คำสอนของวัดพระธรรมกายผิดอะไร ?
พระชื่อดังหลายท่านไดเออกมาวิจารณ์ว่าคำสอนของวัดพระธรรมกายไม่ตรงกับพุทธวจนะ และ สอนไม่ถูกต้อง
1) พระไพศาล วิสาโล ก็โพสต์เฟซบุ๊กตำหนิว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนมีความเห็นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนว่า
“...การที่วัดธรรมกายได้รับความนิยมจากผู้คนอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ สาเหตุสำคัญเป็นเพราะชาวพุทธจำนวนมากมีความเข้าใจน้อยมากในหลักธรรมทางพุทธศาสนา แม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน เช่น บุญ ก็มีความเห็นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เช่น เชื่อว่าบริจาคเงินมากเท่าไรก็ได้บุญมากเท่านั้น หรือทำบุญเพื่อเอา มิใช่ทำบุญเพื่อละ (ยังไม่ต้องพูดถึงหลักธรรมขั้นสูง เช่น นิพพาน) ดังนั้นจึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหลศรัทธาในธมฺมชโย/ธรรมกาย และพร้อมที่จะปิดหูปิดตาต่อพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลของธมฺมชโย/ธรรมกาย กล่าวอีกนัยหนึ่งกรณีดังกล่าวสะท้อนถึงความล้มเหลวในการเผยแผ่ธรรมของชาวพุทธไทย โดยเฉพาะคณะสงฆ์ ซึ่งโยงไปถึงความล้มเหลวของการศึกษาคณะสงฆ์อย่างชัดเจน..”
2) ว.วชิรเมธี ที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 2546 มาพูดถึงอีกครั้งและข้อความดังกล่าวกำลังถูกแชร์กันใหัว่อนในโซเชียลมีเดีย โดยวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" นี้ ได้พูดถึงคำสอนของวัดพระธรรมกายว่า
“การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิฎก การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตน หรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญ ถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่องนิพพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า บุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่ง และเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ได้อย่างปาฏิหาริย์”
นอกจากนั้น ยังระบุว่าวัดพระธรรมกายเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานว่า “ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไป และสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้”
หากย้อนกลับไปดูคำสอนของวัดพระธรรมกาย จะพบว่าวัดนี้เจริญรอยตามคำสอนของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีหัวใจคำสอน อยู่ที่ “วิชชาธรรมกาย” ซึ่งคำจำกัดความของคำว่า “ธรรมกาย” นั้น หลวงพ่อสดเคยกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาของท่านว่า “ธรรมกาย คือ กายภายในของพระพุทธเจ้า” โดยบอกว่าคำจำกัดความเช่นนี้เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติธรรมจนเข้าถึง “ธรรมกาย” ภายในด้วยตนเอง ว่ากันว่าเกิดขึ้นตอนหลวงพ่อสดทำสมาธิ แล้วเกิดนิมิตเป็นดวงสีแดงในท้อง ทำให้ท่านมีความปีติและเรียกดวงสีแดงนี้ว่า “ธรรมกาย” ทั้งยังอ้างว่าวิชานี้มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้วแต่หายสาบสูญไปนานถึงสองพันกว่าปี แต่เพิ่งถูกค้นพบขึ้นมาใหม่โดยหลวงพ่อสดนี่เอง
อย่างไรก็ตาม เรื่องวิชชาธรรมกายก็ดี คำว่าธรรมกายก็ดี คำสอนของวัดพระธรรมกายก็ดี กลายประเด็นที่วัดธรรมกายถูกโจมตีเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า “บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า” เช่น ไปดัดแปลงความหมายของคำว่า “ธรรมกาย” และนำเอาคำนี้ไปใช้เป็นผลของการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดไป ในขณะที่ฝ่ายวัดพระธรรมกายก็อ้างว่าคำว่า “ธรรมกาย” นี้ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาแล้วหลายแห่ง นอกจากนั้นยังมีการอ้างประโยคที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสแก่ “พระวักกลิ” ที่อยากเห็นรูปโฉมของพระบรมศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนว่า
“ วักกลิจะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม”
ตรงนี้เองที่หลวงพ่อสดให้ความเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วพระดำรัสนี้น่าจะหมายความว่า
“ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า” (จากมรดกธรรมหน้า ๔๑)
การตีความเช่นนี้เอง ทำให้หลวงพ่อสดนำมาใช้เป็นวิชชาธรรมกาย โดยบอกว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนาขั้นสูง จนบรรลุถึง ธรรมกาย ในตนเอง แล้วด้วยตาของ ธรรมกาย หรือญาณจักษุของตนเองนั้น ก็จะทำให้เห็น ธรรมกาย หรือตถาคต หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดง่ายๆ คือสอนว่าการเพ่งธรรมกาย (นิมิต) จะสามารถทำให้บรรลุนิพพานได้นั่นเอง เรื่องนี้จึงถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เพราะหลักศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้พึ่งพิงหรืออิงอภินิหารแต่อย่างไร แต่เน้นปัญญาในการหลุดพ้นจากทุกข์ต่างหาก
3) “เสฐียรพงษ์ วรรณปก” ไดัเคยเขียนบทความเรื่อง “ความเป็นมาของคำว่าธรรมกาย” โดยระบุว่าคำว่า “ธรรมกาย”ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นความหมายธรรมดา ไม่มีความหมายอะไร โดยหยิบยกเอาพระไตรปิฏกเล่มที่ 11 ชื่ออัคคัญญสูตรมาเล่าว่าคำนี้ถูกใช้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ไม่ได้มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด
ไม่เพียงเท่านี้เท่านั้น คำสอนของวัดธรรมกายที่ถูกโจมตีว่าสอนผิดๆ อีก เช่น สอนว่านิพพานคืออัตตา สอนว่ามีธรรมกายที่เป็นอัตตาหรือตัวตนของพระพุทธเจ้า สอนเรื่องอายตนนิพพานว่าเป็นดินแดนหรือสถานที่สถิตของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างเป็นนิรันดร์ ซึ่งคำสอนต่างๆ เหล่านี้เอง ทำให้พระพยอม กัลยาโณ, พระไพศาล วิสาโล และคณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา (ศพพ.) ได้เคยร่วมกันทำพิธีคว่ำบาตรพพระธมฺมชโยที่วัดสวนแก้วมาแล้ว โดยระบุว่าคำสอนของวัดพระธรรมกายนั้นเป็นคำสอนที่วัดธรรมกายคิดค้นขึ้นใหม่ แทนที่จะระบุอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นของใหม่ พระธมฺมชโยและวัดพระธรรมกายกลับนำคำสอนดังกล่าวมาปะปนกับคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า โดยแอบอ้างกล่าวตู่ว่าเป็นพุทธพจน์ ยิ่งกว่านั้นคือการปฏิเสธพระธรรมวินัย คัดค้านลบหลู่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ขัดแย้งกับคำสอนของตน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบาลีนี้ไม่น่าเชื่อถือ ใช้เป็นหลักไม่ได้ ถือเป็นการจาบจ้วงพระธรรมวินัย!
นอกจากนั้นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก คือ คำสอนที่วัดพระธรรมกายบอกว่า “นิพพานเป็นอัตตา” ประเด็นนี้หลวงปู่พุทธะอิสระได้เขียนเฟซบุ๊กโต้แย้งว่า “นิพพานเป็นอนัตตา” โดยบอกว่า
“...พระพุทธองค์ทรงสอนว่า หากผู้มีดวงตาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ว่าทุกข์ทั้ง หลายล้วนได้มาจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ชาติ ภพ หากจะดับทุกข์ ต้องดับความโง่ ต้องรู้ว่าตัณหา ความทะยานอยาก ทำให้เราต้องขวนขวายแสวงหาสิ่งที่ตนอยาก เมื่อได้มาก็ต้องหวงแหน ผูกพัน ยึดถือ เรียกว่าอุปาทาน โดยอาศัยความตระหนี่ ความอิจฉา ความไม่รู้จริง ความหลง เป็นเหตุทำให้ตนต้องตกอยู่ในวังวนแห่งภพ ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ นี่เรียกว่าทางดับทุกข์
“เมื่อใดที่มีสติปัญญาทำให้พันธนาการทั้งหลายทั้งในฝ่ายกุศล อกุศล หมดไป เป็นการทำลายเหตุปัจจัยของทุกข์จากการเกิด เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยใด ๆ มาครอบงำปรุงแต่ทั้งภายในและภายนอกซึ่งล้วนมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เช่นนี้เรียกว่าข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับ ความหลุดพ้นดับเย็นจักพึงบังเกิดขึ้น เช่นนี้จึงเรียกว่านิพพานที่เป็นคำอธิบายแบบย่อ ฉะนั้นนิพพานจึงเป็นสภาวะอนัตตาธรรม มิใช่อัตตาธรรมอย่างที่สำนักธรรมกายสั่งสอนกัน”
หรือประเด็นที่วัดพระธรรมกายมักจะสอนให้นิยมอภินิหาร ,ส่งเสริมให้เกิดความโลภ เช่น บอกว่า ให้ทุ่มทำบุญแล้วจะรวย ก็เป็นประเด็นที่สร้างความแคลงใจให้แก่ประชาชนเช่นกัน
น่าสังเกตว่าในสมัยที่หลวงพ่อสดยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้เคยสอนเรื่องการทำบุญทำกุศลของฆราวาสว่า
“ทานนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ต้องไม่มุ่งหวังสิ่งใด ถ้าหวังผลตอบแทนว่าตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ อย่างนี้ไม่ถือเป็นทาน และการทำบุญต้องดูกำลังตัวเอง อย่าใช้เงินทองเป็นตัววัดบุญ แม้ไม่บริจาคทรัพย์ แต่ช่วยแรงก็ได้บุญเช่นกัน” หรือที่สอนว่า “บุญที่เกิดจากการนั่งภาวนานั้นเป็นบุญใหญ่กุศลใหญ่ เราจะไปสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลการเปรียญสักร้อยหลัง ก็สู้บุญจากการบำเพ็ญสมถวิปัสสนาไม่ได้”
แต่หากดูพฤติกรรมของวัดพระธรรมกายในปัจจุบันที่เน้นโฆษณาให้ทุ่มเงินทำบุญ หรือบริจาคเงินเยอะๆ เพื่อสร้างวิหารใหญ่โต โดยบอกว่าจะได้บุญมากๆนั้น ดูจะขัดกับหลักคำสอนของหลวงพ่อสดอย่างเห็นได้ชัด
คำถามคือ วัดพระธรรมกายกำลังบิดเบือนคำสอนของอาจารย์ตัวเอง เพื่อหวังลาภยศเงินทองจากฆราวาสหรือไม่ นอกจากนั้นคำสอนอื่นๆ ของวัดพระธรรมกายผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือเปล่า
หากพิสูจน์ได้ว่าบิดเบือนจริง เท่ากับว่าวัดพระธรรมกายกำลังมอมเมาให้ประชาชนหลงผิด แย่ไปกว่านั้นคือเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างน่ากลัวที่สุด!
ธรรมกายสอนผิดอะไร ? ? ? ?
พระชื่อดังหลายท่านไดเออกมาวิจารณ์ว่าคำสอนของวัดพระธรรมกายไม่ตรงกับพุทธวจนะ และ สอนไม่ถูกต้อง
1) พระไพศาล วิสาโล ก็โพสต์เฟซบุ๊กตำหนิว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนมีความเห็นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนว่า
“...การที่วัดธรรมกายได้รับความนิยมจากผู้คนอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ สาเหตุสำคัญเป็นเพราะชาวพุทธจำนวนมากมีความเข้าใจน้อยมากในหลักธรรมทางพุทธศาสนา แม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน เช่น บุญ ก็มีความเห็นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เช่น เชื่อว่าบริจาคเงินมากเท่าไรก็ได้บุญมากเท่านั้น หรือทำบุญเพื่อเอา มิใช่ทำบุญเพื่อละ (ยังไม่ต้องพูดถึงหลักธรรมขั้นสูง เช่น นิพพาน) ดังนั้นจึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหลศรัทธาในธมฺมชโย/ธรรมกาย และพร้อมที่จะปิดหูปิดตาต่อพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลของธมฺมชโย/ธรรมกาย กล่าวอีกนัยหนึ่งกรณีดังกล่าวสะท้อนถึงความล้มเหลวในการเผยแผ่ธรรมของชาวพุทธไทย โดยเฉพาะคณะสงฆ์ ซึ่งโยงไปถึงความล้มเหลวของการศึกษาคณะสงฆ์อย่างชัดเจน..”
2) ว.วชิรเมธี ที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 2546 มาพูดถึงอีกครั้งและข้อความดังกล่าวกำลังถูกแชร์กันใหัว่อนในโซเชียลมีเดีย โดยวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" นี้ ได้พูดถึงคำสอนของวัดพระธรรมกายว่า
“การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิฎก การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตน หรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญ ถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่องนิพพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า บุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่ง และเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ได้อย่างปาฏิหาริย์”
นอกจากนั้น ยังระบุว่าวัดพระธรรมกายเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานว่า “ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไป และสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้”
หากย้อนกลับไปดูคำสอนของวัดพระธรรมกาย จะพบว่าวัดนี้เจริญรอยตามคำสอนของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีหัวใจคำสอน อยู่ที่ “วิชชาธรรมกาย” ซึ่งคำจำกัดความของคำว่า “ธรรมกาย” นั้น หลวงพ่อสดเคยกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาของท่านว่า “ธรรมกาย คือ กายภายในของพระพุทธเจ้า” โดยบอกว่าคำจำกัดความเช่นนี้เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติธรรมจนเข้าถึง “ธรรมกาย” ภายในด้วยตนเอง ว่ากันว่าเกิดขึ้นตอนหลวงพ่อสดทำสมาธิ แล้วเกิดนิมิตเป็นดวงสีแดงในท้อง ทำให้ท่านมีความปีติและเรียกดวงสีแดงนี้ว่า “ธรรมกาย” ทั้งยังอ้างว่าวิชานี้มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้วแต่หายสาบสูญไปนานถึงสองพันกว่าปี แต่เพิ่งถูกค้นพบขึ้นมาใหม่โดยหลวงพ่อสดนี่เอง
อย่างไรก็ตาม เรื่องวิชชาธรรมกายก็ดี คำว่าธรรมกายก็ดี คำสอนของวัดพระธรรมกายก็ดี กลายประเด็นที่วัดธรรมกายถูกโจมตีเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า “บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า” เช่น ไปดัดแปลงความหมายของคำว่า “ธรรมกาย” และนำเอาคำนี้ไปใช้เป็นผลของการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดไป ในขณะที่ฝ่ายวัดพระธรรมกายก็อ้างว่าคำว่า “ธรรมกาย” นี้ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาแล้วหลายแห่ง นอกจากนั้นยังมีการอ้างประโยคที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสแก่ “พระวักกลิ” ที่อยากเห็นรูปโฉมของพระบรมศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนว่า
“ วักกลิจะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม”
ตรงนี้เองที่หลวงพ่อสดให้ความเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วพระดำรัสนี้น่าจะหมายความว่า
“ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า” (จากมรดกธรรมหน้า ๔๑)
การตีความเช่นนี้เอง ทำให้หลวงพ่อสดนำมาใช้เป็นวิชชาธรรมกาย โดยบอกว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนาขั้นสูง จนบรรลุถึง ธรรมกาย ในตนเอง แล้วด้วยตาของ ธรรมกาย หรือญาณจักษุของตนเองนั้น ก็จะทำให้เห็น ธรรมกาย หรือตถาคต หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดง่ายๆ คือสอนว่าการเพ่งธรรมกาย (นิมิต) จะสามารถทำให้บรรลุนิพพานได้นั่นเอง เรื่องนี้จึงถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เพราะหลักศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้พึ่งพิงหรืออิงอภินิหารแต่อย่างไร แต่เน้นปัญญาในการหลุดพ้นจากทุกข์ต่างหาก
3) “เสฐียรพงษ์ วรรณปก” ไดัเคยเขียนบทความเรื่อง “ความเป็นมาของคำว่าธรรมกาย” โดยระบุว่าคำว่า “ธรรมกาย”ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นความหมายธรรมดา ไม่มีความหมายอะไร โดยหยิบยกเอาพระไตรปิฏกเล่มที่ 11 ชื่ออัคคัญญสูตรมาเล่าว่าคำนี้ถูกใช้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ไม่ได้มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด
ไม่เพียงเท่านี้เท่านั้น คำสอนของวัดธรรมกายที่ถูกโจมตีว่าสอนผิดๆ อีก เช่น สอนว่านิพพานคืออัตตา สอนว่ามีธรรมกายที่เป็นอัตตาหรือตัวตนของพระพุทธเจ้า สอนเรื่องอายตนนิพพานว่าเป็นดินแดนหรือสถานที่สถิตของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างเป็นนิรันดร์ ซึ่งคำสอนต่างๆ เหล่านี้เอง ทำให้พระพยอม กัลยาโณ, พระไพศาล วิสาโล และคณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา (ศพพ.) ได้เคยร่วมกันทำพิธีคว่ำบาตรพพระธมฺมชโยที่วัดสวนแก้วมาแล้ว โดยระบุว่าคำสอนของวัดพระธรรมกายนั้นเป็นคำสอนที่วัดธรรมกายคิดค้นขึ้นใหม่ แทนที่จะระบุอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นของใหม่ พระธมฺมชโยและวัดพระธรรมกายกลับนำคำสอนดังกล่าวมาปะปนกับคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า โดยแอบอ้างกล่าวตู่ว่าเป็นพุทธพจน์ ยิ่งกว่านั้นคือการปฏิเสธพระธรรมวินัย คัดค้านลบหลู่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ขัดแย้งกับคำสอนของตน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบาลีนี้ไม่น่าเชื่อถือ ใช้เป็นหลักไม่ได้ ถือเป็นการจาบจ้วงพระธรรมวินัย!
นอกจากนั้นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก คือ คำสอนที่วัดพระธรรมกายบอกว่า “นิพพานเป็นอัตตา” ประเด็นนี้หลวงปู่พุทธะอิสระได้เขียนเฟซบุ๊กโต้แย้งว่า “นิพพานเป็นอนัตตา” โดยบอกว่า
“...พระพุทธองค์ทรงสอนว่า หากผู้มีดวงตาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ว่าทุกข์ทั้ง หลายล้วนได้มาจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ชาติ ภพ หากจะดับทุกข์ ต้องดับความโง่ ต้องรู้ว่าตัณหา ความทะยานอยาก ทำให้เราต้องขวนขวายแสวงหาสิ่งที่ตนอยาก เมื่อได้มาก็ต้องหวงแหน ผูกพัน ยึดถือ เรียกว่าอุปาทาน โดยอาศัยความตระหนี่ ความอิจฉา ความไม่รู้จริง ความหลง เป็นเหตุทำให้ตนต้องตกอยู่ในวังวนแห่งภพ ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ นี่เรียกว่าทางดับทุกข์
“เมื่อใดที่มีสติปัญญาทำให้พันธนาการทั้งหลายทั้งในฝ่ายกุศล อกุศล หมดไป เป็นการทำลายเหตุปัจจัยของทุกข์จากการเกิด เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยใด ๆ มาครอบงำปรุงแต่ทั้งภายในและภายนอกซึ่งล้วนมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เช่นนี้เรียกว่าข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับ ความหลุดพ้นดับเย็นจักพึงบังเกิดขึ้น เช่นนี้จึงเรียกว่านิพพานที่เป็นคำอธิบายแบบย่อ ฉะนั้นนิพพานจึงเป็นสภาวะอนัตตาธรรม มิใช่อัตตาธรรมอย่างที่สำนักธรรมกายสั่งสอนกัน”
หรือประเด็นที่วัดพระธรรมกายมักจะสอนให้นิยมอภินิหาร ,ส่งเสริมให้เกิดความโลภ เช่น บอกว่า ให้ทุ่มทำบุญแล้วจะรวย ก็เป็นประเด็นที่สร้างความแคลงใจให้แก่ประชาชนเช่นกัน
น่าสังเกตว่าในสมัยที่หลวงพ่อสดยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้เคยสอนเรื่องการทำบุญทำกุศลของฆราวาสว่า
“ทานนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ต้องไม่มุ่งหวังสิ่งใด ถ้าหวังผลตอบแทนว่าตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ อย่างนี้ไม่ถือเป็นทาน และการทำบุญต้องดูกำลังตัวเอง อย่าใช้เงินทองเป็นตัววัดบุญ แม้ไม่บริจาคทรัพย์ แต่ช่วยแรงก็ได้บุญเช่นกัน” หรือที่สอนว่า “บุญที่เกิดจากการนั่งภาวนานั้นเป็นบุญใหญ่กุศลใหญ่ เราจะไปสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลการเปรียญสักร้อยหลัง ก็สู้บุญจากการบำเพ็ญสมถวิปัสสนาไม่ได้”
แต่หากดูพฤติกรรมของวัดพระธรรมกายในปัจจุบันที่เน้นโฆษณาให้ทุ่มเงินทำบุญ หรือบริจาคเงินเยอะๆ เพื่อสร้างวิหารใหญ่โต โดยบอกว่าจะได้บุญมากๆนั้น ดูจะขัดกับหลักคำสอนของหลวงพ่อสดอย่างเห็นได้ชัด
คำถามคือ วัดพระธรรมกายกำลังบิดเบือนคำสอนของอาจารย์ตัวเอง เพื่อหวังลาภยศเงินทองจากฆราวาสหรือไม่ นอกจากนั้นคำสอนอื่นๆ ของวัดพระธรรมกายผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือเปล่า
หากพิสูจน์ได้ว่าบิดเบือนจริง เท่ากับว่าวัดพระธรรมกายกำลังมอมเมาให้ประชาชนหลงผิด แย่ไปกว่านั้นคือเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างน่ากลัวที่สุด!