มิติใหม่ของวิจัยในประเทศเรา ดังนี้
-------------------------------------
กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ : ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของ
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (EFFECTS OF BUDDHISM PRAY AND ANAPANASATI MEDITATION ON STRESS IN CHULALONGKORN UNIVERSITY STUDENTS)
อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: รศ.ดร.ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์, 97 หน้า.
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-21 ปี ทั้งหมดจำนวน 60 คนทำแบบวัดความเครียดสวนปรุงเพื่อคัดเลือกนิสิตที่มีคะแนนระดับความเครียดตั้งแต่ 24 ถึง 61 คะแนน ซึ่งมีความเครียดในระดับปานกลางถึงเครียดสูง เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ และทำการคัดเลือกแบบจับคู่ (Matched group) ในการจัดเข้ากลุ่มสวดมนต์และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ กลุ่มละ 30 คน ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง NeXus-10 โดยจะทำการวัดเป็นรายบุคคล ก่อนทำการสวดมนต์ และทำสมาธิแบบอานาปานสติ ให้ผู้ทำการทดลองนั่งพัก 5 นาทีแล้ววัดคลื่นสมองขณะพัก จากนั้นเริ่มทำการสวดมนต์ในกลุ่มสวดมนต์ และทำสมาธิในกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ วัดคลื่นสมองทุก 5 นาทีเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นทำการทดสอบความเครียดหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่(Paired t-test) และ การทดสอบแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของแอลเอสดี
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการทดลองของกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ค่าเฉลี่ยของคลื่นสมองอัลฟ่า และเบต้า ภายในทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองในนาทีที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคลื่นสมองอัลฟ่าในกลุ่มสวดมนต์เริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 5-10 เป็นต้นไป และคลื่นอัลฟ่าในกลุ่มทำสมาธิเริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 0-5 เป็นต้นไป
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสวดมนต์ และการทำสมาธิแบบอานาปานสติมีผลทำให้ลดระดับความเครียดลงได้ โดยการสวดมนต์สามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนการทำสมาธิแบบอานาปานสติสามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีแรกจนถึงนาทีที่ 5
คำสำคัญ : การสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา/การทำสมาธิแบบอานาปานสติ/ความเครียด
http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5478302239
มิติใหม่ของวิจัยในประเทศ : ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติ
-------------------------------------
กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ : ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของ
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (EFFECTS OF BUDDHISM PRAY AND ANAPANASATI MEDITATION ON STRESS IN CHULALONGKORN UNIVERSITY STUDENTS)
อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: รศ.ดร.ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์, 97 หน้า.
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-21 ปี ทั้งหมดจำนวน 60 คนทำแบบวัดความเครียดสวนปรุงเพื่อคัดเลือกนิสิตที่มีคะแนนระดับความเครียดตั้งแต่ 24 ถึง 61 คะแนน ซึ่งมีความเครียดในระดับปานกลางถึงเครียดสูง เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ และทำการคัดเลือกแบบจับคู่ (Matched group) ในการจัดเข้ากลุ่มสวดมนต์และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ กลุ่มละ 30 คน ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง NeXus-10 โดยจะทำการวัดเป็นรายบุคคล ก่อนทำการสวดมนต์ และทำสมาธิแบบอานาปานสติ ให้ผู้ทำการทดลองนั่งพัก 5 นาทีแล้ววัดคลื่นสมองขณะพัก จากนั้นเริ่มทำการสวดมนต์ในกลุ่มสวดมนต์ และทำสมาธิในกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ วัดคลื่นสมองทุก 5 นาทีเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นทำการทดสอบความเครียดหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่(Paired t-test) และ การทดสอบแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของแอลเอสดี
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการทดลองของกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ค่าเฉลี่ยของคลื่นสมองอัลฟ่า และเบต้า ภายในทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองในนาทีที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคลื่นสมองอัลฟ่าในกลุ่มสวดมนต์เริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 5-10 เป็นต้นไป และคลื่นอัลฟ่าในกลุ่มทำสมาธิเริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 0-5 เป็นต้นไป
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสวดมนต์ และการทำสมาธิแบบอานาปานสติมีผลทำให้ลดระดับความเครียดลงได้ โดยการสวดมนต์สามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนการทำสมาธิแบบอานาปานสติสามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีแรกจนถึงนาทีที่ 5
คำสำคัญ : การสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา/การทำสมาธิแบบอานาปานสติ/ความเครียด
http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5478302239