ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนเลยว่านี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งถ้าใครไม่เห็นด้วยผมก็ถือว่าเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคลนะครับ
เพราะหนังหลายๆเรื่องที่ผมไม่ชอบ คนอื่นอาจจะชอบ ซึ่งมันเป็นเรื่องของความชอบจริงๆ
เพียงแต่อยากอธิบายความคิดเห็นส่วนตัวว่าหนังดีกรีออสก้าเรื่องนี้ไม่ได้มีดีแค่ถ่ายทำ 12 ปีอย่างที่หลายๆคนชอบพูดกัน
ผมมีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง Boyhood มาเมื่อหลายเดือนที่แล้วก่อนงานประกาศรางวัลต่างๆจะเริ่มประกาศ
แต่เพิ่งได้มาอ่านกระทู้หลังจากผลประกาศออสการ์ได้ประกาศ
(ฺBirdman ผมก็ชอบนะ จริงๆแล้วสองเรื่องนี้มีอะไรคล้ายๆกันเยอะเหมือนกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1.ไม่ได้เป็นหนังที่สนุกในการดูพล็อตดำเนิน แต่เป็นหนังที่สนุกกับการได้คิดตาม และการขบคิดถึงสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อ
2.เป็นหนังที่นำเสนอความสมจริง เรื่องหนึ่งด้วยความต่อเนื่องของการถ่ายทำที่ใช้เวลาและนักแสดง อีกเรื่องหนึ่งโดยการใช้เทคนิคภาพแบบไร้รอยต่อทอเต็มเรื่อง
3.เป็นหนังที่ดูเรื่อยๆ อาจจะน่าเบื่อและอึดอัดพอๆกัน
4.เป็นหนังที่เล่าถึง "ชีวิต"
ผมดูหนังสองเรื่องนี้แค่ อย่างละ 1 รอบ เพราะถือเป็นการวัดว่าตัวหนังทำออกมาได้ดีและเข้าถึงคนดูได้มากขนาดไหน
ไม่อยากให้เอามาเปรียบเทียบกันเท่าไหร่ เพราะหนังทั้งสองเรื่องมันมีดีในตัวมันเอง)
จากการอ่านความเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ การถ่ายทำด้วยเวลา 12 ปีเต็มของ Boyhood ค่อนข้างที่จะประเด็นพอสมควรในแง่ของคุณค่าจริงๆของตัวหนัง โดยมีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย บ้างว่าเสียดายที่ถ่ายตั้ง 12 ปี แต่ชวดกับรางวัลไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนอีกฝ่ายมองว่า outcome ของหนังมันไม่ได้ดี และคนให้ค่ากับการถ่ายทำนานมากเกินไป ซึ่งทั้งสองความคิดเห็นมันก็มีประเด็นหลายๆประเด็นที่ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย เพราะตามจริงการถ่าย 12 ปีถูกเหมือนมันอาจจะเด่นจนคนนำมาเชิดชูมากเกินไป จนมองข้ามประเด็นจริงๆของหนัง จนหลายคนมองว่ามันเป็นเสมือนข้อเด่นของหนังอย่างเดียวเสียแล้ว แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย ในอีกแง่มุมมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า การถ่ายทำ 12ปีนี้ มันเป็นเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใครในการถ่ายทำ
เรียกได้ว่าหนังแบบนี้คงทำได้ครั้งเดียวในชีวิตชนิดที่ว่าถ้าใครทำเลียนแบบก็คงมีคนหาว่าลอกแน่ๆ
ถ้ามองกันตามจริงอาจจะเป็นเหมือนการถ่ายที่ลงทุนแค่ในเรื่องของเวลาแต่ไม่ได้ยากเย็นอะไรสำหรับคนที่มองในเรื่องของเทคนิคการถ่าย แต่มันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 3 ชั่วโมงของหนังนั้น สิ่งที่ยึดให้เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเติบโตของตัวละครไปอย่างช้าๆ การถ่าย 12 ปีเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย (เพราะถ้าแคสคนมาเล่นปกติ หนังมันจะเรื่อยๆและไม่มีอะไร ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าบรรยายถึงชีวิตคนจริงๆ) โดยหลายคนอาจมองว่าหนังเรื่องนี้ค่อนข้างเรียบเรื่อยๆและน่าเบื่อ เพราะมันไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจ กลับกันดันใช้การเล่าเรื่องช้าๆ ซึ่งกลับกันผมมองว่า การเล่าเรื่องช้าๆและค่อยๆอธิบายนี่แหละที่ถือเป็นจุดแข็งของเรื่อง : เพราะตามจริงการจะดูหนังเรื่องนี้ให้สนุกนั้น เราต้องย้อนมามองตัวเองไปด้วย การค่อยๆเล่าเรื่องของหนังมันทำให้เราได้คิดทบทวนและนึกถึงเรื่องราวในปีนั้นๆที่ผ่านมาในชีวิตเราไปพร้อมกับที่ดูหนัง พร้อมกับนึกถึงวัยเด็กของเราในช่วงอายุของเด็กน้อยหรือ แม้แต่การได้เห็นถึงความล้มเหลวในชีวิตตั้งแต่วัยรุ่นของคุณแม่ (Patricia Arquette) ก็ทำให้เราฉุกคิดและมองย้อนไปให้เห็นถึงคำว่า "ชีวิต" ว่าแท้จริงมันช่างยากเย็นเหลือเกิน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้แหละ ที่ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้มันยังถ่ายทอดความสมจริงชนิดที่เรียกว่า ไม่น่าจะมีวิธีการถ่ายทำแบบไหนที่จะนำเสนอเรื่องราวของคำว่า "ชีวิต" ได้ดีกว่าการทำแบบนี้อีกแล้ว
นอกจากนี้จากที่เห็นความเห็นหลายๆคนใน Pantip บ่นว่าหนังเรื่องนี้ไม่มีช็อตไคลแม็กซ์เลย ผมกลับเห็นต่าง เพราะฉากไคลแม็กซ์จริงๆของเรื่องนั้น อยู่ในฉากที่เมสันคุยกับแม่ก่อนที่จะเก็บของย้ายออกไป (ช็อตนี้อาจะเป็นช็อตหนึ่งที่แสดง impact ที่ทำให้ Patricia Arquetteได้ออสการ์ไปครองเลยก็ได้) โดยอย่างที่ทราบว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ช็อตนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ไคลแม็กซ์ของหนังทั่วๆไป แต่เป็นไคลแม็กซ์หรือจุดสำคัญของชีวิตคนเราอย่างแท้จริง โดยจุดสำคัญอย่างแรกที่หนังสื่อออกมาคือการออกไปเผชิญโลกภายนอกจริงๆครั้งแรกของคนหนึ่งคน กับ จุดสุดท้ายของคนที่ดิ้นรนกับการใช้ชีวิตมันจนถึงที่สุดแต่ก็ยังไม่ได้มีความสุขจริงๆ ฉากที่แม่Mason ปล่อยโฮออกมาเป็นเสมือนการสะท้อนของความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" ซึ่งต่อให้ดิ้นรนใช้ชีวิตมาขนาดไหน สุดท้ายชีวิตมันก็ไม่ได้สวยหรู ไม่ได้สลักสำคัญอะไรเลย เสมือนกับมีเทพแห่งโชคชะตากำลังกระซิบข้างหูเยาะเย้ยเราที่ดิ้นรนมาทั้งชีวิตด้วยคำว่า "แล้วยังไง" ซึ่งสำหรับผมมันเป็นช็อตไคลแม็กซ์ที่ทรงพลังและเจ็บจี๊ดและเป็นคำถามอยู่ในใจว่า "คนเราเกิดมาเพื่ออะไรกันแน่" เพราะสิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ หนังเรื่องนี้คือการถ่ายทอดชีวิตที่แท้จริงของคน ที่มีขึ้นมีลงและสุดท้ายก็ต้องดิ้นรนไปจนกว่าจะลงโลงนั่นแหละ
ในความคิดผมหากเป็นหนังปกติทั่วไปช็อตไคลแม็กซ์ของเรื่องอีกแบบ คงจะมีรถพุ่งมาชนตอนพ่อมาปรับวิทยุขณะขับรถเหมือนโฆษณาไทยประกันชีวิตไปแล้วก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น มันจะทำให้หนังมีอะไรแบบที่หนังเรื่องนี้มีรึเปล่า?
Boyhood จริงๆแล้วไม่ได้ไม่มีช็อตไคลแม็กซ์ และไม่ได้มีดีแค่ถ่ายทำ 12 ปี
เพราะหนังหลายๆเรื่องที่ผมไม่ชอบ คนอื่นอาจจะชอบ ซึ่งมันเป็นเรื่องของความชอบจริงๆ
เพียงแต่อยากอธิบายความคิดเห็นส่วนตัวว่าหนังดีกรีออสก้าเรื่องนี้ไม่ได้มีดีแค่ถ่ายทำ 12 ปีอย่างที่หลายๆคนชอบพูดกัน
ผมมีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง Boyhood มาเมื่อหลายเดือนที่แล้วก่อนงานประกาศรางวัลต่างๆจะเริ่มประกาศ
แต่เพิ่งได้มาอ่านกระทู้หลังจากผลประกาศออสการ์ได้ประกาศ
(ฺBirdman ผมก็ชอบนะ จริงๆแล้วสองเรื่องนี้มีอะไรคล้ายๆกันเยอะเหมือนกัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ไม่อยากให้เอามาเปรียบเทียบกันเท่าไหร่ เพราะหนังทั้งสองเรื่องมันมีดีในตัวมันเอง)
จากการอ่านความเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ การถ่ายทำด้วยเวลา 12 ปีเต็มของ Boyhood ค่อนข้างที่จะประเด็นพอสมควรในแง่ของคุณค่าจริงๆของตัวหนัง โดยมีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย บ้างว่าเสียดายที่ถ่ายตั้ง 12 ปี แต่ชวดกับรางวัลไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนอีกฝ่ายมองว่า outcome ของหนังมันไม่ได้ดี และคนให้ค่ากับการถ่ายทำนานมากเกินไป ซึ่งทั้งสองความคิดเห็นมันก็มีประเด็นหลายๆประเด็นที่ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย เพราะตามจริงการถ่าย 12 ปีถูกเหมือนมันอาจจะเด่นจนคนนำมาเชิดชูมากเกินไป จนมองข้ามประเด็นจริงๆของหนัง จนหลายคนมองว่ามันเป็นเสมือนข้อเด่นของหนังอย่างเดียวเสียแล้ว แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย ในอีกแง่มุมมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า การถ่ายทำ 12ปีนี้ มันเป็นเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใครในการถ่ายทำ
เรียกได้ว่าหนังแบบนี้คงทำได้ครั้งเดียวในชีวิตชนิดที่ว่าถ้าใครทำเลียนแบบก็คงมีคนหาว่าลอกแน่ๆ
ถ้ามองกันตามจริงอาจจะเป็นเหมือนการถ่ายที่ลงทุนแค่ในเรื่องของเวลาแต่ไม่ได้ยากเย็นอะไรสำหรับคนที่มองในเรื่องของเทคนิคการถ่าย แต่มันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 3 ชั่วโมงของหนังนั้น สิ่งที่ยึดให้เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเติบโตของตัวละครไปอย่างช้าๆ การถ่าย 12 ปีเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย (เพราะถ้าแคสคนมาเล่นปกติ หนังมันจะเรื่อยๆและไม่มีอะไร ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าบรรยายถึงชีวิตคนจริงๆ) โดยหลายคนอาจมองว่าหนังเรื่องนี้ค่อนข้างเรียบเรื่อยๆและน่าเบื่อ เพราะมันไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจ กลับกันดันใช้การเล่าเรื่องช้าๆ ซึ่งกลับกันผมมองว่า การเล่าเรื่องช้าๆและค่อยๆอธิบายนี่แหละที่ถือเป็นจุดแข็งของเรื่อง : เพราะตามจริงการจะดูหนังเรื่องนี้ให้สนุกนั้น เราต้องย้อนมามองตัวเองไปด้วย การค่อยๆเล่าเรื่องของหนังมันทำให้เราได้คิดทบทวนและนึกถึงเรื่องราวในปีนั้นๆที่ผ่านมาในชีวิตเราไปพร้อมกับที่ดูหนัง พร้อมกับนึกถึงวัยเด็กของเราในช่วงอายุของเด็กน้อยหรือ แม้แต่การได้เห็นถึงความล้มเหลวในชีวิตตั้งแต่วัยรุ่นของคุณแม่ (Patricia Arquette) ก็ทำให้เราฉุกคิดและมองย้อนไปให้เห็นถึงคำว่า "ชีวิต" ว่าแท้จริงมันช่างยากเย็นเหลือเกิน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้แหละ ที่ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้มันยังถ่ายทอดความสมจริงชนิดที่เรียกว่า ไม่น่าจะมีวิธีการถ่ายทำแบบไหนที่จะนำเสนอเรื่องราวของคำว่า "ชีวิต" ได้ดีกว่าการทำแบบนี้อีกแล้ว
นอกจากนี้จากที่เห็นความเห็นหลายๆคนใน Pantip บ่นว่าหนังเรื่องนี้ไม่มีช็อตไคลแม็กซ์เลย ผมกลับเห็นต่าง เพราะฉากไคลแม็กซ์จริงๆของเรื่องนั้น อยู่ในฉากที่เมสันคุยกับแม่ก่อนที่จะเก็บของย้ายออกไป (ช็อตนี้อาจะเป็นช็อตหนึ่งที่แสดง impact ที่ทำให้ Patricia Arquetteได้ออสการ์ไปครองเลยก็ได้) โดยอย่างที่ทราบว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ช็อตนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ไคลแม็กซ์ของหนังทั่วๆไป แต่เป็นไคลแม็กซ์หรือจุดสำคัญของชีวิตคนเราอย่างแท้จริง โดยจุดสำคัญอย่างแรกที่หนังสื่อออกมาคือการออกไปเผชิญโลกภายนอกจริงๆครั้งแรกของคนหนึ่งคน กับ จุดสุดท้ายของคนที่ดิ้นรนกับการใช้ชีวิตมันจนถึงที่สุดแต่ก็ยังไม่ได้มีความสุขจริงๆ ฉากที่แม่Mason ปล่อยโฮออกมาเป็นเสมือนการสะท้อนของความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" ซึ่งต่อให้ดิ้นรนใช้ชีวิตมาขนาดไหน สุดท้ายชีวิตมันก็ไม่ได้สวยหรู ไม่ได้สลักสำคัญอะไรเลย เสมือนกับมีเทพแห่งโชคชะตากำลังกระซิบข้างหูเยาะเย้ยเราที่ดิ้นรนมาทั้งชีวิตด้วยคำว่า "แล้วยังไง" ซึ่งสำหรับผมมันเป็นช็อตไคลแม็กซ์ที่ทรงพลังและเจ็บจี๊ดและเป็นคำถามอยู่ในใจว่า "คนเราเกิดมาเพื่ออะไรกันแน่" เพราะสิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ หนังเรื่องนี้คือการถ่ายทอดชีวิตที่แท้จริงของคน ที่มีขึ้นมีลงและสุดท้ายก็ต้องดิ้นรนไปจนกว่าจะลงโลงนั่นแหละ
ในความคิดผมหากเป็นหนังปกติทั่วไปช็อตไคลแม็กซ์ของเรื่องอีกแบบ คงจะมีรถพุ่งมาชนตอนพ่อมาปรับวิทยุขณะขับรถเหมือนโฆษณาไทยประกันชีวิตไปแล้วก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น มันจะทำให้หนังมีอะไรแบบที่หนังเรื่องนี้มีรึเปล่า?