http://www.ispacethailand.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/5453.html
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะการเมืองที่ไม่ปกติจากสถานการณ์การเมืองภายใน อีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้สถานการณ์การเมืองและประชาธิปไตยของไทยก็คือ “เศรษฐกิจ” ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่มีการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมาสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ประสบปัญหามาโดยตลอด
มองโดยภาพรวมอาจแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ รัฐบาลทหารของไทยประสบปัญหาในการเจรจาด้านการค้ากับต่างประเทศเนื่องจากต่างชาติไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ อีกสาเหตุสำคัญก็คือความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากยอดการปิดกิจการของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานในรายงาน “สถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้างและความต้องการแรงงาน (มีนาคม 2558)” พบว่าสถิติผู้ประกันตนที่มาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีจำนวน 54,081 คน
ในจำนวนผู้ว่างงานดังกล่าวมีถึง 6,279 คน ที่ว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง โดยในจำนวนนี้มีถึง 49.83% ที่ถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างปิดกิจการ อีก 30.28% ถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างต้องการลดจำนวนพนักงาน สอดคล้องกับรายงาน “ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” ประจำเดือนมกราคม 2558 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ระบุว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558 เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2557 และติดลบ 1.3% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2557
นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรงงานที่ปิดกิจการในเดือนมกราคม 2558 ถึง 107 แห่ง พุ่งสูงขึ้นกว่าเดือนธันวาคม 2557 ถึง 109.8% และมียอดการปิดกิจการมากกว่าช่วงเดือนมกราคม 2557 ถึง 25.9% ในส่วนของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ก็ติดลบที่ 1.3% และหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียกับอินโดนีเซียก็ถือว่ามีความแตกต่างอย่างมาก เพราะมาเลเซียกับอินโดนีเซียมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่อัตรา 7.9% และ 5.2%
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจากต่างชาติกำลังมีการย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทย ตรงกับประกาศของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างบริษัท เชฟโรเล็ด เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เจนเนอรัล มอเตตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เพาเวอร์เทรน (ประเทศไทย) จำกัด (รวมเรียก “จีเอ็ม ประเทศไทย” ) ที่ได้จัดทำโครงการสมัครใจลาออก เพื่อ ปรับ ลด จำนวนพนักงานส่วนต่างๆ ในองค์กรของแต่ละบริษัทในทุกฝ่าย ทุกระดับประมาณ 30% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด หรือราวๆ 3,200 คน โดยเปิดให้พนักงานแจ้งความจำนงได้ในช่วงวันที่ 2 มีนาคม 2558 -12 มีนาคม 2558
นี่คือผลสะท้อนสำคัญที่ตรงกับรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุว่าผู้ว่างงานประมาณ 404,000 คนทั่วประเทศ โดยในจำนวนผู้ว่างงานนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนประมาณ 164,000 คน และอีก 240,000 คนเป็นผู้ที่เคยทำงานมาก่อนแล้ว โดยในจำนวนผู้ที่เคยทำงานมาก่อนแล้ว 240,000 คน ประเมินว่า 119,000 คนเป็นผู้ว่างงานในภาคการบริการและการค้า 78,000 คนอยู่ในภาคการผลิต และอีก 43,000 คนอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในจำนวนผู้ว่างงานตามรายงานดังกล่าวพบว่า ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษามากที่สุด 144,000 คน
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่เริ่มส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของไทยอย่างมาก ไม่นับรวมปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว และยางพารา น่าสนใจว่ารัฐบาล คสช. ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเหล่านี้อย่างไร เพราะรัฐประหารมาจะครบปีอยู่แล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
ในวันที่ประเทศอยู่ในภาวะที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์มีเสียงเช่นนี้ ก็คงได้แต่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจดำเนินการไปตามยถากรรม และสุดท้ายหากเศรษฐกิจของประเทศพังจริงๆ ผู้ที่ต้องรับผลกรรมที่ตนเองไม่ได้ก่อก็คือประชาชนทุกคนนั่นเอง!!!!
เศรษฐกิจไทยส่อเค้าพัง “ยอดว่างงาน-ปิดกิจการ” พุ่ง
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะการเมืองที่ไม่ปกติจากสถานการณ์การเมืองภายใน อีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้สถานการณ์การเมืองและประชาธิปไตยของไทยก็คือ “เศรษฐกิจ” ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่มีการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมาสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ประสบปัญหามาโดยตลอด
มองโดยภาพรวมอาจแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ รัฐบาลทหารของไทยประสบปัญหาในการเจรจาด้านการค้ากับต่างประเทศเนื่องจากต่างชาติไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ อีกสาเหตุสำคัญก็คือความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากยอดการปิดกิจการของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานในรายงาน “สถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้างและความต้องการแรงงาน (มีนาคม 2558)” พบว่าสถิติผู้ประกันตนที่มาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีจำนวน 54,081 คน
ในจำนวนผู้ว่างงานดังกล่าวมีถึง 6,279 คน ที่ว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง โดยในจำนวนนี้มีถึง 49.83% ที่ถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างปิดกิจการ อีก 30.28% ถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างต้องการลดจำนวนพนักงาน สอดคล้องกับรายงาน “ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” ประจำเดือนมกราคม 2558 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ระบุว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558 เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2557 และติดลบ 1.3% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2557
นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรงงานที่ปิดกิจการในเดือนมกราคม 2558 ถึง 107 แห่ง พุ่งสูงขึ้นกว่าเดือนธันวาคม 2557 ถึง 109.8% และมียอดการปิดกิจการมากกว่าช่วงเดือนมกราคม 2557 ถึง 25.9% ในส่วนของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ก็ติดลบที่ 1.3% และหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียกับอินโดนีเซียก็ถือว่ามีความแตกต่างอย่างมาก เพราะมาเลเซียกับอินโดนีเซียมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่อัตรา 7.9% และ 5.2%
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจากต่างชาติกำลังมีการย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทย ตรงกับประกาศของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างบริษัท เชฟโรเล็ด เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เจนเนอรัล มอเตตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เพาเวอร์เทรน (ประเทศไทย) จำกัด (รวมเรียก “จีเอ็ม ประเทศไทย” ) ที่ได้จัดทำโครงการสมัครใจลาออก เพื่อ ปรับ ลด จำนวนพนักงานส่วนต่างๆ ในองค์กรของแต่ละบริษัทในทุกฝ่าย ทุกระดับประมาณ 30% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด หรือราวๆ 3,200 คน โดยเปิดให้พนักงานแจ้งความจำนงได้ในช่วงวันที่ 2 มีนาคม 2558 -12 มีนาคม 2558
นี่คือผลสะท้อนสำคัญที่ตรงกับรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุว่าผู้ว่างงานประมาณ 404,000 คนทั่วประเทศ โดยในจำนวนผู้ว่างงานนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนประมาณ 164,000 คน และอีก 240,000 คนเป็นผู้ที่เคยทำงานมาก่อนแล้ว โดยในจำนวนผู้ที่เคยทำงานมาก่อนแล้ว 240,000 คน ประเมินว่า 119,000 คนเป็นผู้ว่างงานในภาคการบริการและการค้า 78,000 คนอยู่ในภาคการผลิต และอีก 43,000 คนอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในจำนวนผู้ว่างงานตามรายงานดังกล่าวพบว่า ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษามากที่สุด 144,000 คน
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่เริ่มส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของไทยอย่างมาก ไม่นับรวมปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว และยางพารา น่าสนใจว่ารัฐบาล คสช. ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเหล่านี้อย่างไร เพราะรัฐประหารมาจะครบปีอยู่แล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
ในวันที่ประเทศอยู่ในภาวะที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์มีเสียงเช่นนี้ ก็คงได้แต่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจดำเนินการไปตามยถากรรม และสุดท้ายหากเศรษฐกิจของประเทศพังจริงๆ ผู้ที่ต้องรับผลกรรมที่ตนเองไม่ได้ก่อก็คือประชาชนทุกคนนั่นเอง!!!!