ข้อเท็จจริง 10 ปีระบบ "ขรก.ไทย.

กระทู้สนทนา
15 กุมภาพันธ์ , 2015

 เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิอนาคตไทยศึกษา ที่มี ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ หัวเรือใหญ่ทำรายงานหัวข้อ "ข้อเท็จจริง 10 ปีระบบข้าราชการไทย" ว่า 10 ปีที่ผ่านมาระบบข้าราชการไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง นับว่าน่าสนใจทีเดียว ซึ่งพบว่าเปลี่ยนแปลงดังนี้


 1) ปัจจุบันฐานเงินเดือนข้าราชการไทยไม่ได้ต่ำกว่าที่คิด จากเมื่อ 10 ปีที่แล้วเงินเดือนข้าราชการแรกเข้าวุฒิปริญญาตรีแค่ 2 ใน 3 ของพนักงานเอกชน แต่ทุกวันนี้เงินแรกเข้าข้าราชการมากกว่าราวๆ 10%


 2) จำนวนคนภาครัฐอยู่ที่ 2.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 50% หลังการปฏิรูปราชการปรับลดจำนวนคน ผลคือข้าราชการเกือบไม่เพิ่มในรอบ 10 ปี แต่ที่เพิ่มคือลูกจ้างและพนักงานรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า อย่างกระทรวงทรัพยากรฯ มีข้าราชการแค่ 1 หมื่นคน แต่มีลูกจ้างและพนักงานรัฐถึง 5 หมื่นคน


 3) ข้าราชการซี 9 ขึ้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทั้งที่ข้าราชการลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเพิ่มกระทรวงใหม่ 6 กระทรวง ทำให้มีกรมเพิ่มขึ้นกว่า 40 กรม เป็น 168 กรมเมื่อปี"45 ส่งผลให้ภาครัฐ สุ่มเสี่ยงกับปัญหาขาดแคลนกำลังคนโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการ


 4) งบบุคลากรภาครัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว ถ้าหากรวมเอาภาระงบบุคลากรรวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล บำเหน็จ บำนาญ ร่วม 1.1 ล้านล้านบาท หรือครึ่งหนึ่งรายได้รัฐบาล


 5) งบบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจากเมื่อ 10 ปีก่อน ในขณะที่จำนวนคนภาครัฐในระดับท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 3 เท่า ตามจำนวนองค์กรที่เพิ่มขึ้น


 6) เมื่อเทียบกับจีดีพี งบบุคลากรภาครัฐของไทยสูงเป็น อันดับต้นๆ ในเอเชีย รองจากบาห์เรนและมัลดีฟส์ โดยของไทยราวๆ 7% มาเลย์ 6% ฟิลิปปินส์ 5% สิงคโปร์ 3%


 งบเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบผลงานแล้วพบว่า ประสิทธิภาพแย่ลงจากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากผลการวิจัยธนาคารโลก ประสิทธิผลอยู่ในอันดับ 74 ตกลงจากที่ 65 การทุจริตตกจาก 91 มาอยู่ที่ 98 ดัชนีการรับรู้เรื่องคอร์รัปชั่นร่วงจากอันดับ 70 มาอยู่อันดับ 102 การเล่นพรรคเล่นพวกอยู่อันดับ 93 จาก 148 ประเทศ ใกล้เคียงอินเดีย 94 และมาลาวี 92 เป็นต้น

***   จะเห็นว่า 10 ปีที่ผ่านมาไม่มีดัชนีตัวไหนที่สะท้อนให้เห็นว่าประสิทธิภาพข้าราชการไทยดี ขึ้น ขณะที่เงินเดือนปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี ล่าสุดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยคนละ 4% และขยายเพดานเงินเดือนอีก 10% เลยทีเดียว. เฮ้อ.!!! Facepalm
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่