การอยู่ป่าเปลี่ยว ไม่ได้ทำให้สมาธิเจริญขึ้นกับทุกคน
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า
และราวป่าอันสงัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและ
ราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว
ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมี
ห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึง
คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่น
บ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตาม
ต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การ
ลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือ
ปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่
ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมา
แล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทัน
ได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักลอยขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็ก ย่อม
ไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อ
ไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวัง
ข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4610&Z=4792
บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้.
บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่าใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่าอรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่าวนปัตถะ เพราะละเลยแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน.
บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวกที่ทำยาก.
บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่ายๆ.
บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว.
ทรงแสดงอะไร.
ทรงแสดงว่า แม้เมื่อกระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น. จริงอยู่ โลกนี้มีของเป็นคู่ๆ กันเป็นที่ยินดี.
บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่ เหมือนนำไป เหมือนสีไป.
บทว่า มโน ได้แก่ จิต.
บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.
ทรงแสดงอะไร.
ทรงแสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่านด้วยเสียงใบหญ้าและเนื้อเป็นต้น และสิ่งที่น่ากลัวมีอย่างต่างๆ.
บทว่า สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก.
บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่ จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=99
วันพระ
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า
และราวป่าอันสงัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและ
ราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว
ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมี
ห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึง
คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่น
บ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตาม
ต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การ
ลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือ
ปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่
ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมา
แล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทัน
ได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักลอยขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็ก ย่อม
ไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อ
ไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวัง
ข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4610&Z=4792
บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้.
บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่าใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่าอรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่าวนปัตถะ เพราะละเลยแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน.
บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวกที่ทำยาก.
บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่ายๆ.
บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว.
ทรงแสดงอะไร.
ทรงแสดงว่า แม้เมื่อกระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น. จริงอยู่ โลกนี้มีของเป็นคู่ๆ กันเป็นที่ยินดี.
บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่ เหมือนนำไป เหมือนสีไป.
บทว่า มโน ได้แก่ จิต.
บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.
ทรงแสดงอะไร.
ทรงแสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่านด้วยเสียงใบหญ้าและเนื้อเป็นต้น และสิ่งที่น่ากลัวมีอย่างต่างๆ.
บทว่า สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก.
บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่ จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=99