อาตมาเชื่อว่าผู้คนจำนวนมากศรัทธาในผู้นำวัดพระธรรมกาย โดยไม่รู้ว่ามีการสอนคลาดเคลื่อนจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า หรือมีการบิดเบือนคำสอนของพระองค์ ศรัทธาอาจเกิดจากความเชื่อในอำนาจพิเศษของผู้นำสำนัก หรือเห็นว่าคำสอนและการปฏิบัติของสำนักนี้ถูกกับจริตของตน รวมทั้งสอดคล้องหรือสามารถตอบสนองกิเลสของตนได้ (เช่น อยากร่ำรวย มีชื่อเสียง) ดังนั้นถึงแม้วัดพระธรรมกายแยกออกไปจากคณะสงฆ์ไทย อาตมาเชื่อว่าก็ยังมีคนศรัทธามากมาย ดังที่เกิดกับอดีตพระภาวนาพุทโธที่แม้ทุกวันนี้ถูกคุมขังในข้อหาพรากผู้เยาว์ ก็ยังมีผู้คนไปกราบไหว้เยี่ยมเยียนในเรือนจำ เพราะเชื่อว่าเขาเป็น “ผู้วิเศษ”
....ผมไม่คิดว่าคนที่เข้าวัดคลองสามจะคิดตื้นเขินแค่นั้น แต่เขาทำทุกอย่างก็เพื่อตัวเองครับ ชีวิตของเขา เขาลิขิตเองได้ เขาพิสูจน์เรื่องชีวิตหลังความตาย ในภพชาติต่อไป ในเมื่อเขาไม่สามารถนิพพานในภพชาตินี้ได้ สิ่งที่เขาทำได้ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา หากการกลับมาเกิดมีจริง อานิสสงส์ของทานที่เขาทำ ย่อมส่งผลตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า การจะสอนให้เขาแค่เจริญสติอยู่กับปัจจุบันเพื่อดับทุกข์ คงไม่เพียงพอต่อการทำพระนิพพานให้แจ้งนะครับ
คำสอนของวัดพระธรรมกายที่ไม่ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา ที่สำคัญได้แก่คำสอนเกี่ยวกับบุญ เช่น ถวายเงินมากเท่าไร ก็ได้บุญเท่านั้น มีการกระตุ้นให้ถวายเงินมาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี จนถึงกับเชียร์ให้ทุ่มสุดตัว อาทิ “ปิดบัญชีทางโลก เพื่อเปิดบัญชีทางธรรม” ใครที่ถวายเงินมาก ๆ ก็จะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเจ้าสำนัก จนอาจได้รับโอกาส “อัดวิชาธรรมกาย”ให้ นอกจากนั้น ก็ได้แก่คำสอนเรื่อง “ธรรมกาย” ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำสอนในพระไตรปิฎก (ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าหรือจิตที่เข้าถึงโลกุตรธรรม) หรือการสอนว่า จะบรรลุธรรมก็ต่อเมื่อเห็นองค์พระ มิใช่เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน คำสอนว่านิพพานเป็นอัตตา ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สอนคลาดเคลื่อนจากพระไตรปิฎก ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการอวดอ้างเป็นการภายในว่า เจ้าสำนักเป็น “ต้นธาตุ ต้นธรรม” คือเหนือกว่าพระพุทธเจ้า โดยที่แนวคิดดังกล่าวก็หามีในพระไตรปิฎกไม่
....การทำทานมากอานิสสงส์ของทานย่อมมีนะครับ ทรัพย์นั้นเป็นของเขาหากหามาโดยบริสุทธิ์ ผุ้รับผุ้ให้ ก็เจตนาตรงกัน ส่วนคำว่าอัดธรรมกายให้ คงไม่มีนะครับ หลวงพ่อสดไม่เคยสอนใครแบบนั้น ส่วนการสละทรัพย์ขั้น ปรมัตถ์ทานบารมี เขาสละลูกเมียทรัพย์สมบัติได้ ก็คงไม่แปลก การตีความหมายคำว่าธรรมกาย โดยใช้หลักภาษาศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่เลื่อนลอย หากอยู่ในกรอบแคบๆของปริยัติ โดยไม่เคยเข้ามาสัมผัสผลการปฏิบัติ ส่วนการเห็นองคืพระนั้นเรียกว่าญาณทัศนะที่จะน้อมนำไปสู่การเพิกถอนกิเลสสังโยชน์ เป็นจิตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ นิพพานเป็นอะไร ชาวคลองสามเขาเลิกพูดถึงนานมากแล้ว คนที่โต้แย้งนิพพานก็ควรเข้าถึงนิพพานแล้ว ไม่ควรเอามาพูดในฐานะนักภาษาศาสตร์ คำว่าต้นธาตุ ต้นธรรม ไม่มีในพระไตรปิฏก ทีนี้ให้ลองระลึกชาติกลับไปในยุคต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของโลกและจักรวาลนี้ คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก
นมัสการ พระไพศาล วิศาโล
....ผมไม่คิดว่าคนที่เข้าวัดคลองสามจะคิดตื้นเขินแค่นั้น แต่เขาทำทุกอย่างก็เพื่อตัวเองครับ ชีวิตของเขา เขาลิขิตเองได้ เขาพิสูจน์เรื่องชีวิตหลังความตาย ในภพชาติต่อไป ในเมื่อเขาไม่สามารถนิพพานในภพชาตินี้ได้ สิ่งที่เขาทำได้ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา หากการกลับมาเกิดมีจริง อานิสสงส์ของทานที่เขาทำ ย่อมส่งผลตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า การจะสอนให้เขาแค่เจริญสติอยู่กับปัจจุบันเพื่อดับทุกข์ คงไม่เพียงพอต่อการทำพระนิพพานให้แจ้งนะครับ
คำสอนของวัดพระธรรมกายที่ไม่ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา ที่สำคัญได้แก่คำสอนเกี่ยวกับบุญ เช่น ถวายเงินมากเท่าไร ก็ได้บุญเท่านั้น มีการกระตุ้นให้ถวายเงินมาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี จนถึงกับเชียร์ให้ทุ่มสุดตัว อาทิ “ปิดบัญชีทางโลก เพื่อเปิดบัญชีทางธรรม” ใครที่ถวายเงินมาก ๆ ก็จะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเจ้าสำนัก จนอาจได้รับโอกาส “อัดวิชาธรรมกาย”ให้ นอกจากนั้น ก็ได้แก่คำสอนเรื่อง “ธรรมกาย” ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำสอนในพระไตรปิฎก (ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าหรือจิตที่เข้าถึงโลกุตรธรรม) หรือการสอนว่า จะบรรลุธรรมก็ต่อเมื่อเห็นองค์พระ มิใช่เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน คำสอนว่านิพพานเป็นอัตตา ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สอนคลาดเคลื่อนจากพระไตรปิฎก ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการอวดอ้างเป็นการภายในว่า เจ้าสำนักเป็น “ต้นธาตุ ต้นธรรม” คือเหนือกว่าพระพุทธเจ้า โดยที่แนวคิดดังกล่าวก็หามีในพระไตรปิฎกไม่
....การทำทานมากอานิสสงส์ของทานย่อมมีนะครับ ทรัพย์นั้นเป็นของเขาหากหามาโดยบริสุทธิ์ ผุ้รับผุ้ให้ ก็เจตนาตรงกัน ส่วนคำว่าอัดธรรมกายให้ คงไม่มีนะครับ หลวงพ่อสดไม่เคยสอนใครแบบนั้น ส่วนการสละทรัพย์ขั้น ปรมัตถ์ทานบารมี เขาสละลูกเมียทรัพย์สมบัติได้ ก็คงไม่แปลก การตีความหมายคำว่าธรรมกาย โดยใช้หลักภาษาศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่เลื่อนลอย หากอยู่ในกรอบแคบๆของปริยัติ โดยไม่เคยเข้ามาสัมผัสผลการปฏิบัติ ส่วนการเห็นองคืพระนั้นเรียกว่าญาณทัศนะที่จะน้อมนำไปสู่การเพิกถอนกิเลสสังโยชน์ เป็นจิตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ นิพพานเป็นอะไร ชาวคลองสามเขาเลิกพูดถึงนานมากแล้ว คนที่โต้แย้งนิพพานก็ควรเข้าถึงนิพพานแล้ว ไม่ควรเอามาพูดในฐานะนักภาษาศาสตร์ คำว่าต้นธาตุ ต้นธรรม ไม่มีในพระไตรปิฏก ทีนี้ให้ลองระลึกชาติกลับไปในยุคต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของโลกและจักรวาลนี้ คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก