1. ไม่เก็บบันทึกทางการเงินให้เป็นปัจจุบัน นี่คือความผิดพลาดอันดับต้นๆ ของธุรกิจขนาดเล็กเลยก็ว่าได้เพราะถึงแม้เราจะรู้ว่าควรทำบันทึกทางการเงินเสมอ แต่ในความเป็นจริง ความคิดก็ง่ายกว่าการลงมือทำ ดังนั้น การใช้เครื่องมืออย่าง Cloud หรือ Cloud Computing เข้ามาช่วยก็จะทำให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2. มองข้ามงบประมาณประจำปีและการประมาณการงบทางการเงิน จำไว้เสมอว่าข้อมูลคือคลังความรู้ การจะสร้างแผนธุรกิจขึ้นมาได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มทางการตลาดเพื่อที่จะได้คาดการณ์ล่วงหน้าและวางแผนการใช้เงินได้อย่างเหมาะสม
3. ไม่เคยปรึกษานักบัญชีมืออาชีพ บางครั้งถ้าธุรกิจของเราเจอปัญหาด้านบัญชีที่ค่อนข้างหนัก ลองเอาภาระเหล่านั้นออกไปด้วยการปรึกษามืออาชีพดูบ้างก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีน้อยคนนักที่จะทำ เพราะคิดว่ามันสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ อารมณ์ประมาณเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนั่นแหละ
4. ไม่จำแนกรูปแบบพนักงาน ปัญหานี้ในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่และได้รับการจับตามองจากกรมสรรพากรอย่างใกล้ชิด เพราะหลายบริษัทจ้างพนักงานแบบเอาต์ซอร์ซ เมื่อเป็นพนักงานแบบเอาต์ซอร์ซนายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าความปลอดภัยทางสังคม โครงการประกันสุขภาพ และภาษีการประกันการว่างงาน ปัญหานี้จึงเป็นเรื่องคล้ายๆ กับการหลบเลี่ยงภาษีรูปแบบหนึ่ง (ของประเทศไทยผลกระทบยังไม่มากเท่ากับสหรัฐฯ เพียงแต่ควรต้องจำแนกรายจ่ายของพนักงานแต่ละประเภทให้ชัดเจน เช่น ถ้ามีพนักงานประจำมากเกินไป อาจลดจำนวนพนักงาน แล้วลองใช้เอาต์ซอร์ซเพื่อลดค่าใช้จ่ายดู เป็นต้น)
5. ยื่นรูปแบบธุรกิจไม่ถูกต้อง โครงสร้างรูปแบบธุรกิจแต่ละประเภท มีเรื่องของเงินลงทุน ค่าใช้จ่าย ภาษี การยื่นเอกสารที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น จดทะเบียนในนามบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือทำเพียงคนเดียว ตรงนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าธุรกิจของเราเหมาะกับการจดทะเบียนประเภทใด เพราะค่าใช้จ่ายกับภาษีแตกต่างกันพอสมควร
6. นำค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาปนกับเงินที่ใช้ทำธุรกิจ นี่คือเรื่องเล็กๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่โตมโหฬารจนธุรกิจรายย่อยต้องปิดกิจการมาแล้วนับไม่ถ้วน เพราะผู้ประกอบการบางรายคิดว่าร้านค้าตัวเองเป็นขนาดเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เช่น ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ขายของแล้วนำเงินเก็บไว้ในลิ้นชัก แต่กลับนำเงินในลิ้นชักไปซื้ออาหาร เติมน้ำมัน ซื้อของมาเติมร้าน ซื้อเครื่องใช้ต่างๆ สุดท้ายจึงไม่รู้ว่าในแต่ละวันขายสินค้าได้เท่าไหร่ กำไร ขาดทุนอย่างไร วิธีที่ถูกต้องคือ ให้ค่าแรงตัวเองต่างหาก ส่วนเงินที่ขายของได้ก็ทำบัญชีแยกไว้อีกส่วนเพื่อเก็บเป็นข้อมูลและเพื่อยื่นภาษีในอนาคตด้วย
Credit : SME Thailand club
ติดตามข่าวสาร เศรษฐกิจ และเรื่องราวการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage :
https://www.facebook.com/thinkvestment
6 มหันตภัยทางการเงินของธุรกิจขนาดเล็ก
1. ไม่เก็บบันทึกทางการเงินให้เป็นปัจจุบัน นี่คือความผิดพลาดอันดับต้นๆ ของธุรกิจขนาดเล็กเลยก็ว่าได้เพราะถึงแม้เราจะรู้ว่าควรทำบันทึกทางการเงินเสมอ แต่ในความเป็นจริง ความคิดก็ง่ายกว่าการลงมือทำ ดังนั้น การใช้เครื่องมืออย่าง Cloud หรือ Cloud Computing เข้ามาช่วยก็จะทำให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2. มองข้ามงบประมาณประจำปีและการประมาณการงบทางการเงิน จำไว้เสมอว่าข้อมูลคือคลังความรู้ การจะสร้างแผนธุรกิจขึ้นมาได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มทางการตลาดเพื่อที่จะได้คาดการณ์ล่วงหน้าและวางแผนการใช้เงินได้อย่างเหมาะสม
3. ไม่เคยปรึกษานักบัญชีมืออาชีพ บางครั้งถ้าธุรกิจของเราเจอปัญหาด้านบัญชีที่ค่อนข้างหนัก ลองเอาภาระเหล่านั้นออกไปด้วยการปรึกษามืออาชีพดูบ้างก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีน้อยคนนักที่จะทำ เพราะคิดว่ามันสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ อารมณ์ประมาณเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนั่นแหละ
4. ไม่จำแนกรูปแบบพนักงาน ปัญหานี้ในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่และได้รับการจับตามองจากกรมสรรพากรอย่างใกล้ชิด เพราะหลายบริษัทจ้างพนักงานแบบเอาต์ซอร์ซ เมื่อเป็นพนักงานแบบเอาต์ซอร์ซนายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าความปลอดภัยทางสังคม โครงการประกันสุขภาพ และภาษีการประกันการว่างงาน ปัญหานี้จึงเป็นเรื่องคล้ายๆ กับการหลบเลี่ยงภาษีรูปแบบหนึ่ง (ของประเทศไทยผลกระทบยังไม่มากเท่ากับสหรัฐฯ เพียงแต่ควรต้องจำแนกรายจ่ายของพนักงานแต่ละประเภทให้ชัดเจน เช่น ถ้ามีพนักงานประจำมากเกินไป อาจลดจำนวนพนักงาน แล้วลองใช้เอาต์ซอร์ซเพื่อลดค่าใช้จ่ายดู เป็นต้น)
5. ยื่นรูปแบบธุรกิจไม่ถูกต้อง โครงสร้างรูปแบบธุรกิจแต่ละประเภท มีเรื่องของเงินลงทุน ค่าใช้จ่าย ภาษี การยื่นเอกสารที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น จดทะเบียนในนามบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือทำเพียงคนเดียว ตรงนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าธุรกิจของเราเหมาะกับการจดทะเบียนประเภทใด เพราะค่าใช้จ่ายกับภาษีแตกต่างกันพอสมควร
6. นำค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาปนกับเงินที่ใช้ทำธุรกิจ นี่คือเรื่องเล็กๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่โตมโหฬารจนธุรกิจรายย่อยต้องปิดกิจการมาแล้วนับไม่ถ้วน เพราะผู้ประกอบการบางรายคิดว่าร้านค้าตัวเองเป็นขนาดเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เช่น ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ขายของแล้วนำเงินเก็บไว้ในลิ้นชัก แต่กลับนำเงินในลิ้นชักไปซื้ออาหาร เติมน้ำมัน ซื้อของมาเติมร้าน ซื้อเครื่องใช้ต่างๆ สุดท้ายจึงไม่รู้ว่าในแต่ละวันขายสินค้าได้เท่าไหร่ กำไร ขาดทุนอย่างไร วิธีที่ถูกต้องคือ ให้ค่าแรงตัวเองต่างหาก ส่วนเงินที่ขายของได้ก็ทำบัญชีแยกไว้อีกส่วนเพื่อเก็บเป็นข้อมูลและเพื่อยื่นภาษีในอนาคตด้วย
Credit : SME Thailand club
ติดตามข่าวสาร เศรษฐกิจ และเรื่องราวการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage : https://www.facebook.com/thinkvestment