สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เกิดยากครับ เรื่องค่านิยมของคนไทยไม่พูดถึงนะ สภาพปัจจุบันโอกาสเป็นไปได้ต่ำ
แบรนด์ไทยจะเกิดได้ก็ต้องมีทุนก่อน จะไปกู้ธนาคาร บรรดาแบรนด์ต่างชาติที่ครองตลาดอยู่ก็ไปกดดันธนาคารไม่ให้ปล่อยกู้ ขู่ว่าถ้าธนาคารปล่อยกู้ แบรนด์ต่างชาติเหล่านั้นจะไม่กู้จากธนาคารไทยอีกต่อไป เมื่อแบรนด์ไทยหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาแหล่งเงินกู้ได้ ก็มาถึงขั้นสั่งซื้อวัตถุดิบและจ้างผลิต แบรนด์ต่างชาติก็จะยื่นมือเข้ามากีดกัน ข่มขู่ไม่ให้ผู้ผลิตส่งวัตถุดิบเหล่านั้นให้แบรนด์ไทย หากไม่เชื่อยังขายให้แบรนด์ต่างชาติจะไม่สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตนั้นอีก เจอแบบนี้ผู้ผลิตก็ต้องยอมตามไม่ยอมขายวัตถุดิบให้แบรนด์ไทย แบรนด์ไทยหาวัตถุดิบไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาวัตถุดิบมาผลิตได้ ถึงเวลาจะส่งสินค้าไปขาย แบรนด์ต่างชาติก็จะเข้ามากีดกันโดยข่มขู่ห้างร้านต่างๆห้ามรับสินค้าของแบรนด์ไทยมาขาย ถ้าไม่เชื่อแบรนด์ต่างชาติจะไม่ส่งสินค้ามาให้ห้างร้านเหล่านั้นขายอีก ห้างร้านต่างๆก็ต้องไม่รับแบรนด์ไทยมาขาย แบรนด์ไทยระบายสินค้าไปตามห้างร้านไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาทีแหล่งระบายสินค้าได้แล้ว แบรนด์ต่างชาติก็จะใช้ไม้ตายรวมหัวกันกดราคาสินค้าของตนให้ถูกกว่าแบรนด์ไทยมากๆ เมื่อแบรนด์ต่างชาติราคาถูกคนไทยก็ซื้อแต่เบรนด์ต่างชาติ แบรนด์ไทยขายไม่ออกก็จบกันเพราะทุนที่มีสู้ทุนข้ามชาติไม่ได้ พอแบรนด์ไทยตายสนิทแบรนด์ต่างชาติก็ปรับราคามาทำกำไรต่ออีกครั้ง
สมมุติแบรนด์ไทยกำลังจะตาย ภาครัฐจะช่วยซื้อสินค้าของแบรนด์ไทย แบรนด์ต่างชาติจะโวยวายทันทีว่ารัฐจะช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ได้ ภาครัฐจะซื้อสินค้าต้องให้ผู้ผลิตต่างๆนำสินค้าของตนมาเสนอและเปรียบเทียบกัน ผู้ผลิตรายไหนราคาและคุณภาพดีที่สุดรัฐก็ต้องเลือกรายนั้น จะช่วยเป็ยรายๆแบบเลือกที่รักมักที่ชังไม่ได้ ต้องปล่อยให้แข่งขันต่อสู้กันอย่างยุติธรรมตามหลักการค้าเสรี ใครที่สู้ไม่ได้ก็ต้องล้มไป และแน่นอนว่าทุนข้ามชาติที่หนากว่าทุนไทยย่อมกดราคาได้มากกว่าแบรนด์ไทย แบรนด์ไทยจึงไม่สามารถสู้ราคาได้ สุดท้ายขายไม่ได้แบรนด์ไทยก็จบกัน
อวสานแบรนด์ไทย
แต่เดิมตั้งแต่สมัยพลเอกเปรมเราสนับสนุนให้การอุตสาหกรรมต่างๆเป็นการร่วมทุนและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีกับกลุ่มทุนในประเทศ แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลเป็นชาติชายเห็นตัวเลขมันโตไม่ทันใจ เลยเปลี่ยนนโยบายให้ต่างชาติลงทุนเต็มที่ ทางไทยเน้นขายแรงงานกับทรัพยากรเป็นลูกจ้างผลิต ตัวเลขเศรษฐกิจเลยพุ่งกระฉูดสมใจ แต่ผลคือทำให้วงการอุตสาหกรรมไทยพัฒนาตัวเองเจ้าของแบรนด์ผู้ผลิตเองไม่ได้ เพราะแบรนด์ต่างชาติมายึดตลาดไว้หมดและไม่ต้องถ่ายทอดองค์ความรู้
แบรนด์ไทยจะเกิดได้ก็ต้องมีทุนก่อน จะไปกู้ธนาคาร บรรดาแบรนด์ต่างชาติที่ครองตลาดอยู่ก็ไปกดดันธนาคารไม่ให้ปล่อยกู้ ขู่ว่าถ้าธนาคารปล่อยกู้ แบรนด์ต่างชาติเหล่านั้นจะไม่กู้จากธนาคารไทยอีกต่อไป เมื่อแบรนด์ไทยหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาแหล่งเงินกู้ได้ ก็มาถึงขั้นสั่งซื้อวัตถุดิบและจ้างผลิต แบรนด์ต่างชาติก็จะยื่นมือเข้ามากีดกัน ข่มขู่ไม่ให้ผู้ผลิตส่งวัตถุดิบเหล่านั้นให้แบรนด์ไทย หากไม่เชื่อยังขายให้แบรนด์ต่างชาติจะไม่สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตนั้นอีก เจอแบบนี้ผู้ผลิตก็ต้องยอมตามไม่ยอมขายวัตถุดิบให้แบรนด์ไทย แบรนด์ไทยหาวัตถุดิบไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาวัตถุดิบมาผลิตได้ ถึงเวลาจะส่งสินค้าไปขาย แบรนด์ต่างชาติก็จะเข้ามากีดกันโดยข่มขู่ห้างร้านต่างๆห้ามรับสินค้าของแบรนด์ไทยมาขาย ถ้าไม่เชื่อแบรนด์ต่างชาติจะไม่ส่งสินค้ามาให้ห้างร้านเหล่านั้นขายอีก ห้างร้านต่างๆก็ต้องไม่รับแบรนด์ไทยมาขาย แบรนด์ไทยระบายสินค้าไปตามห้างร้านไม่ได้ก็จบกัน
สมมุติแบรนด์ไทยหาทีแหล่งระบายสินค้าได้แล้ว แบรนด์ต่างชาติก็จะใช้ไม้ตายรวมหัวกันกดราคาสินค้าของตนให้ถูกกว่าแบรนด์ไทยมากๆ เมื่อแบรนด์ต่างชาติราคาถูกคนไทยก็ซื้อแต่เบรนด์ต่างชาติ แบรนด์ไทยขายไม่ออกก็จบกันเพราะทุนที่มีสู้ทุนข้ามชาติไม่ได้ พอแบรนด์ไทยตายสนิทแบรนด์ต่างชาติก็ปรับราคามาทำกำไรต่ออีกครั้ง
สมมุติแบรนด์ไทยกำลังจะตาย ภาครัฐจะช่วยซื้อสินค้าของแบรนด์ไทย แบรนด์ต่างชาติจะโวยวายทันทีว่ารัฐจะช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ได้ ภาครัฐจะซื้อสินค้าต้องให้ผู้ผลิตต่างๆนำสินค้าของตนมาเสนอและเปรียบเทียบกัน ผู้ผลิตรายไหนราคาและคุณภาพดีที่สุดรัฐก็ต้องเลือกรายนั้น จะช่วยเป็ยรายๆแบบเลือกที่รักมักที่ชังไม่ได้ ต้องปล่อยให้แข่งขันต่อสู้กันอย่างยุติธรรมตามหลักการค้าเสรี ใครที่สู้ไม่ได้ก็ต้องล้มไป และแน่นอนว่าทุนข้ามชาติที่หนากว่าทุนไทยย่อมกดราคาได้มากกว่าแบรนด์ไทย แบรนด์ไทยจึงไม่สามารถสู้ราคาได้ สุดท้ายขายไม่ได้แบรนด์ไทยก็จบกัน
อวสานแบรนด์ไทย
แต่เดิมตั้งแต่สมัยพลเอกเปรมเราสนับสนุนให้การอุตสาหกรรมต่างๆเป็นการร่วมทุนและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีกับกลุ่มทุนในประเทศ แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลเป็นชาติชายเห็นตัวเลขมันโตไม่ทันใจ เลยเปลี่ยนนโยบายให้ต่างชาติลงทุนเต็มที่ ทางไทยเน้นขายแรงงานกับทรัพยากรเป็นลูกจ้างผลิต ตัวเลขเศรษฐกิจเลยพุ่งกระฉูดสมใจ แต่ผลคือทำให้วงการอุตสาหกรรมไทยพัฒนาตัวเองเจ้าของแบรนด์ผู้ผลิตเองไม่ได้ เพราะแบรนด์ต่างชาติมายึดตลาดไว้หมดและไม่ต้องถ่ายทอดองค์ความรู้
แสดงความคิดเห็น
ทำไม ประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมหนัก เป็นของตัวเองครับ ทั้งๆที่ประเทศพร้อมในทุกๆด้าน
ประเทศเรามีพื้นฐานที่พร้อมหลายๆด้าน เป็นฐานการผลิตบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆหลายบริษัท มาหลายปี แต่ทำไม ไม่สร้างแบนด์เป็นของตัวเองสักที
เอกชนไทยยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมหนัก ส่วนใหญ่มีแต่เฉพาะด้าน อย่าง ปตท CP
แต่ไม่มีใครผลิต สามารถผลิตจากทรัพยากรต้นน้ำ ไปสู่นวัตรกรรมเทคโนโลยี เองได้
อย่าง ผลิตรถถัง เครื่องบินรบ เรือดำน้ำ เครื่องยนต์ยานอวกาศ เครื่องจักรเฉพาะงาน รถไฟฟ้า เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เซนเซอร์ความละเอียดสูง ซีพียูคอมพิวเตอร์
เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิก อย่างสงคราม เศษฐกิจล้ม
ไม่สามารถนำเข้าเทคโนโลยี จากต่างประเทศได้ เราก็ผลิตเองได้ อยู่ได้ ไม่ต้องง้อใครเหมือน ญี่ปุ่่น เยอรมัน เพราะ มูลค่าที่แท้จริงยังอยู่
ประเทศเรา คณะวิศวกรรมเยอะไปหมด คนเก่งก็เยอะ ตอนเรียนสร้างหุ่นยนต์แข่งกัน แต่พอจบมา ไม่มีหุ่นยนต์ ไม่มีรถยนต์เป็นแบนด์ของตัวเอง ไม่มีใครกล้าลงทุน R&D กับคนไทยด้วยกัน
ดูอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น อิสราเอล ประเทศเล็กกว่าเรา แต่ทำไมเขาทำได้
ประเทศเรามีแต่ความฝันหลอกเด็ก พอโตขึ้นทุกคนจะรู้ความจริงว่าในสังคม ไม่มีระบบระเบียบไม่มีแบบแผน คนมักง่ายเห็นแก่ตัว
ดูได้จากโฆษณา ขายนมเด็ก ในโฆษณา ภาพบรรยากาศสภาพแวดล้อมดูดี มีครอบครัวอบอุ่น ลูกแมร่งฝันว่า อยากเป็น นักบินอวกาศ ทั้งๆที่ประเทศเราไม่มีของแบบนั้น ทำยังกับเราเป็นคนมีอารยธรรม แค่ระบบความคิดชาวบ้านทั่วไป มันยังตามไม่ทันนักการเมือง คิดแบบวันต่อวัน แล้วมีคนใหญ่คนโต ทำเหมือนเด็กอมมือเล่นขายของ คิดแต่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เคยมองภาพรวมทั้งประเทศ
ประเทศกำลังพัฒนา พัฒนาไปไหนก็ไม่รู้ บอกแบบนี้มาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด
อยากให้คนไทย คิดได้แบบ อ.เฉลิมชัย