การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่2
ชื่องาน การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียน
คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวอารียา ณ น่าน
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 33 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่
ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t –test แบบ t – Dependent ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ83.58/85.15
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้
ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐโดยรวมมีค่าเฉลี่ย() เท่ากับ 4.44 ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่2
ชื่องาน การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียน
คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวอารียา ณ น่าน
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 33 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่
ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t –test แบบ t – Dependent ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ83.58/85.15
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้
ชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐโดยรวมมีค่าเฉลี่ย() เท่ากับ 4.44 ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก