ความยิ่งใหญ่ อลังการของวัดพระธรรมกายที่ตั้งอยู่บนคลองสาม อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี บนเนื้อที่ 2,000 ไร่ โดยสามารถรองรับผู้คนที่หลั่งไหลเดินทางมาร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ทางวัดธรรมกายจัดขึ้น ได้กว่าจำนวน 1 ล้านคน
ทว่า ด้วยจำนวนผู้คนที่ศรัทธาลัทธิธรรมกาย จ.ปทุมธานีก็ว่ามีจำนวนมากแล้ว วัดดังกล่าวยังได้แผ่ขยายลัทธิ กระจายสาขาอยู่ในต่างประเทศ มากกว่า 40 สาขาด้วยกัน โดยกระจายครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่อเมริกา แคนาดา ภาคพื้นแอฟริกา ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย ภาคพื้นภูมิภาคตะวันออกกลาง และภาคพื้นโอเชียเนีย
และทุกสาขาก็จะมีทีมงานในรูปแบบพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนสมาธิตามแบบฉบับธรรมกาย ส่วนทีมงานเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมศีลธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย
ทั้งนี้ ที่วัดพระธรรมกายได้เติบโตขึ้นมาจนเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้นั้น การตลาดจึงเป็นหัวใจสำคัญของวัดพระธรรมกายที่ใช้เผยแผ่ชื่อเสียง และคำสอนที่บิดเบือนพระธรรมวินัย ให้ปรากฏไปอย่างกว้างขวาง เพื่อหวังยอดเงินบริจาคจำนวนมาก
ดังนั้น ทำให้ตลอดระยะเวลา กว่า44 ปี ตั้งแต่ที่วัดพระธรรมกายได้ก่อตั้งขึ้นประสบความสำเร็จอย่างสูง ด้วยกลยุทธ์การตลาดซึ่งเป็นพุทธพาณิชย์อันรุนแรงสืบมา มีเครื่องมือทั้งการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เป็นตัวกระตุ้นยอดเงินบริจาคจำนวนมาก ให้ตรงกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ในแต่ละปี
อย่างล่าสุด การตลาดที่เพิ่งผ่านพ้นไปของวัดพระธรรมกาย คือการจัดกิจกรรม ภายใต้โครงการ ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก ครั้งที่ 4 วันที่ 2 – 31 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา โดยจะมีพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 1,130รูป ออกมาเดินเรียงแถว โดยใช้เวลา 1 เดือน เดินไปตามเส้นทางผ่าน 7จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร รวมระยะทางกว่า 485กิโลเมตร และให้ประชาชนนำดอกดาวเรือง ที่วัดพระธรรมกายตั้งชื่อขึ้นใหม่ว่า ดาวรวย ทำการตั้งจิตอธิตฐานตามแนวคำสอนฉบับธรรมกาย พร้อมทั้งโปรยดอกดาวรวยไปตามทางเดินให้พระสงฆ์เหยียบย่ำ และก็จะมีเหรียญที่ระลึกสำหรับผู้ที่โปรยดอกดาวรวย โดยเหรียญจะมีลักษณะเจ็ดเหลี่ยม สีทองสวยงาม ด้านหน้าปั้มนูนเป็นหลวงปู่สด ส่วนด้านหลัง มีตัวอักษรเขียนไว้ว่า ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียจารย์
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การตลาดของวัดพระธรรมกาย ที่ได้ใช้สร้างกระบวนการจดจำในกิจกรรมที่จัดขึ้น นั่นก็คือ พระสงฆ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีการสวมใส่จีวรที่ทางวัดพระธรรมกายได้เตรียมไว้ให้ เป็นสีเดียวกันทั้งหมด เดินถือปักกรด พร้อมมีเทวรถเคลื่อนตามข้างๆ เพื่อให้ภาพที่ถ่ายออกมาดูสวยงาม โดยเฉพาะภาพถ่ายที่เป็นไฮไลท์ อย่างภาพมุมกว้าง ที่มีพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกิจกรรมนั่งเรียงแถวเป็นระเบียบ ตรงกลางเป็นเทวรถ ส่วนฉากหลังเป็นมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือที่เรียกกันว่า รูปทรงจานบิน ปรากฏให้เห็นเป็นภาพสุดอลังการ
นอกจากนั้นแล้ว วัดพระธรรมกายยังมีโครงการอีกมากมาย เช่น โครงการอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000รูป ในปี 2558 โครงการตักบาตรพระ 2,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ปี 2558 โครงการปฏิบัติธรรมของพีซเรฟ โวลูชั่น ที่จัดมาต่อเนื่องโดยครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 13 โครงการสร้างโลกสวยสดใส ด้วยสันติสุข ภายใน 24 น. โครงการร่วมสถาปนา อาคารบุญรักษา มหากุศลครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งอาคารนี้จะใช้ดูแลรักษาแลฟื้นฟูสุขภาพ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรแบบครบวงจร รวมไปถึง รับสมัครบวชพระ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าวัดพระธรรมกายได้ผุดโครงการขึ้นมากมาย และแต่ละโครงการก็ดูน่าตื่นตา ตื่นใจ ด้วยจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม และนั่นก็ทำให้เกิดกระแสหลั่งไหลศรัทธา ระดมเงินบริจาคเข้าวัด รวมถึงสื่อที่เป็นเครื่องมือให้วัดพระธรรมกายที่ครบทุกประเภทสำหรับการทำการตลาด อาทิ สื่อเว็บไซต์, แฟนเพจ, วิทยุ, ยูทิวบ์, สื่อทีวีดาวเทียมช่อง DMC, ละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก, วารสาร, SMS, ซีดี,ใบปลิว ฯ
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 33017 วันที่ 1-13 ธันวาคม 2541 ได้นำเสนอเรื่องกลยุทธ์การตลาดธรรมกายชื่อเรื่องว่า “สาธุ กลยุทธ์ธรรมกาย
เจาะตลาดดูด 'หมื่นล้าน' การตลาดแบบ 'ธรรมกาย' ” ประกอบไปด้วย
1.สร้างบุญให้เป็นสินค้า
2.สร้างทีมขายแบบลูกโซ่
3.ใช้กลยุทธ์เคาะประตูเป็นอาวุธ
4.ใช้ลูกแก้วเป็นเครื่องหมายการค้า
5.ใช้ไลต์แอนด์ซาวน์ดึงดูดลูกค้า
6.โหมโฆษณาอย่างหนัก
โดยเนื้อหาได้เขียนอธิบายถึงกลยุทธ์ดังกล่าวว่าเมื่อวิเคราะห์พุทธพาณิชย์แบบธรรมกายออกมา ซึ่งใช้ตลาดนำหน้าศาสนาด้วยวิธีสร้างบุญให้เป็นสินค้า มีการตั้งทีมขายแบบลูกโซ่ พร้อมทั้งเปิดคอร์สอบรมทีมเซลล์ ออกเคาะประตูเรี่ยไรถึงบ้านญาติโยม ดึงเงินบริจาคนับหมื่นล้าน เผยทีเด็ดใช้ไลต์แอน์ซาวน์ จัดฉากสร้างความน่าเชื่อถือ
พร้อมทั้งอธิบายต่อไปว่าธรรมกายมีวิธีทำบุญให้เป็นสินค้า ซึ่งธรรมกายรู้ดีว่า พุทธศาสนาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีหลักธรรมที่เป็นอมตะมากมาย แต่มีปัญหาที่มาร์เกตติ้ง ทำให้ขายยาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ธรรมกายทำก็คือ ต้องทำบุญ ให้เป็นสินค้าให้ได้ และยุทธศาตร์
ที่สำคัญก็คือแผนการตลาดที่ธรรมกายจะต้องอำนวยสะดวกเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้า หรือเข้าถึงบุญได้อย่างรวดเร็ว สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้คือ รถบริการรับส่ง มีแผนกต้อนรับ มีเต้นท์ขายอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพื่อทำบุญทุกอย่าง แม้กระทั่งชุดขาว สำหรับผู้เพิ่งมาวัดเป็นครั้งแรกๆ
การทำบุญให้เป็นสินค้า ทำให้คนที่มาทำบุญกับวัดพระธรรมกายได้ความสบายใจกลับไป แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่การบริจาคเงินให้กับวัด ส่วนทางวัดก็เผยแผ่คำสอนอันบิดเบือนอวดอุตริมนุสธรรม ทำให้ศาสนามัวหมอง
อย่างไรก็ตามวัดพระธรรมกายได้ทำให้คนที่มาทำบุญเชื่อถือ ศรัทธา เรื่องของการตลาดวัดพระธรรมกาย ยังมีตื้น ลึก หนา บางอีกมาก ซึ่งเมื่อย้อนกลับไป ในช่วงที่วัดพระธรรมกายมีความต้องการระดมเงินบริจาคมหาศาลจากญาติโยม จึงได้วางโครงการใหญ่ขึ้นมา
โดยแผนการเรี่ยไรเงินบริจาคครั้งใหญ่ เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2537 โดยจากหนังสือแฟ้มคดีธรรมกาย ได้ตีแผ่ นำเสนอถึงเบื้องหลัง กรณีผลประโยชน์และรายได้ของพระธมมฺชโย เอาไว้ว่าเมื่อเจ้าอาวาสได้มีการปรับแผนการก่อสร้างโดยยกเลิก โครงการปทุมเจดีย์ มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งโลก และโครงการอุทยานไม้หอม มาเป็นโครงการที่มีศักยภาพในการระดมทุนและง่ายต่อโครงสร้างการกำหนดราคา รวมทั้งการทำยอดรายได้ ซึ่งรู้จักกันดีภายใต้ “โครงการมหาธรรมกายเจดีย์”
โดยในช่วงที่เริ่มตอกเสาเข็มมหาธรรมกายเจดีย์ในปี 2538 ยอดบริจาคได้พุ่งขึ้นสูงเป็นจำนวนมาก โดยยอดที่ตั้งเอาไว้สำหรับพระธรรมกายประจำตัวในครั้งแรก จากเดิม 84,000 องค์ ทว่า เมื่อคาดคะเนรายได้ในปีนั้นว่าน่าจะสูงกว่าระดับ 20,000 ล้านบาทแน่นอน ทำให้ต่อมาหลังจากที่โครงการดังกล่าวคืบหน้าไปกว่า 60 % แล้ว พบว่าตัวเลขยอดบริจาคเงินพุ่งเกินเป้า จึงทำให้วัดธรรมกายเปลี่ยนแปลงยอดจำนวนพระธรรมกายประจำตัวจาก 84,000 องค์ ไปเป็น 300,000 , 500,000 และ 700,000 องค์ ตามลำดับ จนกระทั่งเจ้าอาวาสได้เพิ่มยอดพระธรรมกายประจำองค์ไปจนถึง 1 ล้านองค์
และเมื่อคำนวณรายได้จากเปอร์เซ็นของยอดที่เพิ่มขึ้นในระยะ 1 -2 ปีที่ผ่านมา น่าจะได้รับยอดเงินบริจาคในส่วนนี้ทั้งสิ้น ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเมื่อรวมรายได้จากโครงการระดมทุน มหาธรรมกายเจดีย์ 2 ปี มีรายได้เกือบ 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า มียอดที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อบูชาพระธรรมกายประจำตัวทองคำแท้ ในราคาองค์ละ 1 ล้านบาท อีกจำนวนมาก โดยตอนนั้นวัดธรรมกายอ้างว่าเพื่อประดิษฐานในยอดโดมมหาวิสุทธิบัลลังค์ (Cladding for Buddha Image) ร่วมกับพระพุทธรูปเงิน 14 ตัน อีกทั้งยังมีการระดมทุนของวัดสาขาในต่างประเทศจำนวน 37 แห่ง และเรี่ยไรระดมทุนผ่านศูนย์ปฏิบัติธรรมของธรรมกายที่กระจายเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
แต่ทว่า ก็ต้องเป็นที่ประหลาดใจ เมื่อทางมูลนิธิธรรมกายได้แจ้งเอกสารรายงานงบดุลและรายจ่ายของมูลนิธิวัดธรรมกาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541
โดยระบุไว้ว่า “มูลนิธิธรรมกายมีสินทรัพย์ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 รวมทั้งสิ้นเพียง 171,396,277.52 บาท มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เป็นเงินสด 3,089,289.52 บาท มีรายได้จากการบริจาคทั้งสิ้น 1,907,844.75 บาท เมื่อหักลบบัญชีรายจ่าย มีรายรับสูงกว่ารายจ่ายสิ้นปี เหลือเป็นจำนวนเงิน 1,453,736.14 บาท”
และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สังคมวิพากษ์ วิจารณ์ทั้งเรื่องยักยอกเงินบริจาค และบิดเบือนคำสอนพระธรรมวินัย มาโดยตลอด
การตลาดที่วัดพระธรรมกายใช้จึงเป็นการหารายได้เข้าวัด ซึ่งสร้างความเคลือบแคลง สงสัยแก่สังคม จนวัดพระธรรมกายถูกสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ขึ้นบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ และยังได้รับกิตติศัพท์ว่า แหล่งพุทธพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วัดพระธรรมกายก็ได้มีการดำเนินกิจกรรมการตลาดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ยังคงมีการใช้การตลาดอันเข้มข้นเพื่อหาเงินบริจาคเข้าวัด อย่างขั้นตอนสำหรับผู้ที่มาวัดพระธรรมกาย สาวกของที่นี่จะมาในทุกต้นเดือนซึ่งก็จะมีการทำบุญถวายข้าวพระ จากนั้นก็เป็นการถวายสังฆฐาน ที่กำหนดชุดละ 100 บาท มีการนั่งสมาธิ ที่วัดธรรมกายมีการเทศน์ให้ฟังตามหลักคำสอนเฉพาะ
เสร็จจากนั้นก็จะเลือกบริจาคเงินให้แก่ กองทุนซึ่งมีหลายกองทุนด้วยกัน อาทิ กองทุนบูชาข้าวพระ กองทุนยารักษาโรค กองทุนหนังสือธรรมะเพื่อประชาชน กองทุนผ้าไตรจีวร กองทุนบวชพระภิกษุ สามเณร ฯ โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบเงินบริจาคเหล่านั้นได้เลย
รวมไปถึงการให้กัลญาณมิตรออกเรี่ยไรเงิน โดยจะให้คนที่มาทำบุญกับวัดพระธรรมกาย ตระเวนบอกบุญตามชุมชน และหมู่บ้าน ด้วยวิธีการเคาะประตู และแจกใบปลิว เช่น ใบปลิวโครงการอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000รูป ในปี 2558 ใบปลิวโครงการตักบาตรพระ 2,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ปี 2558 ฯลฯ
รวมถึงการบริจาคจัดกฐินและผ้าป่าสามัคคี ที่ทางวัดธรรมกายจัดทอดผ้าป่าทุกวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นมหาทรัพย์เลยทีเดียว
และนี่ก็คือ“ธรรมกาย”เวิล์ดโปรเจค ที่มีการตลาดชั้นเซียน เป็นพุทธพาณิชย์ที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุด
“ธรรมกาย”เวิล์ดโปรเจค กับกิจกรรมการตลาดและวีธีการเรี่ยไร
ทว่า ด้วยจำนวนผู้คนที่ศรัทธาลัทธิธรรมกาย จ.ปทุมธานีก็ว่ามีจำนวนมากแล้ว วัดดังกล่าวยังได้แผ่ขยายลัทธิ กระจายสาขาอยู่ในต่างประเทศ มากกว่า 40 สาขาด้วยกัน โดยกระจายครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่อเมริกา แคนาดา ภาคพื้นแอฟริกา ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย ภาคพื้นภูมิภาคตะวันออกกลาง และภาคพื้นโอเชียเนีย
และทุกสาขาก็จะมีทีมงานในรูปแบบพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนสมาธิตามแบบฉบับธรรมกาย ส่วนทีมงานเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมศีลธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย
ทั้งนี้ ที่วัดพระธรรมกายได้เติบโตขึ้นมาจนเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้นั้น การตลาดจึงเป็นหัวใจสำคัญของวัดพระธรรมกายที่ใช้เผยแผ่ชื่อเสียง และคำสอนที่บิดเบือนพระธรรมวินัย ให้ปรากฏไปอย่างกว้างขวาง เพื่อหวังยอดเงินบริจาคจำนวนมาก
ดังนั้น ทำให้ตลอดระยะเวลา กว่า44 ปี ตั้งแต่ที่วัดพระธรรมกายได้ก่อตั้งขึ้นประสบความสำเร็จอย่างสูง ด้วยกลยุทธ์การตลาดซึ่งเป็นพุทธพาณิชย์อันรุนแรงสืบมา มีเครื่องมือทั้งการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เป็นตัวกระตุ้นยอดเงินบริจาคจำนวนมาก ให้ตรงกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ในแต่ละปี
อย่างล่าสุด การตลาดที่เพิ่งผ่านพ้นไปของวัดพระธรรมกาย คือการจัดกิจกรรม ภายใต้โครงการ ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก ครั้งที่ 4 วันที่ 2 – 31 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา โดยจะมีพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 1,130รูป ออกมาเดินเรียงแถว โดยใช้เวลา 1 เดือน เดินไปตามเส้นทางผ่าน 7จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร รวมระยะทางกว่า 485กิโลเมตร และให้ประชาชนนำดอกดาวเรือง ที่วัดพระธรรมกายตั้งชื่อขึ้นใหม่ว่า ดาวรวย ทำการตั้งจิตอธิตฐานตามแนวคำสอนฉบับธรรมกาย พร้อมทั้งโปรยดอกดาวรวยไปตามทางเดินให้พระสงฆ์เหยียบย่ำ และก็จะมีเหรียญที่ระลึกสำหรับผู้ที่โปรยดอกดาวรวย โดยเหรียญจะมีลักษณะเจ็ดเหลี่ยม สีทองสวยงาม ด้านหน้าปั้มนูนเป็นหลวงปู่สด ส่วนด้านหลัง มีตัวอักษรเขียนไว้ว่า ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียจารย์
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การตลาดของวัดพระธรรมกาย ที่ได้ใช้สร้างกระบวนการจดจำในกิจกรรมที่จัดขึ้น นั่นก็คือ พระสงฆ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีการสวมใส่จีวรที่ทางวัดพระธรรมกายได้เตรียมไว้ให้ เป็นสีเดียวกันทั้งหมด เดินถือปักกรด พร้อมมีเทวรถเคลื่อนตามข้างๆ เพื่อให้ภาพที่ถ่ายออกมาดูสวยงาม โดยเฉพาะภาพถ่ายที่เป็นไฮไลท์ อย่างภาพมุมกว้าง ที่มีพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกิจกรรมนั่งเรียงแถวเป็นระเบียบ ตรงกลางเป็นเทวรถ ส่วนฉากหลังเป็นมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือที่เรียกกันว่า รูปทรงจานบิน ปรากฏให้เห็นเป็นภาพสุดอลังการ
นอกจากนั้นแล้ว วัดพระธรรมกายยังมีโครงการอีกมากมาย เช่น โครงการอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000รูป ในปี 2558 โครงการตักบาตรพระ 2,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ปี 2558 โครงการปฏิบัติธรรมของพีซเรฟ โวลูชั่น ที่จัดมาต่อเนื่องโดยครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 13 โครงการสร้างโลกสวยสดใส ด้วยสันติสุข ภายใน 24 น. โครงการร่วมสถาปนา อาคารบุญรักษา มหากุศลครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งอาคารนี้จะใช้ดูแลรักษาแลฟื้นฟูสุขภาพ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรแบบครบวงจร รวมไปถึง รับสมัครบวชพระ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าวัดพระธรรมกายได้ผุดโครงการขึ้นมากมาย และแต่ละโครงการก็ดูน่าตื่นตา ตื่นใจ ด้วยจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม และนั่นก็ทำให้เกิดกระแสหลั่งไหลศรัทธา ระดมเงินบริจาคเข้าวัด รวมถึงสื่อที่เป็นเครื่องมือให้วัดพระธรรมกายที่ครบทุกประเภทสำหรับการทำการตลาด อาทิ สื่อเว็บไซต์, แฟนเพจ, วิทยุ, ยูทิวบ์, สื่อทีวีดาวเทียมช่อง DMC, ละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก, วารสาร, SMS, ซีดี,ใบปลิว ฯ
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 33017 วันที่ 1-13 ธันวาคม 2541 ได้นำเสนอเรื่องกลยุทธ์การตลาดธรรมกายชื่อเรื่องว่า “สาธุ กลยุทธ์ธรรมกาย
เจาะตลาดดูด 'หมื่นล้าน' การตลาดแบบ 'ธรรมกาย' ” ประกอบไปด้วย
1.สร้างบุญให้เป็นสินค้า
2.สร้างทีมขายแบบลูกโซ่
3.ใช้กลยุทธ์เคาะประตูเป็นอาวุธ
4.ใช้ลูกแก้วเป็นเครื่องหมายการค้า
5.ใช้ไลต์แอนด์ซาวน์ดึงดูดลูกค้า
6.โหมโฆษณาอย่างหนัก
โดยเนื้อหาได้เขียนอธิบายถึงกลยุทธ์ดังกล่าวว่าเมื่อวิเคราะห์พุทธพาณิชย์แบบธรรมกายออกมา ซึ่งใช้ตลาดนำหน้าศาสนาด้วยวิธีสร้างบุญให้เป็นสินค้า มีการตั้งทีมขายแบบลูกโซ่ พร้อมทั้งเปิดคอร์สอบรมทีมเซลล์ ออกเคาะประตูเรี่ยไรถึงบ้านญาติโยม ดึงเงินบริจาคนับหมื่นล้าน เผยทีเด็ดใช้ไลต์แอน์ซาวน์ จัดฉากสร้างความน่าเชื่อถือ
พร้อมทั้งอธิบายต่อไปว่าธรรมกายมีวิธีทำบุญให้เป็นสินค้า ซึ่งธรรมกายรู้ดีว่า พุทธศาสนาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีหลักธรรมที่เป็นอมตะมากมาย แต่มีปัญหาที่มาร์เกตติ้ง ทำให้ขายยาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ธรรมกายทำก็คือ ต้องทำบุญ ให้เป็นสินค้าให้ได้ และยุทธศาตร์
ที่สำคัญก็คือแผนการตลาดที่ธรรมกายจะต้องอำนวยสะดวกเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้า หรือเข้าถึงบุญได้อย่างรวดเร็ว สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้คือ รถบริการรับส่ง มีแผนกต้อนรับ มีเต้นท์ขายอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพื่อทำบุญทุกอย่าง แม้กระทั่งชุดขาว สำหรับผู้เพิ่งมาวัดเป็นครั้งแรกๆ
การทำบุญให้เป็นสินค้า ทำให้คนที่มาทำบุญกับวัดพระธรรมกายได้ความสบายใจกลับไป แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่การบริจาคเงินให้กับวัด ส่วนทางวัดก็เผยแผ่คำสอนอันบิดเบือนอวดอุตริมนุสธรรม ทำให้ศาสนามัวหมอง
อย่างไรก็ตามวัดพระธรรมกายได้ทำให้คนที่มาทำบุญเชื่อถือ ศรัทธา เรื่องของการตลาดวัดพระธรรมกาย ยังมีตื้น ลึก หนา บางอีกมาก ซึ่งเมื่อย้อนกลับไป ในช่วงที่วัดพระธรรมกายมีความต้องการระดมเงินบริจาคมหาศาลจากญาติโยม จึงได้วางโครงการใหญ่ขึ้นมา
โดยแผนการเรี่ยไรเงินบริจาคครั้งใหญ่ เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2537 โดยจากหนังสือแฟ้มคดีธรรมกาย ได้ตีแผ่ นำเสนอถึงเบื้องหลัง กรณีผลประโยชน์และรายได้ของพระธมมฺชโย เอาไว้ว่าเมื่อเจ้าอาวาสได้มีการปรับแผนการก่อสร้างโดยยกเลิก โครงการปทุมเจดีย์ มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งโลก และโครงการอุทยานไม้หอม มาเป็นโครงการที่มีศักยภาพในการระดมทุนและง่ายต่อโครงสร้างการกำหนดราคา รวมทั้งการทำยอดรายได้ ซึ่งรู้จักกันดีภายใต้ “โครงการมหาธรรมกายเจดีย์”
โดยในช่วงที่เริ่มตอกเสาเข็มมหาธรรมกายเจดีย์ในปี 2538 ยอดบริจาคได้พุ่งขึ้นสูงเป็นจำนวนมาก โดยยอดที่ตั้งเอาไว้สำหรับพระธรรมกายประจำตัวในครั้งแรก จากเดิม 84,000 องค์ ทว่า เมื่อคาดคะเนรายได้ในปีนั้นว่าน่าจะสูงกว่าระดับ 20,000 ล้านบาทแน่นอน ทำให้ต่อมาหลังจากที่โครงการดังกล่าวคืบหน้าไปกว่า 60 % แล้ว พบว่าตัวเลขยอดบริจาคเงินพุ่งเกินเป้า จึงทำให้วัดธรรมกายเปลี่ยนแปลงยอดจำนวนพระธรรมกายประจำตัวจาก 84,000 องค์ ไปเป็น 300,000 , 500,000 และ 700,000 องค์ ตามลำดับ จนกระทั่งเจ้าอาวาสได้เพิ่มยอดพระธรรมกายประจำองค์ไปจนถึง 1 ล้านองค์
และเมื่อคำนวณรายได้จากเปอร์เซ็นของยอดที่เพิ่มขึ้นในระยะ 1 -2 ปีที่ผ่านมา น่าจะได้รับยอดเงินบริจาคในส่วนนี้ทั้งสิ้น ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเมื่อรวมรายได้จากโครงการระดมทุน มหาธรรมกายเจดีย์ 2 ปี มีรายได้เกือบ 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า มียอดที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อบูชาพระธรรมกายประจำตัวทองคำแท้ ในราคาองค์ละ 1 ล้านบาท อีกจำนวนมาก โดยตอนนั้นวัดธรรมกายอ้างว่าเพื่อประดิษฐานในยอดโดมมหาวิสุทธิบัลลังค์ (Cladding for Buddha Image) ร่วมกับพระพุทธรูปเงิน 14 ตัน อีกทั้งยังมีการระดมทุนของวัดสาขาในต่างประเทศจำนวน 37 แห่ง และเรี่ยไรระดมทุนผ่านศูนย์ปฏิบัติธรรมของธรรมกายที่กระจายเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
แต่ทว่า ก็ต้องเป็นที่ประหลาดใจ เมื่อทางมูลนิธิธรรมกายได้แจ้งเอกสารรายงานงบดุลและรายจ่ายของมูลนิธิวัดธรรมกาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541
โดยระบุไว้ว่า “มูลนิธิธรรมกายมีสินทรัพย์ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 รวมทั้งสิ้นเพียง 171,396,277.52 บาท มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เป็นเงินสด 3,089,289.52 บาท มีรายได้จากการบริจาคทั้งสิ้น 1,907,844.75 บาท เมื่อหักลบบัญชีรายจ่าย มีรายรับสูงกว่ารายจ่ายสิ้นปี เหลือเป็นจำนวนเงิน 1,453,736.14 บาท”
และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สังคมวิพากษ์ วิจารณ์ทั้งเรื่องยักยอกเงินบริจาค และบิดเบือนคำสอนพระธรรมวินัย มาโดยตลอด
การตลาดที่วัดพระธรรมกายใช้จึงเป็นการหารายได้เข้าวัด ซึ่งสร้างความเคลือบแคลง สงสัยแก่สังคม จนวัดพระธรรมกายถูกสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ขึ้นบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ และยังได้รับกิตติศัพท์ว่า แหล่งพุทธพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วัดพระธรรมกายก็ได้มีการดำเนินกิจกรรมการตลาดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ยังคงมีการใช้การตลาดอันเข้มข้นเพื่อหาเงินบริจาคเข้าวัด อย่างขั้นตอนสำหรับผู้ที่มาวัดพระธรรมกาย สาวกของที่นี่จะมาในทุกต้นเดือนซึ่งก็จะมีการทำบุญถวายข้าวพระ จากนั้นก็เป็นการถวายสังฆฐาน ที่กำหนดชุดละ 100 บาท มีการนั่งสมาธิ ที่วัดธรรมกายมีการเทศน์ให้ฟังตามหลักคำสอนเฉพาะ
เสร็จจากนั้นก็จะเลือกบริจาคเงินให้แก่ กองทุนซึ่งมีหลายกองทุนด้วยกัน อาทิ กองทุนบูชาข้าวพระ กองทุนยารักษาโรค กองทุนหนังสือธรรมะเพื่อประชาชน กองทุนผ้าไตรจีวร กองทุนบวชพระภิกษุ สามเณร ฯ โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบเงินบริจาคเหล่านั้นได้เลย
รวมไปถึงการให้กัลญาณมิตรออกเรี่ยไรเงิน โดยจะให้คนที่มาทำบุญกับวัดพระธรรมกาย ตระเวนบอกบุญตามชุมชน และหมู่บ้าน ด้วยวิธีการเคาะประตู และแจกใบปลิว เช่น ใบปลิวโครงการอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000รูป ในปี 2558 ใบปลิวโครงการตักบาตรพระ 2,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ปี 2558 ฯลฯ
รวมถึงการบริจาคจัดกฐินและผ้าป่าสามัคคี ที่ทางวัดธรรมกายจัดทอดผ้าป่าทุกวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นมหาทรัพย์เลยทีเดียว
และนี่ก็คือ“ธรรมกาย”เวิล์ดโปรเจค ที่มีการตลาดชั้นเซียน เป็นพุทธพาณิชย์ที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุด