แนะรัฐเปิดทางรับซื้อไฟฟ้าเสรี
สปช.แนะรัฐเปิดทางรับซื้อไฟฟ้าเสรี กระทุ้งเร่งปฏิรูปพลังงานให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นประเด็นปฏิรูปพลังงาน จัดโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. ร่วมกับสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ว่า ต้องการให้ประเทศไทยมีการแข่งขันด้านพลังงานอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยกระบวนการต่างๆ ต้องทำให้ประชาชนมีทางเลือก จากที่ประชาชนเป็นผู้ใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว ก็ให้มีบทบาทเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายด้วย โดยเฉพาะในส่วนของไฟฟ้า และให้รัฐเป็นผู้รับซื้อโดยไม่มีเงื่อนไข ในราคาที่เป็นธรรม พร้อมขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ดูแลด้านพลังงานด้วย
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวยืนยันว่าการปฏิรูปพลังงานไทย ควรดำเนินการในรูปแบบแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้รัฐได้รับผลประโยชน์สูงที่สุด
สอดคล้องกับนายกษิต ภิรมย์ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่เห็นว่า ควรกำหนดการปฏิรูปพลังงานให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยในรายละเอียดจะต้องแก้ไขปัญหาติดขัดในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น การติดตั้งอุปกรณ์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ที่ปกติถือว่าผิดกฎหมาย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน หากพิจารณาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ให้พื้นที่ที่มีพลังงาน สามารถศึกษาข้อมูลจากมาเลเซีย ซึ่งเมื่อขุดพบพลังงานในพื้นที่ใดก็จะแบ่งผลประโยชน์ให้พื้นที่นั้นๆ 30% ที่เหลืออีก 70% นำเข้าส่วนกลาง หรือหากมีการให้สัมปทาน การจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐควรเป็นการจ่ายค่าตอบแทนแบบอัตราก้าวหน้า จะได้ลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ควรจัดสรรงบประมาณ 2% ของงบประมาณในแต่ละปี ในการศึกษาวิจัยด้านพลังงานของชาติ
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิก สปช. ด้านพลังงาน กล่าวว่า หากพิจารณาการขายปิโตรเลียมปี 2524-2554 มูลค่าประมาณ 3.415 ล้านล้านบาท พบว่ารัฐได้รับเพียง 1.074 ล้านล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นส่วนแบ่งที่รัฐได้จากปิโตรเลียมประมาณ 31.45% ของมูลค่าปิโตรเลียมทั้งหมด และจากข้อมูลการดำเนินการของบริษัท ปตท.พบว่า ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีรายได้มากที่สุด หรือมากกว่า 60% ของรายได้รวม ดังนั้นจึงเห็นว่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมควรเป็นของรัฐ เพื่อลดการผูกขาด
ขณะเดียวกัน ก่อนปฏิรูปพลังงานต้องตอบคำถามก่อนว่า พลังงานควรเป็นกิจการที่แสวงหากำไรหรือไม่ หรือควรเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อจะได้ดำเนินการปฏิรูปให้ตรงกับเป้าหมาย
“หากตอบว่าพลังงานเป็นสินค้าก็ต้องแสวงหากำไร แต่หากพลังงานเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ จะต้องทำให้ราคาพลังงานต่ำ แต่ไม่ใช่ต่ำแบบประชานิยม ซึ่งหากลดต้นทุนพลังงานได้จะช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของประเทศได้” น.ส.รสนา กล่าว
นอกจากนี้ ในการปฏิรูปพลังงานควรคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ เพื่อลดผลกระทบกับประชาชน และการปฏิรูปพลังงานควรดำเนินการให้แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ โดยให้เร่งรัดผลการประชุมกับภาคประชาชนที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 6 มี.ค. ใน 3 ประเด็น คือ 1.ให้ทบทวนการจัดสรรทรัพยากรปิโตรเลียม และอื่นๆ
2.แก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสาระสำคัญหลักที่ต้องแก้ไขคือ การยกกรรมสิทธิ์พลังงานให้เอกชน ควรต้องทบทวนพร้อมทั้งให้กำหนดในกฎหมายด้วยว่า เมื่อหมดอายุการให้สัมปทานแล้ว รัฐควรทำอย่างไร เนื่องจากแหล่งก๊าซ 2 แหล่งใหญ่ในประเทศ คือ บงกช และเอราวัณ จะหมดสัมปทานในปี 2565 และปี 2566 ตามลำดับ ซึ่งการหมดสัมปทานพลังงานไม่ใช่ว่าก๊าซจะหมดไปด้วย และข้อเสนอสุดท้ายคือ ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อหาทางออกให้ปัญหาพลังงาน
ที่มา
http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90/351751/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5
แนะรัฐเปิดทางรับซื้อไฟฟ้าเสรี
สปช.แนะรัฐเปิดทางรับซื้อไฟฟ้าเสรี กระทุ้งเร่งปฏิรูปพลังงานให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นประเด็นปฏิรูปพลังงาน จัดโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. ร่วมกับสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ว่า ต้องการให้ประเทศไทยมีการแข่งขันด้านพลังงานอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยกระบวนการต่างๆ ต้องทำให้ประชาชนมีทางเลือก จากที่ประชาชนเป็นผู้ใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว ก็ให้มีบทบาทเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายด้วย โดยเฉพาะในส่วนของไฟฟ้า และให้รัฐเป็นผู้รับซื้อโดยไม่มีเงื่อนไข ในราคาที่เป็นธรรม พร้อมขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ดูแลด้านพลังงานด้วย
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวยืนยันว่าการปฏิรูปพลังงานไทย ควรดำเนินการในรูปแบบแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้รัฐได้รับผลประโยชน์สูงที่สุด
สอดคล้องกับนายกษิต ภิรมย์ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่เห็นว่า ควรกำหนดการปฏิรูปพลังงานให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยในรายละเอียดจะต้องแก้ไขปัญหาติดขัดในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น การติดตั้งอุปกรณ์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ที่ปกติถือว่าผิดกฎหมาย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน หากพิจารณาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ให้พื้นที่ที่มีพลังงาน สามารถศึกษาข้อมูลจากมาเลเซีย ซึ่งเมื่อขุดพบพลังงานในพื้นที่ใดก็จะแบ่งผลประโยชน์ให้พื้นที่นั้นๆ 30% ที่เหลืออีก 70% นำเข้าส่วนกลาง หรือหากมีการให้สัมปทาน การจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐควรเป็นการจ่ายค่าตอบแทนแบบอัตราก้าวหน้า จะได้ลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ควรจัดสรรงบประมาณ 2% ของงบประมาณในแต่ละปี ในการศึกษาวิจัยด้านพลังงานของชาติ
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิก สปช. ด้านพลังงาน กล่าวว่า หากพิจารณาการขายปิโตรเลียมปี 2524-2554 มูลค่าประมาณ 3.415 ล้านล้านบาท พบว่ารัฐได้รับเพียง 1.074 ล้านล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นส่วนแบ่งที่รัฐได้จากปิโตรเลียมประมาณ 31.45% ของมูลค่าปิโตรเลียมทั้งหมด และจากข้อมูลการดำเนินการของบริษัท ปตท.พบว่า ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีรายได้มากที่สุด หรือมากกว่า 60% ของรายได้รวม ดังนั้นจึงเห็นว่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมควรเป็นของรัฐ เพื่อลดการผูกขาด
ขณะเดียวกัน ก่อนปฏิรูปพลังงานต้องตอบคำถามก่อนว่า พลังงานควรเป็นกิจการที่แสวงหากำไรหรือไม่ หรือควรเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อจะได้ดำเนินการปฏิรูปให้ตรงกับเป้าหมาย
“หากตอบว่าพลังงานเป็นสินค้าก็ต้องแสวงหากำไร แต่หากพลังงานเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ จะต้องทำให้ราคาพลังงานต่ำ แต่ไม่ใช่ต่ำแบบประชานิยม ซึ่งหากลดต้นทุนพลังงานได้จะช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของประเทศได้” น.ส.รสนา กล่าว
นอกจากนี้ ในการปฏิรูปพลังงานควรคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ เพื่อลดผลกระทบกับประชาชน และการปฏิรูปพลังงานควรดำเนินการให้แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ โดยให้เร่งรัดผลการประชุมกับภาคประชาชนที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 6 มี.ค. ใน 3 ประเด็น คือ 1.ให้ทบทวนการจัดสรรทรัพยากรปิโตรเลียม และอื่นๆ
2.แก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสาระสำคัญหลักที่ต้องแก้ไขคือ การยกกรรมสิทธิ์พลังงานให้เอกชน ควรต้องทบทวนพร้อมทั้งให้กำหนดในกฎหมายด้วยว่า เมื่อหมดอายุการให้สัมปทานแล้ว รัฐควรทำอย่างไร เนื่องจากแหล่งก๊าซ 2 แหล่งใหญ่ในประเทศ คือ บงกช และเอราวัณ จะหมดสัมปทานในปี 2565 และปี 2566 ตามลำดับ ซึ่งการหมดสัมปทานพลังงานไม่ใช่ว่าก๊าซจะหมดไปด้วย และข้อเสนอสุดท้ายคือ ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อหาทางออกให้ปัญหาพลังงาน
ที่มา http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90/351751/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5