ในแต่ละวันเราจะต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องธรรมดาเช่น ออกไปเจอเพื่อนดีมั๊ย หรือกินข้าวไหนดี ทำ OT ดีมั๊ย ไปจนถึงเรื่องสำคัญๆ ที่ตัดสินใจยากมากๆ เช่นทำงานที่ไหนดี เรียนต่อดีมั๊ย ออกจากงานมาเปิดร้านเองดีมั๊ย หรือแม้กระทั่งจีบสาวคนนี้ดีมั๊ย ?
โพสต์นี่ผมจะมาแนะนำกระบวนความคิดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ตัดสินใจยากๆ ครับ
เทคนิคนี้ผมได้มาจากหนังสือ The Everything Store เขียนโดย Brad Stone ซึ่งเล่าชีวประวัติของ
Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Amazon และความเป็นมาของบริษัทตั้งแต่ก่อนก่อตั้ง จนมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอินเตอร์เน็ตถึงในปัจจุบันครับ
ในปี 1994 Jeff Bezos ซึ่งอายุได้ 30 ปีพอดี
กำลังหนักใจกับการเลือกเส้นทางชีวิตการงานของเขา ระหว่างเติบโตต่อไปกับบริษัท D.E. Shaw & Co ซึ่งตอนนั้นเป็นบริษัทกองทุน Hedge Fund ที่คิดค้นเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการลงทุน ซึ่ง Jeff ก็ทำหน้าที่ของเขาได้ดีมาก และกำลังเริ่มโปรเจ็คใหม่ที่เรียกว่า Everything Store บนอินเตอร์เน็ท แต่ Jeff รู้ดีว่าถ้าเขาอยู่ที่นี่ต่อไปเขาจะไม่ได้เป็นเจ้าของเจ้า Everything Store จริงๆ เพราะฉะนั้นอีกทางเลือกของ Jeff คือ ออกจากงานประจำที่ D.E. Shaw และทิ้งโอกาสการเป็นผู้บริหารเงินเดือนดี งานสนุกและมั่นคง แล้วมาร่วมเดินทางกับเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า
"The Internet" แทน Jeff ในตอนนั้นคิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เขาเลยไปปรึกษาหัวหน้าเขาที่ชื่อว่า David Shaw ผู้ก่อตั้งบริษัทที่เขาทำงานอยู่นั่นเอง หัวหน้าจึงให้เวลา Jeff มาตัดสินใจเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
ระหว่างช่วงเวลาตัดสินใจกับชะตาชีวิตตัวเองนั้น Jeff ได้อ่านนิยายที่ชื่อว่า
"Remains of the Day" โดย
Kazuo Ishiguro ซึ่งหลังจากอ่านเสร็จ Jeff Bezos ก็ได้แรงบันดาลใจและเทคนิคในการตัดสินใจที่เรียกว่า
The Regret Minimization Framework หรือการ
เลือกหนทางที่เราจะเสียดายน้อยที่สุดเมื่อมองกลับมาจากอนาคต ซึ่งสำหรับ Jeff นั้น
กระบวนความคิดนี้ทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องง่ายไปเลย
หลังจาก Jeff ลองนึกมองตัวเองกลับมาจากอนาคตตอนเขาอายุ 80 เขาก็รู้สึกกระจ่างขึ้นมาทันที
เขารู้เลยว่าตอนเขาอายุ 80 เขาคงไม่มานั่งเสียดายเงินเดือนและโบนัสทั้งหลายที่เขากำลังจะได้บริษัทใน Wall Street หรือเสียดายที่ออกจากงานดีๆแบบนี้ แต่เขาคงเสียดายสุดๆ ถ้าเขาไม่ได้ร่วมเดินทางไปกับการเริ่มต้นของยุคอินเตอร์เน็ตที่กำลังเติบโตแบบปาฏิหาริย์! หลังจากนั้นเขาเลยไปคุยกับหัวหน้าเขา David Shaw และขอโปรเจ็คนี้ Everything Store นี้ไปเริ่มบริษัทของตัวเอง ซึ่งโปรเจ็ค Everything Store ก็ได้กลายมาเป็นบริษัท Amazon ในปัจจุบัน
เมื่อผมอ่านเกี่ยวกับเทคนิคนี้แล้ว ผมก็ไม่รอช้าที่จะลองใช้ และแนะนำเทคนิคนี้ไปบอกคนอื่นต่อ ถึงผมจะยังผลของการติดสินใจของผมส่วนใหญ่ยังไม่เห็นผล แต่ผมก็พบว่าเทคนิคนี้ช่วยทำให้ผม
ไม่ขี้เกียจที่จะออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ หรือทำงานต่างๆให้เสร็จครับ ยกตัวอย่างเช่นเวลาเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานชวนออกไปกินข้าวเป็นกลุ่มใหญ่ บางทีผมก็ขี้เกียจไป นั่งเล่นเน็ทหรือทำงานอยู่บ้านดีกว่า แต่พอคิดแบบ Regret Minimization ปุ๊บ ผมเปลี่ยนใจทันที เพราะเมื่อผมมองกลับมาจากอนาคต (เช่น 1 ปีข้างหน้า สำหรับเรื่องเล็กๆ แบบนี้) ผมจะเสียดายมากถ้าผมไม่ไปผมจะพลาดโอกาสได้เจอไอเดียใหม่ และแลกเปลี่ยนความคิดต่างๆกับเพื่อน และที่สำคัญ ถ้าวันต่อมาเพื่อนๆผมลงรูปบนเฟส ดูเฮฮาสนุกกัน ผมต้องยิ่งเสียดายที่พลาดโอกาสในการสนุกวันนั้นไปแน่นอน
ผมคิดว่าคนเรามักจะให้น้ำหนักกับความรู้สึกปัจจุบันมากไป ซึ่งมันทำให้เรามีโอกาสเข้าข้างทางเลือกที่ไม่เสี่ยง ทั้งที่มันอาจจะไม่ได้ดีที่สุดสำหรับเราในอนาคต การเลือกแบบ Regret Minimization จะกระตุ้นให้เราออกจาก Comfort Zone และมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะมันทำให้เรามองข้ามช็อตไปเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองในอนาคตแทนครับ ส่วนเรื่องมองไปไกลแค่ไหน ผมคิดว่ายิ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องมองออกไปไกลเท่านั้นครับ
อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะเวิร์คก็ต่อเมื่อเพื่อนๆได้ชั่งน้ำหนักแต่ละทางเลือกอย่างดีแล้วนะครับ ^^
ฟัง Jeff Bezos เล่าเกี่ยวกับ Regret Minimization Framework:
ถ้าเพื่อนๆมีปัญหาหนักใจ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีอยู่ ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะครับ เป็นไงแล้วมาบอกด้วยนะครับ ^^
ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ชีวประวัติของ Jeff Bezos และที่มาที่ไปของบริษัท Amazon และอุตสาหกรรมขายปลีกในอินเตอร์เน็ท ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ ผู้เขียนเขียนบรรยายได้สนุก และลงลึกมากครับ
สุดท้ายนี้ขอฝากบล็อกของผมด้วยนะคร้าบ ตามอ่านบล็อคต่อๆไปได้ที่นี่เฟสบุ๊คเพจผม
http://www.facebook.com/metaponBlog หรือบล็อกผม
http://metapon.wordpress.com ครับ ^^
โพสต์ก่อนหน้านี้: 5 TEDTalk สร้างแรงบันดาลใจ https://metapon.wordpress.com/2015/02/03/5-tedtalks-for-motivation/
[CR] เทคนิคตัดสินใจเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องหมูๆ [ของ Jeff Bezos จากหนังสือ The Everything Store]
โพสต์นี่ผมจะมาแนะนำกระบวนความคิดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ตัดสินใจยากๆ ครับ เทคนิคนี้ผมได้มาจากหนังสือ The Everything Store เขียนโดย Brad Stone ซึ่งเล่าชีวประวัติของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Amazon และความเป็นมาของบริษัทตั้งแต่ก่อนก่อตั้ง จนมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอินเตอร์เน็ตถึงในปัจจุบันครับ
ในปี 1994 Jeff Bezos ซึ่งอายุได้ 30 ปีพอดี กำลังหนักใจกับการเลือกเส้นทางชีวิตการงานของเขา ระหว่างเติบโตต่อไปกับบริษัท D.E. Shaw & Co ซึ่งตอนนั้นเป็นบริษัทกองทุน Hedge Fund ที่คิดค้นเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการลงทุน ซึ่ง Jeff ก็ทำหน้าที่ของเขาได้ดีมาก และกำลังเริ่มโปรเจ็คใหม่ที่เรียกว่า Everything Store บนอินเตอร์เน็ท แต่ Jeff รู้ดีว่าถ้าเขาอยู่ที่นี่ต่อไปเขาจะไม่ได้เป็นเจ้าของเจ้า Everything Store จริงๆ เพราะฉะนั้นอีกทางเลือกของ Jeff คือ ออกจากงานประจำที่ D.E. Shaw และทิ้งโอกาสการเป็นผู้บริหารเงินเดือนดี งานสนุกและมั่นคง แล้วมาร่วมเดินทางกับเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า "The Internet" แทน Jeff ในตอนนั้นคิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เขาเลยไปปรึกษาหัวหน้าเขาที่ชื่อว่า David Shaw ผู้ก่อตั้งบริษัทที่เขาทำงานอยู่นั่นเอง หัวหน้าจึงให้เวลา Jeff มาตัดสินใจเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
ระหว่างช่วงเวลาตัดสินใจกับชะตาชีวิตตัวเองนั้น Jeff ได้อ่านนิยายที่ชื่อว่า "Remains of the Day" โดย Kazuo Ishiguro ซึ่งหลังจากอ่านเสร็จ Jeff Bezos ก็ได้แรงบันดาลใจและเทคนิคในการตัดสินใจที่เรียกว่า The Regret Minimization Framework หรือการเลือกหนทางที่เราจะเสียดายน้อยที่สุดเมื่อมองกลับมาจากอนาคต ซึ่งสำหรับ Jeff นั้น กระบวนความคิดนี้ทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องง่ายไปเลย
หลังจาก Jeff ลองนึกมองตัวเองกลับมาจากอนาคตตอนเขาอายุ 80 เขาก็รู้สึกกระจ่างขึ้นมาทันที เขารู้เลยว่าตอนเขาอายุ 80 เขาคงไม่มานั่งเสียดายเงินเดือนและโบนัสทั้งหลายที่เขากำลังจะได้บริษัทใน Wall Street หรือเสียดายที่ออกจากงานดีๆแบบนี้ แต่เขาคงเสียดายสุดๆ ถ้าเขาไม่ได้ร่วมเดินทางไปกับการเริ่มต้นของยุคอินเตอร์เน็ตที่กำลังเติบโตแบบปาฏิหาริย์! หลังจากนั้นเขาเลยไปคุยกับหัวหน้าเขา David Shaw และขอโปรเจ็คนี้ Everything Store นี้ไปเริ่มบริษัทของตัวเอง ซึ่งโปรเจ็ค Everything Store ก็ได้กลายมาเป็นบริษัท Amazon ในปัจจุบัน
เมื่อผมอ่านเกี่ยวกับเทคนิคนี้แล้ว ผมก็ไม่รอช้าที่จะลองใช้ และแนะนำเทคนิคนี้ไปบอกคนอื่นต่อ ถึงผมจะยังผลของการติดสินใจของผมส่วนใหญ่ยังไม่เห็นผล แต่ผมก็พบว่าเทคนิคนี้ช่วยทำให้ผมไม่ขี้เกียจที่จะออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ หรือทำงานต่างๆให้เสร็จครับ ยกตัวอย่างเช่นเวลาเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานชวนออกไปกินข้าวเป็นกลุ่มใหญ่ บางทีผมก็ขี้เกียจไป นั่งเล่นเน็ทหรือทำงานอยู่บ้านดีกว่า แต่พอคิดแบบ Regret Minimization ปุ๊บ ผมเปลี่ยนใจทันที เพราะเมื่อผมมองกลับมาจากอนาคต (เช่น 1 ปีข้างหน้า สำหรับเรื่องเล็กๆ แบบนี้) ผมจะเสียดายมากถ้าผมไม่ไปผมจะพลาดโอกาสได้เจอไอเดียใหม่ และแลกเปลี่ยนความคิดต่างๆกับเพื่อน และที่สำคัญ ถ้าวันต่อมาเพื่อนๆผมลงรูปบนเฟส ดูเฮฮาสนุกกัน ผมต้องยิ่งเสียดายที่พลาดโอกาสในการสนุกวันนั้นไปแน่นอน
ผมคิดว่าคนเรามักจะให้น้ำหนักกับความรู้สึกปัจจุบันมากไป ซึ่งมันทำให้เรามีโอกาสเข้าข้างทางเลือกที่ไม่เสี่ยง ทั้งที่มันอาจจะไม่ได้ดีที่สุดสำหรับเราในอนาคต การเลือกแบบ Regret Minimization จะกระตุ้นให้เราออกจาก Comfort Zone และมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะมันทำให้เรามองข้ามช็อตไปเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองในอนาคตแทนครับ ส่วนเรื่องมองไปไกลแค่ไหน ผมคิดว่ายิ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องมองออกไปไกลเท่านั้นครับ
อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะเวิร์คก็ต่อเมื่อเพื่อนๆได้ชั่งน้ำหนักแต่ละทางเลือกอย่างดีแล้วนะครับ ^^
ฟัง Jeff Bezos เล่าเกี่ยวกับ Regret Minimization Framework:
ถ้าเพื่อนๆมีปัญหาหนักใจ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีอยู่ ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะครับ เป็นไงแล้วมาบอกด้วยนะครับ ^^
ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ชีวประวัติของ Jeff Bezos และที่มาที่ไปของบริษัท Amazon และอุตสาหกรรมขายปลีกในอินเตอร์เน็ท ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ ผู้เขียนเขียนบรรยายได้สนุก และลงลึกมากครับ
สุดท้ายนี้ขอฝากบล็อกของผมด้วยนะคร้าบ ตามอ่านบล็อคต่อๆไปได้ที่นี่เฟสบุ๊คเพจผม http://www.facebook.com/metaponBlog หรือบล็อกผม http://metapon.wordpress.com ครับ ^^
โพสต์ก่อนหน้านี้: 5 TEDTalk สร้างแรงบันดาลใจ https://metapon.wordpress.com/2015/02/03/5-tedtalks-for-motivation/