วอร์เรน บัฟเฟตต์ถ้าพูดถึงความโดดเด่นของบัฟเฟตต์แล้ว ผมคิดว่าสิ่งที่มาอันดับแรกคงไม่ใช่ความสามารถในการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีราคาถูก
เทียบกับคุณสมบัติของบริษัทในแต่ละช่วงเวลา ยิ่งการ “ขุดหุ้น” หรือค้นหาหุ้นที่ดีแต่ยัง “ไม่มีคนเห็น” นั้น บัฟเฟตต์น่าจะไม่ได้ทำมานานมากแล้ว
ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะมองแต่ “ภาพใหญ่” ของบริษัทมากกว่ารายละเอียดลึก ๆ ของการดำเนินงานของบริษัท เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นคงเป็นเพราะว่าหุ้นที่บัฟเฟตต์จะลงทุนได้แต่ละตัวนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจน “รายละเอียด” ไม่ค่อยมีความหมาย แต่สิ่งที่เป็นความโดดเด่นของบัฟเฟตต์ที่ผมคิดว่ามันยัง “คงทน” และเป็นคุณสมบัติติดตัวที่คนเลียนแบบได้ยากก็คือ EQ หรือคุณสมบัติด้านอารมณ์และจิตวิทยาของการลงทุน ว่าที่จริง ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “EQ ของบัฟเฟตต์”
สิ่งแรกที่บัฟเฟตต์ไม่ยอมทำเลยก็คือ เขาจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้หรือไม่อยู่ใน “ขอบเขตของความรอบรู้” ของเขา นั่นเป็นเหตุผลที่เขาไม่ยอมลงทุนใน “หุ้นไฮเท็ค” เลยทั้ง ๆ ที่หุ้นไฮเท็คปรากฏขึ้นบนโลกมานานและหุ้นจำนวนมากมีราคาขึ้นไปมโหฬาร แต่นั่นก็ไม่ทำให้ผลตอบแทนของบัฟเฟตต์แย่เมื่อเทียบกับคนที่เล่นหุ้นแนวนั้น เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าหุ้น “โลว์เท็ค” ของบัฟเฟตต์เองก็ปรับตัวขึ้นเหมือนกันแม้ว่าจะน้อยกว่า แต่ข้อดีของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาจะไม่ขาดทุนถ้าหุ้นไฮเท็คจำนวนมากนั้นมีราคาตกลงมาอย่างแรงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่เลวร้ายลง สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว เขาเชื่อว่า ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมของการลงทุนนั้น มักจะมาจากธุรกิจธรรมดา ๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์หรือชอคโกแล็ตที่บริษัททำได้ดีมากจนเหนือคู่แข่งมาก
ข้อสอง บัฟเฟตต์จะไม่ยอมลงทุนในกิจการหรือโครงการลงทุนที่ “ย่ำแย่” หรือให้ผลตอบแทนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินทุนที่ลงไปและเขาจะ “ไม่ซื้อความหวัง” เขาต้องการ “ความจริง” ที่เป็นอยู่ ดังนั้น เขาจะไม่สนใจหุ้น “Turnaround” หรือโครงการที่จะช่วย “ฟื้นกิจการ” ของบริษัท นี่เป็นเหตุให้เขามักจะซื้อแต่หุ้นของบริษัทที่มีกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ ROE ที่สูงลิ่ว หรือในกรณีที่เป็นบริษัทที่เขาควบคุมกิจการได้ เขาก็มักจะไม่อนุมัติให้เอาเงินสดของบริษัทไปลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนทางการเงิน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกิจการสิ่งทอของ เบิร์กไชร์ นั้น เขาไม่ยอมใส่เงินลงไปเพื่อ “ปรับปรุง” ให้บริษัท “สามารถแข่งขันได้” กับคู่แข่งในเอเชีย เพราะเขาคิดว่ายิ่งใส่เงินลงไปก็ยิ่ง “จม” ดังนั้น เขาจึงแค่ประคองธุรกิจสิ่งทอไปเรื่อย ๆ และนำเงินสดที่ได้มาลงทุนซื้อหุ้นที่ดีอื่น ๆ ซึ่งสร้างผลตอบแทนให้เขามหาศาลจนเป็น “ตำนาน” ของเบิร์กไชร์ในวันนี้
ข้อสามที่เป็นความคิดและอารมณ์ที่มั่นคงของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาเชื่อใน “ความจริง” และสนใจใน “ข้อมูลรายงาน” น้อยกว่า ความหมายก็คือ เขาจะไม่ถูก “ลวง” ให้เชื่อโดยตัวเลขรายงานที่ถูก “จัดการ” ให้ดูดีกว่าความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทมีการตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนต่ำกว่าที่ควรเป็น เขาก็จะไม่เชื่อในตัวเลขกำไรที่จะออกมาดีกว่าปกติ นอกจากนั้น ถ้าเป็นกิจการที่เขาควบคุมเองได้ เขาก็จะไม่ยอมทำอะไรก็ตามที่อาจจะทำให้ดูดีในวันนี้แต่สุดท้ายแล้วก็จะแย่ภายหลัง ตัวอย่างเช่น ในช่วงหนึ่ง เขาปฏิเสธที่จะขายประกันในราคาถูกเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ เพราะเขาคิดว่าราคานั้นไม่คุ้ม เขายอมให้กำไรของบริษัทในช่วงนั้นลดลงดีกว่าจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทขายประกันได้มากและมีกำไรแต่ในที่สุดแล้วก็จะเสียหายเมื่อผู้ซื้อประกันกลับมาเคลมประกันที่มากกว่ารายรับในภายหลัง การที่เขาทำแบบนั้นทำให้ธุรกิจประกันของเบิร์กไชร์มีกำไรและแข็งแกร่งมาตลอด ในขณะที่บริษัทประกันอื่นนั้นมักจะเสียหายจากการที่พยายามแข่งขันกันแบบ “ฆ่าตัวตาย”
ข้อสี่ที่เป็น “วินัย” ที่เข้มแข็งมากของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาเป็นคนที่มีมีความ “อดทนต่อสิ่งยั่วเย้า”สูงมาก เขาจะไม่ซื้อหุ้นเพียงเพราะมันอาจจะทำกำไรได้อย่างรวดเร็วและง่าย ๆ แต่เป็นหุ้นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและสามารถเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ยาวนานมาก ๆ นอกจากนั้นแล้ว หุ้นของเขาจะต้องเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอที่เขาจะลงทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้นต้องสมเหตุผล มี Margin of Safety หรือมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะทำให้เขาไม่ขาดทุนในระยะยาวถ้าเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้น การวิเคราะห์ของเขาเพื่อที่จะหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการนั้น ดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่เรื่องของกระแสเงินสดมากกว่าตัวเลขกำไรที่เป็นข้อมูลทางด้านบัญชีที่อาจจะไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงเต็มที่ และนี่เป็นเหตุผลที่เขาชอบบริษัทที่มีกระแสเงินสดดีและต้องการเงินลงทุนในการขยายธุรกิจต่ำ และด้วยเหตุผลที่ต้องการหาหุ้นที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวทำให้เขาลงทุนในหุ้นน้อยตัวมาก พูดง่าย ๆ ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ที่เขาต้องการ เขายินดีรอไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำอะไรทั้ง ๆ ที่มีเงินสดที่พอกพูนขึ้นมามากมายตลอดเวลาจากการจ่ายปันผลของบริษัทที่เขาถืออยู่
ข้อห้า บัฟเฟตต์นั้นเห็นว่าการมองโลกในแง่ร้ายและความหดหู่ของคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนซึ่งทำให้หุ้นตกลงมารุนแรงนั้น เป็นโอกาสที่งดงามในการซื้อหุ้น ในขณะที่ช่วงที่สังคมของนักลงทุนกำลังมองโลกในแง่ดีสุด ๆ จนแทบจะเคลิบเคลิ้มซึ่งทำให้หุ้นขึ้นไปอย่างไร้เหตุผลนั้น เป็นเวลาที่จะต้องขายหุ้น เหตุการณ์ช่วงวิกฤติในตลาดหุ้นอเมริกาในปี 2009 นั้น บัฟเฟตต์เข้าซื้อหุ้นจำนวนมากที่ดูเหมือนว่ากำลังจะ “ล่มสลาย” และในตลาดนั้น นักลงทุนต่างก็กำลังหนีตายและไม่มีเงินสดที่จะซื้อหุ้นเป็นพยานที่ยืนยันความมั่นคงในจิตใจของบัฟเฟตต์เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม บัฟเฟตต์เคยขายหุ้นทิ้งเกือบหมดพอร์ตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เนื่องจากหุ้นขึ้นเป็นกระทิงและราคาสูงมาก เช่นเดียวกัน เขาเคยซื้อหุ้นปิโตรเคมีของจีนและขายออกไปเมื่อราคาขึ้นไปสูงลิ่วอย่างไร้เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากบัฟเฟตต์เข้าไปซื้อมัน
ข้อหกซึ่งใกล้เคียงกับข้อห้าก็คือ ทุกครั้งที่เกิด “วิกฤติ” กับหุ้นที่ “ยิ่งใหญ่” และบัฟเฟตต์คิดว่ามันเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวครั้งเดียวและสามารถแก้ไขได้ เขาจะเข้าไปลงทุนอย่างหนักในหุ้นตัวนั้นเสมอ ตัวอย่างมีมากมาย เช่นกรณีที่เขาลงทุนในบริษัทอเมริกันเอ็กซเพรสเมื่อเกิดกรณีฉ่าวโฉ่เรื่องน้ำมันสลัดที่มีการฉ้อฉลกันในบริษัทแต่ตัวกิจการหลักที่เป็นบัตรเครดิตนั้นไม่ถูกกระทบ เป็นต้น ว่าที่จริง หุ้นที่ยิ่งใหญ่จำนวนไม่น้อยนั้นถูกซื้อโดยบัฟเฟตต์ในช่วงที่มันมีราคาตกลงมาผิดปกติในยามที่เศรษฐกิจหรือบริษัทมีปัญหาที่ “แก้ไขได้” หรือ “กำลังดีขึ้น” อย่างแน่นอน และนี่ก็เป็นวิธีทำเงินที่สำคัญมากของบัฟเฟตต์
สุดท้ายก็คือ ระยะเวลาของการลงทุน บัฟเฟตต์มองการลงทุนว่าคือการเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้น เมื่อซื้อแล้ว เขาก็มักจะไม่มีความคิดว่าจะขาย โดยเฉพาะบริษัทที่เขาคิดว่ามันเป็น ซุปเปอร์สต็อกหรือบริษัทที่จะโตต่อไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากมันเป็นธุรกิจที่จะเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ยาวนานและบริษัทมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนและธรรมชาติของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ล้าสมัยและหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ยาก การที่ไม่คิดว่าจะขายในแทบทุกกรณีทำให้เขาไม่ติดตามราคาหุ้นแบบนักลงทุนทั่วไปที่ต้องติดตามบางทีทุกนาทีหรือทุกวัน บัฟเฟตต์เองนั้นไม่มีจอดูราคาหุ้นด้วยซ้ำ ดังนั้น ราคาหุ้นที่ขึ้นลงผันผวนรายวันหรือรายเดือนจึงไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของบัฟเฟตต์เลย ถ้าจะมีบ้างก็คือ ถ้าหุ้นตกลงมามาก มันอาจจะเป็นโอกาสลงทุนสำหรับบัฟเฟตต์ แต่ก็เฉพาะที่เป็นหุ้นที่ดีมากที่บัฟเฟตต์ยังไม่ลงทุนเนื่องจากราคามันยังแพงเกินไปเท่านั้น
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/633804
EQ ของบัฟเฟตต์ โดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วอร์เรน บัฟเฟตต์ถ้าพูดถึงความโดดเด่นของบัฟเฟตต์แล้ว ผมคิดว่าสิ่งที่มาอันดับแรกคงไม่ใช่ความสามารถในการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีราคาถูก
เทียบกับคุณสมบัติของบริษัทในแต่ละช่วงเวลา ยิ่งการ “ขุดหุ้น” หรือค้นหาหุ้นที่ดีแต่ยัง “ไม่มีคนเห็น” นั้น บัฟเฟตต์น่าจะไม่ได้ทำมานานมากแล้ว
ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะมองแต่ “ภาพใหญ่” ของบริษัทมากกว่ารายละเอียดลึก ๆ ของการดำเนินงานของบริษัท เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นคงเป็นเพราะว่าหุ้นที่บัฟเฟตต์จะลงทุนได้แต่ละตัวนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจน “รายละเอียด” ไม่ค่อยมีความหมาย แต่สิ่งที่เป็นความโดดเด่นของบัฟเฟตต์ที่ผมคิดว่ามันยัง “คงทน” และเป็นคุณสมบัติติดตัวที่คนเลียนแบบได้ยากก็คือ EQ หรือคุณสมบัติด้านอารมณ์และจิตวิทยาของการลงทุน ว่าที่จริง ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “EQ ของบัฟเฟตต์”
สิ่งแรกที่บัฟเฟตต์ไม่ยอมทำเลยก็คือ เขาจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้หรือไม่อยู่ใน “ขอบเขตของความรอบรู้” ของเขา นั่นเป็นเหตุผลที่เขาไม่ยอมลงทุนใน “หุ้นไฮเท็ค” เลยทั้ง ๆ ที่หุ้นไฮเท็คปรากฏขึ้นบนโลกมานานและหุ้นจำนวนมากมีราคาขึ้นไปมโหฬาร แต่นั่นก็ไม่ทำให้ผลตอบแทนของบัฟเฟตต์แย่เมื่อเทียบกับคนที่เล่นหุ้นแนวนั้น เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าหุ้น “โลว์เท็ค” ของบัฟเฟตต์เองก็ปรับตัวขึ้นเหมือนกันแม้ว่าจะน้อยกว่า แต่ข้อดีของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาจะไม่ขาดทุนถ้าหุ้นไฮเท็คจำนวนมากนั้นมีราคาตกลงมาอย่างแรงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่เลวร้ายลง สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว เขาเชื่อว่า ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมของการลงทุนนั้น มักจะมาจากธุรกิจธรรมดา ๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์หรือชอคโกแล็ตที่บริษัททำได้ดีมากจนเหนือคู่แข่งมาก
ข้อสอง บัฟเฟตต์จะไม่ยอมลงทุนในกิจการหรือโครงการลงทุนที่ “ย่ำแย่” หรือให้ผลตอบแทนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินทุนที่ลงไปและเขาจะ “ไม่ซื้อความหวัง” เขาต้องการ “ความจริง” ที่เป็นอยู่ ดังนั้น เขาจะไม่สนใจหุ้น “Turnaround” หรือโครงการที่จะช่วย “ฟื้นกิจการ” ของบริษัท นี่เป็นเหตุให้เขามักจะซื้อแต่หุ้นของบริษัทที่มีกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ ROE ที่สูงลิ่ว หรือในกรณีที่เป็นบริษัทที่เขาควบคุมกิจการได้ เขาก็มักจะไม่อนุมัติให้เอาเงินสดของบริษัทไปลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนทางการเงิน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกิจการสิ่งทอของ เบิร์กไชร์ นั้น เขาไม่ยอมใส่เงินลงไปเพื่อ “ปรับปรุง” ให้บริษัท “สามารถแข่งขันได้” กับคู่แข่งในเอเชีย เพราะเขาคิดว่ายิ่งใส่เงินลงไปก็ยิ่ง “จม” ดังนั้น เขาจึงแค่ประคองธุรกิจสิ่งทอไปเรื่อย ๆ และนำเงินสดที่ได้มาลงทุนซื้อหุ้นที่ดีอื่น ๆ ซึ่งสร้างผลตอบแทนให้เขามหาศาลจนเป็น “ตำนาน” ของเบิร์กไชร์ในวันนี้
ข้อสามที่เป็นความคิดและอารมณ์ที่มั่นคงของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาเชื่อใน “ความจริง” และสนใจใน “ข้อมูลรายงาน” น้อยกว่า ความหมายก็คือ เขาจะไม่ถูก “ลวง” ให้เชื่อโดยตัวเลขรายงานที่ถูก “จัดการ” ให้ดูดีกว่าความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทมีการตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนต่ำกว่าที่ควรเป็น เขาก็จะไม่เชื่อในตัวเลขกำไรที่จะออกมาดีกว่าปกติ นอกจากนั้น ถ้าเป็นกิจการที่เขาควบคุมเองได้ เขาก็จะไม่ยอมทำอะไรก็ตามที่อาจจะทำให้ดูดีในวันนี้แต่สุดท้ายแล้วก็จะแย่ภายหลัง ตัวอย่างเช่น ในช่วงหนึ่ง เขาปฏิเสธที่จะขายประกันในราคาถูกเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ เพราะเขาคิดว่าราคานั้นไม่คุ้ม เขายอมให้กำไรของบริษัทในช่วงนั้นลดลงดีกว่าจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทขายประกันได้มากและมีกำไรแต่ในที่สุดแล้วก็จะเสียหายเมื่อผู้ซื้อประกันกลับมาเคลมประกันที่มากกว่ารายรับในภายหลัง การที่เขาทำแบบนั้นทำให้ธุรกิจประกันของเบิร์กไชร์มีกำไรและแข็งแกร่งมาตลอด ในขณะที่บริษัทประกันอื่นนั้นมักจะเสียหายจากการที่พยายามแข่งขันกันแบบ “ฆ่าตัวตาย”
ข้อสี่ที่เป็น “วินัย” ที่เข้มแข็งมากของบัฟเฟตต์ก็คือ เขาเป็นคนที่มีมีความ “อดทนต่อสิ่งยั่วเย้า”สูงมาก เขาจะไม่ซื้อหุ้นเพียงเพราะมันอาจจะทำกำไรได้อย่างรวดเร็วและง่าย ๆ แต่เป็นหุ้นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและสามารถเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ยาวนานมาก ๆ นอกจากนั้นแล้ว หุ้นของเขาจะต้องเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอที่เขาจะลงทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้นต้องสมเหตุผล มี Margin of Safety หรือมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะทำให้เขาไม่ขาดทุนในระยะยาวถ้าเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้น การวิเคราะห์ของเขาเพื่อที่จะหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการนั้น ดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่เรื่องของกระแสเงินสดมากกว่าตัวเลขกำไรที่เป็นข้อมูลทางด้านบัญชีที่อาจจะไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงเต็มที่ และนี่เป็นเหตุผลที่เขาชอบบริษัทที่มีกระแสเงินสดดีและต้องการเงินลงทุนในการขยายธุรกิจต่ำ และด้วยเหตุผลที่ต้องการหาหุ้นที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวทำให้เขาลงทุนในหุ้นน้อยตัวมาก พูดง่าย ๆ ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ที่เขาต้องการ เขายินดีรอไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำอะไรทั้ง ๆ ที่มีเงินสดที่พอกพูนขึ้นมามากมายตลอดเวลาจากการจ่ายปันผลของบริษัทที่เขาถืออยู่
ข้อห้า บัฟเฟตต์นั้นเห็นว่าการมองโลกในแง่ร้ายและความหดหู่ของคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนซึ่งทำให้หุ้นตกลงมารุนแรงนั้น เป็นโอกาสที่งดงามในการซื้อหุ้น ในขณะที่ช่วงที่สังคมของนักลงทุนกำลังมองโลกในแง่ดีสุด ๆ จนแทบจะเคลิบเคลิ้มซึ่งทำให้หุ้นขึ้นไปอย่างไร้เหตุผลนั้น เป็นเวลาที่จะต้องขายหุ้น เหตุการณ์ช่วงวิกฤติในตลาดหุ้นอเมริกาในปี 2009 นั้น บัฟเฟตต์เข้าซื้อหุ้นจำนวนมากที่ดูเหมือนว่ากำลังจะ “ล่มสลาย” และในตลาดนั้น นักลงทุนต่างก็กำลังหนีตายและไม่มีเงินสดที่จะซื้อหุ้นเป็นพยานที่ยืนยันความมั่นคงในจิตใจของบัฟเฟตต์เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม บัฟเฟตต์เคยขายหุ้นทิ้งเกือบหมดพอร์ตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เนื่องจากหุ้นขึ้นเป็นกระทิงและราคาสูงมาก เช่นเดียวกัน เขาเคยซื้อหุ้นปิโตรเคมีของจีนและขายออกไปเมื่อราคาขึ้นไปสูงลิ่วอย่างไร้เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากบัฟเฟตต์เข้าไปซื้อมัน
ข้อหกซึ่งใกล้เคียงกับข้อห้าก็คือ ทุกครั้งที่เกิด “วิกฤติ” กับหุ้นที่ “ยิ่งใหญ่” และบัฟเฟตต์คิดว่ามันเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวครั้งเดียวและสามารถแก้ไขได้ เขาจะเข้าไปลงทุนอย่างหนักในหุ้นตัวนั้นเสมอ ตัวอย่างมีมากมาย เช่นกรณีที่เขาลงทุนในบริษัทอเมริกันเอ็กซเพรสเมื่อเกิดกรณีฉ่าวโฉ่เรื่องน้ำมันสลัดที่มีการฉ้อฉลกันในบริษัทแต่ตัวกิจการหลักที่เป็นบัตรเครดิตนั้นไม่ถูกกระทบ เป็นต้น ว่าที่จริง หุ้นที่ยิ่งใหญ่จำนวนไม่น้อยนั้นถูกซื้อโดยบัฟเฟตต์ในช่วงที่มันมีราคาตกลงมาผิดปกติในยามที่เศรษฐกิจหรือบริษัทมีปัญหาที่ “แก้ไขได้” หรือ “กำลังดีขึ้น” อย่างแน่นอน และนี่ก็เป็นวิธีทำเงินที่สำคัญมากของบัฟเฟตต์
สุดท้ายก็คือ ระยะเวลาของการลงทุน บัฟเฟตต์มองการลงทุนว่าคือการเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้น เมื่อซื้อแล้ว เขาก็มักจะไม่มีความคิดว่าจะขาย โดยเฉพาะบริษัทที่เขาคิดว่ามันเป็น ซุปเปอร์สต็อกหรือบริษัทที่จะโตต่อไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากมันเป็นธุรกิจที่จะเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ยาวนานและบริษัทมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนและธรรมชาติของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ล้าสมัยและหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ยาก การที่ไม่คิดว่าจะขายในแทบทุกกรณีทำให้เขาไม่ติดตามราคาหุ้นแบบนักลงทุนทั่วไปที่ต้องติดตามบางทีทุกนาทีหรือทุกวัน บัฟเฟตต์เองนั้นไม่มีจอดูราคาหุ้นด้วยซ้ำ ดังนั้น ราคาหุ้นที่ขึ้นลงผันผวนรายวันหรือรายเดือนจึงไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของบัฟเฟตต์เลย ถ้าจะมีบ้างก็คือ ถ้าหุ้นตกลงมามาก มันอาจจะเป็นโอกาสลงทุนสำหรับบัฟเฟตต์ แต่ก็เฉพาะที่เป็นหุ้นที่ดีมากที่บัฟเฟตต์ยังไม่ลงทุนเนื่องจากราคามันยังแพงเกินไปเท่านั้น
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/633804