ผวา! แฮกเกอร์สุดแสบ ขโมยเงินธนาคารใน 25 ประเทศ กว่า 3 หมื่นล้าน
เผยรายงานใหม่... เหล่าอาชญากรในโลกไซเบอร์ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารกว่า 100 แห่งใน 25 ประเทศ ทั่วโลก ขโมยเงินมหาศาลจากธนาคาร ไปได้กว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ชี้แฮกเกอร์เหล่านี้มีทั้งชาวรัสเซีย, ยูเครน, จีน และยุโรป
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างข้อมูลของบริษัทความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ต ‘คาสเปอร์สกาย แล็บ’ (Kaspersky Lab) ซึ่งได้เสนอรายงานใหม่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ก.พ. ว่า มีเหล่าแฮกเกอร์ได้เข้าโจมตีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของธนาคารในต่างประเทศกว่า 25 ประเทศ รวมทั้งในสหรัฐฯ จนสามารถขโมยเงินในบัญชีธนาคารของลูกค้าไปได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือร่วม 32,000 ล้านบาท
บริษัท คาสเปอร์สกาย แล็บ ชี้ว่า มีธนาคารมากกว่า 100 แห่งที่ถูกแฮกเกอร์ เข้ามาขโมยเงินจากบัญชี โดยธนาคารแต่ละแห่ง จะโดนขโมยเงินมากน้อยแตกต่างกันไป เฉลี่ยแล้วประมาณธนาคารละ 2.5 ล้านดอลลาร์ ไปจนถึง 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมแล้วทำให้ต้องสูญเสียเงินให้กับแฮกเกอร์ไปมหาศาลถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ จนต้องถือเป็นความสำเร็จของเหล่าอาญชากรในโลกไซเบอร์เท่าที่บริษัทเคยเห็นมาเลยทีเดียว
ขณะเดียวกัน ตามรายงานของ บริษัทความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตยังชี้ว่า แฮกเกอร์ที่เข้ามาขโมยเงินในธนาคารต่างชาติ มีทั้งชาวรัสเซีย, ชาวยูเครน, ชาวจีนและชาวยุโรป ขณะที่มีธนาคารในต่างประเทศ ถึง 25 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ ที่โดนแฮกเกอร์เข้ามาขโมยเงินไป เพียงแต่ไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อธนาคารที่โดนแฮกให้สาธารณะชนได้รับทราบ
คาสเปอร์สกาย แล็บ รายงานด้วยว่า แฮกเกอร์ได้ใช้โปรแกรม มัลแวร์ ที่เรียกว่า ‘คาร์บาแน็ก’ ในการโจมตีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำให้เสียหาย ซึ่งหลังจากโจมตีระบบคอมพิวเตอร์แล้ว แฮกเกอร์จะซุ่มอยู่ประมาณ 2-4 เดือน ก่อนจะลงมือโจมตีหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนบัญชี และโอนเงินเข้าบัญชีของพวกตน รวมทั้งถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม โดยให้สมาชิกในแก๊งไปคอยยืนอยู่ด้านข้างตู้เอทีเอ็มเพื่อเก็บเงิน
นอกจากนั้น โปรแกรมมัลแวร์ คาร์บาแน็กนี้ ยังสามารถทำให้บรรดาแฮกเกอร์สามารถดูพนักงานธนาคารทำธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างละเอียด ‘มัลแวร์นี้ทำให้พวกเขาเห็นและบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของพนักงานธนาคารในระบบโอนเงิน’ คาสเปอร์สกาย แล็บ รายงาน
kaspersky antivirus มีจุดเด่นคือ ออกแบบโครงสร้างซ็อฟแวร์ให้กินไวรัสทุกชนิดโดยไม่ถามก่อน เหมาะสำหรับระดับ User ที่ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการลงซ็อฟแวร์ หรือทดลองซ็อฟแวร์แคร็ก และเหมาะสำหรับธนาคาร บริษัทการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ นักเล่นหุ้น ส่วนจุดที่เด่นที่สุดคือความสามารถในการตรวจหาไวรัสชนิดแฝงตัวสอดแนมโดยไม่ทำอันตรายเครื่อง kaspersky lab รายงานเรื่อง การเจาะระบบธนาคาร มีการขโมยโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารมากกว่า 100 แห่ง ใน 25 ประเทศ กว่า 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ธนาคารมีช่องโหว่
เงินฝากในบัญชีของธนาคารบีบีซีที่ล้มไปสิบกว่าปี มีใครได้ยินข่าวว่าได้ส่วนแบ่งคืนมาบ้างหรือยัง
กฎหมายค้ำประกันเงินฝากน่าจะเป็นการออกมาเพื่อการนี้ด้วย แต่ถึงเวลาจริงๆจะไปเอาเงินจากที่ไหนมาคืนให้ เพราะเงินส่วนใหญ่ปล่อยกู้ไปกว่า 90% ซึ่งต้องรอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทวงหนี้จากภาคครัวเรือนที่เกือบเท่า จีดีพีได้
ไวรัสโทรจัน คาร์บาแน็ก เป็นไวรัสชนิดสอดแนมที่มีความสามารถควบคุมระบบได้ด้วย และเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมไฟร์วอลของระบบธนาคารที่ควรจะมีการเข้ารหัสสูงๆทำไมปิดกั้นไม่ได้ ส่วนนึงอาจจะเกิดจากกฎหมายของสหรัฐที่ห้ามการเข้ารหัสเกิน 128K และก่อนหน้านี้เคยมีข่าวเรื่องบริษัทเอ้าท์ซอร์สของบริการบัตรเครดิต แอบสอดแนมเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการขณะรูดบัตร หลายล้านบัญชี
ส่วนธนาคารในไทยที่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีคือ กสิกรไทย มีสัญญากับไอบีเอ็ม ระบบลิ้งใช้ T1ของดีแทค และ UIH
ใครมีเงินเก็บหาทางบริหารความเสี่ยงนะครับ ด่วนด้วย
http://www.thairath.co.th/content/481590
ผวา! แฮกเกอร์สุดแสบ ขโมยเงินธนาคารใน 25 ประเทศ กว่า 3 หมื่นล้าน..
เผยรายงานใหม่... เหล่าอาชญากรในโลกไซเบอร์ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารกว่า 100 แห่งใน 25 ประเทศ ทั่วโลก ขโมยเงินมหาศาลจากธนาคาร ไปได้กว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ชี้แฮกเกอร์เหล่านี้มีทั้งชาวรัสเซีย, ยูเครน, จีน และยุโรป
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างข้อมูลของบริษัทความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ต ‘คาสเปอร์สกาย แล็บ’ (Kaspersky Lab) ซึ่งได้เสนอรายงานใหม่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ก.พ. ว่า มีเหล่าแฮกเกอร์ได้เข้าโจมตีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของธนาคารในต่างประเทศกว่า 25 ประเทศ รวมทั้งในสหรัฐฯ จนสามารถขโมยเงินในบัญชีธนาคารของลูกค้าไปได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือร่วม 32,000 ล้านบาท
บริษัท คาสเปอร์สกาย แล็บ ชี้ว่า มีธนาคารมากกว่า 100 แห่งที่ถูกแฮกเกอร์ เข้ามาขโมยเงินจากบัญชี โดยธนาคารแต่ละแห่ง จะโดนขโมยเงินมากน้อยแตกต่างกันไป เฉลี่ยแล้วประมาณธนาคารละ 2.5 ล้านดอลลาร์ ไปจนถึง 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมแล้วทำให้ต้องสูญเสียเงินให้กับแฮกเกอร์ไปมหาศาลถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ จนต้องถือเป็นความสำเร็จของเหล่าอาญชากรในโลกไซเบอร์เท่าที่บริษัทเคยเห็นมาเลยทีเดียว
ขณะเดียวกัน ตามรายงานของ บริษัทความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตยังชี้ว่า แฮกเกอร์ที่เข้ามาขโมยเงินในธนาคารต่างชาติ มีทั้งชาวรัสเซีย, ชาวยูเครน, ชาวจีนและชาวยุโรป ขณะที่มีธนาคารในต่างประเทศ ถึง 25 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ ที่โดนแฮกเกอร์เข้ามาขโมยเงินไป เพียงแต่ไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อธนาคารที่โดนแฮกให้สาธารณะชนได้รับทราบ
คาสเปอร์สกาย แล็บ รายงานด้วยว่า แฮกเกอร์ได้ใช้โปรแกรม มัลแวร์ ที่เรียกว่า ‘คาร์บาแน็ก’ ในการโจมตีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำให้เสียหาย ซึ่งหลังจากโจมตีระบบคอมพิวเตอร์แล้ว แฮกเกอร์จะซุ่มอยู่ประมาณ 2-4 เดือน ก่อนจะลงมือโจมตีหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนบัญชี และโอนเงินเข้าบัญชีของพวกตน รวมทั้งถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม โดยให้สมาชิกในแก๊งไปคอยยืนอยู่ด้านข้างตู้เอทีเอ็มเพื่อเก็บเงิน
นอกจากนั้น โปรแกรมมัลแวร์ คาร์บาแน็กนี้ ยังสามารถทำให้บรรดาแฮกเกอร์สามารถดูพนักงานธนาคารทำธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างละเอียด ‘มัลแวร์นี้ทำให้พวกเขาเห็นและบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของพนักงานธนาคารในระบบโอนเงิน’ คาสเปอร์สกาย แล็บ รายงาน
kaspersky antivirus มีจุดเด่นคือ ออกแบบโครงสร้างซ็อฟแวร์ให้กินไวรัสทุกชนิดโดยไม่ถามก่อน เหมาะสำหรับระดับ User ที่ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการลงซ็อฟแวร์ หรือทดลองซ็อฟแวร์แคร็ก และเหมาะสำหรับธนาคาร บริษัทการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ นักเล่นหุ้น ส่วนจุดที่เด่นที่สุดคือความสามารถในการตรวจหาไวรัสชนิดแฝงตัวสอดแนมโดยไม่ทำอันตรายเครื่อง kaspersky lab รายงานเรื่อง การเจาะระบบธนาคาร มีการขโมยโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารมากกว่า 100 แห่ง ใน 25 ประเทศ กว่า 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ธนาคารมีช่องโหว่
เงินฝากในบัญชีของธนาคารบีบีซีที่ล้มไปสิบกว่าปี มีใครได้ยินข่าวว่าได้ส่วนแบ่งคืนมาบ้างหรือยัง
กฎหมายค้ำประกันเงินฝากน่าจะเป็นการออกมาเพื่อการนี้ด้วย แต่ถึงเวลาจริงๆจะไปเอาเงินจากที่ไหนมาคืนให้ เพราะเงินส่วนใหญ่ปล่อยกู้ไปกว่า 90% ซึ่งต้องรอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทวงหนี้จากภาคครัวเรือนที่เกือบเท่า จีดีพีได้
ไวรัสโทรจัน คาร์บาแน็ก เป็นไวรัสชนิดสอดแนมที่มีความสามารถควบคุมระบบได้ด้วย และเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมไฟร์วอลของระบบธนาคารที่ควรจะมีการเข้ารหัสสูงๆทำไมปิดกั้นไม่ได้ ส่วนนึงอาจจะเกิดจากกฎหมายของสหรัฐที่ห้ามการเข้ารหัสเกิน 128K และก่อนหน้านี้เคยมีข่าวเรื่องบริษัทเอ้าท์ซอร์สของบริการบัตรเครดิต แอบสอดแนมเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการขณะรูดบัตร หลายล้านบัญชี
ส่วนธนาคารในไทยที่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีคือ กสิกรไทย มีสัญญากับไอบีเอ็ม ระบบลิ้งใช้ T1ของดีแทค และ UIH
ใครมีเงินเก็บหาทางบริหารความเสี่ยงนะครับ ด่วนด้วย
http://www.thairath.co.th/content/481590