แอร์เอเชีย เคยได้ชื่อว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก แต่ปัจจุบันการเติบโตของแอร์เอเชียกลับเจอข้อจำกัดหลายประการ ที่อาจทำให้สายการบินโลว์คอสเจ้านี้ ไม่ใช่ดาวเด่นแห่งเอเชียอีกต่อไป
แอร์เอเชีย ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกตลาดสายการบินต้นทุนต่ำในเอเชีย เป็น "แม็คโดนัลด์" ของวงการสายการบิน ที่เน้นความสะดวกรวดเร็วและประหยัด มากกว่าความหรูหราสะดวกสบายที่ไม่จำเป็น แอร์เอเชียบริษัทแม่ที่มาเลเซีย ประสบความสำเร็จจนสามารถแผ่ขยายแฟรนไชส์ไปยังเพื่อนบ้านเช่นไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดีย โดยมีจุดแข็งคือการสามารถใช้แบรนด์ "แอร์เอเชีย" ได้ แม้จะถือหุ้นในกิจการน้อยกว่าพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น และการบังคับให้พาร์ทเนอร์รักษามาตรฐานทุกอย่างเหมือนแอร์เอเชียมาเลเซีย จนการใช้บริการแอร์เอเชียในแต่ละประเทศ แทบไม่มีความแตกต่างกัน และกลายเป็นแบรนด์ที่ภาพลักษณ์แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือได้ในเวลาอันสั้น
แต่ในระยะไม่กี่ปีมานี้ รูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของแอร์เอเชีย กลับถูกท้าทาย เมื่อแอร์เอเชียในไทยเริ่มไม่ทำกำไร ขณะที่แอร์เอเชียฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียก็ต้องปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุน ตอกย้ำด้วยตัวเลขการเติบโตของอัตราผู้โดยสารในปี 2014 ที่เพิ่มเป็น 50 ล้านคน คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 9.3 จากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่การเปลี่ยนผู้บริหารในปี 2002
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเที่ยวบิน QZ8501 ของแอร์เอเชียอินโดนีเซีย ถูกมองว่าเป็นปัจจัยลบที่มีส่วนสำคัญต่อการสูญเสียรายได้และความเชื่อมั่นที่มีต่อแอร์เอเชีย แต่ลำพังเพียงอุบัติเหตุทางการบิน ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะส่งผลต่อทั้งเครือข่ายธุรกิจ
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้แอร์เอเชียเริ่มถึงทางตัน ก็คือการแข่งขันในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำที่รุนแรงขึ้นมาก ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนที่นั่งของสายการบินในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่จำนวนที่นั่งของสายการบินต้นทุนต่ำกลับเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จาก 40 ล้าน เป็น 400 ล้านที่นั่งในเวลาเพียง 1 ทศวรรษ ยังไม่นับการหั่นราคาลงมาสู้กับสายการบินทุนต่ำของบรรดาผู้ให้บริการการบินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง
นอกจากนี้ แอร์เอเชียยังไม่สามารถเจาะเข้าไปยังตลาดใหม่ๆที่มีกำลังซื้อสูงได้ เช่นญี่ปุ่น เนื่องจากติดปัญหาเชิงวัฒนธรรม คนญี่ปุ่นนิยมซื้อตั๋วผ่านเอเจนซี ทั้งที่การจองตั๋วของแอร์เอเชียร้อยละ 85 ทำผ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังมีปัญหากับการบังคับให้เช็คอินก่อนเครื่องออกอย่างน้อย 45 นาที เพราะสายการบินส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นอนุญาตให้ผู้โดยสารเช็คอินผ่านช่องทางลัดในเวลาเพียง 15 นาทีก่อนเครื่องออกได้ เช่นเดียวกับในเวียดนาม ที่การร่วมทุนระหว่างแอร์เอเชียกับเวียดเจ็ทแอร์ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเวียดเจ็ทยืนยันว่าคนเวียดนามมีวิธีการบริหารเป็นของตนเอง ไม่สามารถทำแบบที่แอร์เอเชียต้องการทุกอย่างได้
ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาที่การแข่งขันระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำรุนแรงเช่นนี้ จุดแข็งของแอร์เอเชียกำลังกลายเป็นจุดอ่อน เมื่อการแผ่ขยายกิจการไปยังตลาดใหม่ๆเพื่อทดแทนส่วนแบ่งที่ถูกแย่งไปในตลาดเดิม ต้องประสบปัญหาไม่ได้รับการยอมรับจากพาร์ทเนอร์ต่างชาติ เนื่องจากแนวทางการบริหารที่ยึดมั่นในแบรนด์ตนเองมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน หากแอร์เอเชียยอมยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนนโยบายตามพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศ ก็จะกลายเป็นการทำลายมาตรฐานการบริการ อันเป็นจุดขายสำคัญของแอร์เอเชียเช่นกัน
ที่มา -
VoiceTV 21 (มีคลิปข่าว)
VoiceTV: ถึงเวลา Air Asia หยุดโต? ข้อจำกัดหลายประการ อาจทำให้สายการบินโลว์คอสเจ้านี้ ไม่ใช่ดาวเด่นแห่งเอเชียอีกต่อไป
แอร์เอเชีย เคยได้ชื่อว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก แต่ปัจจุบันการเติบโตของแอร์เอเชียกลับเจอข้อจำกัดหลายประการ ที่อาจทำให้สายการบินโลว์คอสเจ้านี้ ไม่ใช่ดาวเด่นแห่งเอเชียอีกต่อไป
แอร์เอเชีย ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกตลาดสายการบินต้นทุนต่ำในเอเชีย เป็น "แม็คโดนัลด์" ของวงการสายการบิน ที่เน้นความสะดวกรวดเร็วและประหยัด มากกว่าความหรูหราสะดวกสบายที่ไม่จำเป็น แอร์เอเชียบริษัทแม่ที่มาเลเซีย ประสบความสำเร็จจนสามารถแผ่ขยายแฟรนไชส์ไปยังเพื่อนบ้านเช่นไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดีย โดยมีจุดแข็งคือการสามารถใช้แบรนด์ "แอร์เอเชีย" ได้ แม้จะถือหุ้นในกิจการน้อยกว่าพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น และการบังคับให้พาร์ทเนอร์รักษามาตรฐานทุกอย่างเหมือนแอร์เอเชียมาเลเซีย จนการใช้บริการแอร์เอเชียในแต่ละประเทศ แทบไม่มีความแตกต่างกัน และกลายเป็นแบรนด์ที่ภาพลักษณ์แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือได้ในเวลาอันสั้น
แต่ในระยะไม่กี่ปีมานี้ รูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของแอร์เอเชีย กลับถูกท้าทาย เมื่อแอร์เอเชียในไทยเริ่มไม่ทำกำไร ขณะที่แอร์เอเชียฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียก็ต้องปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุน ตอกย้ำด้วยตัวเลขการเติบโตของอัตราผู้โดยสารในปี 2014 ที่เพิ่มเป็น 50 ล้านคน คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 9.3 จากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่การเปลี่ยนผู้บริหารในปี 2002
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเที่ยวบิน QZ8501 ของแอร์เอเชียอินโดนีเซีย ถูกมองว่าเป็นปัจจัยลบที่มีส่วนสำคัญต่อการสูญเสียรายได้และความเชื่อมั่นที่มีต่อแอร์เอเชีย แต่ลำพังเพียงอุบัติเหตุทางการบิน ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะส่งผลต่อทั้งเครือข่ายธุรกิจ
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้แอร์เอเชียเริ่มถึงทางตัน ก็คือการแข่งขันในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำที่รุนแรงขึ้นมาก ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนที่นั่งของสายการบินในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่จำนวนที่นั่งของสายการบินต้นทุนต่ำกลับเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จาก 40 ล้าน เป็น 400 ล้านที่นั่งในเวลาเพียง 1 ทศวรรษ ยังไม่นับการหั่นราคาลงมาสู้กับสายการบินทุนต่ำของบรรดาผู้ให้บริการการบินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง
นอกจากนี้ แอร์เอเชียยังไม่สามารถเจาะเข้าไปยังตลาดใหม่ๆที่มีกำลังซื้อสูงได้ เช่นญี่ปุ่น เนื่องจากติดปัญหาเชิงวัฒนธรรม คนญี่ปุ่นนิยมซื้อตั๋วผ่านเอเจนซี ทั้งที่การจองตั๋วของแอร์เอเชียร้อยละ 85 ทำผ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังมีปัญหากับการบังคับให้เช็คอินก่อนเครื่องออกอย่างน้อย 45 นาที เพราะสายการบินส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นอนุญาตให้ผู้โดยสารเช็คอินผ่านช่องทางลัดในเวลาเพียง 15 นาทีก่อนเครื่องออกได้ เช่นเดียวกับในเวียดนาม ที่การร่วมทุนระหว่างแอร์เอเชียกับเวียดเจ็ทแอร์ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเวียดเจ็ทยืนยันว่าคนเวียดนามมีวิธีการบริหารเป็นของตนเอง ไม่สามารถทำแบบที่แอร์เอเชียต้องการทุกอย่างได้
ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาที่การแข่งขันระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำรุนแรงเช่นนี้ จุดแข็งของแอร์เอเชียกำลังกลายเป็นจุดอ่อน เมื่อการแผ่ขยายกิจการไปยังตลาดใหม่ๆเพื่อทดแทนส่วนแบ่งที่ถูกแย่งไปในตลาดเดิม ต้องประสบปัญหาไม่ได้รับการยอมรับจากพาร์ทเนอร์ต่างชาติ เนื่องจากแนวทางการบริหารที่ยึดมั่นในแบรนด์ตนเองมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน หากแอร์เอเชียยอมยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนนโยบายตามพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศ ก็จะกลายเป็นการทำลายมาตรฐานการบริการ อันเป็นจุดขายสำคัญของแอร์เอเชียเช่นกัน
ที่มา - VoiceTV 21 (มีคลิปข่าว)