คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เท่าที่ทราบก็ไม่ได้ปรากฏว่ามีการบังคับขุนนางชาวต่างชาติในเรื่องการแต่งกายครับ
ชาวต่างชาติที่อยู่ในสมัยอยุทธยา-รัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่น่าจะแต่งกายตามธรรมเนียมของตนครับ อย่างที่โบราณเรียกว่า 'ตามเพศตามภาษา' ดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังหลายภาพก็มีปรากฏภาพทหารอาสาต่างชาติที่แต่งกายตามชาติของตนเองครับ จึงพออนุมานได้ว่าข้าราชการยุคนั้นก็น่าจะยังแต่งกายตามเดิม ชาวต่างชาติที่หันมาแต่งกายแบบไทยน่าจะเป็นชาวต่างชาติที่อยู่มานาน หรือเป็นรุ่นหลังๆที่เกิดในเมืองไทย(อาจมีพ่อหรือแม่เป็นคนไทย)จึงรับธรรมเนียมไทยมาใช้มากขึ้นครับ อย่างคนจีนมีคำกล่าวว่าอยู่ไปสองสามรุ่นก็หมดความเป็นจีนกลายเป็นไทยหมดครับ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง(มีหลักฐานชิ้นหนึ่งระบุว่าพระองค์เคยไว้เปีย ต่อมาตัดผมอย่างไทยแล้วมาขอรับราชการครับ)
มีจีนที่มาตั้งรกรากในไทยเพราะหนีแมนจูมาแล้วสืบเชื้อสายต่อกันมา พวกนี้ก็ไม่ได้ไว้ผมเปียครับ น่าจะเกล้ามวยแบบจีนฮั่น มีปรากฏเรียกว่า 'จีนอย่างเก่า' เช่น เจ้าขรัวเงินพระภัสดาของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์(พระพี่นางของรัชกาลที่ ๑) เป็นจีนลูกเศรษฐีจีนตระกูลนี้ครับ
จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์รูปทหารยุโรป ทหารมุสลิม ทหารจีนสมัยชิง
ส่วนโปรตุเกสเข้ามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครับ ก่อนพระนารายณ์เกือบ ๒๐๐ ปี โปรตุเกสตั้งรกรากอยู่ในไทยนานมาก นานๆเข้าเมื่อแต่งงานกับชนพื้นเมืองก็มีโอกาสจะถูกกลืนไปได้ครับ เรื่องเครื่องแต่งกายก็อาจจะแต่งแบบไทยได้ แม้ยังมีปรากฏอยู่ว่าแต่งแบบตะวันตกแต่น่าจะมีการประยุกต์ให้เข้ากับเมืองไทยที่มีอากาศร้อนด้วย จะให้แต่งแบบดั้งเดิมตลอดก็ไม่น่าจะทนได้
จิตรกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดกในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ อายุราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ในภาพแสดงกระบวนเสด็จซึ่งน่าจะจำลองมาจากรูปแบบสมัยอยุทธยาจริง โดยมีหลายคนที่ร่วมกระบวนไม่น่าเป็นคนไทย เช่นคนที่โพกผ้าในภาพแรกกับภาพที่ ๒ น่าจะเป็นมุสลิม กับชาวจีนมุมขวาล่างในภาพที่ ๓
ชาวมุสลิมเป่าแตรในขบวนเสด็จเจ้านายสมัยอยุทธยา จิตรกรรมวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2915.0
ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีรูปขันทีมุสลิมอยู่ครับ บางคนว่าไม้ในมือเอาไว้ใช้ไล่นก(ตัวข้างบน) ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ
อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นขันทีมุสลิมถือหวายทำท่าจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่ครับ
จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณาราม ฝีมือครูคงแป๊ะ(หลวงเสนีย์บริรักษ์)รูปทหารต่างชาติทั้งมุสลิมและชาติอื่นๆที่โพกผ้า(ไม่แน่ใจว่าชาติอะไร แต่น่าจะเป็นชาติใกล้เคียง)กองทัพไทย
ทหารยุโรปกับมุสลิม
ทหารเปอร์เซีย
ชาวมอญก็มีปรากฏในจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ว่าแต่งกายเหมือนเดิมครับ ผู้ชายเกล้ามวยโพกผ้า ผู้หญิงเกล้ามวยท้ายทอย จิตรกรรมรูปชาวมอญวัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา http://www.era.su.ac.th/Mural/samuthsongkram/bangkae.html
แต่พอเวลาผ่านไป ชาวมอญในไทยน่าจะรับธรรมเนียมไทยมาใช้มากขึ้น มีการแต่งกายแบบไทยมากขึ้น ดูจากนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ที่กล่าวถึงชาวมอญในปากเกร็ด ราวสมัยรัชกาลที่ ๓ ว่า
"ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา
เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย "
ส่วนเรื่องรองเท้า ผมว่าน่าจะเป็นแค่ค่านิยมของคนไทยที่ไม่นิยมสวมรองเท้าครับ ไม่น่าจะห้ามใส่ แต่ถ้าเข้าเฝ้าเจ้านายก็คงต้องถอดครับ
เท่าที่ทราบก็ไม่ได้ปรากฏว่ามีการบังคับขุนนางชาวต่างชาติในเรื่องการแต่งกายครับ
ชาวต่างชาติที่อยู่ในสมัยอยุทธยา-รัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่น่าจะแต่งกายตามธรรมเนียมของตนครับ อย่างที่โบราณเรียกว่า 'ตามเพศตามภาษา' ดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังหลายภาพก็มีปรากฏภาพทหารอาสาต่างชาติที่แต่งกายตามชาติของตนเองครับ จึงพออนุมานได้ว่าข้าราชการยุคนั้นก็น่าจะยังแต่งกายตามเดิม ชาวต่างชาติที่หันมาแต่งกายแบบไทยน่าจะเป็นชาวต่างชาติที่อยู่มานาน หรือเป็นรุ่นหลังๆที่เกิดในเมืองไทย(อาจมีพ่อหรือแม่เป็นคนไทย)จึงรับธรรมเนียมไทยมาใช้มากขึ้นครับ อย่างคนจีนมีคำกล่าวว่าอยู่ไปสองสามรุ่นก็หมดความเป็นจีนกลายเป็นไทยหมดครับ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง(มีหลักฐานชิ้นหนึ่งระบุว่าพระองค์เคยไว้เปีย ต่อมาตัดผมอย่างไทยแล้วมาขอรับราชการครับ)
มีจีนที่มาตั้งรกรากในไทยเพราะหนีแมนจูมาแล้วสืบเชื้อสายต่อกันมา พวกนี้ก็ไม่ได้ไว้ผมเปียครับ น่าจะเกล้ามวยแบบจีนฮั่น มีปรากฏเรียกว่า 'จีนอย่างเก่า' เช่น เจ้าขรัวเงินพระภัสดาของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์(พระพี่นางของรัชกาลที่ ๑) เป็นจีนลูกเศรษฐีจีนตระกูลนี้ครับ
จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์รูปทหารยุโรป ทหารมุสลิม ทหารจีนสมัยชิง
ส่วนโปรตุเกสเข้ามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครับ ก่อนพระนารายณ์เกือบ ๒๐๐ ปี โปรตุเกสตั้งรกรากอยู่ในไทยนานมาก นานๆเข้าเมื่อแต่งงานกับชนพื้นเมืองก็มีโอกาสจะถูกกลืนไปได้ครับ เรื่องเครื่องแต่งกายก็อาจจะแต่งแบบไทยได้ แม้ยังมีปรากฏอยู่ว่าแต่งแบบตะวันตกแต่น่าจะมีการประยุกต์ให้เข้ากับเมืองไทยที่มีอากาศร้อนด้วย จะให้แต่งแบบดั้งเดิมตลอดก็ไม่น่าจะทนได้
จิตรกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดกในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ อายุราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ในภาพแสดงกระบวนเสด็จซึ่งน่าจะจำลองมาจากรูปแบบสมัยอยุทธยาจริง โดยมีหลายคนที่ร่วมกระบวนไม่น่าเป็นคนไทย เช่นคนที่โพกผ้าในภาพแรกกับภาพที่ ๒ น่าจะเป็นมุสลิม กับชาวจีนมุมขวาล่างในภาพที่ ๓
ชาวมุสลิมเป่าแตรในขบวนเสด็จเจ้านายสมัยอยุทธยา จิตรกรรมวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2915.0
ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีรูปขันทีมุสลิมอยู่ครับ บางคนว่าไม้ในมือเอาไว้ใช้ไล่นก(ตัวข้างบน) ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ
อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นขันทีมุสลิมถือหวายทำท่าจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่ครับ
จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณาราม ฝีมือครูคงแป๊ะ(หลวงเสนีย์บริรักษ์)รูปทหารต่างชาติทั้งมุสลิมและชาติอื่นๆที่โพกผ้า(ไม่แน่ใจว่าชาติอะไร แต่น่าจะเป็นชาติใกล้เคียง)กองทัพไทย
ทหารยุโรปกับมุสลิม
ทหารเปอร์เซีย
ชาวมอญก็มีปรากฏในจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ว่าแต่งกายเหมือนเดิมครับ ผู้ชายเกล้ามวยโพกผ้า ผู้หญิงเกล้ามวยท้ายทอย จิตรกรรมรูปชาวมอญวัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา http://www.era.su.ac.th/Mural/samuthsongkram/bangkae.html
แต่พอเวลาผ่านไป ชาวมอญในไทยน่าจะรับธรรมเนียมไทยมาใช้มากขึ้น มีการแต่งกายแบบไทยมากขึ้น ดูจากนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ที่กล่าวถึงชาวมอญในปากเกร็ด ราวสมัยรัชกาลที่ ๓ ว่า
"ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา
เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย "
ส่วนเรื่องรองเท้า ผมว่าน่าจะเป็นแค่ค่านิยมของคนไทยที่ไม่นิยมสวมรองเท้าครับ ไม่น่าจะห้ามใส่ แต่ถ้าเข้าเฝ้าเจ้านายก็คงต้องถอดครับ
แสดงความคิดเห็น
การแต่งตัวของขุนนางและทหารชาวต่างชาติใน สมัยปลายอยุธยา-ธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์ เป็นยังไงครับ
2. ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่คุณคนที่ชอบตั้งกระทู้บราซิลโปรตุเกสนะครับ คือจะถามว่าชาวโปรตุเกสที่อยู่ในกองทัพเจ้าตากนี่ เป็นบรรดาลูกหลานของชาวโปรตุเกสที่อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์รึเปล่าครับ สมัยนั้นรู้สึกเค้าจะห้ามคนไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ แต่อาจจะแต่งกับชาวเอเชียอื่นๆได้ นั่นหมายความว่าชาวโปรตุเกสเหล่านี้อาจมีใบหน้าที่ออกไปทางเอเชียแล้วรึเปล่าครับ เพราะรุ่นแรกที่อพยพเข้ามาก็ผ่านไปนานพอสมควรทีเดียว แล้วเครื่องแต่งกายล่ะครับ ชาวโปรตุเกสที่เป็นชาวบ้านจะแต่งกายแบบไทยๆรึเปล่าครับ หรืออินเทรนด์ตามกระแสฝรั่งยุคศตวรรษที่ 18 ไปกับเค้าด้วย แล้วบรรดาชาวโปรตุเกสที่รับราชการหรือทหารในกองทัพอยุธยาหรือกองทัพเจ้าตากล่ะครับ พวกเค้าจะต้องแต่งตัวตามแบบทหารไทยรึเปล่า หรือแต่งแบบฝรั่งยังไงก็ได้
3. แล้วชาวมอญล่ะครับ บรรดาชาวบ้านเค้าจะโพกหัวกันมั้ย หรือไว้ผมแบบไทยๆเลย แล้วถ้าเข้ารับราชการล่ะครับ ต้องแต่งแบบไทยรึเปล่า
4. ทีนี้ข้อย้ายไปฝั่งกรุงอังวะบ้างครับ คือในสมัยพระเจ้าอลองพญาเนี่ยก็ได้มีการจับทหารฝรั่งเศสเป็นเชลย ซึ่งเชลยเหล่านี้ภายหลังก็ได้รับที่ดินปันส่วนให้อยู่อาศัย และให้เข้าเป็นทหารประจำกองทัพ แล้วทีนี้ก็มีอยู่คนนึงชื่อ Pierre de Milard ได้รับเลื่อนขั้นจนเป็นถึงเจ้าเมืองเลยทีเดียว อยากทราบว่าบรรดาทหารเหล่านี้ และท่านเจ้าเมืองผู้นี้ สามารถจะแต่งกายแบบฝรั่งได้มั้ยครับ หรือต้องแต่งกายแบบพม่าเท่านั้น
5. ทางฝั่งเวียดนามมีภาพขุนนางคนนึงเป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean-Baptiste Chaigneau เห็นมีผ้าโพกหัวแบบเวียดนาม แต่ใส่เสื้อแบบฝรั่งเศส แล้วก็รู้สึกว่ากางเกงน่าจะเป็นเวียดนามด้วยมั้ง เรียกได้ว่าจับมาฟิวชั่นกัน เป็นไปได้มั้ยครับที่ทางไทยกับพม่าจะอนุญาติให้ข้าราชการชาวต่างชาติใส่ชุดประมาณนี้