ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า การทำบุญที่จะได้บุญมาก จะต้องเอาทรัพย์ (เงิน) ไปถวายพระมากๆ จึงจะได้บุญมาก และยังเชื่อว่าผลบุญที่จะได้รับก็คือ การได้เกิดเป็นเทพบุตร (เทวดาผู้ชาย) อยู่บนสวรรค์นานแสนนาน และมีนางฟ้าหรือเทพธิดา (เทวดาผู้หญิง) แสนสวยมาเป็นนางบำเรอและรับใช้มากมาย (อย่างที่คนชอบพูดกันว่ามีนางฟ้า ๕๐๐ เป็นบริวาร) ซึ่งการเกิดเป็นเทวดานี้จะมีแต่ความสุขจากกามารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีความทุกข์ โดยจะมีกายทิพย์ที่งดงามตลอดเวลา ไม่มีการแก่ เจ็บ หรือหิว หรือลำบากเหมือนการเกิดเป็นคน (แต่ถ้าหมดบุญก็จะจุติหรือตายคือหายไปเลยแล้วไปเกิดเป็นอย่างอื่นต่อตามกรรมที่ยังมีเหลืออีก) ซึ่งสวรรค์นี้ก็เชื่อกันว่าเป็นสถานที่อยู่บนฟ้า หรือเป็นอีกมิติหนึ่งที่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร แต่ก็เชื่อกันอย่างมั่นคงว่ามีอยู่จริง เพราะมีที่อ้างอิงอยู่ในตำราพุทธศาสนา ส่วนการทำความดีอย่างอื่น เช่น การรักษาศีล การช่วยเหลือคนยากคนจน การกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ เป็นต้น นั้น ก็เชื่อกันว่าได้บุญน้อยกว่าการเอาทรัพย์ไปถวายพระมากๆ
แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสอนเรื่องการทำบุญแล้วได้ขึ้นสวรรค์เช่นนี้ ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนที่ประยุกติมาจากคำสอนของศาสนาพราหมณ์ แล้วเอามาผสมหรือปลอมปนเข้ามาในพุทธศาสนามาช้านานแล้ว โดยที่ชาวพุทธเกือบทั้งหมดไม่รู้ตัว ซึ่งการสอนเรื่องสวรรค์อย่างเป็นสถานที่เช่นนี้ เป็นการเอาความสุขจากามารมณ์มาหลอกล่อให้คนเกิดความโลภหรืออยากได้สวรรค์ ซึ่งผลบุญจริงๆก็คือแค่ทำให้มีความอุ่นใจหรือสบายใจว่าจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อตายไปแล้วเท่านั้น แล้วก็ต้องสูญเสียทรัพย์ไปอย่างมากมาย (ซึ่งการมีทรัพย์น้อยก็ทำให้เกิดปัญหาชีวิตตามมาอีกมากมาย) โดยไม่เกิดประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมอย่างแท้จริง
อีกทั้งความเชื่อเช่นนี้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งชีวิต) ที่จะช่วยให้จิตใจหลุดพ้นจากความทุกข์เลย แต่กลับเป็นการเพิ่มอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเองอยู่จริง) แก่จิตใต้สำนึกที่จะทำให้เกิดความทุกข์แก่จิตใจ (เช่น ความทุกข์จากความแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น) ขึ้นมาในอนาคตอีก ส่วนคนที่สอนก็ชอบเน้นสอนเรื่องนี้มากเพราะได้ผลประโยชน์ (คือคนสอนรวยแต่ก็จะเกิดคามเสื่อมเสียตามมาอีก) ถ้าไปสอนให้เกิดปัญญาจะไม่มีคนมาทำบุญมากมายเช่นนี้ (คือคนสอนจนแต่ก็จะเกิดความดีงามตามมา) จึงทำให้คนสอนก็พลอยมีอวิชชามากขึ้นและไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย จึงทำให้การการสอนเช่นนี้กลายเป็นบาปแก่คนสอนไปด้วย ซึ่งสรุปแล้วการทำบุญด้วยอวิชชานี้แทนที่จะได้บุญกลับจะได้บาป (ความไม่น่ายินดี) แทน ทั้งแก่คนทำและคนรับรวมทั้งคนสอนด้วย
ส่วนคำสอนเรื่องบุญที่แท้จริงของพุทธศาสนานั้นจะสอนว่า เป็นการทำความดีแล้วทำให้จิตใจเป็นสุขหรือมีความอิ่มเอมใจจากการทำความดี อีกทั้งการทำความดียังมีผลเป็นการทำให้จิตใจของคนทำนั้นบริสุทธิ์สะอาด (จากกิเลส) มากขึ้น เพราะเป็นการลดความโลภและความโกรธของจิตใจให้ลดน้อยได้ลงอีกด้วย โดยการทำบุญนี้ก็ต้องมีปัญญานำ ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นบาปไปเสีย ซึ่งการทำความดีตามหลักพุทธศาสนานั้นก็ได้แก่การ การให้ (เสียสละสิ่งที่เกินออกไป) การรักษาศีล การช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น ซึ่งคนที่สอนแม้จะไม่ได้รับผลประโยชน์เป็นทรัพย์สินเงินทอง แต่ก็ได้บารมีคือมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์หรือบรรลุนิพพาน (ความไม่มีทุกข์) ได้ในปัจจุบัน คือสรุปแล้วการทำบุญโดยมีปัญญานำตามหลักพุทธศาสนานี้จะมีแต่ประโยชน์ทั้งแก่คนทำ คนรับ และผู้สอนด้วย
สรุปได้ว่า การทำบุญด้วยความเชื่อว่า การให้ทรัพย์มากๆแก่พระ ด้วยความอยากจะได้ขึ้นสวรรค์บนฟ้านั้น ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะทำให้เกิดโทษทั้งแก่คนทำ คนรับ และคนสอน จึงเรียกว่าเป็นการทำบุญแต่ได้บาปแทน ส่วนการทำบุญอย่างถูกต้องตามหลักพุทธศาสนานั้น ก็ได้แก่การทำความดีโดยไม่หวังผลทางวัตถุใดๆเป็นการตอบแทน และก็ต้องทำด้วยปัญญาเท่านั้นจึงจะเป็นบุญจริง คือทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ทำ และผู้รับก็ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ส่วนผู้สอนก็ได้เพิ่มบารมีคือทำให้บรรลุนิพพานได้ในปัจจุบัน จึงทำให้มีแต่ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริง เรื่องการทำบุญได้บาป
แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสอนเรื่องการทำบุญแล้วได้ขึ้นสวรรค์เช่นนี้ ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนที่ประยุกติมาจากคำสอนของศาสนาพราหมณ์ แล้วเอามาผสมหรือปลอมปนเข้ามาในพุทธศาสนามาช้านานแล้ว โดยที่ชาวพุทธเกือบทั้งหมดไม่รู้ตัว ซึ่งการสอนเรื่องสวรรค์อย่างเป็นสถานที่เช่นนี้ เป็นการเอาความสุขจากามารมณ์มาหลอกล่อให้คนเกิดความโลภหรืออยากได้สวรรค์ ซึ่งผลบุญจริงๆก็คือแค่ทำให้มีความอุ่นใจหรือสบายใจว่าจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อตายไปแล้วเท่านั้น แล้วก็ต้องสูญเสียทรัพย์ไปอย่างมากมาย (ซึ่งการมีทรัพย์น้อยก็ทำให้เกิดปัญหาชีวิตตามมาอีกมากมาย) โดยไม่เกิดประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมอย่างแท้จริง
อีกทั้งความเชื่อเช่นนี้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งชีวิต) ที่จะช่วยให้จิตใจหลุดพ้นจากความทุกข์เลย แต่กลับเป็นการเพิ่มอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเองอยู่จริง) แก่จิตใต้สำนึกที่จะทำให้เกิดความทุกข์แก่จิตใจ (เช่น ความทุกข์จากความแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น) ขึ้นมาในอนาคตอีก ส่วนคนที่สอนก็ชอบเน้นสอนเรื่องนี้มากเพราะได้ผลประโยชน์ (คือคนสอนรวยแต่ก็จะเกิดคามเสื่อมเสียตามมาอีก) ถ้าไปสอนให้เกิดปัญญาจะไม่มีคนมาทำบุญมากมายเช่นนี้ (คือคนสอนจนแต่ก็จะเกิดความดีงามตามมา) จึงทำให้คนสอนก็พลอยมีอวิชชามากขึ้นและไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย จึงทำให้การการสอนเช่นนี้กลายเป็นบาปแก่คนสอนไปด้วย ซึ่งสรุปแล้วการทำบุญด้วยอวิชชานี้แทนที่จะได้บุญกลับจะได้บาป (ความไม่น่ายินดี) แทน ทั้งแก่คนทำและคนรับรวมทั้งคนสอนด้วย
ส่วนคำสอนเรื่องบุญที่แท้จริงของพุทธศาสนานั้นจะสอนว่า เป็นการทำความดีแล้วทำให้จิตใจเป็นสุขหรือมีความอิ่มเอมใจจากการทำความดี อีกทั้งการทำความดียังมีผลเป็นการทำให้จิตใจของคนทำนั้นบริสุทธิ์สะอาด (จากกิเลส) มากขึ้น เพราะเป็นการลดความโลภและความโกรธของจิตใจให้ลดน้อยได้ลงอีกด้วย โดยการทำบุญนี้ก็ต้องมีปัญญานำ ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นบาปไปเสีย ซึ่งการทำความดีตามหลักพุทธศาสนานั้นก็ได้แก่การ การให้ (เสียสละสิ่งที่เกินออกไป) การรักษาศีล การช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น ซึ่งคนที่สอนแม้จะไม่ได้รับผลประโยชน์เป็นทรัพย์สินเงินทอง แต่ก็ได้บารมีคือมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์หรือบรรลุนิพพาน (ความไม่มีทุกข์) ได้ในปัจจุบัน คือสรุปแล้วการทำบุญโดยมีปัญญานำตามหลักพุทธศาสนานี้จะมีแต่ประโยชน์ทั้งแก่คนทำ คนรับ และผู้สอนด้วย
สรุปได้ว่า การทำบุญด้วยความเชื่อว่า การให้ทรัพย์มากๆแก่พระ ด้วยความอยากจะได้ขึ้นสวรรค์บนฟ้านั้น ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะทำให้เกิดโทษทั้งแก่คนทำ คนรับ และคนสอน จึงเรียกว่าเป็นการทำบุญแต่ได้บาปแทน ส่วนการทำบุญอย่างถูกต้องตามหลักพุทธศาสนานั้น ก็ได้แก่การทำความดีโดยไม่หวังผลทางวัตถุใดๆเป็นการตอบแทน และก็ต้องทำด้วยปัญญาเท่านั้นจึงจะเป็นบุญจริง คือทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ทำ และผู้รับก็ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ส่วนผู้สอนก็ได้เพิ่มบารมีคือทำให้บรรลุนิพพานได้ในปัจจุบัน จึงทำให้มีแต่ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง