ข่าว
เดลินิวส์ 12 มีนาคม 2558 เวลา 17:37 น.
ที่กระทรวงพาณิชย์ เวลา 16.30 น. วันที่ 12 มี.ค. 58 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์ มีมติเห็นชอบ 9 ต่อ 0 เสียงให้ไล่ออกจากข้าราชการ 3 คนคือ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการกองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของรัฐบาลก่อน แต่นายมนัส ได้เกษียณอายุราชการนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาตามหนังสือชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ที่ป.ป.ช.ส่งมาให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา ซึ่งระบุว่า ข้าราชการทั้ง 3 คนมีส่วนร่วมกระทำความผิด โดยช่วยเหลือและมุ่งหมายให้ 2 บริษัทของจีนเข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ โดยที่ทั้ง 2 บริษัทไม่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมการค้าต่างประเทศ และประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม อ.ก.พ.กระทรวงพาณิชย์ ไม่มีอำนาจในการพิจารณาโทษเป็นอย่างอื่น นอกจากไล่ออก ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2536 และระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ที่ระบุว่า หากข้าราชการมีความผิดวินัยร้ายแรงต้องไล่ออกสถานเดียว
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า มติไล่ออกดังกล่าว จะมีผลทันทีเมื่อปลัดกระทรวงพาณิชย์ ลงนามในคำสั่งไล่ออก 2 ข้าราชการ โดยการถูกไล่ออกนี้ จะทำให้ข้าราชการทั้ง 2 คน ไม่มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญใดๆ ทั้งสิ้น แต่ระหว่างนี้ ผู้ที่ถูกให้ออกจากราชการทั้ง 2 ราย สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับทราบคำสั่ง โดยให้ยื่นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (กพค.)
”ที่ประชุมอ.ก.พ.กระทรวงพาณิชย์ เครียดมาก ที่ผลสรุปออกมาเป็นแบบนี้ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เราพิจารณาตามมติครม.ปี 36 และระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ในชีวิตราชการ ผมไม่เคยพิจารณาโทษใครจนถึงขั้นไล่ออกจากราชการ รู้สึกเสียใจมาก หลังจากนี้ ข้าราชการทั้ง 3 คนต้องไปสู้คดีอาญาต่อไป หรืออาจจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายด้วย”
อย่างไรก็ตาม อยากฝากเตือนข้าราชการ ที่ต้องทำงานกับนักการเมืองว่า ตามหลักการแล้ว หากเห็นว่าคำสั่งของฝ่ายการเมืองอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้เกิดการทุจริต ก็ต้องหลีกเลี่ยง ไม่ทำตาม แต่ในทางปฏิบัติ ข้าราชการบางส่วนไม่กล้าขัดคำสั่ง หรืออาจจะเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว รางวัล หรือการเลื่อนขั้น จึงอาจกระทำความผิดได้
ทีนี้มาดูข่าวเก่ากัน
ย้ำขายข้าวจีทูจีเดินตามกรอบ วันพุธที่ 28 มกราคม 2015 เวลา 13:08 น
ข้าราชการ ก.พาณิชย์ วอน ป.ป.ช.เห็นใจ "ปราณี"ติดร่างแห เตรียมถูกเปิดไต่สวนขายข้าวจีทูจีลวงให้บริษัทจีน ย้ำข้าราชการทำตามหน้าที่ และตามกรอบแนวทางที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ไม่มีนอกมีใน ยัน 3 บริษัทตรวจสอบแล้วเป็นรัฐวิสาหกิจจีนจริง ระบุปัจจุบันบริษัทอื่นก็นำเข้าข้าวได้ แต่ต้องให้คอปโก้เห็นชอบและจัดสรรโควตา
alt กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้มีมติชี้มูลความผิด และเตรียมส่งข้อมูลให้กับอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องคดีอาญากับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกกรณีขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีเก๊โดยนำมาวนขายในประเทศ ต่ออัยการสูงสุด นอกจากนี้ยังมีมติเตรียมเปิดไต่สวนนางปราณี ศิริพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กรณีถูกระบุว่า เป็นผู้เสนอเรื่องต่อนายบุญทรง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เพื่อให้ความเห็นชอบขายข้าวให้กับบริษัทจีนที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน
ในเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" โดยเรียกร้องให้ ป.ป.ช. และทุกฝ่ายให้ความเห็นใจกับข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งนางปราณีที่ได้ปฏิบัติภารกิจตามกรอบยุทธศาสตร์ และตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ทุกประการ โดยกรณีของนางปราณี อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการการพิจารณาระบายข้าวสาร ภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ได้ถูกกำหนดบทบาทให้เป็นผู้เจรจาต่อรองซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับลูกค้าที่มาติดต่อ หรือมีใบเสนอซื้อเข้ามา
ทั้งนี้เมื่อผลการเจรจาในขั้นสุดท้ายเป็นที่พอใจของทั้ง2ฝ่ายในปริมาณ และราคาที่ตกลงกัน ทางอธิบดี ผู้เจรจาจะนำมาแจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติขาย หรือไม่ ในกรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติก็จะทำการแจ้งต่อคู่ค้า ส่วนกรณีที่อนุมัติก็จะดำเนินการในขั้นต่อไปคือ อธิบดีจะไปเซ็นสัญญาความตกลงกับคู่ค้าโดยการอนุมัติของรัฐมนตรี หลังลงนามในสัญญาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่ดูแลคลังเก็บข้าวของรัฐ คือองค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะรายงานชนิดข้าว และปีการผลิตที่มีอยู่ โดยก่อนส่งมอบทางผู้ซื้อจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบคุณภาพข้าว เมื่อเป็นที่พอใจจะสู่ขั้นตอนการชำระเงินค่าสินค้าต่อไป ซึ่งตามยุทธศาสตร์การระบายข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมากำหนดการขายแบบ X-Warehouse คือ ภาระของผู้ขายหมดลงที่หน้าโกดัง จากนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลประเทศ ผู้ซื้อว่าจะให้ใครมาปรับปรุงคุณภาพข้าวและดำเนินการส่งออก
"กรณีของคุณปราณี ได้ดำเนินการตามกรอบที่รัฐบาลได้วางไว้ และมีความโปร่งใสทุกประการ เคยเป็นลูกหม้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ทำหน้าที่มาด้วยความซื่อสัตย์ จึงขอความเห็นใจจาก ป.ป.ช. และทุกฝ่ายด้วย"
ส่วนกรณี ป.ป.ช.ระบุมีเหตุอันควรสงสัยว่าการเจรจาซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับ 3 บริษัทรวม 4 สัญญาจากจีนไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐบาลจีนที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.บริษัท Haikou Liangmao Cereals and Oils Trading รวม 2 สัญญา ปริมาณข้าว 3 และ 2 ล้านตันตามลำดับ 2.. บริษัท Hainan Province land Reclamation Industrial Development ปริมาณ 4 ล้านตัน และ 3.บริษัท Hainan land Reclamation Commerce and Trade Group ปริมาณ 5 ล้านตัน รวมทั้งสิ้น 14 ล้านตัน
ในเรื่องนี้ได้สอบถามกับนางปราณีแล้วได้รับคำชี้แจงว่า ก่อนที่จะเจรจาและเซ็นสัญญาได้ขอให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ไทยในจีน ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลแล้ว ได้รับการยืนยันว่าทั้ง 3 บริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน 100% บริษัทเหล่านี้สามารถนำเข้าข้าว รวมถึงธัญพืชอื่นๆได้ เพราะได้รับอนุญาต และการจัดสรรโควตานำเข้าจากคอปโก้ คอร์ปอเรชั่น(หน่วยงานหลักในการดูแลการนำเข้าและธัญพืชของรัฐบาลจีน)แล้ว จึงได้แจ้งให้รัฐมนตรีรับทราบก่อนหน้านี้ ซึ่งขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า ปัจจุบันคอปโก้ไม่ใช่หน่วยงานเดียวของจีนที่สามารถนำเข้าข้าวหรือธัญพืชจากต่างประเทศได้
อย่างไรก็ดีภายหลังที่นางปราณีเกษียณอายุราชการ (ก.ย.56)สัญญาซื้อขายข้าวข้างต้นทราบว่ามีการส่งมอบข้าวเป็นระยะ แต่มี 1 สัญญาที่มีการยกเลิก เนื่องจากไม่มารับสินค้า เรื่องนี้นางปราณีระบุพร้อมชี้แจ้งข้อเท็จจริงต่อ ป.ป.ช.
"ก่อนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO จีนมีการนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 3 แสนตันต่อปี โดยคอปโก้มีสิทธิ์นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว ภายหลังจีนได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO ในปี 2544 เขาได้แสดงเจตนารมณ์ในการนำเข้าข้าวเพิ่มจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมทั้งไทย เพื่อกระจายข้าวสู่ในแต่ละมณฑลของจีนที่ยังขาดแคลนข้าวบริโภคให้มากขึ้น โดยให้บริษัทรัฐวิสาหกิจอื่นของจีนนำเข้าข้าวได้ แต่ต้องขออนุญาต และขอโควตาการนำเข้าจากคอปโก้แต่เพียงผู้เดียว
แต่หลายฝ่ายยังเข้าใจผิดว่า การนำเข้าข้าวของจีนต้องนำเข้าโดยคอปโก้เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ป.ป.ช.ยังยึดตามเงื่อนไขเดิมคือข้าวจีนต้องนำเข้าโดย คอปโก้ตามที่มีผู้ให้ข้อมูล กรณีข้าวจีทูจีให้จีนถ้าผิดไปจากนี้จึงไม่ถือเป็นจีทูจี ในเรื่องนี้จึงอยากให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจเสียใหม่"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,022 วันที่ 29 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558
ผู้อ่านเปรียบเทียบข้อมูลกันดู ว่าจะให้นำหนักไปทางฝ่ายไหน
เพราะผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองแน่นอน
เป็นการลงโทษข้าราชการ เพื่อให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลปูทำความผิดจริงๆ
งานนี้ ได้มวลมหาประชาชนเพิ่มขึ้นอีกมากมายเลย และฝ่ายเพื่อไทยก็คงชี้แจงโต้กลับได้ไม่ชัดเจนอีกตามเคย
พูดมากก็คงกลัวโดนเล่นงานอีก เช่น เรืองไกร
มติ อ.ก.พ.ให้ไล่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตขายข้าวจีทูจีออกจากตำแหน่งทันที พร้อมส่งเรื่องฟ้องคดีอาญาและแพ่ง
ที่กระทรวงพาณิชย์ เวลา 16.30 น. วันที่ 12 มี.ค. 58 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์ มีมติเห็นชอบ 9 ต่อ 0 เสียงให้ไล่ออกจากข้าราชการ 3 คนคือ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการกองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของรัฐบาลก่อน แต่นายมนัส ได้เกษียณอายุราชการนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาตามหนังสือชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ที่ป.ป.ช.ส่งมาให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา ซึ่งระบุว่า ข้าราชการทั้ง 3 คนมีส่วนร่วมกระทำความผิด โดยช่วยเหลือและมุ่งหมายให้ 2 บริษัทของจีนเข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ โดยที่ทั้ง 2 บริษัทไม่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมการค้าต่างประเทศ และประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม อ.ก.พ.กระทรวงพาณิชย์ ไม่มีอำนาจในการพิจารณาโทษเป็นอย่างอื่น นอกจากไล่ออก ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2536 และระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ที่ระบุว่า หากข้าราชการมีความผิดวินัยร้ายแรงต้องไล่ออกสถานเดียว
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า มติไล่ออกดังกล่าว จะมีผลทันทีเมื่อปลัดกระทรวงพาณิชย์ ลงนามในคำสั่งไล่ออก 2 ข้าราชการ โดยการถูกไล่ออกนี้ จะทำให้ข้าราชการทั้ง 2 คน ไม่มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญใดๆ ทั้งสิ้น แต่ระหว่างนี้ ผู้ที่ถูกให้ออกจากราชการทั้ง 2 ราย สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับทราบคำสั่ง โดยให้ยื่นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (กพค.)
”ที่ประชุมอ.ก.พ.กระทรวงพาณิชย์ เครียดมาก ที่ผลสรุปออกมาเป็นแบบนี้ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เราพิจารณาตามมติครม.ปี 36 และระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ในชีวิตราชการ ผมไม่เคยพิจารณาโทษใครจนถึงขั้นไล่ออกจากราชการ รู้สึกเสียใจมาก หลังจากนี้ ข้าราชการทั้ง 3 คนต้องไปสู้คดีอาญาต่อไป หรืออาจจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายด้วย”
อย่างไรก็ตาม อยากฝากเตือนข้าราชการ ที่ต้องทำงานกับนักการเมืองว่า ตามหลักการแล้ว หากเห็นว่าคำสั่งของฝ่ายการเมืองอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้เกิดการทุจริต ก็ต้องหลีกเลี่ยง ไม่ทำตาม แต่ในทางปฏิบัติ ข้าราชการบางส่วนไม่กล้าขัดคำสั่ง หรืออาจจะเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว รางวัล หรือการเลื่อนขั้น จึงอาจกระทำความผิดได้
ทีนี้มาดูข่าวเก่ากัน
ย้ำขายข้าวจีทูจีเดินตามกรอบ วันพุธที่ 28 มกราคม 2015 เวลา 13:08 น
ข้าราชการ ก.พาณิชย์ วอน ป.ป.ช.เห็นใจ "ปราณี"ติดร่างแห เตรียมถูกเปิดไต่สวนขายข้าวจีทูจีลวงให้บริษัทจีน ย้ำข้าราชการทำตามหน้าที่ และตามกรอบแนวทางที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ไม่มีนอกมีใน ยัน 3 บริษัทตรวจสอบแล้วเป็นรัฐวิสาหกิจจีนจริง ระบุปัจจุบันบริษัทอื่นก็นำเข้าข้าวได้ แต่ต้องให้คอปโก้เห็นชอบและจัดสรรโควตา
alt กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้มีมติชี้มูลความผิด และเตรียมส่งข้อมูลให้กับอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องคดีอาญากับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกกรณีขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีเก๊โดยนำมาวนขายในประเทศ ต่ออัยการสูงสุด นอกจากนี้ยังมีมติเตรียมเปิดไต่สวนนางปราณี ศิริพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กรณีถูกระบุว่า เป็นผู้เสนอเรื่องต่อนายบุญทรง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เพื่อให้ความเห็นชอบขายข้าวให้กับบริษัทจีนที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน
ในเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" โดยเรียกร้องให้ ป.ป.ช. และทุกฝ่ายให้ความเห็นใจกับข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งนางปราณีที่ได้ปฏิบัติภารกิจตามกรอบยุทธศาสตร์ และตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ทุกประการ โดยกรณีของนางปราณี อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการการพิจารณาระบายข้าวสาร ภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ได้ถูกกำหนดบทบาทให้เป็นผู้เจรจาต่อรองซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับลูกค้าที่มาติดต่อ หรือมีใบเสนอซื้อเข้ามา
ทั้งนี้เมื่อผลการเจรจาในขั้นสุดท้ายเป็นที่พอใจของทั้ง2ฝ่ายในปริมาณ และราคาที่ตกลงกัน ทางอธิบดี ผู้เจรจาจะนำมาแจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติขาย หรือไม่ ในกรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติก็จะทำการแจ้งต่อคู่ค้า ส่วนกรณีที่อนุมัติก็จะดำเนินการในขั้นต่อไปคือ อธิบดีจะไปเซ็นสัญญาความตกลงกับคู่ค้าโดยการอนุมัติของรัฐมนตรี หลังลงนามในสัญญาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่ดูแลคลังเก็บข้าวของรัฐ คือองค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะรายงานชนิดข้าว และปีการผลิตที่มีอยู่ โดยก่อนส่งมอบทางผู้ซื้อจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบคุณภาพข้าว เมื่อเป็นที่พอใจจะสู่ขั้นตอนการชำระเงินค่าสินค้าต่อไป ซึ่งตามยุทธศาสตร์การระบายข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมากำหนดการขายแบบ X-Warehouse คือ ภาระของผู้ขายหมดลงที่หน้าโกดัง จากนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลประเทศ ผู้ซื้อว่าจะให้ใครมาปรับปรุงคุณภาพข้าวและดำเนินการส่งออก
"กรณีของคุณปราณี ได้ดำเนินการตามกรอบที่รัฐบาลได้วางไว้ และมีความโปร่งใสทุกประการ เคยเป็นลูกหม้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ทำหน้าที่มาด้วยความซื่อสัตย์ จึงขอความเห็นใจจาก ป.ป.ช. และทุกฝ่ายด้วย"
ส่วนกรณี ป.ป.ช.ระบุมีเหตุอันควรสงสัยว่าการเจรจาซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับ 3 บริษัทรวม 4 สัญญาจากจีนไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐบาลจีนที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.บริษัท Haikou Liangmao Cereals and Oils Trading รวม 2 สัญญา ปริมาณข้าว 3 และ 2 ล้านตันตามลำดับ 2.. บริษัท Hainan Province land Reclamation Industrial Development ปริมาณ 4 ล้านตัน และ 3.บริษัท Hainan land Reclamation Commerce and Trade Group ปริมาณ 5 ล้านตัน รวมทั้งสิ้น 14 ล้านตัน
ในเรื่องนี้ได้สอบถามกับนางปราณีแล้วได้รับคำชี้แจงว่า ก่อนที่จะเจรจาและเซ็นสัญญาได้ขอให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ไทยในจีน ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลแล้ว ได้รับการยืนยันว่าทั้ง 3 บริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน 100% บริษัทเหล่านี้สามารถนำเข้าข้าว รวมถึงธัญพืชอื่นๆได้ เพราะได้รับอนุญาต และการจัดสรรโควตานำเข้าจากคอปโก้ คอร์ปอเรชั่น(หน่วยงานหลักในการดูแลการนำเข้าและธัญพืชของรัฐบาลจีน)แล้ว จึงได้แจ้งให้รัฐมนตรีรับทราบก่อนหน้านี้ ซึ่งขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า ปัจจุบันคอปโก้ไม่ใช่หน่วยงานเดียวของจีนที่สามารถนำเข้าข้าวหรือธัญพืชจากต่างประเทศได้
อย่างไรก็ดีภายหลังที่นางปราณีเกษียณอายุราชการ (ก.ย.56)สัญญาซื้อขายข้าวข้างต้นทราบว่ามีการส่งมอบข้าวเป็นระยะ แต่มี 1 สัญญาที่มีการยกเลิก เนื่องจากไม่มารับสินค้า เรื่องนี้นางปราณีระบุพร้อมชี้แจ้งข้อเท็จจริงต่อ ป.ป.ช.
"ก่อนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO จีนมีการนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 3 แสนตันต่อปี โดยคอปโก้มีสิทธิ์นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว ภายหลังจีนได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO ในปี 2544 เขาได้แสดงเจตนารมณ์ในการนำเข้าข้าวเพิ่มจากประเทศสมาชิกซึ่งรวมทั้งไทย เพื่อกระจายข้าวสู่ในแต่ละมณฑลของจีนที่ยังขาดแคลนข้าวบริโภคให้มากขึ้น โดยให้บริษัทรัฐวิสาหกิจอื่นของจีนนำเข้าข้าวได้ แต่ต้องขออนุญาต และขอโควตาการนำเข้าจากคอปโก้แต่เพียงผู้เดียว แต่หลายฝ่ายยังเข้าใจผิดว่า การนำเข้าข้าวของจีนต้องนำเข้าโดยคอปโก้เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ป.ป.ช.ยังยึดตามเงื่อนไขเดิมคือข้าวจีนต้องนำเข้าโดย คอปโก้ตามที่มีผู้ให้ข้อมูล กรณีข้าวจีทูจีให้จีนถ้าผิดไปจากนี้จึงไม่ถือเป็นจีทูจี ในเรื่องนี้จึงอยากให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจเสียใหม่"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,022 วันที่ 29 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558
ผู้อ่านเปรียบเทียบข้อมูลกันดู ว่าจะให้นำหนักไปทางฝ่ายไหน
เพราะผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองแน่นอน
เป็นการลงโทษข้าราชการ เพื่อให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลปูทำความผิดจริงๆ
งานนี้ ได้มวลมหาประชาชนเพิ่มขึ้นอีกมากมายเลย และฝ่ายเพื่อไทยก็คงชี้แจงโต้กลับได้ไม่ชัดเจนอีกตามเคย
พูดมากก็คงกลัวโดนเล่นงานอีก เช่น เรืองไกร