ครั้งนึงในอดีต “พระเจ้าอโศกมหาราช” ทรงร่วมปฏิรูปพระศาสนา จับสึกพระอลัชชีผู้ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส สั่งสมของมัวเมาในลาภสักการะ เหลวไหลในเกียรติ เห่อเหิมและเพลิดเพลินในโลกียวัตถุ จากนั้นทรงเป็นศาสนูปถัมภกในการสังคยานา และส่งสมณฑูตประกาศพระพุทธศาสนา
พระเจ้าอโศกมหาราช (AShoka the great) แห่งราชวงศ์ โมริยะ กษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนอินเดีย (พ.ศ.๒๗๖ – พ.ศ.๓๑๒) พระองค์ ทรงมีพระทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา แสดงลัทธิธรรมให้ผิดคลองพระพุทธบัญญัติกระทำให้สังฆมณฑลยุ่งเหยิง แตกสามัคคีด้วยสัทธรรมปฏิรูป ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ (คนละรูปกับพระมหาโมคคัลลานะเถระในพุทธกาล) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้งหลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่ ถ้ำอุโธตังคบรรพต เจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบๆ เป็นเวลา ๗ ปี และมอบภารกิจคณะสงฆ์ให้พระมหินทเถระดูแลแทน
ในสมัยนั้นจำนวนของพระอลัชชี มีมากกว่าพระภิกษุแท้ๆ จึงทำให้ต้องหยุดการทำอุโบสถสังฆกรรมถึง ๗ ปี เพราะเหตุที่พระสงฆ์ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ยอมร่วมกับพระอลัชชีเหล่านั้น จึงทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สบายพระหฤทัยในการแตกแยกของพระสงฆ์ ทรงปวารณาจะให้พระสงฆ์เหล่านั้นสามัคคีกัน จึงได้ตรัสสั่งให้อำมาตย์หาทางสามัคคี ฝ่ายอำมาตย์ฟังพระดำรัสไม่แจ้งชัด สำคัญผิดในหน้าที่ จึงได้ทำความผิดอันร้ายแรง คือ ได้บังคับให้พระภิกษุบริสุทธิ์ทำอุโบสถร่วมกับพระอลัชชี พระภิกษุผู้บริสุทธิ์ต่างปฏิเสธที่จะร่วมอุโบสถสังฆกรรม อำมาตย์จึงตัดศีรษะเสียหลายองค์
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทราบข่าวนี้ ทรงตกพระทัยยิ่งจึงเสด็จไปขอขมาโทษต่อพระภิกษุที่อาราม และได้ตรัสถามสงฆ์ว่า การที่อำมาตย์ได้ทำความผิดเช่นนี้ ความผิดจะตกมาถึงพระองค์หรือไม่ พระสงฆ์ถวายคำตอบไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า ความผิดจะตกมาถึงพระองค์ด้วยเพราะอำมาตย์ทำตามคำสั่ง แต่บางองค์ก็ตอบว่าไม่ถึงเพราะไม่มีเจตนา คำวิสัชนาที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชกระวนกระวายพระทัยยิ่งนัก ทรงปรารถนาที่จะให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีความสามารถและแตกฉานในพระธรรมวินัยถวายคำวิสัยชนาอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสถามถึง พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ตรัสตอบว่า มีแต่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรูปเดียวเท่านั้นที่อาจแก้ความสงสัยได้ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้ส่งสาส์นไปอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ให้ท่านเดินทางมายังเมืองปาฏลีบุตร แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระเถระไม่ยอมเดินทางมาตามคำอาราธนา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงไม่หมดความพยายาม จึงได้รับสั่งให้พนักงานออกเดินทางโดยทางเรือรบท่านตามคำแนะนำของพระติสสะเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์ของโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ
ในที่สุดพระเถระก็ยอมมาและในวันที่ท่านเดินทางมาถึงนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จไปรับพระเถระด้วยพระองค์เอง ได้เสด็จลุยน้ำไปถึงพระชานุ แล้วยื่นพระกรให้พระเถระจับและตรัสว่า "ขอพระคุณท่านจงสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด" แล้วได้นำท่านไปสู่อุทยาน ได้ทรงแสดงความเคารพพระเถระอย่างสูง และได้ตรัสถามพระเถระว่า การที่อำมาตย์ได้ตัดศีรษะพระภิกษุนั้นจะเป็นบาปกรรมตกถึงตนหรือไม่ พระเถระได้ตอบว่า “มหาบพิตร จะเป็นเป็นบาปได้ก็ต่อเมื่อพระองค์มีเจตนาที่จะฆ่าเท่านั้น” คำวิสัชนาของพระเถระนั้น ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยมาก
ฝ่ายพระอลัชชีผู้ปลอมบวชในพุทธศาสนานั้นก็ยังพยายามที่จะประกอบมิจฉาชีพอยู่ต่อไป พระเหล่านั้นได้มัวเมาหลงใหลในลาภสักการะไม่พอใจในการปฏิบัติธรรม อาศัยผ้าเหลืองเลี้ยงชีพ ประพฤติผิดธรรมวินัยไม่สำรวมระวังในสีลาจารวัตร เที่ยวอวดอ้างคุณสมบัติโดยอาการต่างๆ เพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อหาลาภสักการะเข้าตัว เพราะเหตุนี้จึงทำให้พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพลอยด่างพร้อยไปด้วย ความอลเวงได้เกิดขึ้นในวงการของพุทธศาสนาทั่วไปลาภสักการะมีอำนาจเหนือ อุดมคติของผู้เห็นแก่ได้ แม้กระทั่งผู้ทรงเพศเป็นพระภิกษุห่มเหลืองก็ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน ที่จริงผู้มีลาภคือผู้มีบุญ แต่มัวเมาในลาภคือสั่งสมบาป การที่พระได้ของมามากๆ จากประชาชนที่เขาบริจาคด้วยศรัทธานั้น นับว่าเป็นการดีไม่มีผิด แต่การที่พระสั่งสมของมัวเมาในลาภ เหลวไหลในเกียรติ เห่อเหิมและเพลิดเพลินในโลกียวัตถุ จนลืมหน้าที่ของตนนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
พ.ศ.๒๘๗ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ถวายเทศนาแก่พระเจ้าอโศกมหาราช จนพระองค์ทรงมีความเลื่อมใส และซาบซึ้งในหลักธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ได้ประทับอยู่ที่อุทยานนับเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์ที่เข้ามาปลอมบวช ในวันที่ ๗ พระองค์ได้ประกาศบอกนัดให้พระภิกษุที่อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มาประชุมที่อโศการามเพื่อชำระความบริสุทธิ์ของตน ภายใน ๗ วัน พระองค์ประทับนั่งภายในม่านกับท่านโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้สั่งให้ภิกษุผู้สังกัดอยู่ในนิกายนั้นๆ นั่งรวมกันเป็นนิกายๆ แล้วตรัสถามให้พระภิกษุเหล่านั้นอธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้อธิบายผิดไปตามลัทธิของตนๆ พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ตรัสให้สึกพระอลัชชีเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวน ๖๐,๐๐๐ รูป ครั้นกำจัดพระภิกษุพวกอลัชชีให้หมดไปจากพุทธศาสนาแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้น ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชอย่างเต็มที่
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชท่านจับพระสึก 6หมื่นกว่ารูปเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย
พระเจ้าอโศกมหาราช (AShoka the great) แห่งราชวงศ์ โมริยะ กษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนอินเดีย (พ.ศ.๒๗๖ – พ.ศ.๓๑๒) พระองค์ ทรงมีพระทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา แสดงลัทธิธรรมให้ผิดคลองพระพุทธบัญญัติกระทำให้สังฆมณฑลยุ่งเหยิง แตกสามัคคีด้วยสัทธรรมปฏิรูป ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ (คนละรูปกับพระมหาโมคคัลลานะเถระในพุทธกาล) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้งหลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่ ถ้ำอุโธตังคบรรพต เจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบๆ เป็นเวลา ๗ ปี และมอบภารกิจคณะสงฆ์ให้พระมหินทเถระดูแลแทน
ในสมัยนั้นจำนวนของพระอลัชชี มีมากกว่าพระภิกษุแท้ๆ จึงทำให้ต้องหยุดการทำอุโบสถสังฆกรรมถึง ๗ ปี เพราะเหตุที่พระสงฆ์ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ยอมร่วมกับพระอลัชชีเหล่านั้น จึงทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สบายพระหฤทัยในการแตกแยกของพระสงฆ์ ทรงปวารณาจะให้พระสงฆ์เหล่านั้นสามัคคีกัน จึงได้ตรัสสั่งให้อำมาตย์หาทางสามัคคี ฝ่ายอำมาตย์ฟังพระดำรัสไม่แจ้งชัด สำคัญผิดในหน้าที่ จึงได้ทำความผิดอันร้ายแรง คือ ได้บังคับให้พระภิกษุบริสุทธิ์ทำอุโบสถร่วมกับพระอลัชชี พระภิกษุผู้บริสุทธิ์ต่างปฏิเสธที่จะร่วมอุโบสถสังฆกรรม อำมาตย์จึงตัดศีรษะเสียหลายองค์
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทราบข่าวนี้ ทรงตกพระทัยยิ่งจึงเสด็จไปขอขมาโทษต่อพระภิกษุที่อาราม และได้ตรัสถามสงฆ์ว่า การที่อำมาตย์ได้ทำความผิดเช่นนี้ ความผิดจะตกมาถึงพระองค์หรือไม่ พระสงฆ์ถวายคำตอบไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า ความผิดจะตกมาถึงพระองค์ด้วยเพราะอำมาตย์ทำตามคำสั่ง แต่บางองค์ก็ตอบว่าไม่ถึงเพราะไม่มีเจตนา คำวิสัชนาที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชกระวนกระวายพระทัยยิ่งนัก ทรงปรารถนาที่จะให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีความสามารถและแตกฉานในพระธรรมวินัยถวายคำวิสัยชนาอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสถามถึง พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ตรัสตอบว่า มีแต่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรูปเดียวเท่านั้นที่อาจแก้ความสงสัยได้ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้ส่งสาส์นไปอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ให้ท่านเดินทางมายังเมืองปาฏลีบุตร แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระเถระไม่ยอมเดินทางมาตามคำอาราธนา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงไม่หมดความพยายาม จึงได้รับสั่งให้พนักงานออกเดินทางโดยทางเรือรบท่านตามคำแนะนำของพระติสสะเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์ของโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ
ในที่สุดพระเถระก็ยอมมาและในวันที่ท่านเดินทางมาถึงนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จไปรับพระเถระด้วยพระองค์เอง ได้เสด็จลุยน้ำไปถึงพระชานุ แล้วยื่นพระกรให้พระเถระจับและตรัสว่า "ขอพระคุณท่านจงสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด" แล้วได้นำท่านไปสู่อุทยาน ได้ทรงแสดงความเคารพพระเถระอย่างสูง และได้ตรัสถามพระเถระว่า การที่อำมาตย์ได้ตัดศีรษะพระภิกษุนั้นจะเป็นบาปกรรมตกถึงตนหรือไม่ พระเถระได้ตอบว่า “มหาบพิตร จะเป็นเป็นบาปได้ก็ต่อเมื่อพระองค์มีเจตนาที่จะฆ่าเท่านั้น” คำวิสัชนาของพระเถระนั้น ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยมาก
ฝ่ายพระอลัชชีผู้ปลอมบวชในพุทธศาสนานั้นก็ยังพยายามที่จะประกอบมิจฉาชีพอยู่ต่อไป พระเหล่านั้นได้มัวเมาหลงใหลในลาภสักการะไม่พอใจในการปฏิบัติธรรม อาศัยผ้าเหลืองเลี้ยงชีพ ประพฤติผิดธรรมวินัยไม่สำรวมระวังในสีลาจารวัตร เที่ยวอวดอ้างคุณสมบัติโดยอาการต่างๆ เพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อหาลาภสักการะเข้าตัว เพราะเหตุนี้จึงทำให้พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพลอยด่างพร้อยไปด้วย ความอลเวงได้เกิดขึ้นในวงการของพุทธศาสนาทั่วไปลาภสักการะมีอำนาจเหนือ อุดมคติของผู้เห็นแก่ได้ แม้กระทั่งผู้ทรงเพศเป็นพระภิกษุห่มเหลืองก็ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน ที่จริงผู้มีลาภคือผู้มีบุญ แต่มัวเมาในลาภคือสั่งสมบาป การที่พระได้ของมามากๆ จากประชาชนที่เขาบริจาคด้วยศรัทธานั้น นับว่าเป็นการดีไม่มีผิด แต่การที่พระสั่งสมของมัวเมาในลาภ เหลวไหลในเกียรติ เห่อเหิมและเพลิดเพลินในโลกียวัตถุ จนลืมหน้าที่ของตนนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
พ.ศ.๒๘๗ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ถวายเทศนาแก่พระเจ้าอโศกมหาราช จนพระองค์ทรงมีความเลื่อมใส และซาบซึ้งในหลักธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ได้ประทับอยู่ที่อุทยานนับเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์ที่เข้ามาปลอมบวช ในวันที่ ๗ พระองค์ได้ประกาศบอกนัดให้พระภิกษุที่อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มาประชุมที่อโศการามเพื่อชำระความบริสุทธิ์ของตน ภายใน ๗ วัน พระองค์ประทับนั่งภายในม่านกับท่านโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้สั่งให้ภิกษุผู้สังกัดอยู่ในนิกายนั้นๆ นั่งรวมกันเป็นนิกายๆ แล้วตรัสถามให้พระภิกษุเหล่านั้นอธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้อธิบายผิดไปตามลัทธิของตนๆ พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ตรัสให้สึกพระอลัชชีเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวน ๖๐,๐๐๐ รูป ครั้นกำจัดพระภิกษุพวกอลัชชีให้หมดไปจากพุทธศาสนาแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้น ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชอย่างเต็มที่