พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้มีการจำกัดขนาดของห้องเรียน โดยการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ที่ประชุมได้แสดงความเห็นที่หลากหลาย จึงได้ข้อสรุปออกมาว่าควรกำหนดเป็นแนวทางโดยกำหนดให้ระดับอนุบาลมีครู 1 คนต่อนักเรียน 30 คน ระดับประถมศึกษาครู 1 คนต่อนักเรียน 30 คน ส่วนระดับมัธยมศึกษาให้ครู 1 คนต่อนักเรียน 40 คน แต่จะไม่เร่งรัด ให้เวลาในการเปลี่ยนแปลงให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 ปี เพื่อให้โรงเรียนได้มีการปรับตัว และทาง สพฐ.ต้องดำเนินการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ควบคู่กันไป ให้สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่ล้นห้องเรียนของโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงที่มีนักเรียนกว่า 50 คนต่อครู 1 คน
"ก่อนหน้านี้ นักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษาหรืออนุบาลกำหนดให้นักเรียนไม่เกิน 30 คนต่อครู 1 คน และระดับประถมศึกษาขึ้นไปกำหนดให้นักเรียน 40 คนต่อครู 1 คน ซึ่งต้องลดลงให้เหลือเพียง 30 คนต่อครู 1 คน เพื่อให้ครูสามารถใกล้ชิดนักเรียนได้มากที่สุด เพราะการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษามีความสำคัญ ครูจะต้องใส่ใจและใกล้ชิดกับเด็ก" รมว.ศธ.กล่าว
พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ปฏิรูปการศึกษาฯ สปช.ยังเสนอเรื่องการยกเลิกการจัดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเอ็นที ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 และการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับเขตพื้นที่ฯ หรือการสอบลาส ซึ่งเป็นการประเมินภายใน สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2, 4, 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 5 ในที่ประชุมก็มีการหารือกันอย่างกว้างขวาง และเห็นควรว่าในการสอบเอ็นทีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ยังมีความจำเป็น เพราะเป็นการทดสอบครั้งแรกในการเข้าเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล และยังเป็นการการประเมินเพื่อทราบว่าเด็กอ่อนหรือแข็งวิชาใดบ้าง และควรจะปรับปรุงและพัฒนาในด้านใดบ้าง แต่สำหรับการสอบลาสของระดับชั้นที่กล่าวมา เบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าน่าจะไม่มีความจำเป็นมากนัก เพราะเป็นลักษณะการประเมินภายในของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งปกติโรงเรียนมีการทดสอบนักเรียนในช่วงชั้นดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีมติให้ยกเลิกการสอบลาสในปีการศึกษา 2558 นี้
อย่างไรก็ตาม ทางเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนก็ยังคงต้องไปพัฒนาปรับปรุงระบบการประเมินนักเรียนให้มีความเข้มข้นมากขึ้นนอกจากนี้ที่ประชุมขอให้ สพฐ.ไปปรับลดกิจกรรมนอกห้องเรียนในโรงเรียนต่างๆ เพราะทำให้ครูและเด็กไม่มีเวลาอยู่ในห้องเรียน ที่ผ่านมามีกิจกรรมนอกห้องมากเฉลี่ยปีละ 84 วัน จากเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 200 วัน หรือคิดเป็น 40% ขอเวลาเรียนทั้งหมด ให้ลดเหลือไม่เกิน 10% หรือประมาณ 20 วันของเวลาเรียนทั้งหมด ศธ.จะประกาศเป็นนโยบายในปีการศึกษา 2558 ต่อไป
มติชน
′ศธ.′สั่งปรับลดจำนวนเด็กอนุบาล-ประถมเหลือ 30 คน/ห้องให้เสร็จใน 5 ปี
"ก่อนหน้านี้ นักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษาหรืออนุบาลกำหนดให้นักเรียนไม่เกิน 30 คนต่อครู 1 คน และระดับประถมศึกษาขึ้นไปกำหนดให้นักเรียน 40 คนต่อครู 1 คน ซึ่งต้องลดลงให้เหลือเพียง 30 คนต่อครู 1 คน เพื่อให้ครูสามารถใกล้ชิดนักเรียนได้มากที่สุด เพราะการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษามีความสำคัญ ครูจะต้องใส่ใจและใกล้ชิดกับเด็ก" รมว.ศธ.กล่าว
พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ปฏิรูปการศึกษาฯ สปช.ยังเสนอเรื่องการยกเลิกการจัดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเอ็นที ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 และการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับเขตพื้นที่ฯ หรือการสอบลาส ซึ่งเป็นการประเมินภายใน สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2, 4, 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 5 ในที่ประชุมก็มีการหารือกันอย่างกว้างขวาง และเห็นควรว่าในการสอบเอ็นทีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ยังมีความจำเป็น เพราะเป็นการทดสอบครั้งแรกในการเข้าเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล และยังเป็นการการประเมินเพื่อทราบว่าเด็กอ่อนหรือแข็งวิชาใดบ้าง และควรจะปรับปรุงและพัฒนาในด้านใดบ้าง แต่สำหรับการสอบลาสของระดับชั้นที่กล่าวมา เบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าน่าจะไม่มีความจำเป็นมากนัก เพราะเป็นลักษณะการประเมินภายในของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งปกติโรงเรียนมีการทดสอบนักเรียนในช่วงชั้นดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีมติให้ยกเลิกการสอบลาสในปีการศึกษา 2558 นี้
อย่างไรก็ตาม ทางเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนก็ยังคงต้องไปพัฒนาปรับปรุงระบบการประเมินนักเรียนให้มีความเข้มข้นมากขึ้นนอกจากนี้ที่ประชุมขอให้ สพฐ.ไปปรับลดกิจกรรมนอกห้องเรียนในโรงเรียนต่างๆ เพราะทำให้ครูและเด็กไม่มีเวลาอยู่ในห้องเรียน ที่ผ่านมามีกิจกรรมนอกห้องมากเฉลี่ยปีละ 84 วัน จากเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 200 วัน หรือคิดเป็น 40% ขอเวลาเรียนทั้งหมด ให้ลดเหลือไม่เกิน 10% หรือประมาณ 20 วันของเวลาเรียนทั้งหมด ศธ.จะประกาศเป็นนโยบายในปีการศึกษา 2558 ต่อไป
มติชน