หลักเกณฑ์การพิจารณาขออภัยโทษ

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ ผมสงสัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการขออภัยโทษครับ

เนื่องจากที่ผ่านมาที่บ้านขอผมมีคดีฟ้องร้องกับคนคนนึงซึ่งค่อนข้างมีหน้ามีนาในสังคมและเป็นผู้กว้างขวางมีอิทธิพล เขาใช้อิทธิพลของเขาในการกลั่นแกล้งแจ้งความบิดเบือนคดีต่างๆจนกระทั่งอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่เขานำเรื่องเขาฟ้องศาลเองพร้อมกับฟ้องอัยการ สุดท้ายศาลท่านยกฟ้องอัยการไป ในส่วนของคดีเรา เขาเอาคดีไปฟ้องในศาลแขวงในคดีอาญาซึ่งข้อมูลต่างๆที่เขาฟ้องนั้นเป็นเท็จทั้งสิ้น ทางเราเลยจำเป็นที่จะต้องฟ้องเขากลับในดคีแจ้งความเท็จ กับฟ้องเท็จ ระยะเวลาผ่านมาถึงสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกือบ 10ปีเต็ม ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นคือจำคุก4ปีไม่รอลงอาญาในคดีฟ้องเท็จกับแจ้งความเท็จ ตอนนี้ทางครอบครัวผมเริ่มกังวลใจเนื่องจากมีกระเเสข่าวมาหลายๆทางว่า เขากำลังทำเรื่องขออภัยโทษเร็วๆนี้ และที่สำคัญ เขาจะออกมาเช็คบิลให้หมดเลย นี่คือสิ่งที่ผมและครอบครัวกังวลใจครับ ว่าทำไมคนทำผิดกลับพยายามวิ่งเพื่อที่จะให้ตัวเองออกมาใช้ชีวิตรังแกคนอื่นต่อไป และจะออกมาเช็คบิลอีก แสดงว่าเขายังไม่สำนึกว่าเขาทำผิด ผมเลยสงสัยครับว่าโดยทั่วไปแล้วหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอภัยโทษเป็นอย่างไรครับ และจริงไหมที่ต้องติดก่อน 1ใน3

ขอบคุณมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่