*** สัญญาณแห่งวิกฤติ ***

หากจะย้อนไปดูอดีตจะเห็นบทเรียนต่างๆมากมายดังนี้ ================>>>

        วิกฤติต้มยำกุ้งของไทยมีรากเหง้าของปัญหามาจากความไม่พอเพียงของภาคเอกชนจนนำไปสู่การเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ มีการกู้หนี้ต่างประเทศระยะสั้นเพื่อเอามาลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว โดยมูลค่าหนี้ต่างประเทศของไทยได้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจาก โดยกว่าร้อยละ 90 ของเงินทุนสุทธิเป็นยอดหนี้ของเอกชน ซึ้งนำไปสู่วิกฤติฟองสบู่แตกในปี 2540

      วิกฤติหนี้ครัวเรือนของเกาหลีใต้มีรากเหง้าของปัญหามาจากความไม่พอเพียงของภาคครัวเรือน โดยรัฐบาลเกาหลีได้ใช้นโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคเพื่อแก้ไขปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2540 โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ส่งผลให้ธุรกิจบัตรเครดิตของเกาหลีเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างบริษัทบัตรเครดิตซึ้งเน้นส่วนแบ่งตลาดมากกว่าการตรวจสอบดูแลพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของลูกค้า ประกอบกับผู้ถือบัตรเครดิตมีการบริโภคที่เกินตัว ทำให้หนี้สินภาคครัวเรือนของเกาหลีพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ้งนำไปสู่วิกฤติหนี้สินภาคครัวเรือนในปี 2546

       วิกฤติแฮมเบอเกอร์ของสหรัฐอเมริกามีรากเหง้าของปัญหามาจากความไม่พอเพียงของสถาบันการเงิน โดยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้ภาคอสังหาริทรัพย์ขยายตัวเป็นอย่างมากเพราะประชาชนสามารถกู้เงินมาผ่อนบ้านได้อย่างง่ายดายแม้แต่ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อมาก่อนก็ตาม ทำให้เกิดการเก็งกำไรเป็นฟองสบู่ ราคาบ้าน ธุรกิจธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย วานิชธนกิจ ได้อาศัยวิศวกรรมทางการเงินที่ได้คิดค้นขึ้นมา เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรืออนุพันธ์ เข้ามาแสวงหากำไรโดยใช้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ Sub prime เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ้งนำไปสู่วิกฤติฟองสบู่แตกและส่งผลกระทบไปทั่วโลก

      วิกฤติยูโรโซนมีรากเหง้าของปัญหามาจากความไม่พอเพียงของภาครัฐ เริ่มต้นจากกรีซซึ้งมีหนี้สาธารณะสูงกว่า  130% ของ GDP ถ้าจำไม่ผิด ต่อมาได้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในกลุ่มยูโรโซน โดยพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัวของกรีซมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากจะย้อนไปถึงรากเหง้าต้นตอของปัญหา ผู้ต้องสงสัยก็คือ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่  Goldman Sachs ที่มีส่วนในการปกปิดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณและตัวเลขหนี้สาธารณะที่แท้จริง เพื่อช่วยเหลือให้กรีซสามารถผ่านเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกของอียูได้
        
        วิกฤติหนี้ในอาร์เจนตินา เกิดจากสถิติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอาร์เจนตินาดูดีอยู่หลายปี โดยที่การเติบโตนั้นอยู่บนฐานของการก่อหนี้เพื่อสร้างการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน ในที่สุดเมื่อปี  2001 อาร์เจนตินาก็มีหนี้ท่วมหัวและเศรษฐกิจก็พังทลายลง

***** มาถึงพี่ไทยเรา ณ.ตอนนี้ผมมองเห็นสัญญาณแห่งวิกฤติได้ก่อตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน จากตัวเลขเศรษฐกิจ นโยบายที่ออกมาแล้วไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ความเปราะบางของการค้าระหว่างประเทศที่เกิดจากการที่เราพึ่งพิงภาคการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และที่กำลังรอวันประทุก็คือ หนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงทะลุฟ้า และกำลังจะกลายเป็นหนี้เสียซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ปล่อยกู้ ก็คือธนาคารนั่นเอง ติดตามมาภาวะ Over  Shooting  Effect  ปัญาหาภาวะเงินฝืด การไม่ลงทุนของภาคเอกชน และการปลดคนงาน *****

* อีกไม่นานเราคงจะได้เห็นตลาดหุ้นไทยสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้ง *

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่