บริษัทอเมริกันผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์ทางทหาร “โบอิ้ง” ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีการป้องกันแบบใหม่ ที่ทำให้คอภาพยนต์แนวไซไฟ อาจจะได้เห็นสนามพลังแบบในหนังสตาร์วอร์สเกิดขึ้นจริง
สิทธิบัตรเกี่ยวกับการป้องกันด้วยสนามพลังของโบอิ้ง ในทางเทคนิคแล้วมันคือสิทธิบัตร “ระบบและวิธีการลดทอนคลื่นกระแทกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าแนวโค้ง” ซึ่งคงยังต้องใช้เวลาอีกนาน ในการทำให้เทคโนโลยีลักษณะนี้ทำสิ่งที่เหลือเชื่อได้ในอนาคต
เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรครั้งนี้ ถูกระบุว่ายังคงทำได้แค่ป้องกันคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดเท่านั้น แต่เนื่องจากในปัจจุบันยานพาหนะทางทหารก็มักจะมีเกราะหนาเพียงพอที่จะปกป้องผู้ที่อยู่ภายในจากสะเก็ดระเบิดอยู่แล้ว เทคโนโลยีป้องกันคลื่นกระแทกชิ้นนี้จึงมาช่วยให้การปกป้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คอนเซ็ปต์ของเทคโนโลยีนี้ คือ การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการระเบิดที่เกิดขึ้นในน้ำ หรือในอากาศ แล้วประเมินเวลาและจุดที่เกิดระเบิด จากนั้นสัญญาณจากเซ็นเซอร์จะทำให้เลเซอร์ (อาจเป็นกระแสไฟฟ้า หรือคลื่นไมโครเวฟ) สร้างเกราะพลาสมาขึ้นตรงกลางระหว่างจุดระเบิดกับตัวยานพาหนะ ซึ่งเจ้าเกราะพลาสมาชั่วคราวที่มีความหนาแน่นสูงนี้ จะช่วยเบี่ยงเบนและดูดซับคลื่นกระแทกจากแรงระเบิด
ในภาพประกอบของสิทธิบัตรชิ้นนี้ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของสนามพลังที่จะช่วยปกป้องรถฮัมวีของทหารจากคลื่นกระแทก อย่างไรก็ตาม มีการระบุไว้ด้วยว่า เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องได้เกือบทุกอย่างให้รอดพ้นจากคลื่นกระแทก ตั้งแต่เรือธรรมดาไปจนถึงเรือดำน้ำ สิ่งปลูกสร้างนอกชายฝั่ง ยานพาหนะภาคพื้นดิน อาคารหรือแม้กระทั่งมนุษย์
สำหรับแรงระเบิดที่มีขนาดแตกต่างกันไปนั้น จะมีการคำนวณขนาดและความแข็งแรงของสนามพลังตามความเหมาะสม อาทิ ยานเกราะเบาอย่างรถฮัมวี อาจใช้สนามพลังที่เหมาะกับแรงระเบิดขนาดเล็ก ขณะที่ยานเกราะหนักอย่างรถถังอาจจะเก็บเกราะพลาสมานี้ไว้ใช้กับคลื่นกระแทกที่รุนแรง โดยระบบจะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงระเบิด เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะใช้แบบไหน
ที่มา - ข่าวผู้จัดการ
“โบอิ้ง” จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี “การป้องกันด้วยสนามพลัง” แบบในหนังสตาร์วอร์ส
บริษัทอเมริกันผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์ทางทหาร “โบอิ้ง” ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีการป้องกันแบบใหม่ ที่ทำให้คอภาพยนต์แนวไซไฟ อาจจะได้เห็นสนามพลังแบบในหนังสตาร์วอร์สเกิดขึ้นจริง
สิทธิบัตรเกี่ยวกับการป้องกันด้วยสนามพลังของโบอิ้ง ในทางเทคนิคแล้วมันคือสิทธิบัตร “ระบบและวิธีการลดทอนคลื่นกระแทกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าแนวโค้ง” ซึ่งคงยังต้องใช้เวลาอีกนาน ในการทำให้เทคโนโลยีลักษณะนี้ทำสิ่งที่เหลือเชื่อได้ในอนาคต
เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรครั้งนี้ ถูกระบุว่ายังคงทำได้แค่ป้องกันคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดเท่านั้น แต่เนื่องจากในปัจจุบันยานพาหนะทางทหารก็มักจะมีเกราะหนาเพียงพอที่จะปกป้องผู้ที่อยู่ภายในจากสะเก็ดระเบิดอยู่แล้ว เทคโนโลยีป้องกันคลื่นกระแทกชิ้นนี้จึงมาช่วยให้การปกป้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คอนเซ็ปต์ของเทคโนโลยีนี้ คือ การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการระเบิดที่เกิดขึ้นในน้ำ หรือในอากาศ แล้วประเมินเวลาและจุดที่เกิดระเบิด จากนั้นสัญญาณจากเซ็นเซอร์จะทำให้เลเซอร์ (อาจเป็นกระแสไฟฟ้า หรือคลื่นไมโครเวฟ) สร้างเกราะพลาสมาขึ้นตรงกลางระหว่างจุดระเบิดกับตัวยานพาหนะ ซึ่งเจ้าเกราะพลาสมาชั่วคราวที่มีความหนาแน่นสูงนี้ จะช่วยเบี่ยงเบนและดูดซับคลื่นกระแทกจากแรงระเบิด
ในภาพประกอบของสิทธิบัตรชิ้นนี้ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของสนามพลังที่จะช่วยปกป้องรถฮัมวีของทหารจากคลื่นกระแทก อย่างไรก็ตาม มีการระบุไว้ด้วยว่า เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกป้องได้เกือบทุกอย่างให้รอดพ้นจากคลื่นกระแทก ตั้งแต่เรือธรรมดาไปจนถึงเรือดำน้ำ สิ่งปลูกสร้างนอกชายฝั่ง ยานพาหนะภาคพื้นดิน อาคารหรือแม้กระทั่งมนุษย์
สำหรับแรงระเบิดที่มีขนาดแตกต่างกันไปนั้น จะมีการคำนวณขนาดและความแข็งแรงของสนามพลังตามความเหมาะสม อาทิ ยานเกราะเบาอย่างรถฮัมวี อาจใช้สนามพลังที่เหมาะกับแรงระเบิดขนาดเล็ก ขณะที่ยานเกราะหนักอย่างรถถังอาจจะเก็บเกราะพลาสมานี้ไว้ใช้กับคลื่นกระแทกที่รุนแรง โดยระบบจะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงระเบิด เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะใช้แบบไหน
ที่มา - ข่าวผู้จัดการ