สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 52
ขอโทษที่อาจจะขัดกับสิ่งที่เจ้าของกระทู้โพสเล็กน้อยนะครับ แต่สิ่งที่เจ้าของกระทู้โพสมามีข้อมูลบางส่วนที่ผิดนะครับ อันที่จริงแล้วยุงเป็นสิ่งมีชีวิตในPhylum Arthropoda Class Insecta พูดง่ายๆคือเป็นแมลง ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีระบบเลือดแบบเปิด กล่าวคือ เลือดจะไหลปนอยู่กับน้ำเหลืองเรียกว่าHemolymph ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในช่องที่เรียกว่าHemocoel ฉะนั้น
1. รูปที่คุณวงกลมสีแดง heart? ถ้าจำไม่ผิดส่วนนั้นเรียกว่า mesopostnotum ของยุงนะครับ ไม่ใช่หัวใจ
เพิ่มเติมข้อมูลให้นะครับจริงๆแล้วยุงมีหัวใจนะครับ แต่เป็นหัวใจที่เกิดจากการพองตัวของหลอดเลือดเรียกว่า Tubular heart คอยสูบฉีด Hemolymph
ระบบเลือดแบบเปิด หรือ ปิด ไม่ได้เอาการมี/ไม่มีหัวใจมาตัดสินนะครับ (คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า เป็นแมลง-->ระบบเปิด-->ไม่มีหัวใจ) จริงๆแล้วการแยกว่าเป็นระบบเปิด หรือปิดนั้น ดูว่าเลือดอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลารึเปล่า ถ้าเลือดอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาจะเป็น ระบบหมุนเวียนแบบปิดครับ
2. งา (ampulla) ที่เจ้าของกระทู้เข้าใจ จริงๆแล้วเป็นหนวดนะครับ เรียกว่า Antenna ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตใน Class Insecta อยู่แล้ว (มีหนวด 1 คู่ มีขา 6 ขา) และขอเพิ่มเติมอีกนิด ท่อดูดเลือดของยุงมีศัพท์ทางเทคนิคว่า Proboscis ครับ
ที่บอกว่าตาไหม้นั้นผมไม่แน่ใจว่า ไหม้จริง หรือเป็นเพราะระยะโฟกัสของกล้องนะครับ ผมพอดีความรู้เรื่องการถ่ายภาพอยู่บ้าง เนื่องจากตาของยุงนั้นมีลักษณะเป็น 3มิติ คือนูนอกมา ทำให้เวลาถ่ายภาพ อาจทำให้บางบริเวณหลุดโฟกัสของกล้อง
ส่วนวิดีโอที่บอกว่าแสดงการเต้นของหัวใจนั้น ขออธิบายตามนี้นะครับ ตามที่บอกไปข้างต้นว่ายุงเป็นสัตว์ในPhylum Arthropodaซึ่งเป็นสัตว์ที่มีปล้อง บริเวณท้องหรือAbdomenของยุงนั้นจะมีปล้องอยู่สิบปล้อง ซึ่งจะมีแผ่น(Sclerotized shields) ที่คอยคลุมไว้ด้านบน(Tergite) และ ด้านล่าง(Sternite) ซึ่งระหว่างแผ่นด้านบนและแผ่นด้านล่างจะมี เยื่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้(Flexible membrane) คอยรองรับการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในซึ่งการเคลื่อนไหวนี้มีส่วนช่วยให้เกิดการไหลของhemolymphอีกด้วย ฉะนั้นที่เห็นเต้นๆอยู่ไม่ใช่การเต้นของหัวใจ แต่เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในนะครับ
ปล. ไม่ได้มีเจตนาจะมาหักหน้าเจ้าของกระทู้นะครับ แต่เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ที่ถูกต้อง คนที่มาอ่านจะได้ไม่เข้าใจผิด และขอยกย่องเจ้าของกระทู้นะครับที่สนใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ผมเป็นเด็กสายวิทย์แต่การเรียนจริงๆไม่เคยได้ตั้งข้อสังเกตอะไรแบบนี้เลย ยังไงถ้าเจ้าของกระทู้สนใจที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ลองซื้อหนังสือชีววิทยา หรือสัตววิทยามานั่งอ่านดูครับ เป็นกำลังใจให้ศึกษาต่อไปนะครับ
ปล2. เพิ่มเอกสารอ้างอิงจากหัวข้อที่1 ที่พูดว่า แมลงซึ่งมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ก็มีหัวใจเหมือนกัน (แต่เป็น Tubular Heart) ไม่ใช่หัวใจที่สูบฉีดเลือด แต่เป็นหัวใจที่สูบฉีด Hemolymph
Integrated Principles of Zoology Edition 14th ของ Hickman หน้า 449 (เป็นTextbookสัตววิทยาครับ)
Campbell Biology edition 10th หน้า 917 (เป็นTextbookชีววิทยาที่คนส่วนใหญ่ใช้อ้างอิงครับ)
"Heart contraction pumps the hemolymph through the circulatory vessels into interconnected sinuses, spaces surrounding the organs..."
spaces surrounding the organsในที่นี้ก็คือHemocoelที่กล่าวไปข้างต้น
หนังสือสัตววิทยา ของ ม.เกษตร ผู้แต่ง บพิธ จารุพันธุ์ หน้า213
หัวข้อ ซีลอมและระบบหมุนเวียน
"...ช่องในลำตัวเกือบทั้งหมดจะเป็นช่องเลือด (hemocoel) แทรกกระจายอยู่ทั่วไปในช่องของลำตัว ซีลอมเป็นแบบคิโซซีลัส (schizocoelous) เช่นเดียวกับซีลอมของมอลลัสค์ ส่วนระบบหมุนเวียนเป็นแบบเปิด ประกอบไปด้วย หัวใจ เลือด และช่องเลือด..."
1. รูปที่คุณวงกลมสีแดง heart? ถ้าจำไม่ผิดส่วนนั้นเรียกว่า mesopostnotum ของยุงนะครับ ไม่ใช่หัวใจ
เพิ่มเติมข้อมูลให้นะครับจริงๆแล้วยุงมีหัวใจนะครับ แต่เป็นหัวใจที่เกิดจากการพองตัวของหลอดเลือดเรียกว่า Tubular heart คอยสูบฉีด Hemolymph
ระบบเลือดแบบเปิด หรือ ปิด ไม่ได้เอาการมี/ไม่มีหัวใจมาตัดสินนะครับ (คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า เป็นแมลง-->ระบบเปิด-->ไม่มีหัวใจ) จริงๆแล้วการแยกว่าเป็นระบบเปิด หรือปิดนั้น ดูว่าเลือดอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลารึเปล่า ถ้าเลือดอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาจะเป็น ระบบหมุนเวียนแบบปิดครับ
2. งา (ampulla) ที่เจ้าของกระทู้เข้าใจ จริงๆแล้วเป็นหนวดนะครับ เรียกว่า Antenna ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตใน Class Insecta อยู่แล้ว (มีหนวด 1 คู่ มีขา 6 ขา) และขอเพิ่มเติมอีกนิด ท่อดูดเลือดของยุงมีศัพท์ทางเทคนิคว่า Proboscis ครับ
ที่บอกว่าตาไหม้นั้นผมไม่แน่ใจว่า ไหม้จริง หรือเป็นเพราะระยะโฟกัสของกล้องนะครับ ผมพอดีความรู้เรื่องการถ่ายภาพอยู่บ้าง เนื่องจากตาของยุงนั้นมีลักษณะเป็น 3มิติ คือนูนอกมา ทำให้เวลาถ่ายภาพ อาจทำให้บางบริเวณหลุดโฟกัสของกล้อง
ส่วนวิดีโอที่บอกว่าแสดงการเต้นของหัวใจนั้น ขออธิบายตามนี้นะครับ ตามที่บอกไปข้างต้นว่ายุงเป็นสัตว์ในPhylum Arthropodaซึ่งเป็นสัตว์ที่มีปล้อง บริเวณท้องหรือAbdomenของยุงนั้นจะมีปล้องอยู่สิบปล้อง ซึ่งจะมีแผ่น(Sclerotized shields) ที่คอยคลุมไว้ด้านบน(Tergite) และ ด้านล่าง(Sternite) ซึ่งระหว่างแผ่นด้านบนและแผ่นด้านล่างจะมี เยื่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้(Flexible membrane) คอยรองรับการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในซึ่งการเคลื่อนไหวนี้มีส่วนช่วยให้เกิดการไหลของhemolymphอีกด้วย ฉะนั้นที่เห็นเต้นๆอยู่ไม่ใช่การเต้นของหัวใจ แต่เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในนะครับ
ปล. ไม่ได้มีเจตนาจะมาหักหน้าเจ้าของกระทู้นะครับ แต่เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ที่ถูกต้อง คนที่มาอ่านจะได้ไม่เข้าใจผิด และขอยกย่องเจ้าของกระทู้นะครับที่สนใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ผมเป็นเด็กสายวิทย์แต่การเรียนจริงๆไม่เคยได้ตั้งข้อสังเกตอะไรแบบนี้เลย ยังไงถ้าเจ้าของกระทู้สนใจที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ลองซื้อหนังสือชีววิทยา หรือสัตววิทยามานั่งอ่านดูครับ เป็นกำลังใจให้ศึกษาต่อไปนะครับ
ปล2. เพิ่มเอกสารอ้างอิงจากหัวข้อที่1 ที่พูดว่า แมลงซึ่งมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ก็มีหัวใจเหมือนกัน (แต่เป็น Tubular Heart) ไม่ใช่หัวใจที่สูบฉีดเลือด แต่เป็นหัวใจที่สูบฉีด Hemolymph
Integrated Principles of Zoology Edition 14th ของ Hickman หน้า 449 (เป็นTextbookสัตววิทยาครับ)
Campbell Biology edition 10th หน้า 917 (เป็นTextbookชีววิทยาที่คนส่วนใหญ่ใช้อ้างอิงครับ)
"Heart contraction pumps the hemolymph through the circulatory vessels into interconnected sinuses, spaces surrounding the organs..."
spaces surrounding the organsในที่นี้ก็คือHemocoelที่กล่าวไปข้างต้น
หนังสือสัตววิทยา ของ ม.เกษตร ผู้แต่ง บพิธ จารุพันธุ์ หน้า213
หัวข้อ ซีลอมและระบบหมุนเวียน
"...ช่องในลำตัวเกือบทั้งหมดจะเป็นช่องเลือด (hemocoel) แทรกกระจายอยู่ทั่วไปในช่องของลำตัว ซีลอมเป็นแบบคิโซซีลัส (schizocoelous) เช่นเดียวกับซีลอมของมอลลัสค์ ส่วนระบบหมุนเวียนเป็นแบบเปิด ประกอบไปด้วย หัวใจ เลือด และช่องเลือด..."
ความคิดเห็นที่ 2
ในคลิปนี้จะเห็นว่า หลังถูกไฟฟ้าช้อตยุงตัวนี้หัวใจยังเต้นค่อนข้างดี เสียอย่างเดียวยุงตัวนี้
ตัวค่อนข้างทึบ (บางตัวใสมากมองเห็นชัดเลย)
กรณีที่หัวใจเต้น โอกาสตายราวๆ 50%
แต่ถ้าอึและฉี่แตกด้วยโอกาสตายเกือบ 100%
ยุงตัวนี้อึแตกด้วย เป็นน้ำข้นๆ แต่ผมถ่ายไม่ทัน
ในคลิปจะเห็นการที่ฉี่แตกชัดเจน
แต่โดยสถิติคือยุงราวๆ 50% เท่านั้นที่ตายโดยไม้แบต
ตัวค่อนข้างทึบ (บางตัวใสมากมองเห็นชัดเลย)
กรณีที่หัวใจเต้น โอกาสตายราวๆ 50%
แต่ถ้าอึและฉี่แตกด้วยโอกาสตายเกือบ 100%
ยุงตัวนี้อึแตกด้วย เป็นน้ำข้นๆ แต่ผมถ่ายไม่ทัน
ในคลิปจะเห็นการที่ฉี่แตกชัดเจน
แต่โดยสถิติคือยุงราวๆ 50% เท่านั้นที่ตายโดยไม้แบต
แสดงความคิดเห็น
ชันสูตรศพน้องยุงที่ตายจากไม้แบต อย่างละเอียด (18+ มีภาพศพและสัตว์ใกล้ตาย)
ผมถ่ายโดยใข้ Samsung Note4 ร่วมกับเลนส์ขยาย (Macro on Phone)
คิดว่านักวิทย์ฯกระแสหลักคงไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่นักวิทย์ฯบ้านๆแบบผมสนใจมาก
ยุงทึ่ถูกไม้แบตฯช้อต มันมีการบาดเจ็บได้สามแบบคือ
1. มี burn ที่อวัยวะสำคัญร่วมกับไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจ เลยตาย พวกนี้มีรอย burn ชัดเจน ถ้าผมหารูปในเครื่องเก่าได้จะ post ให้ดู
2. พวก burn ที่สมองทำให้ตายทันที ผมมีภาพให้ดู ในภาพจะเห็นการ burn ของหน้า ทั้งงา (ampulla) ท่อดูดเลือด ซึ่งมีเขม่าจับเห็นชัด
และตาซึ่งไหม้ไปแล้ว แต่ยังคงรูปเป็นตา จะเห็นว่าเหลือบของตาที่เป็นสีรุ้งหายไปแล้ว ส่วนหนวดหายไปเลย
3.พวกตายจาก shock wave พวกนี้อาจเกิดจากขนเล็กๆแหย่เข้าในไม้แบตฯ ทำให้เกิดการระเบิดรุนแรง แต่การบาดเจ็บที่เห็นกับตาเปล่า
น้อยมาก
พวกนี้จะมีหัวใจยังเต้นอยู่ แต่ตัวที่ตายมักมีอึฉี่แตกออกมา ถ้าอึไม่แตกมักไม่ตาย
ดูภาพน้องยุงตัวนี้ที่ตายจาก shock wave ดูหัวก่อนจะเห็นว่าอยู่ครบ ทั้งตาและหนวด