คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
มีมาก่อนยุค Multiplex แน่นอนครับ ยกตัวอย่างเช่น
ผมดูหนัง Black to the future 2 ที่โรงหนังลิโด เมื่อ 26 ปีที่แล้ว Soundtrack ซับไทย ฝรั่งเต็มโรงเลย
ดู Terminator 2 ที่ โรงหนังอีเอ็มไอ เมื่อ 24 ปีก่อน ก็ซับไทย โรงนี้คนไทยเต็มโรง ฝรั่งนั่งไม่ค่อยได้หรอก ที่นั่งแคบมาก
สรุปถ้าเป็นโรงหนังย่านกลางเมืองจะ Soundtrack ส่วนชานเมืองจะพากย์ไทย
ส่วนเรื่องนี้ The Silence of the Lambs ผมดูที่ โรงหนังสกาล่า Soundtrack ซับไทย ถ้าจะดูแบบพากย์ไทยต้องเดินไปดูที่ โรงหนังสยาม(ซึ่งปกติจะฉายแต่หนังไทย) ตามภาพนี้ จะแยกชัดเจน ใครอยากไปดูพากย์ไทย ไปที่ สยามและ มอลล์ 5
ภาพหลักฐานครับ ว่าถ้าโรงไหนพากย์ไทย จะมีเขียนไว้ในโฆษณาใต้โรงว่า เสียงไทย ถ้าไม่มีเขียนแสดงว่า Soundtrack ซึ่งคนในยุคนั้นจะรู้ดีเพราะ โรงไหนพากย์ไทย ก็จะฉายแบบเสียงไทยตลอด เช่น สยาม สามย่าน ส่วน Soundtrack ก็จะฉายแบบนั้นตลอดเช่น สกาล่า
ซึ่งการฉายแบบ Soundtrack นั้นน่าจะมีมาตั้งแต่หนังฝรั่งเข้ามาฉายในไทยเลย เช่นเมื่อกว่า 50 ปีก่อนพ่อผมไปดูหนัง The sound of music ที่กรุงเกษม แต่ไม่แน่ใจว่ายุคนั้นมีซับไทยหรือไม่
ผมดูหนัง Black to the future 2 ที่โรงหนังลิโด เมื่อ 26 ปีที่แล้ว Soundtrack ซับไทย ฝรั่งเต็มโรงเลย
ดู Terminator 2 ที่ โรงหนังอีเอ็มไอ เมื่อ 24 ปีก่อน ก็ซับไทย โรงนี้คนไทยเต็มโรง ฝรั่งนั่งไม่ค่อยได้หรอก ที่นั่งแคบมาก
สรุปถ้าเป็นโรงหนังย่านกลางเมืองจะ Soundtrack ส่วนชานเมืองจะพากย์ไทย
ส่วนเรื่องนี้ The Silence of the Lambs ผมดูที่ โรงหนังสกาล่า Soundtrack ซับไทย ถ้าจะดูแบบพากย์ไทยต้องเดินไปดูที่ โรงหนังสยาม(ซึ่งปกติจะฉายแต่หนังไทย) ตามภาพนี้ จะแยกชัดเจน ใครอยากไปดูพากย์ไทย ไปที่ สยามและ มอลล์ 5
ภาพหลักฐานครับ ว่าถ้าโรงไหนพากย์ไทย จะมีเขียนไว้ในโฆษณาใต้โรงว่า เสียงไทย ถ้าไม่มีเขียนแสดงว่า Soundtrack ซึ่งคนในยุคนั้นจะรู้ดีเพราะ โรงไหนพากย์ไทย ก็จะฉายแบบเสียงไทยตลอด เช่น สยาม สามย่าน ส่วน Soundtrack ก็จะฉายแบบนั้นตลอดเช่น สกาล่า
ซึ่งการฉายแบบ Soundtrack นั้นน่าจะมีมาตั้งแต่หนังฝรั่งเข้ามาฉายในไทยเลย เช่นเมื่อกว่า 50 ปีก่อนพ่อผมไปดูหนัง The sound of music ที่กรุงเกษม แต่ไม่แน่ใจว่ายุคนั้นมีซับไทยหรือไม่
ความคิดเห็นที่ 22
สมัยก่อนผมเป็นคอหนังเลยก็ว่าได้ เล่าเท่าที่จำได้นะครับเฉลิมไทยนี่เคยดูหนังเรื่องวัยอลวนของ ไพโรจน์ สังวริบุตร
กับลลนา สุลาวัลย์ จำได้ว่าตอนนั้นกรรมสรรพากรเริ่มจะเข้มงวดกับการเก็บภาษี และกำจัดตั๋ววน (คือสมัยก่อนตั๋วหนังจะ
เป็นเล่มๆแล้วมีต้นขั้ว โดยส่วนใหญ่เจ้าของโรงหนังมักจะขี้โกงหลบภาษีไม่ยอมขายตั๋วใหม่ซื่งจะมีปลายขั้ว แบบคูปองศูยน์
อาหาร ทำให้รัฐไม่สามารถรู้ยอดและจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย) จึงมีการออกตั๋วหนังแบบใหม่ออกมา ราคาค่าดูสมัยนั้น
สิบบาทกับยี่สิบบาท ดูเรื่องนี้จบก็มานั่งดีดกีตาร์แกะเพลงน่ารัก รักหนอรักไม่จริง สุขาอยู่หนใด ที่จำได้ช่วงนั้นโรงหนังโคลีเซี่ยม
ที่อยู่ติดกับทางรถไฟยมราช ฉายหนังของมิตร ชัยบัญชา กับเพชรา เชาวราษฏร์ ดอกดิน กัลยามาลย์ เป็นผู้กำกับ เรื่องมนต์
รักลูกทุ่ง เวลานั่งรถเมล์นายเลิศ ผ่านทางรถไฟ เค้าจะเอาป้ายมาแขวนไว้ว่า "ล้านแล้วจ้า" ต่อมาก็ "สองล้านแล้วจ้า" ........
จนเป็น"สิบล้านแล้วจ้า"
แน่นอนผมเป็นขาประจำจึงมักจะดูชิดหน้าจอจ่ายสิบบาทก็น่าจะประมาณร้อยสองร้อยบาทสมัยนี้ เพราะก๋วยเตี๋ยวชามละสามบาทถึง
ห้าบาท น้ำมันลิตรละประมาณ บาทสองบาท(จำไม่ได้แน่แต่อยู่ราวๆนั้น) ดังนั้นเงินสมัยก่อนสิบบาทน่าจะมีค่าในปัจจุบันประมาณร้อย
ถึงสองร้อยบาท เก้าอี้ยี่สิบบาทไม่เคยได้กินตังค์ผมเพราะสมัยก่อนกว่าจะเก็บเงินได้แต่ละบาทนั้นมันยากนัก ดังนั้นคำว่ามีสลึงพึง
บรรจบให้ครบบาทนั้นเป็นความรู้สึกที่คนสมัยนี้น่าจะไม่เข้าใจอย่างคนสมัยก่อน เล่ามาซะยาวจะเกี่ยวกับหนังซาวนด์แทร๊กหรือไม่พอ
ถามถึงสมัยก่อนก็เลยเล่าความหลังตามความคิดที่พากลับไป
สมัยโน้นโรงหนังอินทรายังไม่ได้สร้าง โรงหนังปารีสที่อยู่สพานขาวก็ยังไม่ได้สร้าง โรงหนังโคลัมเบียแถวเกษตรก็ยังไม่ได้สร้าง
(ปัจจุบันก็ทุบไปแล้ว) สมัยที่โรงหนังพวกนี้เริ่มจะสร้างมาแข่งกันเพราะยังไม่มีศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่มีโรงหนังแบบนี้ ศูนย์
การค้าที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้นคือ ห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู ที่บอกว่าเป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่สุดเพราะเป็นศูนย์การค้าแห่ง
แรกที่มีบันไดเลื่อน คนไปไทยไดมารูเพราะต้องการไปขึ้นบรรไดเลื่อน บันไดเลื่อนสมัยก่อนถือเป็นอะไรที่มหรรจรรย์เป็นเทคโนโลยี่
ใหม่มากๆ พอๆกับลิฟท์แก้วในสมัยต่อๆมา เมื่อห้างขนาดใหญ่ ไม่มีศูนย์การค้าแบบนี้ โรงหนังจึงแข่งกันสร้าง จนมาถึงยุคไดรฟ์อิน
เรื่องซาวนด์แทรคนี่ขอบอกเลยว่าผมไม่ดูหนังพากษ์ไทยมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วดังนั้นจึงกล้าพูดได้เลยว่าโรงหนังที่สร้างใหม่(ในยุคนั้น)
เช่น สยาม สกาล่า ปารีส และ อินทราเป็นจอยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นหนัง ขนาด ๗๐ มม สมัยก่อนนั้นการทำหนังจะใช้ฟิลม์ ยิ่งขนาด
ฟิลม์ใหญ่เท่าใดภาพในจอยิ่งจะคมชัดเท่านั้นและใช้ทุนมหาศาลในการสร้าง โรงหนังอินทราเป็นโรงหนังแห่งแรกที่จอภาพยนต์ใหญ่รองรับ
ภาพยนต์ขนาด ๗๐มมได้ ส่วนหนังไทยที่สร้างๆกันสมัยก่อนโน้นมักจะเป็น ๑๖ มม ต่อมาก็พัฒนามาเป็น ๓๕ มม ขนาดนี้วัดจากความกว้าง
ของฟิลม์ โรงหนังที่ว่าๆมา จะมีหนังซาวนด์แทรกมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มเปิดฉายแล้วครับ เวลาหนังใหญ่เข้าจะต้องไปซื้อตั๋วก่อน เพราะ
หากไปตามรอบก็ต้องเจอตั๋วผี (คือราคาสิบบาทไปซื้อมาก่อนแล้วเอามาขายสิบห้าบาทหน้าโรง)คือพูดง่ายๆว่าที่สิบบาทแม่มกว้านซื้อหมด
(มักจะมีสองสามแถวด้านหน้า) แล้วเอามาขายสิบห้าบาท ใครไม่อยากจ่ายยี่สิบบาทก็ต้องยอมซื้อตั๋วผีที่สิบห้าบาท กิจการขายตั๋วผีเป็นกิจ
การที่ทำกำไรมหาศาลเพราะกำไรห้าสิบเปอร์เซ็นต์ง่ายๆ บางครั้งตั๋วยี่สิบบาทก็เต็ม พอเต็มมันก็เอาตั๋วสิบบาทขายยี่สิบบาท ใครไม่ซื้อก็
ต้องกลับบ้านไป แต่โชคดีที่บ้านผมอยู่ใกล้เฉลิมไทย เดินข้ามสะพานที่มันตั้งป้อมยิงกันตั้งแต่สมัยจอมพลถนอม จอมพลประภาส เลย
โรงเรียนสตรีจุลนาถมานิดนุงก็ถึงบ้านแล้ว ดังนั้นพวกกิจการตั๋วผีไม่เคยได้กินตังค์ผม
ส่วนตอนที่ผมเด็กกว่านั้นพ่อมักจะพาไปดูหนังที่โรงหนังฮอลีวู้ด ซึ่งหนังที่ฉายโรงนี้จะเป็นหนังที่มาจากค่ายของดีสนีย์แทบทั้งนั้น และที่
จำได้ก็จะเป็นซาวนด์แทรค ที่จำได้ก็มีเรื่องแบมบี้ (ลูกกวางที่มีผีเสื้อเกาะที่หาง) ทรามวัยกับไอ้ตูบ สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด เรื่องเฮอร์บี้
(รถเต่ามีชีวิต) ฯลฯ ก็ฉายที่โรงนี้ จำได้ว่าฉายเป็นซาวนด์แทรค
ดังนั้นหนังที่ฉายในบ้านเราที่เป็นซาวนด์แทรคและมีบรรยายไทยนั้นน่าจะมีมาตั้งแต่เริ่มยุคสร้างโรงหนังรุ่นใหม่ (ในสมัยเก่า) อย่างปารีส
อินทรา ฯลฯ ก็คืออย่างไม่นานก็ต้องมีมากว่า สี่สิบปีแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กับลลนา สุลาวัลย์ จำได้ว่าตอนนั้นกรรมสรรพากรเริ่มจะเข้มงวดกับการเก็บภาษี และกำจัดตั๋ววน (คือสมัยก่อนตั๋วหนังจะ
เป็นเล่มๆแล้วมีต้นขั้ว โดยส่วนใหญ่เจ้าของโรงหนังมักจะขี้โกงหลบภาษีไม่ยอมขายตั๋วใหม่ซื่งจะมีปลายขั้ว แบบคูปองศูยน์
อาหาร ทำให้รัฐไม่สามารถรู้ยอดและจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย) จึงมีการออกตั๋วหนังแบบใหม่ออกมา ราคาค่าดูสมัยนั้น
สิบบาทกับยี่สิบบาท ดูเรื่องนี้จบก็มานั่งดีดกีตาร์แกะเพลงน่ารัก รักหนอรักไม่จริง สุขาอยู่หนใด ที่จำได้ช่วงนั้นโรงหนังโคลีเซี่ยม
ที่อยู่ติดกับทางรถไฟยมราช ฉายหนังของมิตร ชัยบัญชา กับเพชรา เชาวราษฏร์ ดอกดิน กัลยามาลย์ เป็นผู้กำกับ เรื่องมนต์
รักลูกทุ่ง เวลานั่งรถเมล์นายเลิศ ผ่านทางรถไฟ เค้าจะเอาป้ายมาแขวนไว้ว่า "ล้านแล้วจ้า" ต่อมาก็ "สองล้านแล้วจ้า" ........
จนเป็น"สิบล้านแล้วจ้า"
แน่นอนผมเป็นขาประจำจึงมักจะดูชิดหน้าจอจ่ายสิบบาทก็น่าจะประมาณร้อยสองร้อยบาทสมัยนี้ เพราะก๋วยเตี๋ยวชามละสามบาทถึง
ห้าบาท น้ำมันลิตรละประมาณ บาทสองบาท(จำไม่ได้แน่แต่อยู่ราวๆนั้น) ดังนั้นเงินสมัยก่อนสิบบาทน่าจะมีค่าในปัจจุบันประมาณร้อย
ถึงสองร้อยบาท เก้าอี้ยี่สิบบาทไม่เคยได้กินตังค์ผมเพราะสมัยก่อนกว่าจะเก็บเงินได้แต่ละบาทนั้นมันยากนัก ดังนั้นคำว่ามีสลึงพึง
บรรจบให้ครบบาทนั้นเป็นความรู้สึกที่คนสมัยนี้น่าจะไม่เข้าใจอย่างคนสมัยก่อน เล่ามาซะยาวจะเกี่ยวกับหนังซาวนด์แทร๊กหรือไม่พอ
ถามถึงสมัยก่อนก็เลยเล่าความหลังตามความคิดที่พากลับไป
สมัยโน้นโรงหนังอินทรายังไม่ได้สร้าง โรงหนังปารีสที่อยู่สพานขาวก็ยังไม่ได้สร้าง โรงหนังโคลัมเบียแถวเกษตรก็ยังไม่ได้สร้าง
(ปัจจุบันก็ทุบไปแล้ว) สมัยที่โรงหนังพวกนี้เริ่มจะสร้างมาแข่งกันเพราะยังไม่มีศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่มีโรงหนังแบบนี้ ศูนย์
การค้าที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้นคือ ห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู ที่บอกว่าเป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่สุดเพราะเป็นศูนย์การค้าแห่ง
แรกที่มีบันไดเลื่อน คนไปไทยไดมารูเพราะต้องการไปขึ้นบรรไดเลื่อน บันไดเลื่อนสมัยก่อนถือเป็นอะไรที่มหรรจรรย์เป็นเทคโนโลยี่
ใหม่มากๆ พอๆกับลิฟท์แก้วในสมัยต่อๆมา เมื่อห้างขนาดใหญ่ ไม่มีศูนย์การค้าแบบนี้ โรงหนังจึงแข่งกันสร้าง จนมาถึงยุคไดรฟ์อิน
เรื่องซาวนด์แทรคนี่ขอบอกเลยว่าผมไม่ดูหนังพากษ์ไทยมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วดังนั้นจึงกล้าพูดได้เลยว่าโรงหนังที่สร้างใหม่(ในยุคนั้น)
เช่น สยาม สกาล่า ปารีส และ อินทราเป็นจอยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นหนัง ขนาด ๗๐ มม สมัยก่อนนั้นการทำหนังจะใช้ฟิลม์ ยิ่งขนาด
ฟิลม์ใหญ่เท่าใดภาพในจอยิ่งจะคมชัดเท่านั้นและใช้ทุนมหาศาลในการสร้าง โรงหนังอินทราเป็นโรงหนังแห่งแรกที่จอภาพยนต์ใหญ่รองรับ
ภาพยนต์ขนาด ๗๐มมได้ ส่วนหนังไทยที่สร้างๆกันสมัยก่อนโน้นมักจะเป็น ๑๖ มม ต่อมาก็พัฒนามาเป็น ๓๕ มม ขนาดนี้วัดจากความกว้าง
ของฟิลม์ โรงหนังที่ว่าๆมา จะมีหนังซาวนด์แทรกมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มเปิดฉายแล้วครับ เวลาหนังใหญ่เข้าจะต้องไปซื้อตั๋วก่อน เพราะ
หากไปตามรอบก็ต้องเจอตั๋วผี (คือราคาสิบบาทไปซื้อมาก่อนแล้วเอามาขายสิบห้าบาทหน้าโรง)คือพูดง่ายๆว่าที่สิบบาทแม่มกว้านซื้อหมด
(มักจะมีสองสามแถวด้านหน้า) แล้วเอามาขายสิบห้าบาท ใครไม่อยากจ่ายยี่สิบบาทก็ต้องยอมซื้อตั๋วผีที่สิบห้าบาท กิจการขายตั๋วผีเป็นกิจ
การที่ทำกำไรมหาศาลเพราะกำไรห้าสิบเปอร์เซ็นต์ง่ายๆ บางครั้งตั๋วยี่สิบบาทก็เต็ม พอเต็มมันก็เอาตั๋วสิบบาทขายยี่สิบบาท ใครไม่ซื้อก็
ต้องกลับบ้านไป แต่โชคดีที่บ้านผมอยู่ใกล้เฉลิมไทย เดินข้ามสะพานที่มันตั้งป้อมยิงกันตั้งแต่สมัยจอมพลถนอม จอมพลประภาส เลย
โรงเรียนสตรีจุลนาถมานิดนุงก็ถึงบ้านแล้ว ดังนั้นพวกกิจการตั๋วผีไม่เคยได้กินตังค์ผม
ส่วนตอนที่ผมเด็กกว่านั้นพ่อมักจะพาไปดูหนังที่โรงหนังฮอลีวู้ด ซึ่งหนังที่ฉายโรงนี้จะเป็นหนังที่มาจากค่ายของดีสนีย์แทบทั้งนั้น และที่
จำได้ก็จะเป็นซาวนด์แทรค ที่จำได้ก็มีเรื่องแบมบี้ (ลูกกวางที่มีผีเสื้อเกาะที่หาง) ทรามวัยกับไอ้ตูบ สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด เรื่องเฮอร์บี้
(รถเต่ามีชีวิต) ฯลฯ ก็ฉายที่โรงนี้ จำได้ว่าฉายเป็นซาวนด์แทรค
ดังนั้นหนังที่ฉายในบ้านเราที่เป็นซาวนด์แทรคและมีบรรยายไทยนั้นน่าจะมีมาตั้งแต่เริ่มยุคสร้างโรงหนังรุ่นใหม่ (ในสมัยเก่า) อย่างปารีส
อินทรา ฯลฯ ก็คืออย่างไม่นานก็ต้องมีมากว่า สี่สิบปีแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
หนังฝรั่งที่เข้าบ้านเรา เริ่มฉายแบบเสียงซาวด์แทร็ค-ซับไทยตั้งแต่ยุคไหนหรอครับ?
ถือซะว่าให้ความรู้แก่เด็กยุคหลังเถอะครับ
ขอบคุณครับ