การผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช ได้แก่ การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ รวมไปถึงการผ่าตัดคลอด เป็นต้น
แล้วแผลผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช แต่ละวิธีเป็นอย่างไร
1 แผลผ่าตัดช่องท้องตามปกติ : แนวตั้งใต้สะดือ หรือ แนวนอนเหนือหัวหน่าว ขนาด 8-10 เซนติเมตร เป็นแผลผ่าตัดที่พบเจอได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดคลอด
ข้อดีก็คือ การผ่าตัดทำได้ง่าย รวดเร็ว เพราะแพทย์สามารถหยิบ จับ ตัด ผูก อวัยวะต่างๆภายในช่องท้องได้โดยตรงด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นหากเป็นกรณีที่คิดว่าจะผ่าตัดได้ยากเช่น ก้อนขนาดใหญ่ พังผืดในช่องท้องเยอะมาก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดด้วยวิธีนี้ เพราะสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน เช่น เลือดออกรวดเร็วจากหลอดเลือดใหญ่ฉีกขาด เป็นต้นครับ
ข้อเสียคือ แผลใหญ่ก็จะเจ็บมากกว่า เสียเลือดมากกว่า ระยะเวลาการฟื้นตัวนานกว่า การผ่าตัดที่แผลขนาดเล็กๆ
2 แผลผ่าตัดผ่านกล้องด้วยวิธีทั่วไป : ขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร จำนวน 3-4 แผล โดยจะมีเเผล 1 แผลที่สะดือเพื่อเป็นช่องสำหรับใส่กล้องส่องช่องท้อง เป็นการผ่าตัดทางเลือกครับ
ข้อดีคือ เเผลขนาดเล็ก แต่หลายเเผล เสมือนเป็นการแบ่งเบาความเจ็บปวด ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่า เสียเลือดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า
ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า และ ผ่าตัดได้ช้ากว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เนื่องจากการผ่าตัดสามารถทำได้ทีละนิด ช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผ่าตัดจะมีขนาดเล็กตามขนาดของแผลที่หน้าท้อง จึงทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดนานกว่า ดังนั้นในกรณีที่คิดว่าจะผ่าตัดได้ยากมักจะไม่แนะนำการผ่าตัดผ่านกล้อง เพราะมีโอกาสผ่าตัดได้ไม่สำเร็จและจำเป็นต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องในที่สุด
3 แผลผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว(ที่สะดือ) : ขนาดแผล 2.5-3.0 เซนติเมตร ที่กลางสะดือ บางคนเรียกว่า การผ่าตัดไร้แผล เพราะเวลาแผลหาย จะมีเเผลที่สะดือที่เดียว มองเผินๆ อาจมองเห็นลางๆไม่ค่อยชัด
ข้อดีคือ ความสวยงาม เจ็บแผลน้อยกว่า และเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่อาจปวดมากกว่า หรือความสวยงามของแผลผ่าตัดน้อยกว่าแผลผ่าตัดผ่านกล้องด้วยวิธีทั่วไป
ข้อเสียคือ ผ่าตัดยาก เพราะอุปกรณ์การผ่าตัดและกล้องส่องช่องท้องจะกระจุกกันอยู่ที่เดียวที่สะดือ ทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดนาน และต้องใช้ความชำนาญของแพทย์สูง จึงทำได้เฉพาะกรณีตามความเหมาะสม
แม้ว่าการผ่าตัดแต่ละวิธีจะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ทั้งความสวยงาม ภาวะแทรกซ้อน ระยะพักฟื้นตัว ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการรักษา สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีไหน หลักสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนั่นก็คือความปลอดภัยของผู้ป่วย จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงต้องมีการปรึกษาหารือและได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกวิธีการผ่าตัดรักษา หากแต่ถ้าเป็นไปได้ถ้าโรคที่คนไข้เป็นอยู่สามารถได้รับการผ่าตัดที่ทำให้เจ็บตัวน้อยกว่า แผลเล็กกว่า สวยงามมากกว่า ที่สำคัญฟื้นตัวได้ไวกว่า ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไข้ครับ
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
มาทำความรู้จักแผลผ่าตัดทางช่องท้องของคุณผู้หญิงกันหน่อยดีมั้ยครับ ???
การผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช ได้แก่ การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ รวมไปถึงการผ่าตัดคลอด เป็นต้น
แล้วแผลผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช แต่ละวิธีเป็นอย่างไร
1 แผลผ่าตัดช่องท้องตามปกติ : แนวตั้งใต้สะดือ หรือ แนวนอนเหนือหัวหน่าว ขนาด 8-10 เซนติเมตร เป็นแผลผ่าตัดที่พบเจอได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดคลอด
ข้อดีก็คือ การผ่าตัดทำได้ง่าย รวดเร็ว เพราะแพทย์สามารถหยิบ จับ ตัด ผูก อวัยวะต่างๆภายในช่องท้องได้โดยตรงด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นหากเป็นกรณีที่คิดว่าจะผ่าตัดได้ยากเช่น ก้อนขนาดใหญ่ พังผืดในช่องท้องเยอะมาก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดด้วยวิธีนี้ เพราะสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน เช่น เลือดออกรวดเร็วจากหลอดเลือดใหญ่ฉีกขาด เป็นต้นครับ
ข้อเสียคือ แผลใหญ่ก็จะเจ็บมากกว่า เสียเลือดมากกว่า ระยะเวลาการฟื้นตัวนานกว่า การผ่าตัดที่แผลขนาดเล็กๆ
2 แผลผ่าตัดผ่านกล้องด้วยวิธีทั่วไป : ขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร จำนวน 3-4 แผล โดยจะมีเเผล 1 แผลที่สะดือเพื่อเป็นช่องสำหรับใส่กล้องส่องช่องท้อง เป็นการผ่าตัดทางเลือกครับ
ข้อดีคือ เเผลขนาดเล็ก แต่หลายเเผล เสมือนเป็นการแบ่งเบาความเจ็บปวด ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่า เสียเลือดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า
ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า และ ผ่าตัดได้ช้ากว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เนื่องจากการผ่าตัดสามารถทำได้ทีละนิด ช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผ่าตัดจะมีขนาดเล็กตามขนาดของแผลที่หน้าท้อง จึงทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดนานกว่า ดังนั้นในกรณีที่คิดว่าจะผ่าตัดได้ยากมักจะไม่แนะนำการผ่าตัดผ่านกล้อง เพราะมีโอกาสผ่าตัดได้ไม่สำเร็จและจำเป็นต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องในที่สุด
3 แผลผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว(ที่สะดือ) : ขนาดแผล 2.5-3.0 เซนติเมตร ที่กลางสะดือ บางคนเรียกว่า การผ่าตัดไร้แผล เพราะเวลาแผลหาย จะมีเเผลที่สะดือที่เดียว มองเผินๆ อาจมองเห็นลางๆไม่ค่อยชัด
ข้อดีคือ ความสวยงาม เจ็บแผลน้อยกว่า และเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่อาจปวดมากกว่า หรือความสวยงามของแผลผ่าตัดน้อยกว่าแผลผ่าตัดผ่านกล้องด้วยวิธีทั่วไป
ข้อเสียคือ ผ่าตัดยาก เพราะอุปกรณ์การผ่าตัดและกล้องส่องช่องท้องจะกระจุกกันอยู่ที่เดียวที่สะดือ ทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดนาน และต้องใช้ความชำนาญของแพทย์สูง จึงทำได้เฉพาะกรณีตามความเหมาะสม
แม้ว่าการผ่าตัดแต่ละวิธีจะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ทั้งความสวยงาม ภาวะแทรกซ้อน ระยะพักฟื้นตัว ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการรักษา สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีไหน หลักสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนั่นก็คือความปลอดภัยของผู้ป่วย จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงต้องมีการปรึกษาหารือและได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกวิธีการผ่าตัดรักษา หากแต่ถ้าเป็นไปได้ถ้าโรคที่คนไข้เป็นอยู่สามารถได้รับการผ่าตัดที่ทำให้เจ็บตัวน้อยกว่า แผลเล็กกว่า สวยงามมากกว่า ที่สำคัญฟื้นตัวได้ไวกว่า ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไข้ครับ
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
http://drchawtoo.com/