีจะมาถอดเข็มออก ใช้เวลาโดยประมาณ 90-120 นาที แล้วแต่คน
ฟังดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วผมว่าบริจาคเกล็ดเลือดไม่เพลียครับ บริจาคโลหิตเพลียกว่า.. ความรู้สึกส่วนตัวนะครับ
การบริจาคโลหิตกับเกล็ดเลือด ทำวันเดียวกันไม่ได้ ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งครับ
บริจาคโลหิตได้ทุก 90 วัน
บริจาคเกล็ดเลือดได้ทุก 30 วัน
บริจาคพลาสม่าได้ทุก 15 วัน
การบริจาคเกล็ดเลือด ไม่จำเป็นให้ทาง กาชาดหรือ รพ. โทรไป ถ้าถึงกำหนด เรามาบริจาคได้เลย เพราะความต้องการเกล็ดเลือดมีจำนวนมาก แต่คนบริจาคมีน้อย ส่วนมากการบริจาคเกล็ดเลือด จะเป็นผู้ชาย เพราะเส้นเลือดแข็งแรง และมองเห็นได้ชัดเจน ผู้หญิงบางคนก็บริจาคได้ อุปกรณ์ที่ใช้รับการบริจาคต่อคน หนึ่งชุดมีต้นทุนสูงมาก ผมจำตัวเลขไม่ได้ แต่รู้ว่าต้นทุนอุปกรณ์มากกว่า 2000 บาท ต่อคน ต่อครั้ง เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้ามา บ้านเราไม่มีผลิต ฉะนั้นคนที่จะไปบริจาค ต้องมั่นใจว่า จะบริจาคได้ตลอดรอดฝั่ง จะจบครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ มันจะเสียของโดยปล่าวประโยชน์ ทั้งเกล็ดเลือดที่ไม่เต็ม 100% และอุปกรณ์
เชิญชวนไปบริจาคเกล็ดเลือดกันเยอะๆ นะครับ ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กัน
ขออนุโมทนาบุญในจิตอันเป็นกุศลด้วยครับผม
ถ้าที่กาชาด เดินเข้าไปที่ห้องบริจาคเกล็ดเลือดได้เลย อยู่ชั้น 1 ฝั่งขวามือ
1 ยื่นบัตรให้ จนท.
2 เจาะเลือด 1 หลอด ไปตรวจปริมาณ PLT (เกล็ดเลือด) และส่วนประกอบอื่นๆ ของเลือด (ถ้าเราจะบริจาคแขนซ้าย เจาะครั้งนี้จากแขนขวา หรือถ้าเราจะบริจาคเกล็ดเลือดแขนขวา ให้เจาะเอาเลือดที่จะไปตรวจจากแขนซ้าย) ใช้เวลารอผล ประมาณ 5 นาที
3 ระหว่างรอผลการปั่นเลือด ให้กรอกแบบฟอร์มการบริจาค แบบฟอร์มเดียวกับที่บริจาคโลหิตปกติ
4 เจ้าหน้าที่จะมาเรียกให้ไปขึ้นเตียงบริจาค ให้กิน เคลเซี่ยมก่อน 1 เม็ด และเข้าห้องน้ำก่อนเริ่มบริจาค
5 เครื่องรับบริจาคเกล็ดเลือด มีหลายชนิด เขาจะถามว่าเราเคยเข้าเครื่องไหนบ้าง
ุ6 บนเตียงบริจาค จนท. จะถามว่า เอายาชาไหม ถ้าไม่อยากทนปวด ก็บอกว่า... เอา... นะครับ
ึ7 จากนั้นเครื่องจะเริ่มดูดเลือดออกจากแขนเข้าไปปั่นในเครื่อง มันจะเริ่มนับ 0-100%
8 เครื่องจะเอาเลือดออกไปปั่น แล้วคืนเข้าสู่ร่างกาย หลายรอบ ตอนเอาออกไป ไม่รู้สึกอะไร แต่พอมันคืนกลับมา จะรู้สึกชา ๆ ที่ริมฝีปาก และใบหน้า ใจจะหวิว ๆ (จะเป็นครั้งแรกๆ เท่านั้น นานไปจะชิน ไม่ค่อยรู้สึกอะไร)
9 ต้องหมั่นบีบลูกยาง ถ้าเราไม่บีบเครื่องจะร้อง และเราต้องบีบ บีบ บีบ ต่อเนื่องเรื่อยๆ (แต่บีบเฉพาะตอนที่เครื่องวัดแรงดันแขนตึงเท่านั้น ถ้าเครื่องวัดแรงดันที่แขน คลาย เราไม่ต้องบีบ)
10 เมื่อครบ 100% เจ้าหน้าทีจะมาถอดเข็มออก ใช้เวลาโดยประมาณ 90-120 นาที แล้วแต่คน
ฟังดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วผมว่าบริจาคเกล็ดเลือดไม่เพลียครับ บริจาคโลหิตเพลียกว่า.. ความรู้สึกส่วนตัวนะครับ
การบริจาคโลหิตกับเกล็ดเลือด ทำวันเดียวกันไม่ได้ ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งครับ
บริจาคโลหิตได้ทุก 90 วัน
บริจาคเกล็ดเลือดได้ทุก 30 วัน
บริจาคพลาสม่าได้ทุก 15 วัน
การบริจาคเกล็ดเลือด ไม่จำเป็นให้ทาง กาชาดหรือ รพ. โทรไป ถ้าถึงกำหนด เรามาบริจาคได้เลย เพราะความต้องการเกล็ดเลือดมีจำนวนมาก แต่คนบริจาคมีน้อย ส่วนมากการบริจาคเกล็ดเลือด จะเป็นผู้ชาย เพราะเส้นเลือดแข็งแรง และมองเห็นได้ชัดเจน ผู้หญิงบางคนก็บริจาคได้ อุปกรณ์ที่ใช้รับการบริจาคต่อคน หนึ่งชุดมีต้นทุนสูงมาก ผมจำตัวเลขไม่ได้ แต่รู้ว่าต้นทุนอุปกรณ์มากกว่า 2000 บาท ต่อคน ต่อครั้ง เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้ามา บ้านเราไม่มีผลิต ฉะนั้นคนที่จะไปบริจาค ต้องมั่นใจว่า จะบริจาคได้ตลอดรอดฝั่ง จะจบครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ มันจะเสียของโดยปล่าวประโยชน์ ทั้งเกล็ดเลือดที่ไม่เต็ม 100% และอุปกรณ์
เชิญชวนไปบริจาคเกล็ดเลือดกันเยอะๆ นะครับ ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กัน
ขออนุโมทนาบุญในจิตอันเป็นกุศลด้วยครับผม
แสดงความคิดเห็น
บริจาคเกล็ดโลหิต ความรู้สึก ขั้นตอน
คืออยากทราบความรู้สึกตอนเอาเลือดเข้าร่างกายมากเลยค่ะ อยากลองค่ะแต่ใจไม่กล้าเลยอยากมาถามเพื่อนๆชาวพันทิปดูค่ะ
แล้วถ้าเราบริจาคโลหิตกับเกล็ดเลืดพร้อมกันเลยน่าจะเป็นไปได้ไหมค่ะ?
ปล.ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ ปกติบริจาคแต่โลหิต แต่มันนานเกินไปค่ะ อยากไปบริจาคบ่อยๆ จะบริจาคโลหิต 2เดือนครั้งเขาก็ไม่ให้บริจาค 555