[จาvsเจียง] ผมสงสัยนะ พวกที่พยายามเข้ามา comment ช่วยเสี่ย เขาคิดอะไรกันอยู่?

อันนี้ผมไม่พูดในแง่กฏหมายนะครับ พูดในแง่ความเป็นธรรมล้วนๆ

อ่านตรงนี้อาจจะงงๆ คือต้องเข้าใจก่อนนะครับว่ากฏหมายไม่ใช่ความเป็นธรรม กฏหมายเป็นเพียงตัวกำหนดว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

ยกตัวอย่างที่ได้ยินบ่อยๆ กฏหมายสมัยก่อน ถ้าสมาชิกในครอบครัวคนนึงวางแผนก่อกบฏ โทษคือประหาร 7 ชั่วโค-ตร 9 ชั่วโค-ตร ซึ่งคนสมัยนั้นอ้างเรื่องต้องขุดรากถอนโคน ไม่ให้กลับมาแก้แค้น แต่ในเวลาต่อมา ก็เกิดแนวคิดที่ว่า "ผู้ใดทำผิด ก็รับโทษเฉพาะผู้นั้น" เพราะคนอื่นในครอบครัวอาจไม่ได้รู้เรื่องด้วย สุดท้ายกฏหมายแนวๆ ประหารทั้งครอบครัว ก็ถูกยกเลิกไป

หรือเรื่องของการใช้แรงงาน ในอดีตแรงงานทาสถือว่าถูกกฏหมาย หรือใช้เด็ก ใช้ผู้หญิงทำงานหนักก็ไม่ใช่สิ่งผิด ต่อมาเกิดแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้น แล้วก็แตกออกมาเป็นสิทธิของผู้ใช้แรงงาน เกิดเป็นประมวลกฏหมายแรงงานขึ้น ว่านายจ้าง-ลูกจ้าง ใครมีสิทธิอะไรแค่ไหน? เงื่อนไขการทำงานแบบใดที่ไม่เป็นธรรมบ้าง รวมถึงกระบวนการต่อรอง เปิดโอกาสให้ลูกจ้างรวมกลุ่มตั้งสหภาพแรงงาน ฯลฯ ทุกวันนี้แรงงานจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หรือเรื่องความเสมอภาคทางเพศ สมัยก่อนชายหญิงจดทะเบียนสมรส หญิงต้องเปลี่ยนเป็นนาง และต้องใช้นามสกุลสามี แต่เวลาต่อมาก็แก้ไขให้เลือกใช้ได้ทั้งนาง/นางสาว และจะใช้นามสกุลเดิมของตัวเองก็ได้แม้จะแต่งงานแล้วก็ตาม ( ล่าสุดตอนนี้กำลังมีการผลักดันให้แก้กฏหมาย ให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ เพื่อให้ได้สิทธิของคู่สมรสเทียบเท่าคู่รักชายหญิงปกติ )

ฯลฯ

-----------------------

ตามนี้แหละครับ คือแนวคิดเรื่องความเป็นธรรมมันต้องเกิดขึ้นก่อน จากนั้นค่อยบัญญัติหรือปรับแก้กฏหมาย เพื่อรับรองให้แนวคิดความเป็นธรรมนั้นมันเกิดขึ้นจริง

อย่างเรื่องขาย cd เก่าแล้วติดคุก สภาทนายความเขาบอกเองเลย ว่าไม่ได้ผิดที่ศาล แต่ผิดที่ตัวบทกฏหมาย เพราะไปเขียนว่าโทษปรับ 2 แสน-1ล้านบาท ศาลท่านก็ต้องตัดสินไปตามนั้น แม้ข้อเท็จจริงจำเลยจะไม่ใช่พวกพ่อค้าแผ่นผีมืออาชีพเลยก็ตาม สุดท้ายลดไปลดมา ก็เลยเหลือปรับแสนกว่าบาท

คือศาลพยายามช่วยสุดๆ แล้ว แต่ก็ช่วยได้แค่นั้นจริงๆ

ทีนี้มาเข้าเรื่องของจา vs เจียง เอาละ..ต่อให้สุดท้ายแล้ว สัญญาที่จาทำไว้เมื่อปี 2546 ที่บอกว่าต่อได้เองอัตโนมัติโดยที่จาปฏิเสธไม่ได้ มันจะใช้บังคับได้จริงตามกฏหมาย

แต่เมื่อคิดในแง่ความเป็นธรรม ผมว่าไม่ต้องนักกฏหมายหรอกครับ ตาสียายสาที่ไหนก็ได้ เชื่อเถอะใครอ่านสัญญาฉบับนี้แล้ว ด้วยสามัญสำนึก ก็คงบอกว่าสัญญาแบบนี้มันไม่เป็นธรรมแน่นอน

และเมื่อคนทั่วไปเห็นว่ามันไม่เป็นธรรม เขาก็เลยออกมาเรียกร้อง ออกมาตั้งคำถามว่าสัญญาแบบนี้สมควรที่จะปล่อยให้ดำรงอยู่ในสังคมไทยต่อไปหรือเปล่า? สมควรที่จะต้องปฏิรูปกฏหมายเรื่องการทำสัญญาตรงนี้หรือเปล่า? เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

แต่กลายเป็นว่า มีคนบางกลุ่มพยายามทำตัวเป็นทะแนะบ้าง ทนายบ้าง ช่วยเหลือเสี่ย บอกว่าเสี่ยทำถูกแล้ว เสี่ยเป็นคนดี จาเป็นคนเลว เนรคุณ หนีสัญญา ฯลฯ

ผมสงสัยว่าคนกลุ่มนี้คิดอะไรอยู่ครับ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่