อยากให้ช่วยการตรวจสอบ เรื่องการชำระภาษีป้าย ของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นการพยายามใช้ช่องว่างทางกฎหมาย หลีกเลี่ยงไม่

เรื่องการชำระภาษีป้าย ของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นการพยายามใช้ช่องว่างทางกฎหมาย หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีป้าย ถูกต้องทั้งในแง่กฎหมายและหลักจริยธรรมทางธุรกิจ หรือไม่

ข้อเท็จจริง
1.แต่เดิมนั้น ปตท.นั้นเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับ ได้รับสิทธิยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีป้าย ตาม พรบ.ป้าย มาตรา 8(7)

2.ต่อมา ปตท. ได้แปลงสภาพเป็น บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ตาม พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการมีการโต้เถียงกันในหมู่นักกฎหมายว่าสิทธิ และประโยชน์ทางภาษีอากร ของ ปตท. ยังคงอยู่หรือหมดไป ตาม มาตรา 6 แห่ง พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ฉบับที่ 2 พศ.2550
        -ถ้าคงอยู่ ปตท. ก็ไม่ต้องชำระภาษีป้าย / ถ้าหมดไป ปตท. ก็ต้องเสียภาษีป้าย

3.ประเด็นที่ ป้าย ปตท. เสียภาษีหรือไม่นั้น มีกรณี วินิจฉัย ขอคณะกรรมการพิจารณาชี่ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาข้อโต้แย้งระหว่าง ปตท. กับ เทศบาลคลองตำหรุ จังหวัดชลบุรี  โดยทางคณะกรรมการดังกล่าว มีมติ 5 ต่อ 3 ให้ ปตท. ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย (คือ 5 เสียง ให้ได้รับการยกเว้น อีก 3 เสียไม่ให้ได้รับการยกเว้น (อ้างอิง หนังสือที่ อส 0020/10706 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555 เรื่อง แจ้งมติคณะรัฐมนตรี) (แต่กรณีนี้ ปตท.เป็นเจ้าของสถานีจำหน่ายน้ำมันลงทุนและดำเนินการเอง ไม่ใช่ของเอกชน)

4.ทาง ปตท. ได้ส่งหนังสืออส 0020/10706 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555 เรื่อง แจ้งมติคณะรัฐมนตรี เวียนไปให้ เอกชนที่ลงทุนและดำเนินการสถานีจำหน่ายน้ำมัน ทั่วประเทศ ว่าไม่ต้องชำระภาษีป้าย แก่ทาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเก็บภาษีป้าย

5.องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หลายแห่งทั่วประเทศ ที่ไม่เห็นด้วยกับหนังสือ อส 0020/10706 ดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในนั้น คือเทศบาลตำบลเกวียนหัก จังหวัดจันทบุรี  ได้ทำหนังสือหารือ ไปที่ กระทรวงมหาดไทย อีกครั้ง เพื่อสอบถามแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการจัดเก็บภาษีป้ายปตท. กรณีปตท.ไม่ได้ดำเนินการเอง แต่เป็นเอกชนลงทุนและดำเนินการ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร
         จากการสอบถามข้อเท็จจริงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับ ปตท. ก็ได้ ความจริงนำมาเปิดเผย ดังนี้
                 -ปัจจุบัน(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2555) ปตท.ดำเนินการเอง เพียง 75 สถานี นอกนั้นเอกชนดำเนินการเองประมาณ 1,131 สถานี
                 -ป้าย ปตท. ในสถานีจำหน่ายน้ำมัน ที่เอกชนดำเนินการเอง เป็นป้ายที่ เอกชนเป็นผู้ลงทุนออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำและติดตั้งป้าย  แต่ ปตท.ทำบันทึกว่าป้ายของเอกชนเป็นทรัพย์สินหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของ ปตท. และได้ข้อตกลงให้เอกชนดำเนินการเองยืมป้าย  
                 -ป้ายที่เป็นข้อโต้แย้งระหว่าง ปตท. กับ เทศบาลคลองตำหรุ จังหวัดชลบุรี ตามหนังสือ อส 0020/10706 นั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สถานีจำหน่ายน้ำมัน ที่เป็นเหตุแห่งข้อโต้แย้ง เป็นของ ปตท. ลงทุนและดำเนินการเอง

6.กระทรวงมหาดไทย จึงมีหนังสือที่ มท 0808.3/12582 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2557 เรื่อง ขอหารือการจัดเก็บภาษีป้ายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สรุปได้ว่า กระทรวงมหาดไทย เห็นว่า ป้าย ปตท. ที่เอกชนดำเนินการเอง  ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย แม้จะมีการทำข้อตกลงเป็นหนังสือว่าเป็นการยืมป้ายจาก ปตท.ก็ตาม

7.แต่ปัจจุบัน ปตท. ก็ยัง อ้างอิงหนังสือ อส 0020/10706 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2555 เรื่อง แจ้งมติคณะรัฐมนตรี และยืนยัน ว่าป้าย ปตท. ในสถานีจำหน่ายน้ำมันที่เอกชนดำเนินการเอง ไม่ต้องชำระภาษีป้าย พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เอกชนเหล่านั้นไม่ต้องชำระภาษีป้าย

ประเด็นที่อยากให้ช่วยการหาคำตอบ เพื่อตรวจสอบว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ในสังคม

1. การที่ ปตท. ก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย สร้างความได้เปรียบในการดำเนินการทางธุรกิจให้กับตัวเอง โดยไม่ยอมชำระภาษีป้ายนั้น ถูกต้องหรือไม่ ทั้งในแง่กฎหมายและหลักจริยธรรมทางธุรกิจ

2.การที่ ปตท. ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เขียนสัญญาในการเปิดสถานีจำหน่ายน้ำมัน โดย ปตท.ให้เอกชนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำและติดตั้งป้าย ปตท  และมีการทำบันทึกว่าป้ายที่เอกชนทำนั้นเป็นทรัพย์สินหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของ ปตท. และได้ข้อตกลงให้เอกชนดำเนินการเองยืมป้าย  เพื่อไม่ต้องชำระภาษีป้าย ถูกต้องหรือไม่ ทั้งในแง่กฎหมายและหลักจริยธรรมทางธุรกิจ


***ชมรมนักจัดเก็บรายได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย***
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่