สงสัยในเรื่องศีลอีกแล้ว วานผู้รู้ช่วยอธิบายครับ

กระทู้คำถาม
ในเรื่องมุสาวาทา  องค์ประกอบข้อสุดท้าย  อ่านจากหลายแห่งไม่เหมือนกัน  บางแห่งบอกว่า  ผู้ฟังรับรู้สารนั้นไปก็ถือว่าผิดแล้ว  บางแห่งบอกว่า ผู้รับสารนั้นไปแล้วเชื่อ  สมมติดว่าเราพูด(หรือเขียน)เรื่องไม่จริง  โดยเราก็รู้ว่าผู้รับสารนั้นรู้ว่าไม่จริง  และเขาก็ไม่เชื่อด้วย  อย่างนี้ผิดศีลไหมครับ    เช่นคนมายืมเงิน  เราไม่อยากให้ยีม  แต่ถ้าพูดตรง ๆ ก็ขัดใจกัน  เราก็บอกว่าไม่มี  คนที่มายืมจริง ๆ ก็รู้ว่าเรามีเงิน(เรามั่นใจว่าเขารู้ว่าเรามีเงิน)    แต่ไม่อยากให้ยืม  แต่ก็ไม่ตื้อจะยืมต่อ  เพราะตื้อไปก็ขัดใจกันเปล่า ๆ  ก็เออออทำเป็นเชื่อว่าเราไม่มีเงินจริง ๆ    อย่างนี้ถือว่าเราผิดศีลไหมครับ   ขอบคุณทุกคำตอบล่วงหน้าครับ
   หลายท่านอาจคิดว่าผมหาทางเลี่ยงผิดศีลอยู่หรือเปล่า  อยากบอกว่าไม่อยากผิดครับ  แต่บางครั้งการพูดตรง ๆ มันเสียน้ำใจหรือเสียการเสียงานมาก  พูด(หรือเขียน)ไม่จริงทั้ง ๆ ที่ใคร ๆ ก็รู้ว่าไม่จริงมันผ่านไปได้ดีกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่