เหมือนดังภาพฝัน...
ภูเขาน้อยใหญ่ทอดตัวเรียงรายเป็นทิวยาว ยอดแหลมสูงพุ่งเสียดฟ้า แต่งามตระหง่านน่าเกร
ขามอยู่ท่ามกลางทะเลหมอก กลืนไปกับหิมะที่ปกคลุมขาวโพลน ยามต้องแสงอาทิตย์จ้าจะสะท้อนสีเงินระยิบระยับ หากพระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยหรือโผล่พ้นขอบฟ้า ผืนฟ้านั้นก็จะฉาบด้วยแสงสีม่วงหรือสีทองเรืองอร่าม หากได้ขึ้นไปบนนั้นคงมีความสุขเหมือนอยู่บนสวรรค์
เหมือนเป็นเรื่องฝัน ถ้าบอกว่าทิวเขายาวที่พูดถึงนี้คือ “เขาไกรลาส” ชื่อที่คุ้นหูคุ้นตาในงานวรรณกรรม ตำนาน เรื่องเล่า หรือความเชื่อทางศาสนา
แต่ที่เอ่ยมาทั้งหมดข้างต้น มีอยู่จริงบนพื้นโลกมนุษย์เรา
• ไกรลาสของแท้ หน้าตาเป็นอย่างไร
ในทางภูมิศาสตร์ เขาไกรลาส (Mount Kailash, Mount Kailas) มีชื่อภาษาทิเบตว่า “คัง-ติเซ” (Gang Tise) แปลว่า ธารน้ำแข็ง เป็นยอดเขาหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับที่ตั้งของยอดเขาศักกะมารตาหรือเอฟเวอเรสต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ ถ้าจะเปิดแผนที่ดู ต้องหาชื่อที่เป็นทางการว่า กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan)
เขาไกรลาสมีอายุถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี สูง 22,020 ฟุต ถือเป็นลำดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นลำดับดับที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย
ปกติภูเขานี้จะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งดูขาวโพลนตลอดปี รูปทรงภูเขามนราบ หิมะที่จับขาวโพลนเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ทำให้ดูประดุจแผ่นเงินหรือหน้าผาสีขาว จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ภูเขาสีเงิน” (“ไกรลาส” หรือ “ไกลาส” เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “สีเงินยวง”)
เชิงเขาไกรลาส ยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่ยาวที่สุดสี่สายแห่งเอเชีย ได้แก่ แม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra River) ซึ่งไหลไปทางภาคกลางของทิเบต แล้วลงไปที่แคว้นอัสสัมของอินเดีย แม่น้ำสินธุ (Indus or Sindhus) ในปากีสถาน แม่น้ำสัตเลจ (Sutlej หรือ Sutudri) ซึ่งไหลรวมกับแม่น้ำสินธุ แม่น้ำการ์ลี ซึ่งได้กลายเป็นแม่น้ำคงคา (Ganges) ในอินเดีย
นอกจากนี้ ยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญที่จะต้องกล่าวถึง คือ “ทะเลสาบมานัสโรวาร” (Manasrowar) หรือ “ทะเลสาบมานัสสะ” เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กว้าง 15 ไมล์ อยู่ทางใต้ของเขาไกรลาส ชาวทิเบตเรียกทะเลสาบนี้ว่า Tso Rinpoche แปลว่า ทะเลสาบอันมีค่า เชื่อกันว่าน้ำในทะเลสาบแห่งนี้สามารถรักษาโรคได้
เขาไกรลาสไม่ใช่เป็นเพียงยอดเขาน้ำแข็งที่งดงามชวนดู แต่ยังมีเสน่ห์ชวนค้นหา เพราะความผูกพันเกี่ยวโยงกับความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนา ทั้งฮินดู พุทธ เชน (Jain) และบอนหรือเพิน (Bon ศาสนาดั้งเดิมของทิเบต นับถือผี แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนา) ซึ่งล้วนเชื่อว่า เขาไกรลาสเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ และทะเลสาบมานัสโรวาร์ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ด้วย
• ความผูกพันผ่านความเชื่อทางศาสนา
ความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของเขาไกรลาส สอดแทรกเข้ามาอยู่ในความคิดความเชื่อของผู้คนที่อาศัยผูกพันอยู่โดยรอบเป็นรัศมีกว้างไกลมาแต่โบราณกาล กลุ่มความเชื่อทางศาสนาหลักๆในบริเวณนี้ ได้แก่ ฮินดู พุทธ และเชน ซึ่งมีวิธีอธิบายธรรมชาติอันเหมือนสวรรค์บนพื้นโลกนี้ต่างกันไป
ฮินดู
ชาวฮินดูนับถือเทพเจ้า เทพแต่ละองค์ประทับอยู่ ณ ที่ต่างๆกัน เช่น ท้าวจตุโลกบาลประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นแรกนามว่าจาตุมหาราชิกา พระพรหมในไตรภูมิกล่าวว่าอยู่ในพรหมโลก ซึ่งมี 16 ชั้น แต่เป็นที่ประทับของพรหมประเภทต่างๆ ที่มีแต่จิตหรือมีรูปด้วย ส่วนพระพรหมนั้นอยู่ต่างหาก ณ พรหมพฤนทา และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ทรงประทับหลับสนิทบนขนดของพระยาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร คือทะเลน้ำนม บ้างก็ว่าทรงไสยาสน์อยู่ ณ สะดือทะเล
แต่พระศิวะ (พระอิศวร) ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส บนโลกมนุษย์ของเรานี่เอง เป็นยอดสูงสุดในตอนใต้ของทะเลสาบมานัสโรวาร์ ที่กั้นแดนทางเหนือของภารตวรรธ ซึ่งชาวฮินดูนับถือกันมาก ถือกันว่าเป็นที่สถิตแห่งเทพและประชาบดีหรือฤาษีสำคัญๆ
พระศิวะทรงเป็นเทพสูงสุดของชาวฮินดู เป็นเทพผู้ทำลายล้างและเทพผู้สร้างสรรค์ พระองค์จะทรงประทานพรวิเศษให้แก่คนผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม คนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะจะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที
พวกอารยันนับถือเขาไกรลาสมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นเขาที่ปรากฏในปกรณัมของศาสนาฮินดู เชื่อว่าคือที่ประทับของพระศิวะมาตั้งแต่ครั้งสร้างโลก และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือที่ประทับของพระนางอุมาเทวี (พระนางปารวตี) พระมเหสี
และเชื่อว่าเขาไกรลาสคือแห่งเดียวกันกับ “เขาพระสุเมรุ” และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือ “สระอโนดาต” ในป่าหิมพานต์ ตามความเชื่อเรื่องจักรวาลของศาสนาพุทธ
ทั้งยังเชื่ออีกว่า เขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวต่างๆหมุนโดยรอบ
เขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางนทีสีทันดร มีภูเขา 3 ลูกเรียกว่า ตรีกูฏ รองรับอยู่ 3 จุด เป็นสามเส้า หนุนให้ตั้งอยู่เหนือน้ำ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงนาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤาษี เทวดา มีนทีสีทันดรล้อมรอบออกไปจนสุดกำแพงจักรวาล
มีทิวเขาทั้งเจ็ดที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ ล้อมเขาพระสุเมรุเป็นวงแหวนอยู่รอบนอก ห่างกันทีละชั้น เป็น 7 ชั้น ด้านทั้งสี่ของเขาพระสุเมรุนั้นเชื่อมต่อกันด้วยยอดเขา เป็นเทือกเขายาวติดกันเป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล
เชื่อกันว่าทะเลสาบมานัสโรวาร์เป็นสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี บ้างก็ว่าครั้งหนึ่งพระศิวะก็เคยเกิดเป็นหงส์บินอยู่เหนือทะเลสาบแห่งนี้
มีการกล่าวถึงทะเลสาบมานัสโรวาร์ ในมหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะยุทธว่า ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกาย หรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ
ปัจจุบัน ทะเลสาบมานัสโรวาห์ ยังมีความสำคัญต่อชาวอินเดีย เพราะเป็นที่ลอยเถ้ากระดูกของมหาตะมะ คานธี ผู้นำทางศาสนาและการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียและของโลก
พุทธศาสนา
ในทางพุทธศาสนา มีการอธิบายโครงสร้างและลักษณะต่างๆของจักรวาลไว้บ้างใน “ไตรภูมิ” แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบรรยายถึงรูปลักษณ์ของจักรวาลไว้โดยตรง หากทรงเน้นเรื่องการดับทุกข์มากกว่า ทรงเห็นว่ามนุษย์รู้เรื่องเหล่านี้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ช่วยให้ดับทุกข์ได้เลย
คติทางพุทธศาสนาเชื่อว่า เขาพระสุเมรุคือเขาไกรลาส เป็นภูเขาซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางจักรวาล จึงถือเป็นเสาหลักของโลก มียอดเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีปลาอานนท์หนุนอยู่รอบๆเขาพระสุเมรุ
ต่อมามีผู้พยายามรวบรวบเรื่องราวเกี่ยวกับโลก จักรวาล และภพภูมิต่างๆ จากที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและแหล่งอื่นๆ มาประกอบเรียบเรียงเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง เรียกว่า คัมภีร์โลกศาสตร์ เฉพาะที่เกิดขึ้นในไทยและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 ฉบับ คือ “ไตรภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” และ “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย”
ไตรภูมิ แปลว่า 3 โลก ไตรภูมิจึงกล่าวถึงโลกทั้งสาม ได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ นรก (3 โลก = 1 จักรวาล)
ตามตำนานกล่าวถึงป่าหิมพานต์ว่าอยู่โลกมนุษย์นี่เอง ตั้งอยู่ในชมพูทวีป บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งมนุษย์ด้วย
ป่าหิมพานต์มีสระอยู่ 7 สระ ที่มีชื่อเสียงคือ สระอโนดาต และเป็นสระเดียวที่ชาวฮินดูนับถือด้วย โดยเชื่อว่า คือทะเลสาบมานัสโรวาร์ของชาวฮินดูนั่นเอง
สระนี้มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ได้แก่ สุทัศนกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยทอง จิตรกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยแก้ว กาลกูฏ ล้วนแล้วด้วยนิลมณี ไกรลาส ล้วนแล้วด้วยเงิน ที่สถิตของพระอิศวร และคันธมาทกูฏ ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและพันธ์ไม้หอมต่างๆ บางชนิดดอกหอม บางชนิดเปลือกหอม บางชนิดยางหอม บางชนิดรากหอม เขานี้ ถ้าเดือนมืดจะแลเห็นรุ่งเรืองเหมือนถ่านเพลิงอันลุกโชน ถ้าเดือนหงายก็เรืองเหมือนไฟไหม้ป่า
ส่วนที่เชิงเขามีผาชะโงก เรียกว่า นันทมูล เป็นที่ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทับ มีถ้ำคูหา 3 แห่ง คือสุวรรณคูหา มณีคูหา และรัชฏคูหา
น้ำในสระอโนดาตใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ น้ำไหลออกตามซอกภูเขาที่อยู่รอบ 4 ทิศ มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า เป็นที่อาบน้ำของเทวดา เทพธิดาท่าหนึ่ง พระปัจจเจกพุทธเจ้าท่าหนึ่ง ฤาษีวิทยาธรท่าหนึ่ง พระอรหันต์ท่าหนึ่ง
สำหรับชาวทิเบต ภูเขาไกรลาสคือสถานศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวพุทธสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ ชาวพุทธนิกายบอน พวกเขาเชื่อว่า บริเวณใกล้ภูเขาลูกนี้คือที่ประสูติของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ มิโวเช และภูเขาลูกนี้คือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ “ยุงตรุง กูเซก” ซึ่งมีลักษณะเป็นสวัสดิกะเก้าชั้น แทนยานเก้าในพระพุทธศาสนา เป็นที่ประทับของพระชางชุง เมรี เทพยีตัม (Yidam) องค์สำคัญ ส่วนทะเลสาบมานัสโรวาร์คือสถานสรงน้ำของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ
ส่วนชาวพุทธทิเบตนิกายอื่นๆ เชื่อว่า ไกรลาสคือที่ประทับของพระจักรสัมภระ (Chakrasambhara หรือ Buddha Demchok) ซึ่งเป็นเทพยีตัมองค์สำคัญ และเป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีปางพิโรธ และที่ประทับของพระฑากินี วัชรวราหิ คู่ปฏิบัติธรรมของพระองค์
ศาสนาเชน
เขาไกรลาสมีลักษณะคล้ายโดม ทางด้านใต้มีแนวที่เกิดจากการกัดเซาะของลมและพายุตัดลึกของช่องเขา ดูดั่งเครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) อันเป็นสัญลักษณ์โบราณของอินเดียที่แสดงถึงอำนาจ
ในศาสนาเชน เครื่องหมายสวัสดิกะคือสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์และรัศมีแห่งพระอาทิตย์ ศาสนาเชนเชื่อว่าเขาไกรลาสคืออัษฏาปทะ (Astapada) เป็นที่ตรัสรู้ของนักบวชคนแรก คือ ฤษภะ (Rishabha)
คำว่าเชนมาจากคำว่า “ชินะ” มีความหมายว่าผู้ชนะ หมายถึงปรมาจารย์ของศาสนาที่มีชัยชนะต่อกิเลสตัณหาและความต้องการของร่างกายได้ มีหลักธรรมที่สำคัญคือ อหิงสา คือ ไม่เบียดเบียน และไม่ใช้ความรุนแรง
ไกรลาส สวรรค์บนโลกมนุษย์ ที่สัมผัสได้จริง
เหมือนดังภาพฝัน...
ภูเขาน้อยใหญ่ทอดตัวเรียงรายเป็นทิวยาว ยอดแหลมสูงพุ่งเสียดฟ้า แต่งามตระหง่านน่าเกร
ขามอยู่ท่ามกลางทะเลหมอก กลืนไปกับหิมะที่ปกคลุมขาวโพลน ยามต้องแสงอาทิตย์จ้าจะสะท้อนสีเงินระยิบระยับ หากพระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยหรือโผล่พ้นขอบฟ้า ผืนฟ้านั้นก็จะฉาบด้วยแสงสีม่วงหรือสีทองเรืองอร่าม หากได้ขึ้นไปบนนั้นคงมีความสุขเหมือนอยู่บนสวรรค์
เหมือนเป็นเรื่องฝัน ถ้าบอกว่าทิวเขายาวที่พูดถึงนี้คือ “เขาไกรลาส” ชื่อที่คุ้นหูคุ้นตาในงานวรรณกรรม ตำนาน เรื่องเล่า หรือความเชื่อทางศาสนา
แต่ที่เอ่ยมาทั้งหมดข้างต้น มีอยู่จริงบนพื้นโลกมนุษย์เรา
• ไกรลาสของแท้ หน้าตาเป็นอย่างไร
ในทางภูมิศาสตร์ เขาไกรลาส (Mount Kailash, Mount Kailas) มีชื่อภาษาทิเบตว่า “คัง-ติเซ” (Gang Tise) แปลว่า ธารน้ำแข็ง เป็นยอดเขาหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับที่ตั้งของยอดเขาศักกะมารตาหรือเอฟเวอเรสต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ ถ้าจะเปิดแผนที่ดู ต้องหาชื่อที่เป็นทางการว่า กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan)
เขาไกรลาสมีอายุถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี สูง 22,020 ฟุต ถือเป็นลำดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นลำดับดับที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย
ปกติภูเขานี้จะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งดูขาวโพลนตลอดปี รูปทรงภูเขามนราบ หิมะที่จับขาวโพลนเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ทำให้ดูประดุจแผ่นเงินหรือหน้าผาสีขาว จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ภูเขาสีเงิน” (“ไกรลาส” หรือ “ไกลาส” เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “สีเงินยวง”)
เชิงเขาไกรลาส ยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่ยาวที่สุดสี่สายแห่งเอเชีย ได้แก่ แม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra River) ซึ่งไหลไปทางภาคกลางของทิเบต แล้วลงไปที่แคว้นอัสสัมของอินเดีย แม่น้ำสินธุ (Indus or Sindhus) ในปากีสถาน แม่น้ำสัตเลจ (Sutlej หรือ Sutudri) ซึ่งไหลรวมกับแม่น้ำสินธุ แม่น้ำการ์ลี ซึ่งได้กลายเป็นแม่น้ำคงคา (Ganges) ในอินเดีย
นอกจากนี้ ยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญที่จะต้องกล่าวถึง คือ “ทะเลสาบมานัสโรวาร” (Manasrowar) หรือ “ทะเลสาบมานัสสะ” เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กว้าง 15 ไมล์ อยู่ทางใต้ของเขาไกรลาส ชาวทิเบตเรียกทะเลสาบนี้ว่า Tso Rinpoche แปลว่า ทะเลสาบอันมีค่า เชื่อกันว่าน้ำในทะเลสาบแห่งนี้สามารถรักษาโรคได้
เขาไกรลาสไม่ใช่เป็นเพียงยอดเขาน้ำแข็งที่งดงามชวนดู แต่ยังมีเสน่ห์ชวนค้นหา เพราะความผูกพันเกี่ยวโยงกับความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนา ทั้งฮินดู พุทธ เชน (Jain) และบอนหรือเพิน (Bon ศาสนาดั้งเดิมของทิเบต นับถือผี แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนา) ซึ่งล้วนเชื่อว่า เขาไกรลาสเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ และทะเลสาบมานัสโรวาร์ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ด้วย
• ความผูกพันผ่านความเชื่อทางศาสนา
ความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของเขาไกรลาส สอดแทรกเข้ามาอยู่ในความคิดความเชื่อของผู้คนที่อาศัยผูกพันอยู่โดยรอบเป็นรัศมีกว้างไกลมาแต่โบราณกาล กลุ่มความเชื่อทางศาสนาหลักๆในบริเวณนี้ ได้แก่ ฮินดู พุทธ และเชน ซึ่งมีวิธีอธิบายธรรมชาติอันเหมือนสวรรค์บนพื้นโลกนี้ต่างกันไป
ฮินดู
ชาวฮินดูนับถือเทพเจ้า เทพแต่ละองค์ประทับอยู่ ณ ที่ต่างๆกัน เช่น ท้าวจตุโลกบาลประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นแรกนามว่าจาตุมหาราชิกา พระพรหมในไตรภูมิกล่าวว่าอยู่ในพรหมโลก ซึ่งมี 16 ชั้น แต่เป็นที่ประทับของพรหมประเภทต่างๆ ที่มีแต่จิตหรือมีรูปด้วย ส่วนพระพรหมนั้นอยู่ต่างหาก ณ พรหมพฤนทา และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ทรงประทับหลับสนิทบนขนดของพระยาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร คือทะเลน้ำนม บ้างก็ว่าทรงไสยาสน์อยู่ ณ สะดือทะเล
แต่พระศิวะ (พระอิศวร) ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส บนโลกมนุษย์ของเรานี่เอง เป็นยอดสูงสุดในตอนใต้ของทะเลสาบมานัสโรวาร์ ที่กั้นแดนทางเหนือของภารตวรรธ ซึ่งชาวฮินดูนับถือกันมาก ถือกันว่าเป็นที่สถิตแห่งเทพและประชาบดีหรือฤาษีสำคัญๆ
พระศิวะทรงเป็นเทพสูงสุดของชาวฮินดู เป็นเทพผู้ทำลายล้างและเทพผู้สร้างสรรค์ พระองค์จะทรงประทานพรวิเศษให้แก่คนผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม คนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะจะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที
พวกอารยันนับถือเขาไกรลาสมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นเขาที่ปรากฏในปกรณัมของศาสนาฮินดู เชื่อว่าคือที่ประทับของพระศิวะมาตั้งแต่ครั้งสร้างโลก และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือที่ประทับของพระนางอุมาเทวี (พระนางปารวตี) พระมเหสี
และเชื่อว่าเขาไกรลาสคือแห่งเดียวกันกับ “เขาพระสุเมรุ” และทะเลสาบมานัสโรวาร์คือ “สระอโนดาต” ในป่าหิมพานต์ ตามความเชื่อเรื่องจักรวาลของศาสนาพุทธ
ทั้งยังเชื่ออีกว่า เขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวต่างๆหมุนโดยรอบ
เขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางนทีสีทันดร มีภูเขา 3 ลูกเรียกว่า ตรีกูฏ รองรับอยู่ 3 จุด เป็นสามเส้า หนุนให้ตั้งอยู่เหนือน้ำ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงนาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤาษี เทวดา มีนทีสีทันดรล้อมรอบออกไปจนสุดกำแพงจักรวาล
มีทิวเขาทั้งเจ็ดที่เรียกว่า สัตบริภัณฑ์ ล้อมเขาพระสุเมรุเป็นวงแหวนอยู่รอบนอก ห่างกันทีละชั้น เป็น 7 ชั้น ด้านทั้งสี่ของเขาพระสุเมรุนั้นเชื่อมต่อกันด้วยยอดเขา เป็นเทือกเขายาวติดกันเป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล
เชื่อกันว่าทะเลสาบมานัสโรวาร์เป็นสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี บ้างก็ว่าครั้งหนึ่งพระศิวะก็เคยเกิดเป็นหงส์บินอยู่เหนือทะเลสาบแห่งนี้
มีการกล่าวถึงทะเลสาบมานัสโรวาร์ ในมหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะยุทธว่า ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกาย หรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ
ปัจจุบัน ทะเลสาบมานัสโรวาห์ ยังมีความสำคัญต่อชาวอินเดีย เพราะเป็นที่ลอยเถ้ากระดูกของมหาตะมะ คานธี ผู้นำทางศาสนาและการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียและของโลก
พุทธศาสนา
ในทางพุทธศาสนา มีการอธิบายโครงสร้างและลักษณะต่างๆของจักรวาลไว้บ้างใน “ไตรภูมิ” แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบรรยายถึงรูปลักษณ์ของจักรวาลไว้โดยตรง หากทรงเน้นเรื่องการดับทุกข์มากกว่า ทรงเห็นว่ามนุษย์รู้เรื่องเหล่านี้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ช่วยให้ดับทุกข์ได้เลย
คติทางพุทธศาสนาเชื่อว่า เขาพระสุเมรุคือเขาไกรลาส เป็นภูเขาซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางจักรวาล จึงถือเป็นเสาหลักของโลก มียอดเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีปลาอานนท์หนุนอยู่รอบๆเขาพระสุเมรุ
ต่อมามีผู้พยายามรวบรวบเรื่องราวเกี่ยวกับโลก จักรวาล และภพภูมิต่างๆ จากที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและแหล่งอื่นๆ มาประกอบเรียบเรียงเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง เรียกว่า คัมภีร์โลกศาสตร์ เฉพาะที่เกิดขึ้นในไทยและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 ฉบับ คือ “ไตรภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” และ “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย”
ไตรภูมิ แปลว่า 3 โลก ไตรภูมิจึงกล่าวถึงโลกทั้งสาม ได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ นรก (3 โลก = 1 จักรวาล)
ตามตำนานกล่าวถึงป่าหิมพานต์ว่าอยู่โลกมนุษย์นี่เอง ตั้งอยู่ในชมพูทวีป บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งมนุษย์ด้วย
ป่าหิมพานต์มีสระอยู่ 7 สระ ที่มีชื่อเสียงคือ สระอโนดาต และเป็นสระเดียวที่ชาวฮินดูนับถือด้วย โดยเชื่อว่า คือทะเลสาบมานัสโรวาร์ของชาวฮินดูนั่นเอง
สระนี้มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ได้แก่ สุทัศนกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยทอง จิตรกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยแก้ว กาลกูฏ ล้วนแล้วด้วยนิลมณี ไกรลาส ล้วนแล้วด้วยเงิน ที่สถิตของพระอิศวร และคันธมาทกูฏ ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและพันธ์ไม้หอมต่างๆ บางชนิดดอกหอม บางชนิดเปลือกหอม บางชนิดยางหอม บางชนิดรากหอม เขานี้ ถ้าเดือนมืดจะแลเห็นรุ่งเรืองเหมือนถ่านเพลิงอันลุกโชน ถ้าเดือนหงายก็เรืองเหมือนไฟไหม้ป่า
ส่วนที่เชิงเขามีผาชะโงก เรียกว่า นันทมูล เป็นที่ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทับ มีถ้ำคูหา 3 แห่ง คือสุวรรณคูหา มณีคูหา และรัชฏคูหา
น้ำในสระอโนดาตใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ น้ำไหลออกตามซอกภูเขาที่อยู่รอบ 4 ทิศ มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า เป็นที่อาบน้ำของเทวดา เทพธิดาท่าหนึ่ง พระปัจจเจกพุทธเจ้าท่าหนึ่ง ฤาษีวิทยาธรท่าหนึ่ง พระอรหันต์ท่าหนึ่ง
สำหรับชาวทิเบต ภูเขาไกรลาสคือสถานศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวพุทธสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ ชาวพุทธนิกายบอน พวกเขาเชื่อว่า บริเวณใกล้ภูเขาลูกนี้คือที่ประสูติของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ มิโวเช และภูเขาลูกนี้คือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ “ยุงตรุง กูเซก” ซึ่งมีลักษณะเป็นสวัสดิกะเก้าชั้น แทนยานเก้าในพระพุทธศาสนา เป็นที่ประทับของพระชางชุง เมรี เทพยีตัม (Yidam) องค์สำคัญ ส่วนทะเลสาบมานัสโรวาร์คือสถานสรงน้ำของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ
ส่วนชาวพุทธทิเบตนิกายอื่นๆ เชื่อว่า ไกรลาสคือที่ประทับของพระจักรสัมภระ (Chakrasambhara หรือ Buddha Demchok) ซึ่งเป็นเทพยีตัมองค์สำคัญ และเป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีปางพิโรธ และที่ประทับของพระฑากินี วัชรวราหิ คู่ปฏิบัติธรรมของพระองค์
ศาสนาเชน
เขาไกรลาสมีลักษณะคล้ายโดม ทางด้านใต้มีแนวที่เกิดจากการกัดเซาะของลมและพายุตัดลึกของช่องเขา ดูดั่งเครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) อันเป็นสัญลักษณ์โบราณของอินเดียที่แสดงถึงอำนาจ
ในศาสนาเชน เครื่องหมายสวัสดิกะคือสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์และรัศมีแห่งพระอาทิตย์ ศาสนาเชนเชื่อว่าเขาไกรลาสคืออัษฏาปทะ (Astapada) เป็นที่ตรัสรู้ของนักบวชคนแรก คือ ฤษภะ (Rishabha)
คำว่าเชนมาจากคำว่า “ชินะ” มีความหมายว่าผู้ชนะ หมายถึงปรมาจารย์ของศาสนาที่มีชัยชนะต่อกิเลสตัณหาและความต้องการของร่างกายได้ มีหลักธรรมที่สำคัญคือ อหิงสา คือ ไม่เบียดเบียน และไม่ใช้ความรุนแรง