พระราชบัญญัติ วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับ๒) ประชาชนหรือผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้ครับ

จุดมุ่งหมายของกระทู้นี้คือ
๑) การแก้ไข พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
๒) ประโยชน์ของผู้บริโภค
๓) หมายหมายของวิชาชีพเภสัชกรรม
๔) สิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทุกสาขา เช่น ร้านยา โรงพยาบาล โรงงานผลิตยา ฯ
๕) ระบบการศึกษาต่อเนื่อง ของ เภสัชกร
๖) พระราชบัญญัติ ยา และ พระราชบัญญัติ วิชาชีพเภสัชกรรม ไม่เหมือนกันครับ/
๗) การเลือกคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระ ๘ ที่จะมีขึ้นเร็วๆๆนี้ครับ

กลุ่มเป้าหมาย
๑) ผู้บริโภค
๒) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม กว่า ๔๐๐๐๐ กว่าๆๆท่าน
๓) นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในคณะเภสัชศาสตร์
๔) วัยรุ่น วัยเรียนและวัยทำงาน


หมายเหตุ
-ภาพประกอบ
-เนื้อหาพิมพ์ขึ้นเองบางส่วนนะครับ

เข้าเนื้อเรื่อง

๑)  สาเหตุในการแก้ไข พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ เพราะล้าหลัง และไม่ทันต่อเหตุกาลในปัจจุบัน ตลอดจน เน้นเรื่องความปลอดภัย ลดการจ่ายยาเกินความจำเป็น และ คุ้มครองการใช้ยาแก่ผู้บริโภค และ ได้รับคำแนะนำการใช้ยาอย่างถูกต้อง จาก ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยตรง( ทุกสาขา เช่น ร้านยา โรงพยาบาล โรงงานผลิดยา ) ที่มิใช่เภสัชกรที่แขวนป้ายใบประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรมในร้านยา  และ เน้นทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่น ในด้านสาธารณสุข เป็นสำคัญ โดยผ่านการแปรญัญัติ เมื่อวันที่ ๒๙ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และพยายามไม่ให้วิชาชีพอื่นๆ เข้ามาจ่ายยา ขายยา เปิดคลีนิก วินิจฉัยโรคเอง ปรับขนาดยาเองในกลุ่มโรคเรื้อรัง ฉีดยา ให้น้ำเกลือแก่คนไข้ เพราะวิชาชีพ...ไม่ได้เรียนเรื่องยามาเลย /

ภาพประกอบ
///
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เนื้อหาสาระ  จากคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระ ๗
Facebook ของสภาเภสัชกรรมขอแจ้งข่าวว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป


สาระสำคัญของกฎหมายที่แก้ไขใหม่
1. แก้ไขนิยามวิชาชีพเภสัชกรรม

“วิชาชีพเภสัชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทําในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ การปรุงยา การจ่ายยา การขายยา และการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยา การให้คําแนะนําปรึกษาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา รวมทั้งการดำเนินการหรือร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา


ขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
-การปรุง และ การจ่ายยา ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ผู้ประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรม หรือคนไข้ของตนเอง
-การปรุง การจ่ายยา การขายยา โดยผู้ประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรม
หมายเหตุ*** ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ และ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เท่านั้นก็กระทำการปรุงยา จ่ายยา ขายยา และออกใบยา ได้เท่านั้นครับ***
2. รองรับเรื่องการต่ออายุใบอนุญาต   ขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
-ใบประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรมนั้นจะมี สองสถานะคือ
*** ตลอดชีพ ซึ่งได้มาก่อน วันที่  ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ แล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ และไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ๕๐๐ บาท แต่ต้องไม่เกิน ๒๕๐๐ บาท ในการต่อ ทุกๆ ๕ ปี
***ชั่วคราว  ซึ่งได้มาหลัง วันที่  ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ แล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ๕๐๐ บาท แต่ต้องไม่เกิน ๒๕๐๐ บาท ในการต่อ ทุกๆ ๕ ปี
-กรณีไม่ต่อใบอนุญาติ  ( ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม
) นั้นเภสัชกร จะยังไม่สามารถกระทำหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรมได้

๓) สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ตั้งแต่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘) ใบอนุญาตให้มีอายุ ๕ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก ๕ ปี ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติหรือเป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนด( ๒๕๐๐ บาท ) โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการต่ออายุใบอนุญาต ตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
-***  ใบอนุญาตชั่วคราว***
หมายเหตุ  ใบอนุญาต  หมายความว่า   ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม
***ใบอนุญาตตลอดชีพ***
หมายเหตุ  ใบอนุญาต  หมายความว่า   ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม
๔) สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ก่อน ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ใบอนุญาตยังคงใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก ๕ ปี อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/021/69.PDF

๒) ประโยชน์ของผู้บริโภค
๒.๑) เภสัชกรมีความรู้มากขึ้น
๒.๒) ได้รับคำแนะนำ และ การจ่ายยา ตลอดจน ข้อปฏิบัติตัว ขณะที่ใช้ยา อย่างปลอดภัยจาก เภสัชกร ทุกครั้ง ที่เข้ามารับบริการในร้านยา
๒.๓) ข้อมูลบนซองยานั้นมีรายละเอียดครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น  ชื่อร้านยา-ที่ตั้ง รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ และ เวลาที่เภสัชกรปฎิบัติหน้าที่ / วันที่ซื้อยา /ชื่อตัวย/ จำนวน / ขนาดยา / วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง / ผลข้างเคียงจากการใช้ยานั้น / คำเตือนเกี่ยวกับยา /การเก็บรักษาย า/ ชื่อเภสัชกรที่เป็นผู้จ่ายยานั้น / วันหมดอายุยา
๒.๔) เภสัชกรจะต้องแสดงตนชัดเจน เช่นสวมเสื้อกาวน์ /กระเป๋าข้างซ้ายมีตราสัญญาลักษณ์ของสภาเภสัชกรรม และด้านขวา ชื่อ/นามสกุล วืทยฐานะ ของเภสัชกร หรือ เภสัชกรหญิง พร้อมเลขที่ใบประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรมเลขที่ ภ.  ให้ชัดเจน แยกอย่างเด่นชัดระหว่างพนักงาน/ลูกจ้างในร้านยา และ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
๒.๕) เภสัชกรแขวนป้ายใบประกอบโรคศิลปะวิชาชีพเภสัชกรรม ก็จะลดน้อย
๒.๖) จะมุ่งส่งเสริมความรู้แก่ผู้บริโภคมากกว่ามุ่งกำไรครับ
๒.๗) ผู้บริโภค มีสิทธิทราบขั้นตอนการจ่ายยา และ สิทธิของ ผู้บริโภค  (ดังภาพ)

๒.๘) ผู้บริโภคจะได้รับยาที่ปลอดภัยจริงจาก ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทุกครั้งที่เข้าไปรับบริการในร้านยา
๒.๙) ยาชุดจะลดน้อยลง  

๒.๑๐) ปัญหาการแพ้ยา หรือ ได้รับยาที่เกินความจำเป็นจะลดลง  (ภาพประกอบครับ)
/
๒.๑๑) กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่ดีสำหรับเภสัชกรชุมชนในร้านยา (Good Pharmacy Practices)
๓.๐) ส่งเสริมการใช้ยาให้เหมาะสม และ ลดการใช้ยาหรือความเชื่อผิด ในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน และวัยทำงาน

๓) วิชาชีพเภสัชกรรม  หมายความว่า   วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทําในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ การปรุงยา การจ่ายยา การขายยา และการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยา การให้คําแนะนําปรึกษาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา รวมทั้งการดำเนินการหรือร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา  

๔) สิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทุกสาขา เช่น ร้านยา โรงพยาบาล โรงงานผลิตยา ฯ
- สถานนะของใบอนุญาตตลอดชีพ
- สถานะของใบอนุญาติชั่วคราว
หมายเหตุ
ใบอนุญาต  หมายความว่า  ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม

๕) ระบบการศึกษาต่อเนื่องที่เกี่ยวกับการหาความรู้เพิ่มเติมทางวิชาการ ตลอดระยะเวลา ๕ ปี นั้นจะต้องเก็บให้ครบตามที่ สภาเภสัชกรรมกำหนด  ออกมาครับ
หมายเหตุ
- สถานนะของใบอนุญาตตลอดชีพ
- สถานะของใบอนุญาตชั่วคราว
จะเหมือนกันทุกประการครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่