สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
[บทวิเคราะห์] "สัญญาณ Wi-Fi จากโน้ตบุ๊คทำให้อสุจิอ่อนกำลัง"
อยากอ่านเต็มๆก็คลิ้งก์ที่ลิ้งก์เลยครับ
เนื่องจากข่าวที่นำเสนอเรื่องนี้ส่วนใหญ่ตัดรายละเอียดในกระบวนการทดลองไปเพื่อให้ง่ายการนำเสนอ ดังนั้นหากจะวิเคราะห์เรื่องนี้ให้ละเอียดยิ่งขึ้น จึงต้องตามไปอ่านงานวิจัยต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร เท่าที่อ่านงานต้นฉบับ
วิธีการทดลองในงานวิจัยนี้ยังมีจุดที่น่าข้องใจอยู่ตรงที่ อาจมีปัจจัยอื่นๆ นอกจากสัญญาณ Wi-Fi ที่ส่งผลต่อเชื้ออสุจิในกลุ่มที่วางใต้โน้ตบุ๊ค
การทดลองเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง อสุจิที่วางใต้โน้ตบุ๊คที่เปิด Wi-Fi กับ อสุจิที่วางไว้ในห้องซึ่งไม่มีเครื่องใช้อิเล็กโทรนิค เป็นชุดควบคุม ซึ่งพอจะสรุปออกเป็นแผนภาพดังนี้
ผู้วิจัยควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น วางจานใส่น้ำอสุจิห่างจากโน๊ตบุ๊คประมาณ 3 ซม. เพื่อให้สอดคล้องกับระยะห่างตอนวางโน้ตบุ๊คไว้บนตัก
เปิด Wi-Fi ให้ปล่อยสัญญาณเต็มที่ตลอดโดยสั่งให้คอมพิวเตอร์ส่งไฟล์ขนาดใหญ่สู่อินเตอร์เน็ตตลอดการทดลอง และได้ควบคุมอุณหภูมิในห้องทั้ง 2 กลุ่มให้เท่ากัน
แต่นั่นเป็นการควบคุมอุณหภูมิห้องให้เท่ากัน แล้วอุณหภูมิที่แผ่จากโน้ตบุ๊คล่ะ?
งานวิจัยนี้ทดสอบกับโน้ตบุ๊ค Toshiba Satellite M305D-S4829 ถ้าพลิกด้านล่างดู จะเห็นว่ามีช่องระบายอากาศแถวๆ บริเวณที่วางจานใส่สุจิพอดี (เทียบกับภาพ C ด้านบน) จานที่ใส่อสุจิวางห่างแค่ 3 ซม ความร้อนที่ระบายจากโน้ตบุ๊คย่อมมีผลต่อเชื้อแน่ๆ
นอกจากนี้ จริงๆ แล้วควรเปรียบเทียบกับอสุจิที่วางใต้โน้ตบุ๊คแต่ไม่เปิด Wi-Fi ด้วย เพื่อที่จะแยกผลกระทบจากความร้อนที่แผ่จากโน้ตบุ๊คต่ออสุจิ
ในการทดลองนี้ไม่มีตัวเปรียบเทียบนี้ จึงไม่อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าที่ทำให้อสุจิอ่อนแรงลงเป็นเพราะสัญญาณ Wi-Fi หรือ ความร้อนที่แผ่ออกจากโน้ตบุ๊คมากันแน่
งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็เคยแสดงให้เห็นว่า การวางของรูปร่างคล้ายกับโน้ตบุ๊คไว้บนตักเฉยๆ ก็ทำให้อุณหภูมิอัณฑะสูงขึ้นมากพอที่จะทำอันตรายต่อเชื้ออสุจิแล้ว
อีกประการหนึ่ง งานวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบ in vitro คือ ทดลองภายนนอกร่างกาย โดยนำอสุจิมาใส่สารละลายในจานทดลอง แล้วเอาไปวางไว้ใต้โน้ตบุ๊คโดยตรง ซึ่งเป็นสภาวะที่แตกต่างจากการทดลองกับอสุจิที่อยู่ในร่างกายค่อนข้างมาก
เซลล์อสุจิมีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าเซลล์ร่างกายทั่วไปอยู่แล้ว เพราะสาย DNA ในขดอัดรวมกันอยู่ในพื้นที่แคบๆ ที่ส่วนหัวของเซลล์อสุจิ จึงมีโอกาสถูกทำลายได้ง่าย แต่ในร่างกาย เซลล์อสุจิมีเนื้อเยื่อและของเหลวในถุงอัณฑะ คอยปกป้องอยู่ และร่างกายยังมีกระบวนการบำรุงรักษาอสุจิระดับหนึ่งด้วย
ฉะนั้นถึงแม้สัญญาณ Wi-Fi จะมีผลต่ออสุจิจริง แต่สัญญาณจากโน้ตบุ๊คบนตักก็จะถูกเนื้อเยื่อและของเหลวดูดซับหมดก่อนอยู่ดี
ดังนั้นผลสรุปของงานวิจัยนี้จึงบอกได้มากที่สุดเพียงว่า "สัญญาณ Wi-Fi อาจมีผลต่อเซลล์อสุจิ (เปลือยๆ) ที่อยู่นอกร่างกาย" ส่วนการใช้ Wi-Fi ในชีวิตประจำวันส่งผลเสียต่อเชื้ออสุจิในอัณฑะหรือไม่ยังต้องศึกษาต่อไป
อีกทั้งยังต้องควบคุมปัจจัยเรื่องความร้อนที่แผ่จากโน้ตบุ๊คให้แน่นอนด้วย ทางที่ดีควรใช้อุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณ Wi-Fi ได้ แต่ไม่แผ่ความร้อนมากเท่าโน้ตบุ๊คจะเหมาะสมกว่า
การมีงานวิจัยรองรับไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะบอกว่าข้อมูลนั้นเป็นความจริง เพราะถึงแม้จะเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง (ไม่ใช่งานวิจัยที่นั่งเทียนเขียนขึ้น) แต่ผู้ดำเนินการวิจัยก็เป็นคนธรรมดาที่มีเลือดเนื้อ มีความเชื่อส่วนตัว มีอคติอยู่
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความลำเอียง และความไม่รัดกุมในการออกแบบการทดลอง หรืออาจมีการเลือกนำเสนอข้อมูลที่สนใจและละส่วนที่ไม่ต้องการเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
บทความนี้อาจเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยชี้ให้เห็นเพียงบางประเด็นที่มีหลักฐานสนับสนุนไม่หนาแน่นพอ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้บอกว่างานวิจัยข้างต้นนั้นไม่ถูกต้อง
จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ตอบข้อข้องใจทั้งหลายได้อย่างหมดจด ประเด็นต่างๆ ที่ตั้งคำถามไว้นั้นก็ยังคงมีสถานะเป็น "ไม่รู้" คือ ยังไม่อาจบอกได้ว่า "จริง" หรือ "เท็จ" ฉะนั้นอย่างเพิ่งรีบตื่นตระหนกจนเกินไป
อยากอ่านเต็มๆก็คลิ้งก์ที่ลิ้งก์เลยครับ
เนื่องจากข่าวที่นำเสนอเรื่องนี้ส่วนใหญ่ตัดรายละเอียดในกระบวนการทดลองไปเพื่อให้ง่ายการนำเสนอ ดังนั้นหากจะวิเคราะห์เรื่องนี้ให้ละเอียดยิ่งขึ้น จึงต้องตามไปอ่านงานวิจัยต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร เท่าที่อ่านงานต้นฉบับ
วิธีการทดลองในงานวิจัยนี้ยังมีจุดที่น่าข้องใจอยู่ตรงที่ อาจมีปัจจัยอื่นๆ นอกจากสัญญาณ Wi-Fi ที่ส่งผลต่อเชื้ออสุจิในกลุ่มที่วางใต้โน้ตบุ๊ค
การทดลองเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง อสุจิที่วางใต้โน้ตบุ๊คที่เปิด Wi-Fi กับ อสุจิที่วางไว้ในห้องซึ่งไม่มีเครื่องใช้อิเล็กโทรนิค เป็นชุดควบคุม ซึ่งพอจะสรุปออกเป็นแผนภาพดังนี้
ผู้วิจัยควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น วางจานใส่น้ำอสุจิห่างจากโน๊ตบุ๊คประมาณ 3 ซม. เพื่อให้สอดคล้องกับระยะห่างตอนวางโน้ตบุ๊คไว้บนตัก
เปิด Wi-Fi ให้ปล่อยสัญญาณเต็มที่ตลอดโดยสั่งให้คอมพิวเตอร์ส่งไฟล์ขนาดใหญ่สู่อินเตอร์เน็ตตลอดการทดลอง และได้ควบคุมอุณหภูมิในห้องทั้ง 2 กลุ่มให้เท่ากัน
แต่นั่นเป็นการควบคุมอุณหภูมิห้องให้เท่ากัน แล้วอุณหภูมิที่แผ่จากโน้ตบุ๊คล่ะ?
งานวิจัยนี้ทดสอบกับโน้ตบุ๊ค Toshiba Satellite M305D-S4829 ถ้าพลิกด้านล่างดู จะเห็นว่ามีช่องระบายอากาศแถวๆ บริเวณที่วางจานใส่สุจิพอดี (เทียบกับภาพ C ด้านบน) จานที่ใส่อสุจิวางห่างแค่ 3 ซม ความร้อนที่ระบายจากโน้ตบุ๊คย่อมมีผลต่อเชื้อแน่ๆ
นอกจากนี้ จริงๆ แล้วควรเปรียบเทียบกับอสุจิที่วางใต้โน้ตบุ๊คแต่ไม่เปิด Wi-Fi ด้วย เพื่อที่จะแยกผลกระทบจากความร้อนที่แผ่จากโน้ตบุ๊คต่ออสุจิ
ในการทดลองนี้ไม่มีตัวเปรียบเทียบนี้ จึงไม่อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าที่ทำให้อสุจิอ่อนแรงลงเป็นเพราะสัญญาณ Wi-Fi หรือ ความร้อนที่แผ่ออกจากโน้ตบุ๊คมากันแน่
งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็เคยแสดงให้เห็นว่า การวางของรูปร่างคล้ายกับโน้ตบุ๊คไว้บนตักเฉยๆ ก็ทำให้อุณหภูมิอัณฑะสูงขึ้นมากพอที่จะทำอันตรายต่อเชื้ออสุจิแล้ว
อีกประการหนึ่ง งานวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบ in vitro คือ ทดลองภายนนอกร่างกาย โดยนำอสุจิมาใส่สารละลายในจานทดลอง แล้วเอาไปวางไว้ใต้โน้ตบุ๊คโดยตรง ซึ่งเป็นสภาวะที่แตกต่างจากการทดลองกับอสุจิที่อยู่ในร่างกายค่อนข้างมาก
เซลล์อสุจิมีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าเซลล์ร่างกายทั่วไปอยู่แล้ว เพราะสาย DNA ในขดอัดรวมกันอยู่ในพื้นที่แคบๆ ที่ส่วนหัวของเซลล์อสุจิ จึงมีโอกาสถูกทำลายได้ง่าย แต่ในร่างกาย เซลล์อสุจิมีเนื้อเยื่อและของเหลวในถุงอัณฑะ คอยปกป้องอยู่ และร่างกายยังมีกระบวนการบำรุงรักษาอสุจิระดับหนึ่งด้วย
ฉะนั้นถึงแม้สัญญาณ Wi-Fi จะมีผลต่ออสุจิจริง แต่สัญญาณจากโน้ตบุ๊คบนตักก็จะถูกเนื้อเยื่อและของเหลวดูดซับหมดก่อนอยู่ดี
ดังนั้นผลสรุปของงานวิจัยนี้จึงบอกได้มากที่สุดเพียงว่า "สัญญาณ Wi-Fi อาจมีผลต่อเซลล์อสุจิ (เปลือยๆ) ที่อยู่นอกร่างกาย" ส่วนการใช้ Wi-Fi ในชีวิตประจำวันส่งผลเสียต่อเชื้ออสุจิในอัณฑะหรือไม่ยังต้องศึกษาต่อไป
อีกทั้งยังต้องควบคุมปัจจัยเรื่องความร้อนที่แผ่จากโน้ตบุ๊คให้แน่นอนด้วย ทางที่ดีควรใช้อุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณ Wi-Fi ได้ แต่ไม่แผ่ความร้อนมากเท่าโน้ตบุ๊คจะเหมาะสมกว่า
การมีงานวิจัยรองรับไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะบอกว่าข้อมูลนั้นเป็นความจริง เพราะถึงแม้จะเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง (ไม่ใช่งานวิจัยที่นั่งเทียนเขียนขึ้น) แต่ผู้ดำเนินการวิจัยก็เป็นคนธรรมดาที่มีเลือดเนื้อ มีความเชื่อส่วนตัว มีอคติอยู่
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความลำเอียง และความไม่รัดกุมในการออกแบบการทดลอง หรืออาจมีการเลือกนำเสนอข้อมูลที่สนใจและละส่วนที่ไม่ต้องการเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
บทความนี้อาจเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยชี้ให้เห็นเพียงบางประเด็นที่มีหลักฐานสนับสนุนไม่หนาแน่นพอ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้บอกว่างานวิจัยข้างต้นนั้นไม่ถูกต้อง
จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ตอบข้อข้องใจทั้งหลายได้อย่างหมดจด ประเด็นต่างๆ ที่ตั้งคำถามไว้นั้นก็ยังคงมีสถานะเป็น "ไม่รู้" คือ ยังไม่อาจบอกได้ว่า "จริง" หรือ "เท็จ" ฉะนั้นอย่างเพิ่งรีบตื่นตระหนกจนเกินไป
แสดงความคิดเห็น
"สัญญาณ Wifi และความร้อนแล็ปท็อปมีผลต่ออสุจิผู้ชาย" คุณกลัวไหมครับ ?
สัญญาณ Wifi ส่งผลลดศักยภาพอสุจิต่อผู้ชาย และอาจทำให้มีลูกยาก สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ชาวเอริกันและอาร์เจติน่า เผยผู้ชายที่ชอบวางโน๊ตบุ๊คบนตักขณะต่อสัญญาณ Wifi อาจเสี่ยงต่อภาวะการมีลูกยากได้ หลังพบว่าสัญญาณ Wifi มีผลต่ออสุจิผู้ชาย
โดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แนสเซนทิสในอาร์เจตินา ร่วมกับสถาบันการแพทย์เวอร์จิเนียสหรัฐ ได้ร่วมกันทำวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของ Wifi ต่อภาวะการเจริญพันธุ์ในเพศชาย โดยนำอสุจิจากผู้ชายสุขภาพดีระหว่าง 26-45 ปี จำนวน 29 คน มาวางใกล้และไกลจากโน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อสัญญาณ Wifi เป็นเวลา 4 ชั่วโมง
ผลการทดลองปรากฎว่า หลังจาก 4 ชั่วโมงผ่านไป เชื้ออสุจิที่วางไว้ใกล้โน๊ตบุ๊คนั้นหยุดการเคลื่อนไหวถึง 25% ส่วนอีก 9% พบว่าDNA ถูกทำลายไป ส่วนเชื้ออสุจิที่วางห่างจากโน๊ตบุ๊คนั้นหยุดการเคลื่อนไหวเพียง 14% และมีเพียง 3% เท่านั้นที่DNA ถูกทำลายไป
นอกจากสัญญาณ Wifi ที่มีผลต่ออสุจิผู้ชายแล้ว ความร้อนก็สามารถทำให้คุณภาพของเสปิร์มลดลง เป็นที่รู้ ๆ กันมาเป็นเวลานานแล้วว่าความร้อนที่เกิดจากแล็ปท็อปฆ่าเสปิร์มได้ จากผลการวิจัยพบว่าการสัมผัสกับความถี่ Wifi ลดการเคลื่อนไหวการแหวกว่ายของเสปิร์มอสุจิและพบว่าทำให้อสุจิมีปัญหา DNA Fragmentation คือมีการแตกหักของสารพันธุกรรมในส่วนหัวของอสุจิ เมื่อนำไปผสมกับไข่ จะทำให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพไม่ดี จึงทำให้อัตราการฝังตัวลดลงได้มีการทดสอบทั้งมนุษย์และสัตว์ ได้รับการยืนยันว่าส่งผลกระทบต่อเสปิร์ม
สัญญาณ Wifi ส่งผลกระทบต่อการเจริญพันธ์ ผลการศึกษาวิจัย ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เสปิร์มเท่านั้น แต่การทดลองทั้งในคนและสัตว์แสดงให้เห็นว่า ความถี่ไร้สายของเจ้า Wifi มีผลกระทบต่อการพัฒนาการของไข่ในรังไข่และการฝังตัวของไข่อีกด้วย
จากผลวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หากผู้ชายใช้งานโน๊ตบุ๊คและเชื่อมต่อสัญญาณ Wifi อินเทอร์เน็ต แล้ววางไว้บนตักนั้น จะส่งผลทำให้มีลูกยาก และจะสังเกตเห็นว่าความร้อนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำลายศักยภาพของเชื้ออสุจิเช่นกัน รู้อย่างนี้แล้วคุณผู้ชายอย่าลืมหาตัวช่วยมาดูแลสุขภาพกันนะ
http://www.upsformen.com/article/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93-wifi-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2