จากรายงานของรอยเตอร์ส เคเอฟซีร้านไก่ทอดระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจต้องเจอแรงกดดันจากผู้บริโภคและกลุ่มนักสิ่งแวดล้อม ให้เลิกใช้ไก่ที่เลี้ยงด้วยยาปฏิชีวนะที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ หลังแม็คโดนัลด์เพิ่งประกาศนโยบายใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมดภายในสองปีเพื่อลดความกังวลต่อการใช้ยาในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการระบาดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
ด้านเคเอฟซียังไม่มีการประกาศนโยบายใดๆเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ที่พวกเขาจัดซื้อ ขณะที่"ชิคฟิเล" (Chick-fil-A) ร้านอาหารเครือข่ายที่ขายเมนูไก่คู่แข่งของเคเอฟซีประกาศว่าพวกเขาใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยปลอดยาปฏิชีวนะเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซนต์ในปัจจุบัน โดยพวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยปลอดยาปฏิชีวนะทั้งหมดภายในปี 2019
บริษัทยัม เจ้าของเคเอฟซี รวมถึงพิซซ่าฮัท ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ส แต่ได้ตอบทางอีเมลล์มาว่า "ไก่ของเราที่ใช้ในสหรัฐฯ มีมาตรฐานสูงตามที่กระทรวงเกษตรฯของสหรัฐฯกำหนด และปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ"
ทั้งนี้นายสตีเฟน โรช ผู้อำนวยการแผนกความปลอดภัยของอาหารขององค์กร Food Animal Concerns ได้อธิบายคำว่า "ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ" ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีปริมาณยาหลงเหลือในระดับปลอดภัยก่อนที่ผู้ประกอบการจะนำมาประกอบอาหารและออกวางจำหน่าย และไม่มีการให้ยาปฏิชีวนะก่อนการฆ่าสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเหล่านั้น
ในปี 2012 สื่อในจีนได้รายงานการใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาดในผู้ผลิตไก่บางรายที่ส่งเนื้อไก่ให้กับเคเอฟซี ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยอดขายของเคเอฟซี ที่มีร้านสาขาในจีนถึง 4,800 สาขา และกำไรเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทยัมมาจากการประกอบการในจีน ทำให้เคเอฟซีต้องยกเลิกการซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตรายย่อยกว่า 1,000 ราย และต้องทุ่มทุนสร้างภาพลักษณ์อย่างหนักเพื่อกอบกู้ศรัทธาของผู้บริโภค
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1426220506
เคเอฟซี อาจเจอแรงกดดันหนัก! หลังแม็คโดนัลด์ ประกาศเลิกใช้ไก่ที่เลี้ยงด้วยยาปฏิชีวนะ
จากรายงานของรอยเตอร์ส เคเอฟซีร้านไก่ทอดระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจต้องเจอแรงกดดันจากผู้บริโภคและกลุ่มนักสิ่งแวดล้อม ให้เลิกใช้ไก่ที่เลี้ยงด้วยยาปฏิชีวนะที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ หลังแม็คโดนัลด์เพิ่งประกาศนโยบายใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมดภายในสองปีเพื่อลดความกังวลต่อการใช้ยาในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการระบาดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
ด้านเคเอฟซียังไม่มีการประกาศนโยบายใดๆเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ที่พวกเขาจัดซื้อ ขณะที่"ชิคฟิเล" (Chick-fil-A) ร้านอาหารเครือข่ายที่ขายเมนูไก่คู่แข่งของเคเอฟซีประกาศว่าพวกเขาใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยปลอดยาปฏิชีวนะเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซนต์ในปัจจุบัน โดยพวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้ไก่ที่เลี้ยงโดยปลอดยาปฏิชีวนะทั้งหมดภายในปี 2019
บริษัทยัม เจ้าของเคเอฟซี รวมถึงพิซซ่าฮัท ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ส แต่ได้ตอบทางอีเมลล์มาว่า "ไก่ของเราที่ใช้ในสหรัฐฯ มีมาตรฐานสูงตามที่กระทรวงเกษตรฯของสหรัฐฯกำหนด และปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ"
ทั้งนี้นายสตีเฟน โรช ผู้อำนวยการแผนกความปลอดภัยของอาหารขององค์กร Food Animal Concerns ได้อธิบายคำว่า "ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ" ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีปริมาณยาหลงเหลือในระดับปลอดภัยก่อนที่ผู้ประกอบการจะนำมาประกอบอาหารและออกวางจำหน่าย และไม่มีการให้ยาปฏิชีวนะก่อนการฆ่าสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเหล่านั้น
ในปี 2012 สื่อในจีนได้รายงานการใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาดในผู้ผลิตไก่บางรายที่ส่งเนื้อไก่ให้กับเคเอฟซี ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยอดขายของเคเอฟซี ที่มีร้านสาขาในจีนถึง 4,800 สาขา และกำไรเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทยัมมาจากการประกอบการในจีน ทำให้เคเอฟซีต้องยกเลิกการซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตรายย่อยกว่า 1,000 ราย และต้องทุ่มทุนสร้างภาพลักษณ์อย่างหนักเพื่อกอบกู้ศรัทธาของผู้บริโภค
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1426220506