น้ำมันถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าตั้งแต่ในอดีต จนถึงกับมีการขนานนามว่า “ทองคำดำ" อันเนื่องจากประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย และราคาก็ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด จนยุคหนึ่งเชื่อกันว่าจะพุ่งไปจนถึงระดับ 200 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะมีการมองกันว่าสักวันหนึ่งน้ำมันจะหมดไปจากโลกเพราะเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์กลับตาลปัตร หลังจากที่พุ่งสูงกว่า 100 ดอลลาร์อยู่พักใหญ่ๆ ราคาก็เริ่มดำดิ่งลงจากภาวะอุปสงค์ที่ตกต่ำจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ซึ่งถ้าเป็นแต่ก่อน กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ก็มักจะใช้ไม้ตายในการกระตุ้นราคาด้วยการประกาศลดกำลังการผลิต แต่โอเปกกลับทำในสิ่งที่โลกต้องประหลาดใจ โดยยังคงกำลังการผลิตไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรล/วันในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยไม่มีทีท่าว่าจะจัดการประชุมฉุกเฉิน
เบื้องหลังที่โอเปกไม่สามารถใช้แผนลดกำลังการผลิตมาแก้ปัญหาราคาตกต่ำก็คือ ตลาดน้ำมันเริ่มมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา ซึ่งก็คือ Shale Oil หรือที่เรียกว่า หินน้ำมัน ที่เริ่มขึ้นมามีอิทธิพลในตลาด
คอลัมน์ In focus ของ InfoQuest ขอพาผู้อ่านให้มารู้จักกับ Shale Oil ดังนี้
Shale Oil คือ
เชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของหินดินดาน โดยมีอินทรีย์สารที่เรียกว่า เคโรเจน (Kerogen) ปะปนอยู่ในเนื้อหิน มักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ และเกิดจากซากพืชซากสัตว์กับตะกอนขนาดเล็กที่สะสมตัวอยู่ในแอ่งตะกอนทับถมกันจนเป็นเวลานานหลายล้านปี ความดันและอุณหภูมิก็ทำให้เกิดการแปรสภาพทำให้เกิดลักษณะยางเหนียวที่ประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนซึ่งเมื่อนำ Shale Oil ไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 500 องศาเซลเซียส ก็จะได้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา
มนุษย์รู้จัก Shale Oil มานานแล้ว แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีบวกกับต้นทุนการผลิตที่สูง เราจึงมักผลิตปิโตรเลียมจากน้ำมันดิบเหลว (Crude Oil)
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อ10 ปีที่แล้วเมื่อสหรัฐเป็นประเทศแรกผู้ค้นพบเทคโนโลยีที่เรียกว่า fracking ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตน้ำมันด้วยการผสานสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing และ Horizontal Drilling โดยจะมีการฉีดน้ำผสมสารเคมีและทรายจำนวนมหาศาลลงใต้ดินเพื่อทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน เป็นเหตุให้ Shale Oil ที่ถูกกักเก็บอยู่ระหว่างชั้นหินหลุดออกมา กระบวนการดังกล่าวไม่กระทำเฉพาะในแนวดิ่งเท่านั้น แต่ยังกระทำในแนวราบด้วย เราจึงสามารถขุดเจาะได้บริเวณกว้าง ทำให้ได้ปิโตรเลียมจำนวนมาก
แหล่ง Shale Oil ในสหรัฐ ถือเป็นแหล่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากมีปริมาณมากแล้ว ยังสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งเหตุที่สหรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวก่อนประเทศอื่นมาจากเหตุผลหลายอย่าง ประการแรกคือบริษัทเอกชนประสบความสำเร็จคิดค้นเทคโนโลยี fracking ก่อนประเทศอื่นๆ ประการที่สองคือกฎหมายสหรัฐให้ Shale Oil ที่อยู่ใต้พื้นดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน จึงเอื้อต่อการลงทุนของบริษัทเอกชน และดึงมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สามคือ สหรัฐมีโครงสร้างระบบท่อรองรับอยู่แล้ว และมีแหล่งน้ำมากเพียงพอซึ่งจำเป็นต้องใช้ในขั้นตอน hydraulic fracturing
เนื่องจาก Shale Oil ที่ผ่านกระบวนการเคมีแล้ว จะสามารถนำไปใช้งานได้ไม่ต่างจาก Crude Oil จึงเท่ากับว่า ประเทศผู้ผลิต Shale Oil กำลังท้าชนกับกลุ่มประเทศผู้ผลิต Crude Oil อย่างโอเปกแบบซึ่งๆหน้า
ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาจนถึงกลางปี 2014 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ในช่วงสูงกว่า 100 ดอลลาร์เกือบตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิต Shale Oil ฟันกำไรจากส่วนต่างของต้นทุนและราคาได้ประมาณ 35-45 ดอลลาร์ได้อย่างเต็มที่เสมอมา เป็นผลให้ปริมาณการผลิต Shale Oil ของโลก โดยเฉพาะจากสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 4-5 ปีมานี้ และได้มีอิทธิพลต่อตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
การผลิตน้ำมันจาก Shale Oil มีราคาต้นทุนสูงกว่าการผลิต Crude Oil โดยอยู่ที่ 40-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ต้นทุนของ Crude oil อยู่ที่ 20-30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งโอเปกก็รู้ถึงจุดอ่อนของ Shale Oil นี้ดี จึงเป็นที่มาของการนิ่งเฉยปล่อยให้ราคาน้ำมันดิ่งลงเรื่อยๆ โดยหวังว่าจะทำให้บริษัทที่ผลิต Shale Oil ขาดทุน และบาดเจ็บล้มตายลง เหลือเพียงโอเปกเป็นเจ้าครองตลาดน้ำมันโลกต่อไป
และจากการที่โอเปกต้องการทุบ Shale Oil ให้ตายสนิท จึงคาดว่าโอเปกจะต้องรักษาสภาวะน้ำมันล้นตลาดต่อไป เพื่อกดราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ต่ำไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จึงจะกลับมาหาทางกระตุ้นราคาน้ำมัน
แต่เกมชักขะเย่อระหว่างโอเปกและ Shale Oil นี้ เรายังคงต้องจ้องดูกันยาวๆ เนื่องจากหากโอเปกดันราคาน้ำมันขึ้นได้อีก ก็เท่ากับว่าจะปลุกบริษัท Shale Oil ฟื้นคืนชีพขึ้นมาผลิตน้ำมันอีก และถ้าในอนาคตสหรัฐสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Shale Oil ให้ก้าวกระโดด ทำให้มีต้นทุนต่ำลงกว่า 30 ดอลลาร์ ณ จุดนั้นผู้ผลิต Shale Oil ก็จะไม่ต้องกลัวโอเปกทุบราคาอีกต่อไป เพราะถ้ากล้าทำจริง ก็ต้องฉุดให้ต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้เจ็บตัวกันทุกฝ่าย
และที่แน่ๆก็คือ ตั้งแต่นี้ต่อไป โอเปกจะทำตัวเป็นขาใหญ่ผูกขาดตลาดน้ำมันเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว เพราะนอกจากจะต้องระวังการส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่ง Crude Oil ของประเทศคู่แข่งจากกลุ่มประเทศนอกโอเปก และการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆแล้ว การอุบัติขึ้นของ Shale Oil ก็เป็นแหล่งพลังงานที่จะคานอำนาจของโอเปกที่ไม่อาจมองข้ามได้ และจะช่วยให้ตลาดน้ำมันโลกสิ้นสุดยุคที่ราคาจะถูกโอเปกปั่นให้สูงขึ้นอย่างง่ายๆอีกต่อไป ซึ่งผู้บริโภคก็จะเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ
อย่างไรก็ดี แม้เราคาดว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางต่อไปอีกระยะหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ราคาจะพุ่งกระฉูดทะลุ 100 ดอลลาร์ในเร็ววัน แต่การประหยัดพลังงานก็ยังคงมีความจำเป็นต่อไปเพื่อให้มีเพียงพอไม่ใช่เฉพาะสำหรับพวกเราเองเท่านั้น แต่สำหรับรุ่นลุกรุ่นหลานและรุ่นต่อๆไปของเราด้วย
อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ
Shale Oil VS Opec คู่ท้าชิง ที่คู่ควร
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์กลับตาลปัตร หลังจากที่พุ่งสูงกว่า 100 ดอลลาร์อยู่พักใหญ่ๆ ราคาก็เริ่มดำดิ่งลงจากภาวะอุปสงค์ที่ตกต่ำจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ซึ่งถ้าเป็นแต่ก่อน กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ก็มักจะใช้ไม้ตายในการกระตุ้นราคาด้วยการประกาศลดกำลังการผลิต แต่โอเปกกลับทำในสิ่งที่โลกต้องประหลาดใจ โดยยังคงกำลังการผลิตไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรล/วันในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยไม่มีทีท่าว่าจะจัดการประชุมฉุกเฉิน
เบื้องหลังที่โอเปกไม่สามารถใช้แผนลดกำลังการผลิตมาแก้ปัญหาราคาตกต่ำก็คือ ตลาดน้ำมันเริ่มมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา ซึ่งก็คือ Shale Oil หรือที่เรียกว่า หินน้ำมัน ที่เริ่มขึ้นมามีอิทธิพลในตลาด
คอลัมน์ In focus ของ InfoQuest ขอพาผู้อ่านให้มารู้จักกับ Shale Oil ดังนี้
Shale Oil คือ
เชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของหินดินดาน โดยมีอินทรีย์สารที่เรียกว่า เคโรเจน (Kerogen) ปะปนอยู่ในเนื้อหิน มักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ และเกิดจากซากพืชซากสัตว์กับตะกอนขนาดเล็กที่สะสมตัวอยู่ในแอ่งตะกอนทับถมกันจนเป็นเวลานานหลายล้านปี ความดันและอุณหภูมิก็ทำให้เกิดการแปรสภาพทำให้เกิดลักษณะยางเหนียวที่ประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนซึ่งเมื่อนำ Shale Oil ไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 500 องศาเซลเซียส ก็จะได้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา
มนุษย์รู้จัก Shale Oil มานานแล้ว แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีบวกกับต้นทุนการผลิตที่สูง เราจึงมักผลิตปิโตรเลียมจากน้ำมันดิบเหลว (Crude Oil)
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อ10 ปีที่แล้วเมื่อสหรัฐเป็นประเทศแรกผู้ค้นพบเทคโนโลยีที่เรียกว่า fracking ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตน้ำมันด้วยการผสานสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing และ Horizontal Drilling โดยจะมีการฉีดน้ำผสมสารเคมีและทรายจำนวนมหาศาลลงใต้ดินเพื่อทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน เป็นเหตุให้ Shale Oil ที่ถูกกักเก็บอยู่ระหว่างชั้นหินหลุดออกมา กระบวนการดังกล่าวไม่กระทำเฉพาะในแนวดิ่งเท่านั้น แต่ยังกระทำในแนวราบด้วย เราจึงสามารถขุดเจาะได้บริเวณกว้าง ทำให้ได้ปิโตรเลียมจำนวนมาก
แหล่ง Shale Oil ในสหรัฐ ถือเป็นแหล่งที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากมีปริมาณมากแล้ว ยังสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งเหตุที่สหรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวก่อนประเทศอื่นมาจากเหตุผลหลายอย่าง ประการแรกคือบริษัทเอกชนประสบความสำเร็จคิดค้นเทคโนโลยี fracking ก่อนประเทศอื่นๆ ประการที่สองคือกฎหมายสหรัฐให้ Shale Oil ที่อยู่ใต้พื้นดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน จึงเอื้อต่อการลงทุนของบริษัทเอกชน และดึงมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สามคือ สหรัฐมีโครงสร้างระบบท่อรองรับอยู่แล้ว และมีแหล่งน้ำมากเพียงพอซึ่งจำเป็นต้องใช้ในขั้นตอน hydraulic fracturing
เนื่องจาก Shale Oil ที่ผ่านกระบวนการเคมีแล้ว จะสามารถนำไปใช้งานได้ไม่ต่างจาก Crude Oil จึงเท่ากับว่า ประเทศผู้ผลิต Shale Oil กำลังท้าชนกับกลุ่มประเทศผู้ผลิต Crude Oil อย่างโอเปกแบบซึ่งๆหน้า
ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาจนถึงกลางปี 2014 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ในช่วงสูงกว่า 100 ดอลลาร์เกือบตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิต Shale Oil ฟันกำไรจากส่วนต่างของต้นทุนและราคาได้ประมาณ 35-45 ดอลลาร์ได้อย่างเต็มที่เสมอมา เป็นผลให้ปริมาณการผลิต Shale Oil ของโลก โดยเฉพาะจากสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 4-5 ปีมานี้ และได้มีอิทธิพลต่อตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
การผลิตน้ำมันจาก Shale Oil มีราคาต้นทุนสูงกว่าการผลิต Crude Oil โดยอยู่ที่ 40-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ต้นทุนของ Crude oil อยู่ที่ 20-30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งโอเปกก็รู้ถึงจุดอ่อนของ Shale Oil นี้ดี จึงเป็นที่มาของการนิ่งเฉยปล่อยให้ราคาน้ำมันดิ่งลงเรื่อยๆ โดยหวังว่าจะทำให้บริษัทที่ผลิต Shale Oil ขาดทุน และบาดเจ็บล้มตายลง เหลือเพียงโอเปกเป็นเจ้าครองตลาดน้ำมันโลกต่อไป
และจากการที่โอเปกต้องการทุบ Shale Oil ให้ตายสนิท จึงคาดว่าโอเปกจะต้องรักษาสภาวะน้ำมันล้นตลาดต่อไป เพื่อกดราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ต่ำไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จึงจะกลับมาหาทางกระตุ้นราคาน้ำมัน
แต่เกมชักขะเย่อระหว่างโอเปกและ Shale Oil นี้ เรายังคงต้องจ้องดูกันยาวๆ เนื่องจากหากโอเปกดันราคาน้ำมันขึ้นได้อีก ก็เท่ากับว่าจะปลุกบริษัท Shale Oil ฟื้นคืนชีพขึ้นมาผลิตน้ำมันอีก และถ้าในอนาคตสหรัฐสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Shale Oil ให้ก้าวกระโดด ทำให้มีต้นทุนต่ำลงกว่า 30 ดอลลาร์ ณ จุดนั้นผู้ผลิต Shale Oil ก็จะไม่ต้องกลัวโอเปกทุบราคาอีกต่อไป เพราะถ้ากล้าทำจริง ก็ต้องฉุดให้ต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้เจ็บตัวกันทุกฝ่าย
และที่แน่ๆก็คือ ตั้งแต่นี้ต่อไป โอเปกจะทำตัวเป็นขาใหญ่ผูกขาดตลาดน้ำมันเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว เพราะนอกจากจะต้องระวังการส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่ง Crude Oil ของประเทศคู่แข่งจากกลุ่มประเทศนอกโอเปก และการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆแล้ว การอุบัติขึ้นของ Shale Oil ก็เป็นแหล่งพลังงานที่จะคานอำนาจของโอเปกที่ไม่อาจมองข้ามได้ และจะช่วยให้ตลาดน้ำมันโลกสิ้นสุดยุคที่ราคาจะถูกโอเปกปั่นให้สูงขึ้นอย่างง่ายๆอีกต่อไป ซึ่งผู้บริโภคก็จะเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ
อย่างไรก็ดี แม้เราคาดว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางต่อไปอีกระยะหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ราคาจะพุ่งกระฉูดทะลุ 100 ดอลลาร์ในเร็ววัน แต่การประหยัดพลังงานก็ยังคงมีความจำเป็นต่อไปเพื่อให้มีเพียงพอไม่ใช่เฉพาะสำหรับพวกเราเองเท่านั้น แต่สำหรับรุ่นลุกรุ่นหลานและรุ่นต่อๆไปของเราด้วย
อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ