หนังดีๆ ว่าด้วยโรคอัลไซเมอร์ที่จะทำให้เราจดจำมันไปอีกนาน
ตอนดูมีนึกถึงหนังเรื่อง one true thing (1998) ที่เมอรีล สตีฟ เล่นเป็นแม่บ้านซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง มีรายละเอียดหลายอย่างในหนังทั้ง 2 เรื่องที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยเฉพาะการได้เฝ้ามองการเติบโตของความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกสาว ที่เริ่มต้นอย่างขัดแย้งแต่จบลงด้วยการประคับประคองกันและกัน
หนังเล่าเรื่องอย่างนุ่มนวลละมุนอารมณ์ นำเสนอประเด็นที่ลึกซึ้งสัมผัสใจ ดูมีวุฒิภาวะและไม่ฟูมฟาย แต่กระนั้นก็ยังเรียกน้ำตาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะจากบทพูดที่ถูกเรียงร้อยอย่างสวยงามและชวนสะเทือนใจ
งานภาพสว่างและสะอาดตา ในแง่หนึ่งก็ดูบอบบางจนจะโปร่งแสงได้คล้ายปีกผีเสื้อ (แอบเขียนเข้า concept ซึ่งหนังเองก็กล่าวถึงอายุขัยแสนสั้นของผีเสื้อไว้ด้วย ^^)
ความมั่นคงของภาพในหนังก็น่าสนใจครับ ผมว่ามันสื่อสารความหมายได้ด้วย คือส่วนใหญ่ภาพจะถูกจัดองค์ประกอบอย่างเนี๊ยบ ดูแข็งแรง มั่นคง สัมพัทธ์กับภาพในความทรงจำของนางเอกที่ดูคล้ายโฮมวีดีโอเก่าๆ สีซีดๆ แตกเกรน ซึ่งถูกถ่ายกวัดแกว่งอย่างมือสมัครเล่น
เข้ากันดีครับกับแก่นเรื่องว่าด้วยการสร้างความมั่นคงแน่นอนในชีวิต การมีอนาคตที่คาดหมายได้ เปรียบกับอีกไลฟสไตล์หนึ่งที่เน้นอิสระเสรี ผจญภัยไปเรื่อยๆ กับความไม่แน่นอนในแต่ละวัน
สองแนวคิดนี้วิวาทะกันผ่านตัวละครของนางเอก (จูลีแอน มัวร์ เล่นน้อยแต่ลึก มีมิติ คู่ควรแก่ทุกเวทีรางวัล) แม่ผู้มีการศึกษาสูง กับลูกสาวหัวขบถ (เล่นได้อย่างน่าพอใจโดยคริสเตน สจ๊วต) ที่ไม่ยอมสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หนังไม่ได้สรุปเรื่องด้วยการตัดสินถูก-ผิด เพียงแค่นำเสนอให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านให้คนดูได้เลือกพิจารณา
สิ่งที่ดึงดูดผมยิ่งกว่าการสูญเสียความทรงจำจากอัลไซเมอร์ของนางเอก คือเส้นเรื่องรองเกี่ยวกับอดีตของเธอ นางเอกสูญเสียแม่และพี่สาวในอุบัติเหตุ ส่วนพ่อก็ติดเหล้าเรื้อรัง ความเป็นมาในชีวิตไม่ได้สวยสดงดงามเหมือนอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เหมือนนางเอกจะพยายามลบลืมอดีตอันโหดร้ายเหล่านั้น ผลัดเปลี่ยนตัวเองจนไม่เหลือเค้าเดิม ไม่ต่างจากวงจรชีวิตของผีเสื้อ ดื่มด่ำกับความสมบูรณ์แบบ (เห็นได้ชัดจากฉากวันเกิดตอนเปิดเรื่อง) มีอาชีพที่มั่นคง ทรงเกียรติ มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนประสบความสำเร็จ เว้นแต่ลูกสาวหัวขบถคนหนึ่งที่ยังอยู่ในภาวะหลักลอยไร้ความมั่นคง
ความเจ็บปวดที่หนังสื่อให้เห็นจากอาการเจ็บป่วย ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างยากลำบากจากการหลงลืม ร้าวรานกว่านั้นคือการเริ่มถูกลืมหรือละเลยจากคนรอบข้าง แม้แต่ครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อตัวตนและความสำคัญของเราที่เคยมีต่อคนอื่นค่อยๆ เลือนหายไป
เข้าใจว่าสถานการณ์ของนางเอกคงไม่ต่างไปจากที่พ่อของเธอเคยเผชิญ คือการถูกเบลอหายไปจากสายตา กระทั่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกลืมอย่างสมบูรณ์
หนังตั้งประเด็นให้ตัวเองอย่างชัดเจนในฉากการกล่าวสุนทรพจน์ของนางเอก ถึงศิลปะในการรับมือกับความสูญเสีย การสูญเสียความทรงจำ สูญเสียความรัก รวมถึงการสูญเสียความเป็นตัวเอง โดยเฉพาะตัวละครของแม่และลูกสาวขบถ ที่สุดท้ายแล้วก็ปกป้องอัตลักษณ์ของพวกเขาไว้ไม่ได้
ในประเด็นเรื่องตัวตนหรืออีโก้ หนังยังขยายความไปถึงการถือทิฐิมานะ อันนำมาซึ่งปมขัดแย้งคาใจ แทนที่จะคลี่คลายมันอย่างง่ายดายด้วยการขอโทษ (forgive) หรือลืมมันไปซะ (forget) เพราะบางที การลืมก็มีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยตัวหนังเองก็เล่นกับประเด็นนี้ได้อย่างคมคายและชวนใจหายใจคว่ำ!
ฉากจบเรื่องสวยงามมากๆ เป็นกวีมากๆ โดดเด่นท้าทายทุกนวัตกรรมในการสื่อสาร ไม่สำคัญว่าคำพูดจะถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างหรูหราเพียงใด มันไม่สามารถเอาชนะความจริงใจของการกระทำ
เพราะ "กิริยา" ที่คนเราปฏิบัติต่อกัน ส่งสารถึงกันได้โดยไม่ต้องอาศัยประโยคใดมาเป็นสื่อกลาง
Still Alice : A+
หนังดีๆ ว่าด้วยโรคอัลไซเมอร์ที่จะทำให้เราจดจำมันไปอีกนาน
ตอนดูมีนึกถึงหนังเรื่อง one true thing (1998) ที่เมอรีล สตีฟ เล่นเป็นแม่บ้านซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง มีรายละเอียดหลายอย่างในหนังทั้ง 2 เรื่องที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยเฉพาะการได้เฝ้ามองการเติบโตของความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกสาว ที่เริ่มต้นอย่างขัดแย้งแต่จบลงด้วยการประคับประคองกันและกัน
หนังเล่าเรื่องอย่างนุ่มนวลละมุนอารมณ์ นำเสนอประเด็นที่ลึกซึ้งสัมผัสใจ ดูมีวุฒิภาวะและไม่ฟูมฟาย แต่กระนั้นก็ยังเรียกน้ำตาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะจากบทพูดที่ถูกเรียงร้อยอย่างสวยงามและชวนสะเทือนใจ
งานภาพสว่างและสะอาดตา ในแง่หนึ่งก็ดูบอบบางจนจะโปร่งแสงได้คล้ายปีกผีเสื้อ (แอบเขียนเข้า concept ซึ่งหนังเองก็กล่าวถึงอายุขัยแสนสั้นของผีเสื้อไว้ด้วย ^^)
ความมั่นคงของภาพในหนังก็น่าสนใจครับ ผมว่ามันสื่อสารความหมายได้ด้วย คือส่วนใหญ่ภาพจะถูกจัดองค์ประกอบอย่างเนี๊ยบ ดูแข็งแรง มั่นคง สัมพัทธ์กับภาพในความทรงจำของนางเอกที่ดูคล้ายโฮมวีดีโอเก่าๆ สีซีดๆ แตกเกรน ซึ่งถูกถ่ายกวัดแกว่งอย่างมือสมัครเล่น
เข้ากันดีครับกับแก่นเรื่องว่าด้วยการสร้างความมั่นคงแน่นอนในชีวิต การมีอนาคตที่คาดหมายได้ เปรียบกับอีกไลฟสไตล์หนึ่งที่เน้นอิสระเสรี ผจญภัยไปเรื่อยๆ กับความไม่แน่นอนในแต่ละวัน
สองแนวคิดนี้วิวาทะกันผ่านตัวละครของนางเอก (จูลีแอน มัวร์ เล่นน้อยแต่ลึก มีมิติ คู่ควรแก่ทุกเวทีรางวัล) แม่ผู้มีการศึกษาสูง กับลูกสาวหัวขบถ (เล่นได้อย่างน่าพอใจโดยคริสเตน สจ๊วต) ที่ไม่ยอมสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หนังไม่ได้สรุปเรื่องด้วยการตัดสินถูก-ผิด เพียงแค่นำเสนอให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านให้คนดูได้เลือกพิจารณา
สิ่งที่ดึงดูดผมยิ่งกว่าการสูญเสียความทรงจำจากอัลไซเมอร์ของนางเอก คือเส้นเรื่องรองเกี่ยวกับอดีตของเธอ นางเอกสูญเสียแม่และพี่สาวในอุบัติเหตุ ส่วนพ่อก็ติดเหล้าเรื้อรัง ความเป็นมาในชีวิตไม่ได้สวยสดงดงามเหมือนอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เหมือนนางเอกจะพยายามลบลืมอดีตอันโหดร้ายเหล่านั้น ผลัดเปลี่ยนตัวเองจนไม่เหลือเค้าเดิม ไม่ต่างจากวงจรชีวิตของผีเสื้อ ดื่มด่ำกับความสมบูรณ์แบบ (เห็นได้ชัดจากฉากวันเกิดตอนเปิดเรื่อง) มีอาชีพที่มั่นคง ทรงเกียรติ มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนประสบความสำเร็จ เว้นแต่ลูกสาวหัวขบถคนหนึ่งที่ยังอยู่ในภาวะหลักลอยไร้ความมั่นคง
ความเจ็บปวดที่หนังสื่อให้เห็นจากอาการเจ็บป่วย ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างยากลำบากจากการหลงลืม ร้าวรานกว่านั้นคือการเริ่มถูกลืมหรือละเลยจากคนรอบข้าง แม้แต่ครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อตัวตนและความสำคัญของเราที่เคยมีต่อคนอื่นค่อยๆ เลือนหายไป
เข้าใจว่าสถานการณ์ของนางเอกคงไม่ต่างไปจากที่พ่อของเธอเคยเผชิญ คือการถูกเบลอหายไปจากสายตา กระทั่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกลืมอย่างสมบูรณ์
หนังตั้งประเด็นให้ตัวเองอย่างชัดเจนในฉากการกล่าวสุนทรพจน์ของนางเอก ถึงศิลปะในการรับมือกับความสูญเสีย การสูญเสียความทรงจำ สูญเสียความรัก รวมถึงการสูญเสียความเป็นตัวเอง โดยเฉพาะตัวละครของแม่และลูกสาวขบถ ที่สุดท้ายแล้วก็ปกป้องอัตลักษณ์ของพวกเขาไว้ไม่ได้
ในประเด็นเรื่องตัวตนหรืออีโก้ หนังยังขยายความไปถึงการถือทิฐิมานะ อันนำมาซึ่งปมขัดแย้งคาใจ แทนที่จะคลี่คลายมันอย่างง่ายดายด้วยการขอโทษ (forgive) หรือลืมมันไปซะ (forget) เพราะบางที การลืมก็มีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยตัวหนังเองก็เล่นกับประเด็นนี้ได้อย่างคมคายและชวนใจหายใจคว่ำ!
ฉากจบเรื่องสวยงามมากๆ เป็นกวีมากๆ โดดเด่นท้าทายทุกนวัตกรรมในการสื่อสาร ไม่สำคัญว่าคำพูดจะถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างหรูหราเพียงใด มันไม่สามารถเอาชนะความจริงใจของการกระทำ
เพราะ "กิริยา" ที่คนเราปฏิบัติต่อกัน ส่งสารถึงกันได้โดยไม่ต้องอาศัยประโยคใดมาเป็นสื่อกลาง