โจ๋ติดกามโรคเพิ่ม5เท่า เหตุสวม"ถุงยาง"ผิดไซส์
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 10:30:02 น.
กรมควบคุมโรคสำรวจคนไทยไม่นิยม"ถุงยางอนามัย" ห่วงสวมผิดไซส์เสี่ยงติดเชื้อโรค แนะวิธีวัดขนาดให้ดูที่ส่วนสูงเกิน 160 ซม. เฉลี่ย 52 มม.
http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14237976341423798491l.jpg
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ เนื่องในวันแห่งความรัก (วาเลนไทน์) ว่าจากการสำรวจทัศนคติความเห็นของประชาชน เรื่องการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อควบคุมป้องกันโรค (DDC Poll) ครั้งที่ 11 โดยสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป 3,000 ราย ใน 22 จังหวัด พบว่าประชาชนมีความรู้และเข้าใจการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 76.8 ลดลงจากปี 2557 (ร้อยละ 86.2) ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 88.6 ไม่เคยใช้ร้อยละ 6.7 เมื่อถามถึงการใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ใช่คู่นอน พบว่าใช้ทุกครั้งร้อยละ 57 ใช้บางครั้งร้อยละ 35.7 และไม่ใช้เลยร้อยละ 7.3 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยให้เด็ก ม.ต้นช่วงวันวาเลนไทน์ เป็นการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 55.4
นพ.โสภณแถลงว่า กรมควบคุมโรคและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พยายามจัดหาถุงยางอนามัยมาตรฐานราคาถูกเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ โดยมีการจัดหาให้ปีละ 55 ล้านชิ้น และพยายามจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ ปี 2558-2563 เนื่องจากประเมินพบว่ากลุ่มผู้ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ยังใช้กันน้อยมาก
"ในเรื่องการติดโรคจากเพศสัมพันธ์นั้น ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ปี 2557 ระบุว่า โรคที่พบมากคือ โรคหนองใน โรคซิฟิลิส หนองในเทียม แผลริมอ่อน และกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง ทั่วประเทศพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 52.69 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2557 จาก 35.89 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2552 และในรอบ 10 ปี วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ติดกามโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเกือบ 5 เท่าตัว จากสัดส่วน 7.53 เป็น 34.89 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มอายุ 20-29 เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว โดยคาดว่าในอีก 3 ปี จะมีผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 2 กลุ่มอายุนี้ประมาณ 21,137 คน สาเหตุจากการไม่ใช้ถุงยางอนามัย" นพ.โสภณกล่าว
ด้าน นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา โฆษก สธ. แถลงว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงในวัยรุ่นคือการเลือกขนาดถุงยางอนามัยที่ไม่เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตัวเอง เพราะมีทัศนคติที่ผิดคือ กลัวเพื่อนหยามว่าอวัยวะเพศเล็ก ไม่สมศักดิ์ศรีความเป็นชาย
"เมื่อใช้ถุงยางที่ใหญ่กว่าไซส์จริง ขณะมีกิจกรรมถุงยางจะหลุด หลวม ซึ่งมีความเสี่ยงติดโรคทางเพศสัมพันธ์หรืออาจทำให้คู่นอนตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ในบางรายอาจจะไม่รู้วิธีการวัดขนาด" นพ.สมชายกล่าว และว่า จากผลสำรวจของ สธ.พบว่า ผู้ชายไทยมีขนาดอวัยวะเพศ 52 มิลลิเมตร (มม.) 12 ล้านคน ขนาด 49 มม. 6.5 ล้านคน ขนาด 54 มม. 3.6 ล้านคน และขนาด 56 มม. 1.2 ล้านคน ส่วนการวัดขนาดอวัยวะเพศนั้นใช้หลักการวัดจากส่วนสูง หากสูงไม่เกิน 160 เซนติเมตร จะมีขนาดอวัยวะเพศ 49 มม. สูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป 52 มม. ซึ่งถือเป็นขนาดมาตรฐานของชายไทย
ข่าวด่วนยางพาราน่าจะพุ่งขึ้นหลังวันวาเลนไทน์ใครไม่มีให้รีบซื้อด่วน ดีมานพุ่ง
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 10:30:02 น.
กรมควบคุมโรคสำรวจคนไทยไม่นิยม"ถุงยางอนามัย" ห่วงสวมผิดไซส์เสี่ยงติดเชื้อโรค แนะวิธีวัดขนาดให้ดูที่ส่วนสูงเกิน 160 ซม. เฉลี่ย 52 มม.
http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14237976341423798491l.jpg
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ เนื่องในวันแห่งความรัก (วาเลนไทน์) ว่าจากการสำรวจทัศนคติความเห็นของประชาชน เรื่องการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อควบคุมป้องกันโรค (DDC Poll) ครั้งที่ 11 โดยสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป 3,000 ราย ใน 22 จังหวัด พบว่าประชาชนมีความรู้และเข้าใจการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 76.8 ลดลงจากปี 2557 (ร้อยละ 86.2) ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 88.6 ไม่เคยใช้ร้อยละ 6.7 เมื่อถามถึงการใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ใช่คู่นอน พบว่าใช้ทุกครั้งร้อยละ 57 ใช้บางครั้งร้อยละ 35.7 และไม่ใช้เลยร้อยละ 7.3 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยให้เด็ก ม.ต้นช่วงวันวาเลนไทน์ เป็นการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 55.4
นพ.โสภณแถลงว่า กรมควบคุมโรคและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พยายามจัดหาถุงยางอนามัยมาตรฐานราคาถูกเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ โดยมีการจัดหาให้ปีละ 55 ล้านชิ้น และพยายามจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ ปี 2558-2563 เนื่องจากประเมินพบว่ากลุ่มผู้ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ยังใช้กันน้อยมาก
"ในเรื่องการติดโรคจากเพศสัมพันธ์นั้น ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ปี 2557 ระบุว่า โรคที่พบมากคือ โรคหนองใน โรคซิฟิลิส หนองในเทียม แผลริมอ่อน และกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง ทั่วประเทศพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 52.69 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2557 จาก 35.89 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2552 และในรอบ 10 ปี วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ติดกามโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเกือบ 5 เท่าตัว จากสัดส่วน 7.53 เป็น 34.89 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มอายุ 20-29 เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว โดยคาดว่าในอีก 3 ปี จะมีผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 2 กลุ่มอายุนี้ประมาณ 21,137 คน สาเหตุจากการไม่ใช้ถุงยางอนามัย" นพ.โสภณกล่าว
ด้าน นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา โฆษก สธ. แถลงว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงในวัยรุ่นคือการเลือกขนาดถุงยางอนามัยที่ไม่เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตัวเอง เพราะมีทัศนคติที่ผิดคือ กลัวเพื่อนหยามว่าอวัยวะเพศเล็ก ไม่สมศักดิ์ศรีความเป็นชาย
"เมื่อใช้ถุงยางที่ใหญ่กว่าไซส์จริง ขณะมีกิจกรรมถุงยางจะหลุด หลวม ซึ่งมีความเสี่ยงติดโรคทางเพศสัมพันธ์หรืออาจทำให้คู่นอนตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ในบางรายอาจจะไม่รู้วิธีการวัดขนาด" นพ.สมชายกล่าว และว่า จากผลสำรวจของ สธ.พบว่า ผู้ชายไทยมีขนาดอวัยวะเพศ 52 มิลลิเมตร (มม.) 12 ล้านคน ขนาด 49 มม. 6.5 ล้านคน ขนาด 54 มม. 3.6 ล้านคน และขนาด 56 มม. 1.2 ล้านคน ส่วนการวัดขนาดอวัยวะเพศนั้นใช้หลักการวัดจากส่วนสูง หากสูงไม่เกิน 160 เซนติเมตร จะมีขนาดอวัยวะเพศ 49 มม. สูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป 52 มม. ซึ่งถือเป็นขนาดมาตรฐานของชายไทย