BTS ส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารใหม่ มิถุนายน 58
BTS เตรียมทุ่มงบประมาณ 1 แสน 2 หมื่นล้านบาท เข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้า 6 เส้นทางใหม่ภายใน 5 ปี และส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้ารอบใหม่ มิถุนายนนี้
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า บีทีเอส เตรียมเงินทุนสำหรับการประมูลโครงการเดินรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง ระยะทาง 118.5 กิโลเมตร วงเงิน 1 แสน 2 หมื่น 3 พันล้านบาท ภายในช่วง 5 ปีนี้ (ปี 58-62) ทำให้จะมีรายได้จากการเดินรถได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561 เติบโตจาก 1 พัน 7 ร้อยล้านบาทในงวดปี 57/58 (เม.ย.57-มี.ค.58) จากปัจจุบันเดินรถระยะทาง 36.3 กิโลเมตร
โดยปีนี้คาดว่าจะงานเดินรถ 3 เส้นทาง คือ สายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเตรียมเข้าร่วมประมูลบริหารตั๋วร่วม ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ใน 6 เดือนข้างหน้า เพื่อต่อยอดธุรกิจบัตรแรบบิท และสามารถเดินทางทุกระบบคมนาคม
ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเข้าระบบบีทีเอส 1 ล้านคนต่อวัน โดยบีทีเอสใช้วิธีการเดินรถที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ไม่ได้ประโยชน์หากผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และดีกว่าการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 9 เดือน
และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นค่าโดยสาร ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ 5-6% แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อที่ผ่านมาต่ำกว่าคาด ค่าใช้จ่าย และ ดัชนีราคาผู้บริโภค หากจะปรับขึ้นต้องแจ้งก่อนปรับจริง 30 วัน ปัจจุบัน BTS เก็บค่าโดยสาร 15-42 บาท ซึ่งเก็บต่ำกว่าสิทธิที่เก็บได้ในช่วง 20-60 บาท และมีผู้ใช้บริการ 7 แสนคนต่อวัน
ที่มา -
VoiceTV 21 (มีคลิปข่าว)
VoiceTV: รถไฟฟ้า BTS ทุ่มงบ 1.2 แสนล้านบาท ร่วมประมูลเดินรถ 6 เส้นทางใหม่, คาดเตรียมขึ้นค่าโดยสาร 5-6% ภายใน มิถุนายน 58
BTS ส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารใหม่ มิถุนายน 58
BTS เตรียมทุ่มงบประมาณ 1 แสน 2 หมื่นล้านบาท เข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้า 6 เส้นทางใหม่ภายใน 5 ปี และส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้ารอบใหม่ มิถุนายนนี้
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า บีทีเอส เตรียมเงินทุนสำหรับการประมูลโครงการเดินรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง ระยะทาง 118.5 กิโลเมตร วงเงิน 1 แสน 2 หมื่น 3 พันล้านบาท ภายในช่วง 5 ปีนี้ (ปี 58-62) ทำให้จะมีรายได้จากการเดินรถได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561 เติบโตจาก 1 พัน 7 ร้อยล้านบาทในงวดปี 57/58 (เม.ย.57-มี.ค.58) จากปัจจุบันเดินรถระยะทาง 36.3 กิโลเมตร
โดยปีนี้คาดว่าจะงานเดินรถ 3 เส้นทาง คือ สายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเตรียมเข้าร่วมประมูลบริหารตั๋วร่วม ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ใน 6 เดือนข้างหน้า เพื่อต่อยอดธุรกิจบัตรแรบบิท และสามารถเดินทางทุกระบบคมนาคม
ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเข้าระบบบีทีเอส 1 ล้านคนต่อวัน โดยบีทีเอสใช้วิธีการเดินรถที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ไม่ได้ประโยชน์หากผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และดีกว่าการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 9 เดือน
และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นค่าโดยสาร ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ 5-6% แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อที่ผ่านมาต่ำกว่าคาด ค่าใช้จ่าย และ ดัชนีราคาผู้บริโภค หากจะปรับขึ้นต้องแจ้งก่อนปรับจริง 30 วัน ปัจจุบัน BTS เก็บค่าโดยสาร 15-42 บาท ซึ่งเก็บต่ำกว่าสิทธิที่เก็บได้ในช่วง 20-60 บาท และมีผู้ใช้บริการ 7 แสนคนต่อวัน
ที่มา - VoiceTV 21 (มีคลิปข่าว)