(24 มี.ค.) ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดแถลงข่าว "ปฐมวัย" ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยและติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของไทย พบว่า เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าทั้งด้านสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ภาษา และการปรับตัว เพราะเด็กถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุล เช่น ถูกเร่งรัดด้านวิชาการเกินวัย เพื่อให้สอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดัง ทำให้เกิดการเรียนกวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งในช่วงวันหยุด และปิดเทอม, เร่งเรียนเขียนอ่านเกินพัฒนาการของเด็กและเน้นท่องจำความรู้ ทำให้เด็กขาดทักษะด้านพฤติกรรม เช่น การคิดสร้างสรรค์ อารมณ์การพูด และการเคลื่อนไหว
“ในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพนั้น ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัย รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส ควรจัดสรรงบฯเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน ควรสนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และควรปรับการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ไม่ใช่การสอบอีกทั้งควรแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วย” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว.
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ศึกษา สสค. กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็ก 365,506 คน คิดเป็น 12%ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จากข้อมูลเจมส์ แฮคแมนนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรมจะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชน และต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า.
เดลินิวส์
ชี้เด็กไทยเรียนเกินวัยส่งผลพัฒนาช้า
“ในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพนั้น ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัย รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส ควรจัดสรรงบฯเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน ควรสนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และควรปรับการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ไม่ใช่การสอบอีกทั้งควรแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วย” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว.
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ศึกษา สสค. กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็ก 365,506 คน คิดเป็น 12%ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จากข้อมูลเจมส์ แฮคแมนนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรมจะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชน และต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า.
เดลินิวส์