อานิสงส์ จากการทำให้พระภิกษุหายจากอาพาธ
1. ส่งผลให้พระพากุลเถระ ได้เป็นหนึ่งในผู้สำเร็จอภิญญาใหญ่
การที่พุทธสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จะได้อภิญญาใหญ่ ต้องมีบุญบารมีที่สั่งสมมาอย่างเต็มเปี่ยม เพราะในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะมีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้เพียง 4 ท่าน เท่านั้น และพระสาวกที่เหลือแม้จะได้อภิญญา แต่ก็ไม่เรียกว่า ได้อภิญญาใหญ่ เพราะสามารถระลึกชาติย้อนไปได้เพียงแสนกัปเท่านั้น แต่ท่านผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ จะสามารถระลึกชาติได้ถึง หนึ่งอสงไขยกับอีกแสนกัป มาในยุคพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่มีเพียง 4 ท่าน เช่นกัน คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระนางภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธราพิมพา) และหนึ่งในนั้นก็คือ พระพากุลเถระ
2. ส่งผลให้พระพากุลเถระไม่เคยอาพาธ
ชีวิตของพระพากุลเถระตลอด 160 ปี ไม่เคยป่วย หรืออาพาธใด ๆ เลย แม้เพียงจะใช้ 2 นิ้ว จับก้อนของหอมสูดดม เพราะมีอาการวิงเวียน ก็ไม่เคยเกิดขึ้น หรือแม้เกิดอาพาธ ด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เหมือนช่วงเวลารีดนมโคเสร็จก็ไม่เคย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงไม่เคยฉันยา แม้เพียงสมอชิ้นหนึ่ง
3. ส่งผลให้พระพากุลเถระปรินิพพานด้วยวิธีพิเศษ
เนื่องจากตลอดชีวิตของท่านไม่เคยอาพาธเลย แต่ท่านรู้กาลปรินิพพานของท่าน ด้วยญาณทัสนะ และเมื่อท่านพบว่าได้มาถึงเวลาแล้ว จึงดำริว่า แม้เราจะมีชีวิตอยู่ ก็อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่นเลย สรีระของเราแม้ปรินิพพานแล้ว ก็อย่าให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย จากนั้น จึงเข้าเตโชธาตุปรินิพพาน โดยปรากฏเปลวไฟลุกขึ้นท่วมสรีระ ผิวหนัง เนื้อ และโลหิต ถูกเผาไหม้สิ้นไปเหมือนเนยใส ยังคงเหลืออยู่เพียงแต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม
4. ส่งผลให้พระพากุลเถระเป็นผู้มีอายุขัยยืนยาว กว่าค่าเฉลี่ยของอายุมนุษย์ในยุคนั้น
ในยุคที่พระพากุลเถระมาเกิด มนุษย์ในยุคนั้นมีอายุเฉลี่ยที่ 100 ปี แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมาดีแล้ว ทำให้ท่านมีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ในยุคนั้น คือ 160 ปี ซึ่งมากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป
5. ส่งผลให้พระพากุลเถระ แม้จะอายุมากถึง 80 ปีแล้ว ก็ยังแข็งแรง สามารถออกบวชได้อย่างสะดวกง่ายดาย โดยไม่เป็นภาระแก่ใคร
ปกติคนทั่วไปออกบวชตอนอายุ 80 ปี ก็จะเป็นภาระต่อผู้อื่นอย่างมาก เนื่องด้วยสภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอ อีกทั้ง เวลาจะบำเพ็ญสมณธรรม ก็จะทุกข์ทรมาน เพราะสังขารไม่เอื้ออำนวย แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา ทำให้ท่านออกบวชได้ แม้วัยจะถึง 80 ปี อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ได้โดยไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เมื่อย ตลอดทั้ง 80 พรรษา
6. ส่งผลให้พระพากุลเถระ ไม่ต้องให้สามเณรมาคอยอุปัฏฐากเลย
เป็นธรรมดาที่คนอายุมาก ย่อมต้องมีคนมาคอยดูแล หรือแม้แต่พระภิกษุเองเมื่ออายุมาก ก็ต้องมีสามเณรมาคอยอุปัฏฐากดูแล แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา แม้อายุมาก ท่านก็ยังคงความแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่าง ทุกประการ
7. ส่งผลให้พระพากุลเถระมีสุขภาพดีมาก โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วย ในการบรรเทาความปวดเมื่อย ตามร่างกายเลย
โดยทั่วไปสังขารมนุษย์มักจะมีทุกขเวทนา จากการปวดเมื่อยตามร่างกาย และยิ่งอายุมากขึ้น ก็จะหลีกเลี่ยงอาการเช่นนี้ได้ยาก แต่สำหรับพระพากุลเถระแล้ว ท่านไม่มีความเมื่อย ฉะนั้น จึงไม่ต้องให้ใครมาบีบนวดเลย อีกทั้ง ยังไม่ต้องอบตัวในเรือนไฟ หรือใช้จุณอาบน้ำ(ผงขัดตัว) เพราะมีสุขภาพผิวที่ดีอยู่แล้ว
8. ส่งผลให้พระพากุลเถระ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ โดยไม่มีความขัดสนขาดแคลนใด ๆ เลย เช่น
8.1 เป็นผู้มีจีวรใช้สอยเหลือเฟือ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้น พระภิกษุต่างได้รับความลำบากมาก ในเรื่องการหาจีวรมาใช้สอย เพราะต้องบังสุกุลผ้า มาช่วยกันตัด เย็บ ย้อม และกว่าจะได้แต่ละผืน ต้องเสียเวลา เสียกำลังคนไปมากแต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา ทำให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาไปหา ไปตัด ไปเย็บ ไปย้อมจีวรแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านมีเวลานั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม เจริญสมาบัติ มากกว่าภิกษุทั่วไป
การที่ท่านมีจีวรใช้อย่างเหลือเฟือ เพราะบุญที่สั่งสมมา บันดาลให้ท่านไปเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี และมีพ่อแม่ที่มียศใหญ่ถึง 2 ตระกูล ซึ่งต่างมีหน้าที่ ทำจีวรส่งไปถวายให้ท่านใช้สอย โดยครึ่งเดือนแรก ตระกูลของท่านที่อยู่เมืองโกสัมพี จะส่งไปถวายผืนหนึ่ง และพอเวลาผ่านไปอีกครึ่งเดือน คนในตระกูลที่อยู่เมืองพาราณสี ก็จะทำจีวรอีกผืนหนึ่งไปถวาย สลับกันไปถวายทุกครึ่งเดือน ไม่ขาดเลย อีกทั้ง จีวรของท่าน ยังเป็นจีวรที่ประณีต ทำด้วยผ้าเนื้อละเอียด ซึ่งเอามาย้อม แล้วใส่ในผอบส่งไปถวาย โดยจะวางไว้ให้ที่ประตูห้องน้ำ ในเวลาที่พระเถระสรงน้ำเสร็จ ก็จะนุ่งห่มจีวรที่วางไว้ และท่านก็บริจาคจีวรเก่า ให้บรรพชิตทั้งหลายไป
8.2 มีภัตตาหารอุดมสมบูรณ์เลิศรส แม้จะอยู่ในป่าและไม่ได้รับกิจนิมนต์ พระพากุลเถระ ท่านถือธุดงค์อยู่ป่าเป็นวัตร จึงไม่รับกิจนิมนต์ไปฉันในบ้านใครเลยตลอดชีวิต แม้เป็นอย่างนี้ ท่านก็ไม่ลำบากด้วยข้าวปลาอาหารใด ๆ เลย ตรงกันข้าม ด้วยบุญในตัวท่าน กลับทำให้ได้ภัตตาหารอันประณีต เลิศรส โดยไม่ต้องเสียเวลารับกิจนิมนต์ แล้วดึงเวลาปฏิบัติธรรมของท่านไป เพราะชาวเมือง และคนในตระกูล 2 นครของท่าน ได้เตรียมอาหารเลิศรส แล้วพากันมาใส่บาตรท่าน อย่างเนืองนิตย์มิได้ขาดเลย
9. ส่งผลให้พระพากุลเถระ สามารถถือธุดงค์ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ นั่งเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ได้ตลอดชีวิต
ปกติการที่คนทั่วไปจะถือธุดงค์ข้อนี้ได้ จะต้องมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรงมาก เพราะไม่สามารถนอนได้เลย และที่น่าทึ่ง คือ พระพากุลเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง หรือ แม้แต่การเอนหลังพิงพนัก ตลอด 80 ปีที่ท่านบวช จนกระทั่งปรินิพพาน เนื่องจากพระพากุลเถระมีสุขภาพดีเป็นเลิศ แม้ไม่ได้นอน สภาพร่างกายก็ยังแข็งแรง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านได้เปรียบ คือ มีเวลานั่งสมาธิปฏิบัติธรรม สั่งสมความบริสุทธิ์หยุดนิ่ง ได้มากกว่าภิกษุรูปอื่น ๆ
10. ส่งผลให้พระพากุลเถระ สามารถถือธุดงค์ข้อ “อรัญญิกธุดงค์” คือ การอยู่ป่าเป็นวัตร อย่างอุกฤษฏ์ได้ตลอดชีวิต
การถือธุดงค์ข้อนี้ก็เช่นกัน การจะอยู่ป่าโดยไม่อาศัยอยู่ในวัดเลย ก็จะต้องโดนลม โดนฝน โดนแดด โดนสภาพอากาศที่แปรปรวน ซึ่งถ้าใครสุขภาพไม่ดี ก็จะอยู่ไม่ได้ แต่สำหรับพระพากุลเถระแล้ว ท่านแข็งแรงมาก ไม่ว่า จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมแบบไหน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่าน สามารถถือธุดงค์ข้อนี้เป็นวัตรได้ตลอดชีวิต
“โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย”
ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุป่วยไข้เถิด
(วิ.ม. (บาลี) 5/166/227)
อานิสงส์การดูแลพระภิกษุอาพาธ
1. ส่งผลให้พระพากุลเถระ ได้เป็นหนึ่งในผู้สำเร็จอภิญญาใหญ่
การที่พุทธสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จะได้อภิญญาใหญ่ ต้องมีบุญบารมีที่สั่งสมมาอย่างเต็มเปี่ยม เพราะในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะมีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้เพียง 4 ท่าน เท่านั้น และพระสาวกที่เหลือแม้จะได้อภิญญา แต่ก็ไม่เรียกว่า ได้อภิญญาใหญ่ เพราะสามารถระลึกชาติย้อนไปได้เพียงแสนกัปเท่านั้น แต่ท่านผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ จะสามารถระลึกชาติได้ถึง หนึ่งอสงไขยกับอีกแสนกัป มาในยุคพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่มีเพียง 4 ท่าน เช่นกัน คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระนางภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธราพิมพา) และหนึ่งในนั้นก็คือ พระพากุลเถระ
2. ส่งผลให้พระพากุลเถระไม่เคยอาพาธ
ชีวิตของพระพากุลเถระตลอด 160 ปี ไม่เคยป่วย หรืออาพาธใด ๆ เลย แม้เพียงจะใช้ 2 นิ้ว จับก้อนของหอมสูดดม เพราะมีอาการวิงเวียน ก็ไม่เคยเกิดขึ้น หรือแม้เกิดอาพาธ ด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เหมือนช่วงเวลารีดนมโคเสร็จก็ไม่เคย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงไม่เคยฉันยา แม้เพียงสมอชิ้นหนึ่ง
3. ส่งผลให้พระพากุลเถระปรินิพพานด้วยวิธีพิเศษ
เนื่องจากตลอดชีวิตของท่านไม่เคยอาพาธเลย แต่ท่านรู้กาลปรินิพพานของท่าน ด้วยญาณทัสนะ และเมื่อท่านพบว่าได้มาถึงเวลาแล้ว จึงดำริว่า แม้เราจะมีชีวิตอยู่ ก็อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่นเลย สรีระของเราแม้ปรินิพพานแล้ว ก็อย่าให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย จากนั้น จึงเข้าเตโชธาตุปรินิพพาน โดยปรากฏเปลวไฟลุกขึ้นท่วมสรีระ ผิวหนัง เนื้อ และโลหิต ถูกเผาไหม้สิ้นไปเหมือนเนยใส ยังคงเหลืออยู่เพียงแต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม
4. ส่งผลให้พระพากุลเถระเป็นผู้มีอายุขัยยืนยาว กว่าค่าเฉลี่ยของอายุมนุษย์ในยุคนั้น
ในยุคที่พระพากุลเถระมาเกิด มนุษย์ในยุคนั้นมีอายุเฉลี่ยที่ 100 ปี แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมาดีแล้ว ทำให้ท่านมีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ในยุคนั้น คือ 160 ปี ซึ่งมากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป
5. ส่งผลให้พระพากุลเถระ แม้จะอายุมากถึง 80 ปีแล้ว ก็ยังแข็งแรง สามารถออกบวชได้อย่างสะดวกง่ายดาย โดยไม่เป็นภาระแก่ใคร
ปกติคนทั่วไปออกบวชตอนอายุ 80 ปี ก็จะเป็นภาระต่อผู้อื่นอย่างมาก เนื่องด้วยสภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอ อีกทั้ง เวลาจะบำเพ็ญสมณธรรม ก็จะทุกข์ทรมาน เพราะสังขารไม่เอื้ออำนวย แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา ทำให้ท่านออกบวชได้ แม้วัยจะถึง 80 ปี อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ได้โดยไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เมื่อย ตลอดทั้ง 80 พรรษา
6. ส่งผลให้พระพากุลเถระ ไม่ต้องให้สามเณรมาคอยอุปัฏฐากเลย
เป็นธรรมดาที่คนอายุมาก ย่อมต้องมีคนมาคอยดูแล หรือแม้แต่พระภิกษุเองเมื่ออายุมาก ก็ต้องมีสามเณรมาคอยอุปัฏฐากดูแล แต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา แม้อายุมาก ท่านก็ยังคงความแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่าง ทุกประการ
7. ส่งผลให้พระพากุลเถระมีสุขภาพดีมาก โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วย ในการบรรเทาความปวดเมื่อย ตามร่างกายเลย
โดยทั่วไปสังขารมนุษย์มักจะมีทุกขเวทนา จากการปวดเมื่อยตามร่างกาย และยิ่งอายุมากขึ้น ก็จะหลีกเลี่ยงอาการเช่นนี้ได้ยาก แต่สำหรับพระพากุลเถระแล้ว ท่านไม่มีความเมื่อย ฉะนั้น จึงไม่ต้องให้ใครมาบีบนวดเลย อีกทั้ง ยังไม่ต้องอบตัวในเรือนไฟ หรือใช้จุณอาบน้ำ(ผงขัดตัว) เพราะมีสุขภาพผิวที่ดีอยู่แล้ว
8. ส่งผลให้พระพากุลเถระ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ โดยไม่มีความขัดสนขาดแคลนใด ๆ เลย เช่น
8.1 เป็นผู้มีจีวรใช้สอยเหลือเฟือ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้น พระภิกษุต่างได้รับความลำบากมาก ในเรื่องการหาจีวรมาใช้สอย เพราะต้องบังสุกุลผ้า มาช่วยกันตัด เย็บ ย้อม และกว่าจะได้แต่ละผืน ต้องเสียเวลา เสียกำลังคนไปมากแต่ด้วยบุญที่พระพากุลเถระสั่งสมมา ทำให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาไปหา ไปตัด ไปเย็บ ไปย้อมจีวรแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านมีเวลานั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม เจริญสมาบัติ มากกว่าภิกษุทั่วไป
การที่ท่านมีจีวรใช้อย่างเหลือเฟือ เพราะบุญที่สั่งสมมา บันดาลให้ท่านไปเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี และมีพ่อแม่ที่มียศใหญ่ถึง 2 ตระกูล ซึ่งต่างมีหน้าที่ ทำจีวรส่งไปถวายให้ท่านใช้สอย โดยครึ่งเดือนแรก ตระกูลของท่านที่อยู่เมืองโกสัมพี จะส่งไปถวายผืนหนึ่ง และพอเวลาผ่านไปอีกครึ่งเดือน คนในตระกูลที่อยู่เมืองพาราณสี ก็จะทำจีวรอีกผืนหนึ่งไปถวาย สลับกันไปถวายทุกครึ่งเดือน ไม่ขาดเลย อีกทั้ง จีวรของท่าน ยังเป็นจีวรที่ประณีต ทำด้วยผ้าเนื้อละเอียด ซึ่งเอามาย้อม แล้วใส่ในผอบส่งไปถวาย โดยจะวางไว้ให้ที่ประตูห้องน้ำ ในเวลาที่พระเถระสรงน้ำเสร็จ ก็จะนุ่งห่มจีวรที่วางไว้ และท่านก็บริจาคจีวรเก่า ให้บรรพชิตทั้งหลายไป
8.2 มีภัตตาหารอุดมสมบูรณ์เลิศรส แม้จะอยู่ในป่าและไม่ได้รับกิจนิมนต์ พระพากุลเถระ ท่านถือธุดงค์อยู่ป่าเป็นวัตร จึงไม่รับกิจนิมนต์ไปฉันในบ้านใครเลยตลอดชีวิต แม้เป็นอย่างนี้ ท่านก็ไม่ลำบากด้วยข้าวปลาอาหารใด ๆ เลย ตรงกันข้าม ด้วยบุญในตัวท่าน กลับทำให้ได้ภัตตาหารอันประณีต เลิศรส โดยไม่ต้องเสียเวลารับกิจนิมนต์ แล้วดึงเวลาปฏิบัติธรรมของท่านไป เพราะชาวเมือง และคนในตระกูล 2 นครของท่าน ได้เตรียมอาหารเลิศรส แล้วพากันมาใส่บาตรท่าน อย่างเนืองนิตย์มิได้ขาดเลย
9. ส่งผลให้พระพากุลเถระ สามารถถือธุดงค์ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ นั่งเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ได้ตลอดชีวิต
ปกติการที่คนทั่วไปจะถือธุดงค์ข้อนี้ได้ จะต้องมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรงมาก เพราะไม่สามารถนอนได้เลย และที่น่าทึ่ง คือ พระพากุลเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง หรือ แม้แต่การเอนหลังพิงพนัก ตลอด 80 ปีที่ท่านบวช จนกระทั่งปรินิพพาน เนื่องจากพระพากุลเถระมีสุขภาพดีเป็นเลิศ แม้ไม่ได้นอน สภาพร่างกายก็ยังแข็งแรง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านได้เปรียบ คือ มีเวลานั่งสมาธิปฏิบัติธรรม สั่งสมความบริสุทธิ์หยุดนิ่ง ได้มากกว่าภิกษุรูปอื่น ๆ
10. ส่งผลให้พระพากุลเถระ สามารถถือธุดงค์ข้อ “อรัญญิกธุดงค์” คือ การอยู่ป่าเป็นวัตร อย่างอุกฤษฏ์ได้ตลอดชีวิต
การถือธุดงค์ข้อนี้ก็เช่นกัน การจะอยู่ป่าโดยไม่อาศัยอยู่ในวัดเลย ก็จะต้องโดนลม โดนฝน โดนแดด โดนสภาพอากาศที่แปรปรวน ซึ่งถ้าใครสุขภาพไม่ดี ก็จะอยู่ไม่ได้ แต่สำหรับพระพากุลเถระแล้ว ท่านแข็งแรงมาก ไม่ว่า จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมแบบไหน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่าน สามารถถือธุดงค์ข้อนี้เป็นวัตรได้ตลอดชีวิต
“โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย”
ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุป่วยไข้เถิด
(วิ.ม. (บาลี) 5/166/227)