5 นักกอล์ฟไทยยึดตารางทำเงินสูงสุดตลอดชีพของ Asian Tour

กระทู้ข่าว


5 นักกอล์ฟไทยยึดตารางทำเงินสูงสุดตลอดชีพของ Asian Tour

จากการจัดอันดับตารางนักกอล์ฟที่ทำรายได้ตลอดการครองสมาชิกภาพของ Asian Tour ล่าสุด พบว่ามีนักกอล์ฟไทยถึง 5 คนที่สามารถผลงานตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้อย่างยอดเยี่ยม ได้แก่

อันดับ 1 โปรช้าง-ธงชัย ใจดี ตำนานนักกอล์ฟของไทยที่ยังคงแข่งขันอยู่ด้วยวัย 45 ปี โปรช้างเป็นนักกอล์ฟคนแรกที่ได้รับรางวัลนักกอล์ฟที่ทำรายได้สูงสุดของ Asian Tour ถึงสามฤดูกาลแข่งขัน และเป็นนักกอล์ฟเอเชียคนแรกๆ ที่ไปโดดเด่นอยู่ใน European Tour รวมถึงสามารคว้าแชมป์มาได้ถึง 6 รายการ โดย 2 รายการเกิดขึ้นบนแผ่นดินยุโรปครับ

โปรช้างทำรายได้รวมใน Asian Tour ไปทั้งสิ้นราวๆ 175 ล้านบาทครับ!

อันดับ 2 คือ รุ่นใหญ่ โปรเล็ก-ถาวร วิรัตน์จันทร์ เจ้าของแชมป์สถิติแชมป์ Asian Tour 18 รายการ มากที่สุดตลอดการครับ ทำรายได้รวมไปทั้งสิ้นประมาณ 140 ล้านบาทครับ

อันดับ 3-4 ได้แก่ Jeev Milkha Singh และ Jyoti Randhawa รุ่นพี่รุ่นน้องจากอินเดียครับ

อันดับ 5 ได้แก่ โปรหมาย-ประหยัด มากแสง แชมป์ Asian Tour 8 รายการ Japan Tour 4 รายการ และอันดับ 15 ร่วมใน PGA Championship ปี 2008 ที่ Oakland Hill เป็นหนึ่งในสองนักกอล์ฟไทยที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในรายการเมเจอร์ (อีกคนคือโปรช้างที่ The Open ปี 2009 จบอันดับที่ 13 ร่วมครับ) โดยโปรหมายทำรายได้รวมไปทั้งหมดประมาณ 108 ล้านบาทครับ

อันดับ 6-7 คือ พี่เหลียง-Liang Wen-chong จากจีนและ Scott Hend เจ้าเก่าจากออสเตรเลียครับ

อันดับ 8 ได้แก่ โลมาพิฆาต-โปรพรหม มีสวัสดิ์ วัย 30 ปีที่คว้าแชมป์ Asian Tour ไปแล้ว 2 รายการ ทำรายรับรวมที่ประมาณ 84 ล้านบาทครับ

อันดับ 9 เป็นของ Anirban Lahiri นักกอล์ฟหนุ่มฟอร์มร้อนแรง คลื่นลูกใหม่จากอินเดียที่ปีนี้ Hot เหลือเกิน คว้าแชมป์ European Tour ไปได้ถึง 2 รายการในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน ทำให้อันดับทำเงินกระโดดขึ้นมาติดท็อปเทนทันทีและอาจไต่สูงขึ้นจากปัจจุบันขณะที่ 82 ล้านบาทครับ

อันดับ 10 ต้องยกให้โปรโจ๊กที่ฟอร์มการเล่นไม่เละเป็นโจ๊กอย่างโปรชัพชัย นิราจ เจ้าของแชมป์ European Tour 1 รายการผนวกแชมป์ Asian Tour อีก 4 รายการ ทำรายรับรวมที่ประมาณ 80 ล้านบาทครับ

ในขณะที่นักกอล์ฟไทยที่เหลืออย่างโปรอาร์ม กิรเดชรั้งอันดับที่ 12 จากรายรับรวมทั้งหมดราวๆ 76 ล้านบาท (นับรวมเฉพาะ Asian Tour ครับ ถ้านับ European กับ PGA โปรอาร์มมีรายรับเยอะกว่านี้มาก) และอันดับที่ 19 โปรเชาวลิต พลาผลที่ประมาณ 60 ล้านบาทครับ

จากตารางรายรับรวมตลอดชีพของ Asian Tour ข้างต้นจะเ้ห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของกีฬากอล์ฟในภาคพื้นเอเชียอย่างแท้จริง ตามมาด้วยอินเดียและจีน ในขณะที่ญี่ปุ่นและเกาหลีต่างมีทัวร์ใหญ่ในประเทศตัวเองและบางส่วนไปโลดแล่นอยู่ใน PGA TOUR

คำถามคือเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยผลักดันให้นักกอล์ฟรุ่นใหม่ได้ไปถึงฝั่งฝันครับ เพราะมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องยกเลิกความใฝ่ฝันกลางคันเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงไม่มีโอกาสได้เดินทางไปแข่งในแมทช์ใหญ่ๆ ที่สปอนเซอร์ส่งแมวมองมาดูตัว เพราะนักกอล์ฟ 10 อันดับแรกข้างต้นส่วนใหญ่อยู่ในวัย 40s แล้ว อีกไม่นานก็ต้องผลัดใบให้นักกอล์ฟรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทนครับ เพราะในอนาคตวงการกอล์ฟของเอเชียกำลังก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังเกตสปอนเซอร์ของรายการแข่งขันในยุคนี้ไม่ว่า PGA, European, LPGA หรือ Asian Tour ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีฐานอยู่ในเอเชียทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น HSBC, Honda, Hyundai, Kia, CIMB และอีกนับไม่ถ้วน

อนาคตอันรุ่งโรจน์ของกอล์ฟในเอเชียเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้นครับ

ติดตามข่าวสารและบทความสั้นๆ เกี่ยวกับวงการกอล์ฟโลกได้ที่ Facebook Golfitsa  https://www.facebook.com/golfistathailand?fref=nf
ไม่มีโฆษณา ทำจากใจล้วนๆ ครับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่